https://kaoim.bloggang.com
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2557
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
2 พฤษภาคม 2557
 
All Blogs
 
ท้องผูก ใครว่าเรื่องเล็ก...

อาการท้องผูกเป็นปัญหาที่หลายคนกำลังเผชิญอยู่วันนี้เรามีวิธีแก้ไขท้องผูกง่ายๆ 9 วิธีจาก น.พ.อิทธิชัย วัชรีคุปต์ มาบอกกันค่ะ

ทั้งนี้สามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งตามแต่ความเหมาะสมก็ได้เช่นกัน โดยทริคง่าย ๆ มีดังนี้


1. ดื่มน้ำเมล็ดแมงลักแช่น้ำ โดยใช้เมล็ดแมงลัก 2 ช้อนชา แช่น้ำให้พองเต็มที่ในน้ำเปล่า 1 แก้ว ( 250 ซีซี ) แล้วดื่ม


2. กินมะละกอสุก ประมาณ 1/4 ลูก


3. ดื่มน้ำอุ่น 3-4 แก้ว ( 750-1,000 ซีซี ) ขณะท้องว่าง หรือเพิ่งลุกจากที่นอนและควรดื่มภายใน 10-15 นาที ทั้งนี้ควรดื่มในขณะยืนเพื่อไม่ให้รู้สึกจุก หรือดื่มตอนเดินไปมาเพื่อให้ลำไส้ขยับตัว


4. รับประทานลูกพรุนแห้งก่อนเข้านอน แต่ไม่ควรกินมากและบ่อยเนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลสูง


5. ดื่มน้ำมะขามเปียกค่อนข้างเข้มข้น ประมาณ 1 แก้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นควรดูปริมาณที่เหมาะสมกับตนเอง


6. ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา และไม่ควรกลั้นอุจจาระจนติดเป็นนิสัย


7.หมั่นเดินออกกำลังกาย ประมาณ 20-30 นาที จะช่วยให้ระบบลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น


8. ลองนวดบริเวณลำไส้ใหญ่ โดยนวดที่บริเวณใต้สะดือใช้มือนวดวนตามแนวลำไส้ใหญ่ (ทวนเข็มนาฬิกา) ทำสักพักจะรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำ


9. เปลี่ยนท่านั่งในการเข้าห้องน้ำเพื่อให้ขับถ่ายดีขึ้น โดยให้นั่งยอง ๆ แบบส้วมหลุม เนื่องจากจะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายอยู่ในลักษณะตรง ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายและไม่มีอุจจาระเหลือค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ แต่ถ้าบ้านไหนเป็นชักโครก เวลานั่งให้หากล่องหรือถังขยะมาวางเท้า เพื่อให้เข่ายกสูงขึ้น

. . . .เท่านี้ก็จะช่วยให้ท้องผูกหายได้ไม่ยาก



นมเปรี้ยวแก้ท้องผูก และแก้ท้องเสีย


หัว
ข้อของบทความนี้อาจทำให้งงได้ เพราะทำให้เกิดความสงสัยว่า ในเมื่อนมเปรี้ยวสามารถจะช่วยแก้ไขปัญหาท้องผูกได้ เหตุใดจึงยังสามารถแก้ไขปัญหาท้องเสียได้ด้วย ซึ่งเป็นอาการที่ตรงข้ามกัน แต่หัวข้อนี้ไม่ผิด นมเปรี้ยวมีคุณสมบัติเช่นนี้จริง ๆ เพียงแต่ไม่สามารถรักษาปัญหาท้องผูกได้ทุกคน และก็ไม่สามารถรักษาปัญหาท้องเสียได้ทุกกรณี




คราวนี้เรามาดูกันในส่วนประกอบว่า นมเปรี้ยวนั้นส่วนใหญ่มีอะไรบ้าง นมเปรี้ยวเกิดจากการหมักนมขาดมันเนย ด้วยแบคทีเรียที่ดี 2 ชนิด คือ Lactobacilli และ Streptococcus thermophilus ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบได้เป็นจำนวนมากในลำไส้ใหญ่ของทุกคน โดยเฉพาะในคนที่ดื่มนมเป็นประจำ เมื่อหมักนมวัวนี้ด้วยแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดในเวลาและอุณหภูมิที่พอเหมาะ น้ำตาลแลคโตสในนมวัวจะถูกย่อยสลายหมดไป กลายเป็นกรดแฟตตี้ที่มีโมเลกุลสั้น คือAcetic, Butyric และ Propionic acid กรดแฟตตี้ทั้ง 3 นี้ ทำให้นมมีรสเปรี้ยว ในขั้นตอนสุดท้ายมีการเติมน้ำตาลทรายลงไปเพื่อปรุงรสชาติให้ชวนดื่ม




ก่อนที่จะนำออกมาจำหน่าย นมเปรี้ยวเหล่านี้จึงมีแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดนี้จำนวนมาก โดยไม่มีน้ำตาลแลคโตสหลงเหลืออยู่ จึงแก้ไขปัญหาคนที่ดื่มนมวัวแล้วท้องเสียได้
 เนื่องจากปัญหาการที่ไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้ และเนื่องจากมีแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงต้องเก็บไว้ในตู้เย็น ให้มีอุณหภูมิใกล้ 4 องศา เพื่อไม่ให้แบคทีเรียนี้มีการหมักน้ำตาลอีกต่อไป เวลาจำหน่ายจึงต้องเก็บไว้ในตู้เย็นตลอดเวลา



ประโยชน์ที่จะได้จากการดื่มนมเปรี้ยว 
คือการได้รับแบคทีเรียชนิดดีทั้ง 2 ชนิดเข้าไปในลำไส้ โดยมีการศึกษาที่พบว่า Lactobacilli จะช่วยกำจัดแบคทีเรียชนิดร้ายที่อาจจะเจริญเติบโตในลำไส้และทำให้เกิดท้องเสียได้ แต่ขณะนี้แบคทีเรียที่ทำให้เกิดท้องเสียชนิดเฉียบพลันหลายชนิดดื้อต่อ Lactobacilli จึงมักจะต้องได้ยาปฏิชีวนะในการรักษาท้องเสีย การดื่มนมเปรี้ยวเพื่อรักษาโรคท้องร่วงจากเชื้อแบคทีเรียจึงอาจจะไม่สามารถควบคุมเชื้อแบคทีเรียได้ อย่างไรก็ตามการดื่มนมเปรี้ยวเป็นประจำอาจจะช่วยป้องกันลำไส้ไม่ให้ท้องเสียได้ ในกรณีที่รับประทานอาหารที่อาจมีแบคทีเรียชนิดร้ายปะปนเข้าไปในอาหาร



สำหรับกลไกที่นมเปรี้ยวช่วยแก้ไขท้องผูก 
เชื่อว่า การมีแบคทีเรียชนิดนี้จำนวนมากจะช่วยทำให้ลำไส้ใหญ่แข็งแรง มีแรงบีบตัวที่มากขึ้น ช่วยในการผลักดันอุจจาระออกมาง่ายขึ้น นอกจากนั้นแบคทีเรียชนิดดีนี้จะช่วยย่อยกากใยในอาหาร ทำให้เกิดกรดแฟตตี้โมเลกุลสั้นจำนวนมากมาย ซึ่งเป็นอาหารของเซลล์ต่าง ๆ ในลำไส้ใหญ่ และเกิดน้ำและก๊าซทำให้อุจจาระนุ่ม ไม่เกาะตัวแน่นจนแข็งเป็นก้อนใหญ่ อุจจาระที่นุ่มนี้จึงทำให้ถ่ายได้ง่าย แต่คนที่มีอาการท้องผูกที่เป็นมานานและมีอุจจาระที่แข็งและก้อนใหญ่มาก หรือแข็งจนเป็นเม็ดกระสุนอาจจะตอบสนองไม่มีดีต่อนมเปรี้ยว จึงควรได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย



สิ่งที่ได้จากการดื่มนมเปรี้ยว
ถัดมาก็คือ
 การได้แคลเซียมจากนมวัวที่นำมาทำนมเปรี้ยว แต่เนื่องจากนมเปรี้ยวนี้มีราคาแพงกว่านมวัวพร้อมดื่มทั่วไปเกือบ 3 เท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบในปริมาณน้ำนมที่เท่ากัน จึงไม่แนะนำให้ดื่มนมเปรี้ยวเพื่อหวังจะได้รับแคลเซียมเพียงอย่างเดียว



น้ำตาลทรายในนมเปรี้ยวนี้มีส่วนที่ทำให้ฟันผุได้ง่าย ดังนั้นเมื่อดื่มนมเปรี้ยวทุกครั้งก็ควรจะบ้วนปาก เพื่อกำจัดคราบน้ำตาลในนมที่อาจเกาะติดที่ฟันได้ ในกรณีที่ดื่มนมเปรี้ยวแล้วเข้านอน ก็ควรได้รับการแปรงฟันทุกครั้ง



ยังมีนมเปรี้ยวที่ผสมผลไม้ชนิดต่าง ๆ และทำให้เป็นครีมเข้มข้น จึงควรอ่านฉลากข้างขวดว่า ให้พลังงานเท่าใดด้วย เพราะถ้ารับประทานมากเกินไปก็อาจทำให้เป็นโรคอ้วนได้ ถ้าแยกดื่มเป็นนมวัวธรรมดา และรับประทานผลไม้เป็นประจำก็จะประหยัดเงินกว่ามาก



มีนมเปรี้ยวที่บรรจุในกล่องยูเอชทีโดยไม่ได้แช่ตู้เย็น
 นมเปรี้ยวชนิดนี้จะไม่มีแบคทีเรียที่มีชีวิตทั้ง 2 ชนิดนี้ จึงมีแต่น้ำนมที่ไม่มีน้ำตาลแลคโตส แต่มีน้ำตาลทรายและกรดแฟตตี้ชนิดโมเลกุลดังที่ได้กล่าวมา จึงให้คุณค่าคล้ายน้ำนมวัวธรรมดาแต่จะแพงกว่าการดื่มนมวัว จึงควรพิจารณาความคุ้มค่าทางด้านโภชนาการกับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายไป



สุดท้ายนี้ขอเตือนให้จำว่า การดื่มนมนั้นเมื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมและแร่ธาตุอื่น ๆ เป็นหลัก แต่ที่ได้นอกเหนือจากนั้นก็คือ การได้รับโปรตีนและพลังงานที่มากพอสมควร โดยปกตินม 1 แก้ว จะให้พลังงานเกือบ 12% และ 10% ของความต้องการพลังงานใน 1 วัน ในหญิงและชายตามลำดับ




ถ้าไม่อยากให้ได้รับพลังงานมากเกินไป ก็ควรดื่มนมขาดมันเนย และเมื่อจะดื่มนมเปรี้ยว เราก็คาดหวังจะได้รับแบคทีเรียชนิดดีทั้ง 2 ชนิดดังที่ได้กล่าวมา จึงควรดื่มเพียงชั่วคราว โดยเฉพาะควรดื่มหลังจากการได้กินยาปฏิชีวนะในการรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เมื่อดื่มนมเปรี้ยวได้สักระยะ ภายในลำไส้ใหญ่ก็จะมีแบคทีเรียชนิดดีนี้จำนวนมาก ก็ควรจะเลี้ยงแบคทีเรียนี้อย่างต่อเนื่องด้วยการรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำทุก ๆ วัน โดยไม่จำเป็นต้องดื่มนมเปรี้ยวอีกต่อไป

 ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์



ผลิตภัณฑ์ดีท๊อกซ์


Create Date : 02 พฤษภาคม 2557
Last Update : 2 พฤษภาคม 2557 19:11:04 น. 0 comments
Counter : 951 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kaoim
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]








Friends' blogs
[Add kaoim's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.