เมษายน 2559

 
 
 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
26
27
28
30
 
All Blog
วิทยาศาสตร์ในยุค‘โอมิกส์’ ตอบสนองการพัฒนาวิวัฒนาการ







5 ปีต่อจากนี้ประเทศไทยจะมีกุ้งสายพันธุ์ใหม่ต้านทานโรค ข้าวพันธุ์อึดทนทุกสภาพอากาศ แบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ใช้ในอุตสาหกรรมบำบัดของเสีย หรือช่วยเร่งกระบวนการผลิตอาหาร เช่น โยเกิร์ต รวมทั้งความคืบหน้าการพัฒนายาและวัคซีนแบบก้าวกระโดด ล้วนเป็นองค์ความรู้จากเทคโนโลยี “โอมิกส์” ในต่างประเทศใช้เทคโนโลยีโอมิกส์พัฒนาสายพันธุ์สุกรต้านทานโรคและโตเร็วขึ้น 20-30% ออกสู่ท้องตลาด รวมทั้งการปรับปรุงสายพันธุ์พืชให้เหมาะกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง แม้กระทั่งการทำนายโรคมะเร็งเต้านมโดยดูจากยีนที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยง 

เทคโนโลยีดันวิจัยก้าวกระโดด

“โอมิกส์” หมายถึงการศึกษาแบบองค์รวมของสิ่งมีชีวิตบนฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ประกอบด้วย จีโนมิกส์ ว่าด้วยข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต, ทรานสคริปโตมิกส์ ความรู้ในเรื่องการแสดงออกของยีนทั้งหมดจากจีโนมซึ่งได้จากการศึกษาเอ็ม-อาร์เอ็นเอทั้งหมด, โปรตีโอมิกส์ ความรู้ในเรื่องการแสดงออกของยีนทั้งหมดจากจีโนม ซึ่งได้จากการศึกษาโปรตีนทั้งหมด, ส่วนสุดท้ายคือ เมตาบอโลมิกส์ เป็นการศึกษาความหลากหลายของสารเคมีในเซลล์ในขณะใดขณะหนึ่งว่ามีวิถีและกลไกที่สัมพันธ์กันอย่างไร


ประโยชน์สำหรับภาคอุตสาหกรรม เช่น ซีพีเอฟมีงานวิจัยด้านสูตรอาหารสัตว์ ที่ต้องศึกษาผลกระทบต่อสัตว์ในด้านการเจริญเติบโตและการต้านทานโรค เทคโนโลยีโอมิกส์จะช่วยให้ได้ข้อมูลลงลึกถึงระดับโมเลกุล สามารถดูได้ว่าสูตรอาหารนั้นออกฤทธิ์กระตุ้นยีนอะไร กระตุ้นให้มีการสร้างโปรตีนอะไร ทางด้านสัตว์น้ำสามารถนำไปปรับปรุงพันธุ์กุ้งรวมถึงศึกษาเชื้อโรคในมนุษย์ สัตว์จนไปถึงแบคทีเรียเพื่อให้สามารถต่อสู้กับโรคได้ดีขึ้น


อัญชลี ทัศนาขจร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์โอมิกส์และชีวสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เทคโนโลยีโอมิกส์เกิดมาแล้ว 5 ปีในต่างประเทศ ใช้ศึกษาด้านการแพทย์ การเกษตรและอุตสาหกรรม โดยช่วยลดระยะเวลางานวิจัยจาก 10-20 ปีเหลือ 5 ปี
ขณะที่ประเทศไทยเพิ่งเริ่มต้น ทั้งยังจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มและต่างคนต่างทำ เช่น คณะแพทยศาสตร์จะมีเครื่องถอดรหัสพันธุกรรมที่เน้นใช้งานทางการแพทย์เท่านั้น ส่วนที่ศูนย์ไบโอเทค สวทช. มุ่งศึกษาด้านจุลินทรีย์และการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ ดังนั้น ศูนย์วิทยาศาสตร์โอมิกส์ฯ ของจุฬาฯ จะเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีโอมิกส์ที่ใช้กับพืช สัตว์ มนุษย์และแบคทีเรีย ทั้งให้บริการแก่หน่วยงานภายนอกรวมถึงภาคอุตสาหกรรมต่างๆ


นอกจากนี้ ไทยยังขาดความพร้อมด้านเครื่องมือ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชั้นสูง ต้องใช้งบและการลงทุนสูง นักวิจัยซึ่งเคยศึกษาวิจัยในต่างประเทศ เมื่อกลับมาแล้วก็กระจายอยู่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ จึงใช้วิธีการไปร่วมกับนักวิจัยต่างชาติ เพื่อเดินทางไปใช้เครื่องมือในต่างประเทศ ซึ่งมีค่าวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญที่สูง “สิงคโปร์ก้าวล้ำไปมากทัดเทียมกับอเมริกา ยุโรป ส่วนอาเซียนจะมีไทยกับมาเลเซีย ที่เริ่มเข้ามาลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีโอมิกส์ ฉะนั้น ไทยต้องพยายามก้าวให้ทันเทคโนโลยีนี้ เพราะเป็นสิ่งสำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต”



ขาดงบจัดซื้อเครื่องมืออีก 300 ล้าน

ศูนย์วิทยาศาสตร์โอมิกส์ฯ ได้รับสนับสนุนเครื่องถอดรหัสพันธุกรรม ราคา 16.5 ล้านจากเครือซีพี ทั้งยังมีเครื่องถอดรหัสพันธุกรรมแบคทีเรีย 8 ล้านบาทและอุปกรณ์เครื่องมืออื่นๆ ที่ใช้งบของมหาวิทยาลัยในการจัดซื้อ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ คาดว่าจะต้องใช้งบอีก 200-300 ล้านบาทจัดซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัยในหลายด้าน เพื่อรองรับกับความต้องการของอุตสาหกรรม


“ที่ทำได้อยู่ตอนนี้คือ ด้านจีโนมิกส์คือดูดีเอ็นเอทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตว่ามีอะไรบ้าง และทรานสคริปโตมิกส์ คือการแสดงออกของดีเอ็นเอ เช่น ถ้าสนใจภูมิคุ้มกันในกุ้งจะศึกษายีนที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันอย่างละเอียด เพราะเวลากุ้งติดโรคจะสร้างโปรตีนสู้กับโรค ฉะนั้น ต้องรู้ว่ามียีนอะไรที่แสดงออกแล้วไปศึกษาดูว่า โปรตีนเหล่านั้นทำงานอย่างไรจึงต่อสู้กับโรคได้ หรือที่เรียกว่า โปรตีนต้านจุลชีพ กระทั่งปัจจุบัน รู้แล้วว่าออกฤทธิ์อย่างไร สามารถต้านเชื้อชนิดไหนได้บ้าง จะนำไปใช้อย่างไรในการเลี้ยงกุ้ง เพราะตอนนี้ทำอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการ แต่จะทำอย่างไรถึงจะผลิตในระดับที่ใหญ่ขึ้นและนำไปใช้ได้จริงในภาคอุตสาหกรรม" อาจารย์อัญชลีกล่าว





เครดิต    //eureka.bangkokbiznews.com/



Create Date : 12 เมษายน 2559
Last Update : 12 เมษายน 2559 9:39:00 น.
Counter : 1823 Pageviews.

1 comments
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: peepoobakub วันที่: 15 มีนาคม 2560 เวลา:16:54:11 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2344345
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]