สายตาจับจ้องที่ดวงดาว และเท้ายังคงติดดิน (Keep your eyes on the stars, and your feet on the ground.)
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
14 ธันวาคม 2556
 
All Blogs
 

"ธานินทร์" หายไปไหน

"ธานินทร์" หายไปไหน

 ถ้าย้อนเวลากลับไปสัก 25 - 30 ปีที่ผ่านมา แล้วไปเปิดประตูบ้านคนไทยดู เชื่อว่าเราจะได้พบวิทยุ (ทรานซิสเตอร์) หรือโทรทัศน์ยี่ห้อ "ธานินทร์" สินค้าสัญชาติไทยมากกว่าจะเห็นโลโกของต่างชาติเช่นในปัจจุบัน
          วิทยุและโทรทัศน์ยี่ห้อธานินทร์ได้รับการยอมรับว่ามีความโดดเด่นเรื่องคุณภาพการรับสัญญาณที่ชัดแจ๋ว และราคาถูกเพราะผลิตในประเทศไทย จึงเป็นสินค้าทีได้รับความนิยมสูง ทำให้มีการพัฒนาสินค้าและธุรกิจเติบโตอย่างมากภายใต้สโลแกน "ทุกบาทคุ้มค่าด้วยธานินทร์"

รูปภาพ
          แต่หากมาเปิดประตูบ้านดูสินค้าประเภทวิทยุ (ซึ่งแทบจะไม่มีแล้ว) และโทรทัศน์นัจจุบัน ทุกครัวเรือนต่างอัดแน่นไปด้วยสินค้าแบนด์ต่างชาติ ธานินทร์เป็นเพียงชื่อสินค้าแห่งความทรงจำที่หากใครเติบโตในยุคที่ธานินทร์เฟื่องฟู ก็อดที่จะบ่นถึงสินค้าอิเลคทรอนิคแบนด์ไทยยี่ห้อนี้ไม่ได้

รูปภาพ
           ธุรกิจ "ธานินทร์" เรื่องต้นจาก "อุดม วิทยะสิรินันท์" ผู้ก่อตั้งธานินทร์อุตสาหกรรม เริ่มต้นสร้างตัวเองจากผู้ประกอบการร้านขายวิทยุเล็กๆ จนกระทั่งกลายเป็นเจ้าของโรงงานธานินทร์อุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จ ในการผลิตและขายวิทยุทรานซิสเตอร์ราคาถูกยี่ห้อ"ธานินทร์"ในตลาดระดับล่าง แล้วขยายไปผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าครบวงจร เช่นโทรทัศน์ขาว-ดำ โทรทัศนสี พัดลม หม้อหุงข้าว และขณะนั้นมีมาร์เกตแชร์เป็นอันดับที่สามรองจากยี่ห้อเนชั่นแนลและโซนี่
          กระทั่งในปี 2527 เกิดวิกฤติการณ์ลดค่าเงินบาท คุมเพดานสินเชื่อไม่เกิน 18% ธานินทร์มียอดหนี้เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับช่วงปี 2524 -2525 สินค้าโทรทัศน์ขาว-ดำของธานินทร์ค้างในสต็อก มาก หลังจากที่ส่งออกไปขายยุโรปสู้ราคาคู่แข่งอย่างซัมซุงของเกาหลีใต้และไต้หวันไม่ได้ จนต้องหาตลาดใหม่ที่ประเทศจีน แต่สู้สินค้าที่ผลิตจาก โรงงานฮิตาชิที่ลงทุนตั้งในจีนไม่ได้ ทำให้สินค้าค้างสต็อกสูง ขณะเดียวกัน ตลาดในประเทศ การปรับภาพพจน์สินค้าสู่ตลาดระดับบนก็ล้มเหลว เพราะยี่ห้อธานินทร์ยังไม่เป็นที่ยอมรับด้านเทคโนโลยีและความทันสมัย
          ปี 2532 ยักษ์ใหญ่สิ่งทอไทย "บริษัท สหยูเนี่ยน" เข้าได้เทคโอเวอร์บริษัทธานินทร์อุตสาหกรรม ปิดฉาก "ธานินทร์" สินค้าอิเลคทรอนิคแบนด์ไทยที่เคยโด่งดังกว่าแบนด์ต่างชาติ และเป็นเรื่องราวให้ผู้คนยุค "ธานินทร์" ได้พูดถึงกันถึงความ "รุ่งเรือง" และ "ร่วงโรย"


เครื่องใช้ไฟฟ้าของคนไทย Tanin (ธานินทร์) ที่ลงหลุม เพราะประเทศไทยไม่ชาตินิยม

กรณีศึกษาการบริหารระบบครอบครัวของตระกูลวิทยะสิรินันท์ ซึ่งใช้เวลา 32 ปี สร้างเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อ ธานินทร์ แต่ประสบความล้มเหลวในการปรับตัวให้อยู่รอดภายใต้วิกฤตผลกระทบจากการลดค่าเงินบาทปี 2527 จนกระทั่งถูกเทกโอเวอร์จากสหยูเนี่ยน เหลือไว้เพียงความทรงจำ


เครื่องใช้ไฟฟ้าของคนไทย Tanin (ธานินทร์) ที่ลงหลุม เพราะประเทศไทยไม่ชาตินิยม



บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด

กรณีศึกษาการบริหารระบบครอบครัวของตระกูลวิทยะสิรินันท์ ซึ่งใช้เวลา 32 ปี สร้างเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อ"ธานินทร์" แต่ประสบความล้มเหลวในการปรับตัวให้อยู่รอดภายใต้วิกฤตผลกระทบจากการลดค่าเงินบาทปี 2527 จนกระทั่งถูกเทกโอเวอร์จากสหยูเนี่ยน เหลือไว้เพียงความทรงจำ

หลังวิกฤตการณ์ลดค่าเงินบาทปี 2527 การล่มสลายของธุรกิจครอบ ครัวของตระกูลวิทยะสิรินันท์ก็เกิดขึ้น เนื่องจากธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใต้ ยี่ห้อ"ธานินทร์"ประสบปัญหาขาดทุน อันเกิดจาก ต้นทุนชิ้นส่วนที่ประกอบเพิ่มขึ้น ขณะที่สินค้า"ธานินทร์ฯ"ขายไม่ออก เพราะคนนิยมซื้อสินค้าของญี่ปุ่นมากกว่า และมีปัญหาหนี้ค้างชำระของร้านค้าตัวแทนจำหน่ายจำนวนมาก

แต่เหตุผลที่ลึกลงไปกว่านั้น สาเหตุมาจากความล้มเหลวในการบริหารจัดการภายใน และขาดการวางแผนด้านการตลาดระยะยาวของเจ้าของกิจการ ตลอดจนผลกระทบจากวิกฤตลดค่าเงินบาท ปี 2527 และนโยบายจำกัดสินเชื่อ 18%ก่อให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องรุนแรง

อุดม วิทยะสิรินันท์ ผู้ก่อตั้งธานินทร์อุตสาหกรรม เริ่มต้นสร้างตัวเองจากผู้ประกอบการร้านขายวิทยุเล็กๆ จนกระทั่งกลายเป็นเจ้าของโรงงาน ธานินทร์อุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จ ในการผลิตและขายวิทยุ ทรานซิสเตอร์ราคาถูกยี่ห้อ"ธานินทร์"ขายชาวบ้านซึ่งเป็นตลาดระดับล่าง แล้วขยายไปผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าครบวงจร เช่นโทรทัศน์ขาว-ดำ โทรทัศนสี พัดลม หม้อหุงข้าว และขณะนั้นมีมาร์เกตแชร์เป็นอันดับที่สามรองจากยี่ห้อเนชั่นแนลและโซนี่

กลยุทธ์การตลาดในยุคแรกที่ชัดเจน คือการวางตำแหน่งสินค้าสำหรับตลาดระดับล่าง และกลยุทธ์ราคาก็เน้นที่ราคาถูกกว่าคู่แข่ง จนประสบ ความสำเร็จ

ปี 2517-2523 ธานินทร์อุตสาหกรรมขยายธุรกิจมีบริษัทในเครือ 4 แห่ง คือ ธานินทร์อิเลคทรอนิคที่เชียงใหม่ ธานินทร์อินเตอร์เนชั่นแนล ธานินทร์ คอนเดนเซอร์ และธานินทร์การไฟฟ้า ต่อมามีห้างอุดมชัยเป็นกิจการตัว แทนจำหน่ายโดยอนันต์ วิทยะสิรินันท์ น้องชายอุดมเป็นผู้บริหารการตลาด

แต่ถึงปี 2524 -2525 สินค้าโทรทัศน์ขาว-ดำของธานินทร์ค้างในสต็อก มาก หลังจากที่ส่งออกไปขายยุโรปสู้ราคาคู่แข่งอย่างซัมซุงของเกาหลีใต้และไต้หวันไม่ได้ จนต้องหาตลาดใหม่ที่ประเทศจีน แต่สู้สินค้าที่ผลิตจาก โรงงานฮิตาชิที่ลงทุนตั้งในจีนไม่ได้ ทำให้สินค้าค้างสต็อกสูง ขณะเดียวกัน ตลาดในประเทศ การปรับภาพพจน์สินค้าสู่ตลาดระดับบนก็ล้มเหลว เพราะยี่ห้อธานินทร์ยังไม่เป็นที่ยอมรับด้านเทคโนโลยีและความทันสมัย

ในที่สุดเมื่อมรสุมเศรษฐกิจปี2527 มีการลดค่าเงินบาทและจำกัด เพดานสินเชื่อ 18% ทำให้ธานินทร์อุตสาหกรรมถึงกับล้มทั้งยืนจากยอดหนี้ 630 ล้านบาท บริษัทต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการระยะ 5 ปีของธนาคารและเจ้าหนี้อื่นๆ 13 ราย โดยมีเงื่อนไขไม่ฟ้องบริษัทใน 5 ปี และธนาคารต้องอัดฉีดเงิน 100 ล้านเพื่อฟื้นฟูให้มีกำลังเดินเครื่องหาเงินมาชำระหนี้คืนทุกงวด 6 เดือน งวดละ 20 ล้านบาท งานนี้แบงก์ส่ง ดร.ชวลิต ทิสยากร อดีตผู้จัดการโรงงาน ปัญจพลไฟเบอร์ เป็นผู้จัดการทั่วไปของธานินทร์ฯ และกรรณิการ์ เลิศขันติธรรม จากแบงก์กสิกรไทยมาเป็นผู้จัดการฝ่ายการเงิน

แต่แผนฟื้นฟูของบริษัทธานินทร์อุตสาหกรรมภายใต้การจัดการหนี้ของธนาคารเจ้าหนี้ล้มเหลว

พฤษภาคม 2532 บริษัทยักษ์ใหญ่สิ่งทอไทย"บริษัท สหยูเนี่ยน"เข้าเทคโอเวอร์บริษัทธานินทร์อุตสาหกรรม โดยการตั้งบริษัทใหม่ 2 บริษัทคือ บริษัทธานินทร์ยูเนี่ยนอุตสาหกรรม ซึ่งมีหน้าที่เป็นโรงงานผู้ผลิต และบริษัท ธานินทร์ยูเนี่ยนเซลส์แอนด์เซอร์วิสดูแลด้านการตลาดและบริการ

อย่างไรก็ตาม อุดม วิทยะสิรินันท์ ยังคงเป็นประธานบริษัทอยู่ หลังจาก ที่ดำหริ ดารกานนท์ แห่งสหยูเนี่ยนได้ช่วยซื้อที่ดินหลายแปลง เพื่อให้อุดมเอาไปชำระหนี้ธนาคารบางส่วน

วิสัยทัศน์ของ ดำหริ ดารกานนท์ ในการเข้าไปเทคโอเวอร์ธานินทร์ อุตสาหกรรม มองไปไกลถึงอนาคตที่จะใช้ธานินทร์ฯเป็นฐานการผลิตสินค้า อิเลคทรอนิคส์ที่ไฮเทค เช่น จอมอนิเตอร์ ไอซี หัวอ่านคอมพิวเตอร์ เพื่อป้อน ยักษ์ใหญ่ไอบีเอ็ม เพราะเห็นแนวโน้มการลงทุนจาก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และ สหรัฐอเมริกาซึ่งย้ายฐานการผลิตมาที่ไทยเพราะแรงงานราคาถูก

หลังเซ็นสัญญา ทีมงานบริหารนำโดย เผ่าเทพ โชตินุชิต อดีตผู้บริหาร นิคมอุตสาหกรรมบางชัน และกรรมการผู้จัดการ บริษัทยูเนี่ยนพลาสติค เมื่อ ปี 2527 เป็นผู้จัดระบบกุมสภาพบริษัทใหม่ทั้ง 2 เพื่อมิให้เกิดปัญหารั่วไหล โดยเฉพาะกรณีการสั่งซื้อวัตถุดิบของโรงงานบริษัทธานินทร์ยูเนี่ยนอุตสาหกรรม ทางสหยูเนี่ยนเป็นผู้เปิดแอลซีให้และเมื่อบริษัทธานินทร์ยูเนี่ยนแอนด์เซลส์จะขายก็ต้องผ่านสหยูเนี่ยนอีกเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมข้อมูลการบริหารทั้งการเงินและการผลิต

"ในการผลิตต่อไป เราอาจจะขยายโรงงานรับจ้างผลิตยี่ห้ออะไรก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของลูกค้า หรืออาจจะร่วมทุนกับบางยี่ห้อของญี่ปุ่น หรือชาติไหนยังไม่แน่ ผลิตไปขายทั่วโลก ทำให้เราเรียนรู้พัฒนาโนว์ฮาวไป เรื่อยๆ ในที่สุดเราอาจจะหายี่ห้อที่เป็นสากลส่งไปขายต่างประเทศได้... ไม่แน่นะ อีก 5-10 ปี เราอาจจะโตไม่แพ้ซัมซุงก็ได้

" นี่คือแผนที่ดำหริกำหนดไว้สำหรับบริษัทใหม่นี้

แต่วันนี้ ธุรกิจของบริษัททั้งสองที่สหยูเนี่ยนเทคโอเวอร์มา ได้เปลี่ยนมือไป ไม่มีเค้าของโฉมหน้าเก่า ที่ล้าสมัยทั้งผลิตภัณฑ์และการบริหารระบบครอบ ครัวสมัยตระกูลวิริยะสิรินันท์ได้สร้างเอาไว้ นี่คือตวอย่างหนึ่งของการปรับตัว ไม่ได้ของเจ้าของธุรกิจดั้งเดิม ภายใต้แรงกดดันจากวิกฤตการณ์

หมายเหตุ จากเรื่อง"ธานินทร์ยูเนี่ยนอุตสาหกรรม ก้าวแรกของซัมซุงเมืองไทย" โดย นพ นรนารถ ในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 69 เดือนมิถุนายน 2532
จากเรื่อง"ธานินทร์อุตสาหกรรม ฤาจะพ้นพงหนาม" ในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 58 เดือนกรกฎาคม 2531
จากเรื่อง"ธานินทร์อุตสาหกรรม เนื้อแท้ของปัญหาที่ไร้คนมอง" โดย ทรงเกียรติ ชาติวัฒนานนท์ ในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 41 เดือนกุมภาพันธ์ 2530


ที่มาข้อมูล //atcloud.com/stories/63981






 

Create Date : 14 ธันวาคม 2556
8 comments
Last Update : 14 ธันวาคม 2556 11:28:56 น.
Counter : 4649 Pageviews.

 

ที่บ้านมีอยู่เครื่องนึง จำได้ว่าเกิดมาก็เห็นมีอยู่แล้ว โทรทัศน์สี ยี่ห้อธานินทร์ มีขาเป็นไม้4ขา (ตอนนั้นทันสมัยที่สุดแล้ว เมื่อ 35ปีที่แล้ว)

 

โดย: kanyong1 14 ธันวาคม 2556 11:33:04 น.  

 

 

โดย: kanyong1 14 ธันวาคม 2556 11:35:56 น.  

 

กลายเป็นแบรนด์แห่งประวัติศาสตร์นะคะ แต่จะว่าไปยุคหนึ่งก็ถือว่าเก่งนะคะที่ทำให้แบรนด์ไทยขายได้

ปัจจุบันนี้กลายเป็นคนนิยมสินค้าของเกาหลีมั้ยคะ แต่ว่าของที่บ้าน พ่อแม่ก็มักจะชอบของญี่ปุ่นมากกว่า เพราะมักรู้สึกว่าของเกาหลีพังเร็ว

 

โดย: รัชชี่ (รัชชี่ ) 15 ธันวาคม 2556 18:49:58 น.  

 

สวัสดีค่ะ ขอบคุณนะค่ะ ที่ไปเยี่ยมเยียนที่บ้าน
อ๋อยไม่ค่อยได้เข้าพันทิปมานานเกือบ ครึ่งปีค่ะ

พูดถึงยี่ห้อธานินทร์ จะบอกว่าอ๋อยเคยใช้วิทยุยี่ห้อนี้ด้วยค่ะ (รู้อายุเลยเนอาะ555)

 

โดย: Ooy1_chan 17 ธันวาคม 2556 14:56:16 น.  

 

สวัสดีครับ ขอบคุณที่แวะไปทักทายนะครับ
ในที่ก็ได้ไขข้อข้องใจสักทีนะครับว่า ธานินทร์หายไปไหน

 

โดย: หมอหว่อง 17 ธันวาคม 2556 22:16:55 น.  

 

ตอนนี้ วิทยุธานินทร์เก่าๆ แพงมาก สำหรับคนชอบสะสมของเก่า

 

โดย: aot IP: 110.164.177.88 1 กันยายน 2558 8:23:58 น.  

 

ผมคิดถึงธานินทร์ครับ เคยซื้อวิทยุ เทป พัดลม และทีวีขาวดำ 14" มาใช้ แต่ก็ชำรุดเสียหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่วิทยุธานินทร์ เครื่องเล็ก ๆ รุ่น TF-268 สีดำ ๆ ที่เห็นมีขายในร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปครับ

 

โดย: รณชิต สมรรถนะกุล IP: 223.205.235.7 9 สิงหาคม 2565 23:55:35 น.  

 

ผมคิดถึงธานินทร์ครับ เคยซื้อวิทยุ เทป พัดลม และทีวีขาวดำ 14" มาใช้ แต่ก็ชำรุดเสียหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่วิทยุธานินทร์ เครื่องเล็ก ๆ รุ่น TF-268 สีดำ ๆ ที่เห็นมีขายในร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปครับ

 

โดย: รณชิต สมรรถนะกุล IP: 223.205.235.7 9 สิงหาคม 2565 23:55:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


kanyong1
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]




เป็นคุณแม่ลูกสอง วัย42ปี สนใจการทำอาหาร และการท่องเที่ยวค่ะ ยินดีต้อนรับทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมบล็อคนะคะ หรือสามารถติดตามการทำอาหารได้ที่เฟสบุค Kannika Roddee

******************************
******************************

ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…

จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว

ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร

แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ

ทำเท่าที่เราจะทำได้ และทำให้ดีที่สุด สักวันหนึ่ง ฝันของเราจะเป็นจริง :)

*****************************
*****************************
: จำนวนคนที่กำลังออนไลน์
online
Blackjack Online
free counters
New Comments
Friends' blogs
[Add kanyong1's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.