สาระน่ารู้เกี่ยวกับ แอร์บ้าน และระบบไฟฟ้าในบ้าน
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
29 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 
รีวิว...เครื่องปรับอากาศ SAMSUNG Smart WiFi Inverter ตอนที่ 3

คำแนะนำ...สำหรับใครที่เพิ่งเปิดมาเจอหน้านี้ ซึ่งเป็นรีวิวตอนที่ 3 (ถ้าหากท่านยังไม่ได้อ่านตอนที่ 1 และ 2) แนะนำว่าให้กลับไปอ่านที่รีวิวตอนที่ 1 และ 2 ตามลิงค์ข้างล่าง

Link : รีวิวตอนที่ 1

Link : รีวิวตอนที่ 2



สำหรับคอมเพรสเซอร์ ที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ เครื่องนี้ เป็นคอมเพรสเซอร์ที่ผลิตโดยบริษัทในเครือของ SAMSUNG

ถ้าหากใครอยากรู้รายละเอียด เกี่ยวกับคอมเพรสเซอร์ของ SAMSUNGเพิ่มเติม ก็ลองเข้าไปหาดูเพิ่มเติมในเว็บไซด์ของผู้ผลิตซึ่งในส่วนนี้ผมจะไม่ขออธิบายอะไรมากนัก เพราะผมเองก็ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับคอมเพรสเซอร์SAMSUNG มากนัก




ในข้อมูลจำเพาะของเครื่องปรับอากาศเครื่องนี้ระบุว่าคอมเพรสเซอร์ที่ใช้ เป็นคอมเพรสเซอร์โรตารี่ แบบ Twin Rotary Compressor หรือคอมเพรสเซอร์โรตารี่แบบสองใบพัด ซึ่งภายคอมเพรสเซอร์จะมีตัวใบพัดโรเตอร์จำนวนสองอัน ถูกวางในแกนเพลาลูกเบี้ยวแกนเดียวกันทำให้สามารถดูดและอัดสารทำความเย็นได้รวดเร็วและดีขึ้นอีกทั้งในขณะที่คอมเพรสเซอร์ทำงาน Twin Rotary Compressor ยังสามารถทำงานได้นุ่มนวลกว่าเนื่องจากมีการลั่นสะเทือนที่น้อยกว่า ซึ่งผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือ เสียงที่เงียบลง

ส่วนคอมเพรสเซอร์แบบเดิมๆที่มีใช้ในเครื่องปรับอากาศรุ่นธรรมดาทั่วไปจะเป็น Single Rotary Compressor หรือคอมเพรสเซอร์โรตารี่แบบใบพัดเดียวมีใบพัดโรเตอร์อยู่เพียงชุดเดียว



แต่ว่า Twin Rotary Compressor ที่มีใช้กันในขณะนี้มันไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งได้รับการคิดค้นแต่อย่างใด คอมเพรสเซอร์ชนิดนี้เริ่มมีการนำมาใช้หลายปีแล้วและปัจจุบันนี้ผู้ผลิตรายอื่นๆก็ได้มีการนำไปพัฒนาและนำมาใช้เพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลายผู้ผลิตหลายรายได้เริ่มนำเอา Twin Rotary Compressor มาใช้ในเครื่องปรับอากาศของตน
ในตอนนี้มีหลายยี่ห้อ ที่นำเอาเทคโนโลยี Twin RotaryCompressor เข้ามาใช้



ในส่วนของการรับประกันคอมเพรสเซอร์สำหรับคอมเพรสเซอร์ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศเครื่องนี้ทางผู้ผลิตได้มีการรับประกันคอมเพรสเซอร์ เป็นเวลา 5 ปีซึ่งเป็นระยะเวลาการรับประกันเทียบเท่ากับแบรนด์ชั้นนำหลายๆเจ้า
แต่ในคอมเพรสเซอร์ตู้เย็นของ SAMSUNG รุ่นใหม่ระยะเวลารับประกันคอมเพรสเซอร์ ผู้ผลิตได้รับประกันเป็นเวลาถึงถึง 10 ปี จัดว่าเป็นระยะเวลาในการรับประกันที่นานสุดในตอนนี้สำหรับคอมเพรสเซอร์ตู้เย็นในบ้านเรา



ถึงแม้ว่าผมเอง จะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับคอมเพรสเซอร์ SAMSUNG สักเท่าไหร่เนื่องจากคอมเพรสเซอร์แบรนด์นี้ เป็นอะไรที่ค่อนข้างจะใหม่สำหรับผม แต่ถ้าดูจากระยะเวลาในการรับประกันที่ผู้ผลิตได้ให้ไว้ก็ช่วยสร้างความเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว



กลับมาต่อกันในส่วนแผงวงจรควบคุม ที่อยู่ในชุดคอยล์ร้อน ในส่วนนี้มีการแสดง Diagram วงจรไฟฟ้าโดยรวมเอาไว้บนฝาครอบของกล่องควบคุมซึ่งให้ไว้ละเอียดในระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้เป็นวงจรที่ละเอียดมาก แบบวงจรจริงที่ใช้ประกอบในขั้นตอนการผลิต ด้านใต้วงจรไฟฟ้าก็จะเป็นตารางที่แสดงอาการขัดข้องต่างๆและการแก้ไขเบื้องต้น







ในภาพนี้ ด้านบนคือส่วนของบอร์ดควบคุมหลัก ถัดลงมาคือReactor (ขดลวดรีแอคเตอร์)มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการและควบคุมความถี่อีกทั้งยังช่วยจัดการกับการรบกวนของกระแสฮาร์โมนิค ที่เกิดขึ้นในระบบขณะที่เครื่องทำงาน




บริเวณหลักต่อสายไฟฟ้า หรือ Terminal ส่วนที่อยู่ในคอยล์ร้อนในเครื่องปรับอากาศรุ่นนี้รูปแบบการเชื่อมต่อสายไฟให้เครื่อง มีดังนี้
เริ่มที่สายเมนของเครื่องปรับอากาศซึ่งรับพลังงานมาจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าในบ้าน(AC 220V) นำสายเมนไฟเข้ามาต่อที่บริเวณTerminal ที่ชุดคอยล์ร้อนด้านที่ระบุว่า Power โดยที่ตัว Terminal ที่ชุดคอยล์ร้อน ในด้าน Powerจะมีสองชั้น ให้เราต่อสายไฟฟ้าได้ 2 คู่ 4เส้น (ด้านนี้จะเป็นด้านแรงดัน 220V) สำหรับต่อเมนไฟเข้าและพ่วงสายไฟสำหรับไปจ่ายให้ชุดคอยล์เย็น

สำหรับ Terminal อีกอันที่อยู่ในชุดคอยล์ร้อนส่วนนี้จะเป็น Terminal ที่ระบุข้อความว่า Communicationซึ่งเป็นจุดสำหรับเชื่อมสายสัญญาณของภาคคอนโทรล ระหว่างชุดคอยล์ร้อนและคอยล์เย็นต้องเชื่อมต่อด้วยสายสองเส้น และต้องระวังอย่าสลับสายกันเด็ดขาด





ส่วนของฝาครอบคอยล์ร้อน ลักษณะเป็นแผ่นเหล็กชิ้นเดียวยึดติดกับฐานเครื่องด้วยสกรูประมาณ 8-9 ตัว มีตะแกรงพลาสติกสำหรับป้องกันใบพัดลมติดตั้งอยู่ตัวฝาครอบคอยล์ร้อนถูกเคลือบด้วยสีกันสนิม



ดูคอยล์ร้อนเบื้องต้นไปแล้วต่อไปมาแกะดูตัวคอยล์เย็น Fan Coil Unit



ลื่อนลังกระดาษออกก็จะพบคอยล์เย็นบรรจุในฐานโฟมถูกหุ้มด้วยพลาสติก




เมื่อนำพลาสติกที่หุ้มออก รู้สึกว่าสีของหน้ากากมันไม่ค่อยจะออกโทนฟ้าเหมือนที่เคยเห็นจากภาพที่แสดงในแผ่นพับ และสื่อโฆษณาต่างๆ
วัสดุที่นำมาประกอบเป็นชุดคอยล์เย็น อย่างเช่นพลาสติกที่ทำฝาครอบเป็นพลาสติกหนา มีสัมผัสที่มันเงา
ความเห็นของผมในส่วนนี้...ผมว่าตัวนี้พลาสติกที่ใช้จัดว่ามีคุณภาพดีอยู่ในระดับที่พอจะเทียบกันได้กับเครื่องปรับอากาศ Inverter หลายแบรนด์จากฝั่งญี่ปุ่นได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ




มุมล่างขวาของชุดคอยล์เย็นจะมีหน้าจอแสดงผลติดตั้งอยู่ ถัดลงมาจะเป็นสวิทช์สำหรับเปิด/ปิดในกรณีฉุกเฉินโดยไม่ต้องใช้รีโมทคอนโทรล


พื้นที่บนหน้าจอ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนหลักๆคือส่วนบนและส่วนล่าง

ส่วนบนของหน้าจอ คือพื้นที่สำหรับแสดงผลออกมาเป็นตัวเลขและอักษรภาษาอังกฤษ โดยหน้าจอส่วนบนจะแสดงผลออกมา ในรูปแบบ Seven segment 
โดยปกติส่วนนี้จะถูกใช้แสดงผลเป็นตัวเลขซึ่งตัวเลขที่แสดงจะเป็นค่าของอุณหภูมิห้องในขณะนั้น
เมื่อปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศหน้าจอส่วนนี้จะแสดงตัวเลขของค่าอุณหภูมิที่ถูกปรับตั้ง เป็นเวลาประมาณ 3 วินาที แล้วจะกลับมาแสดงค่าอุณหภูมิห้องเหมือนเดิม
หน้าจอส่วนบน ยังใช้แสดงผลออกมาเป็นตัวอักษรในภาษาอังกฤษซึ่งเป็นการแสดงผลเฉพาะในกรณีพิเศษ อย่างเช่นการตั้งค่าให้กับเครื่องปรับอากาศ

ส่วนล่างของหน้าจอ จะเป็นส่วนที่แสดงสถานะของโหมดการทำงานต่างๆโดยที่ผิวของจอแสแดงผลจะมีสัญลักษณ์ของโหมดการทำงานต่างๆด้านในของจอแสดงผลจะมีหลอดไฟ LED ฝังอยู่ตรงกับตำแหน่งของสัญลักษณ์แต่ละตัวมีไว้เพื่อเป็นตัวแสดงสถานะการทำงานของโหมดการทำงานต่างๆ




แผงอีแวปปอเรเตอร์ Evaporator หรือแผงทำความเย็นที่อยู่ในชุดคอยล์เย็นของเครื่องปรับอากาศ เป็นแบบท่อและครีบมาตรฐานแบบเดียวกันกับเครื่องปรับอากาศของยี่ห้ออื่นๆ
แผงอีแวปปอเรเตอร์ ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศรุ่นนี้ทางผู้ผลิตได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ได้รับการเคลือบด้วยสารป้องกันการกัดกร่อน




แผ่นกรองอากาศหรือฟิลเตอร์ ยังคงเป็นแบบ FullHD Filter เส้นใยความละเอียดสูง ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานของทาง SAMSUNG




ลองขยายเพื่อจะได้ดูชัดๆในเรื่องความละเอียดของเส้นใยในแผ่นกรองอากาศ ซึ่งเส้นใยที่มีความละเอียดสูงย่อมสามารถดักจับอนุภาคฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กได้ดีแต่ก็ต้องแลกกับการอุดตัดที่อาจเกิดได้เร็วขึ้นกว่าแผนกรองอากาศแบบทั่วๆไปเนื่องจากสิ่งสกปรกที่ถูกดักจับไว้ได้มากกว่า ทำให้ต้องขยันถอดออกมาล้างบ่อยๆแต่ถ้าเทียบกับผลที่ได้ ก็ถือว่ารับได้ในส่วนนี้




เมื่อสังเกตเข้าไปภายในช่องลมออกของคอยล์เย็นตรงบริเวณมุมขวา จะมีการติดตั้งอุปกรณ์เสริม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ของระบบฟอกอากาศ Virus Doctor
ตัวสี่เหลี่ยมที่ติดตั้งอยู่ในมุมขวาของช่องลมออก จะเป็นตัวสร้างอิออนลบ (-) ที่มีหน้าที่กำจัดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ราและสารก่อภูมิแพ้ที่แพร่กระจายในอากาศ




แท่งสีดำที่ติดอยู่กับโครงของฝาครอบชุดคอยล์เย็นเป็นหลอดไฟ LED ใช้สำหรับแสดงสถานะ การทำงานของระบบฟอกอากาศ Virus Doctor




เมื่อเปิดใช้งานฟังก์ชั่น Virus Doctor หลอดไฟ LED ก็จะสว่างเป็นเหมือนสัญญาณบอกให้ผู้ใช้งานรู้ว่า...ขณะนี้ระบบฟอกอากาศ Virus Doctor กำลังทำงานอยู่





ช่วงหลังๆมานี้ เครื่องปรับอากาศ SAMSUNG ได้มีการพัฒนาในส่วนของระบบฟอกอากาศและนำเสนอจุดขายของการเป็นเครื่องปรับอากาศเพื่อสุขภาพซึ่งได้รวมถึงเครื่องปรับอากาศเครื่องนี้ ทางผู้ผลิตก็ได้เน้นในเรื่องการดักจับสารก่อภูมิแพ้ซึ่งกลไกลหลักๆที่เครื่องปรับอากาศเครื่องนี้ใช้ในการดักจับสารก่อภูมิแพ้ผมคาดว่า...เป็นผลที่ได้จากความละเอียดของเส้นใยในแผ่นกรองอากาศซึ่งเส้นใยที่ว่านี้ เมื่อพิจารณาด้วยตาเปล่า ก็จะเห็นได้ชัดว่ามีความละเอียดสูงอีกทั้งยังมีระบบฟอกอากาศ Virus Doctor เข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน



สำหรับใครที่ตั้งโจทย์ในเรื่องของระบบฟอกอากาศที่มีในเครื่องปรับอากาศหรือใครที่ให้ความสำคัญในส่วนของการป้องกันและยับยั้งสารก่อภูมิแพ้เครื่องปรับอากาศเครื่องนี้ก็น่าจะมีส่วนช่วยได้เยอะ
แต่สำหรับตัวผมเอง และคนในครอบครัว เนื่องจากไม่มีใครที่เป็นภูมิแพ้ผมจึงไม่ค่อยจะซีเรียสในส่วนนี้มากสักเท่าไหร่ แต่การมีระบบฟอกอากาศเข้ามาผมก็ถือกว่าดีกว่าไม่มีครับ



รีวิวยังไม่จบ อ่านรีวิวต่อ ตอนที่ 4 Click






Create Date : 29 พฤษภาคม 2556
Last Update : 9 มิถุนายน 2556 3:24:49 น. 0 comments
Counter : 14570 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

KanichiKoong
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 275 คน [?]




ช่องทางการติดต่อผู้จัดทำ

- หลังไมค์
- E-mail : aum_tawatchai@hotmail.com
-------------------------------------
เนื้อหาที่ปรากฏ อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการศึกษา/หาความรู้ ซึ่งไม่เป็นการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
-------------------------------------
New Comments
Friends' blogs
[Add KanichiKoong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.