Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
31 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
การป้องกันภัยพิบัติ รู้ไว้ใช่ว่า

ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนภูมิศาตร์ที่พร้อมจะเจอภัยธรรมชาติต่าง ๆ มากมาย เช่น แผ่นดินไหว ซึนามิ ไต้ฝุ่น น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม ฯ
Japan has wide variety of natural disasters.

นับตั้งแต่เกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ฮันชิน อวาจิ 17 มกราคม 2538 (The great Hanshin Awaji Earthquake)

ญี่ปุ่นได้เรียนรู้จากประสบการณ์การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนั้น และเปลี่ยนแนวคิดจากการตั้งรับภัยพิบัติมาเป็นการป้องกัน นำมาวางแผนจนออกเป็นนโยบายระดับชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือทำให้คนในประเทศได้ตระหนักว่าภัยธรรมชาติสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และไม่สามารถคาดการณ์ได้ทันทีล่วงหน้า

ดังนั้นเพื่อที่จะสามารถอยู่รอดได้ คือการเรียนรู้ธรรมชาติของการเกิดภัยพิบัติ เรียนรู้วิธีที่จะช่วยเหลือตัวเอง
learn how to save your life


มีโอกาสได้เข้าไปในพิพิธภัณฑ์ก้จะมีภาพเหตุการณ์การเกิดแผ่นดินไหวที่โกเบ ได้ดูภาพยนต์จำลองการเกิดเหตุการณ์
ตื่นเต้นดีแท้

มีการให้ความรู้เรื่องการสร้างบ้านที่แข็งแรง ด้วยวิธีที่เข้าใจง่าย ๆ โดยการใช้กระป๋องที่มีดินทรายอุ้มน้ำไว้ แล้วมีบ้านจำลองปักไว้ ที่กระป๋องมีคันโยกเพื่อให้หมุนได้ ให้หมุนอย่างเร็ว จะเห็นว่าบ้านได้เคลื่อนที่หลุดจากตำแหน่งเดิม

ต่อมาให้นำบ้านที่มีหมุดเหมือนเสาเข็มไปปักไว้ แล้วให้หมุนคันโยกแบบเดียวกับทำกับบ้านหลังแรก
จะเห็นว่าบ้านหลังที่มีเสาเข็มก็ยังอยู่ที่เดิม ไม่เคลื่อนย้าย

แสดงให้เห็นว่าบ้านที่มีเสาเข็มจะมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถทนทานต่อแรงสั่นสะเทือน กรณีเกิดแผ่นดินไหวได้ ส่วนรูปด้านล่างก็จะเป็นการจำลองทางด้านโครงสร้างของอาคารบ้านเรือน ว่าถ้ามีการเพิ่มคานเพิ่มเหล็ก มันก็จะมั่นคง


ได้ดูภาพการบรรยายของวิทยากรท่านหนึ่ง ฉายให้เห็นถึงแผ่นดินไหวในประเทศหนึ่ง แล้วเด็กในโรงเรียนเสียชีวิตเกือบหมด มีคำพูดว่า
No child no future คิดดูสิว่าเมื่อถึงช่วงเวลานั้น สังคมตรงนั้นจะเป็นอย่างไร เมื่อเด็กในสังคมหายไป จึงมาใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยในโรงเรียนมากขึ้น
ในรูปจะเป็นการติดสก๊อตเทปที่กระจกในโรงเรียน เพื่อป้องกันกระจกแตกใส่นักเรียน


มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศโยงมาถึงระดับท้องถิ่นที่จะทำให้คนญี่ปุ่นรู้ถึงภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ในประเทศ แนวทางการปฏิบัติที่จะช่วยตัวเองให้อยู่รอดได้รวมถึงการช่วยเหลือผู้อื่น โดยมีการปลูกฝังเด็กตั้งแต่ในวัยเรียน มีคู่มือการให้ความรู้ที่เหมาะกับวัยของเด็ก เช่นเป็นภาพการ์ตูน สอนเด็กว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหว หากอยู่ในห้องเรียน ให้มุดลงใต้โต๊ะ ให้อยู่ห่างจากกำแพง ต้องเอามือปิดศรีษะไว้


ญี่ปุ่นจะมี เชลเตอร์ Shelter ที่พักที่ปลอดภัย ที่ทุกคนในชุมชนจะรู้ว่า
ต้องไปที่ไหน หากมีภัยพิบัติขึ้น รู้เส้นทางการเดินทาง ซึ่งจะมีการสอนเด็ก
ในตรงนี้ (จะอธิบายรายละเอียด ตรงนี้ที่หลัง)

เด็กจะรู้ว่าต้องรีบไปที่ไหน หมายถึงว่า เด็กทุกคนจะรู้โดยอัตโนมัติ
เนื่องจากได้รับการปลูกฝังมา จากคอนเซ็ปที่ว่าไม่มีใครช่วยเหลือคุณได้ดีเท่ากับการที่คุณช่วยเหลือตัวเอง
แต่ไม่ได้หมายถึงว่า วินาทีนั้นจะไม่มีใครช่วยเหลือใคร เพียงแต่ว่ามีระบบ มีสติ เรียนรู้ไว้ คงเป็นสิ่งที่ดี

เออ นอกเรื่องสักหน่อย บางทีลูกเราที่เห็นว่ามันฉลาดนักหนา เวลาเกิดภัยขึ้น เราจะเห็นตัวตนของเขา
ตอนซึนามิมา ลูกชายเรามันโวยวาย กลัว กลัวตาย ติดแม่หนึบ
ทำเอาเราสติแตกได้เลยนะค่ะ

ในชั้นเรียน จะมีการสอนเด็กด้วยวิธีง่าย ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน เช่น เล่นเกมส์จับรูปภาพ การใช้หุ่นมือ การ์ตูน อย่างหลากหลายวิธี ให้เหมาะกับวัยของเด็ก โดยเน้นในแนวคิดที่ว่า ต้องเป็นการเรียนรู้อย่างเป็นไปตามธรรมชาติ ให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจริง และที่สำคัญต้องให้เด็กสนุกที่จะเรียนรู้
สอดแทรกความรู้ ไปบนกิจกรรมต่าง ๆ มีการใช้สื่อง่าย ๆ ที่อยู่รอบตัว


ในโรงเรียน มีความร่วมมือกับชุมชนที่จะจัดกิจกรรมวันป้องกันภัยพิบัติในโรงเรียน มีการจัดฐานให้ความรู้ต่าง ๆ ให้เด็กได้สับเปลี่ยนกันเข้าร่วมกิจกรรม เช่น ฐานฝึกการใช้เครื่องมือดับเพลิง

วกเข้ามามองบ้านเรา ถามว่า หากเกิดเพลิงไหม้ มีคนมากน้อยเพียงไร ที่รู้จักวิธีดับเพลิง

เด็ก ๆ ได้เรียนรู้วิธีการดับเพลิงโดยใช้น้ำ




ญี่ปุ่นแม่บ้านชอบทำเทมปุระ ก็คือพวกของทอด ๆ เขาก็จะเอาน้ำมัน
ใส่กระทะเปิดแกส แล้วมีสายวัดอุณหภูมิแหย่ไปที่กะทะ
เด็ก ๆ ก็จะจดไว้ที่กระดานว่ากี่นาที ความร้อน ขึ้นเท่าไรแล้ว
สุดท้ายในที่สุด ใช้เวลากี่นาที ที่กระทะจะไหม้ แล้วทำอย่างไร

คำตอบ ใช้ฝาหม้อปิดค่ะ

จริง ๆ ก็คือการตัดออกซิเจน ดูเหมือนอิฉันตื่นเต้นกับความรู้ใหม่นี้
เพราะในชีวิตจริง ไฟลุกเมือ่ไร ก็ใช้น้ำดับทุกที
เลยมาถึงบางอ้อ ว่าเคสอย่างนี้ ห้ามใช้น้ำดับค่ะ

ที่โรงเรียนบ้านเรา คงไม่ได้สอนในเรื่องทักษะการดำรงชีวิต
สักเท่าไร เลยอยากให้มีกิจกรรมคล้าย ๆ อย่างนี้ จัดขึ้นทุกโรงเรียน ปีละครั้งก็ดี อ้อ สอนเด็กเรื่องจงมีสติ น่าจะดีที่สุด

ในวันซ้อมภัยในโรงเรียน มีฐานการจำลองการสั่นสะเทือน ให้นักเรียนได้ทดสอบ ถึงความสั่นสะเทือน หากเกิดแผ่นดินไหว


ในส่วนของผู้ปกครอง ก็ให้ความรู้อีกแบบหนึ่ง

เรียกว่าทำกันเป็นระบบ
เนื่องจาก จากประสบการณ์แผ่นดินไหวที่อวาจิ ปี 2538 เกิดเวลา 05.46 ครั้งนั้น เป็นเวลาที่คนส่วนใหญ่ยังอยู่ที่บ้าน จึงมีผลออกมาว่า
ผู้รอดชีวิตจากแผ่นดินไหว เกิดจากความช่วยเหลือของคนในชุมชนเอง
เพราะ คนในชุมชนจะรู้ว่า แต่ละบ้านมีใครบ้าง และแต่ละคนนอนอยู่ที่ไหน
ญี่ปุ่นจึงให้ความสำคัญกับชุมชน เป็นอย่างมาก ในเรือ่งการป้องกันภัยพิบัติ

มีโอกาสได้ไปที่พิพิธภัณฑ์อินามูระ ในรูปเป็นข้าวของเครื่องใช้ ที่แสดงไว้ในพิพิทภัณฑ์ที่แต่ละบ้านควรเตรียมไว้ เท่าที่จำได้จะมี ไฟฉาย น้ำกิน ข้าวที่ใช้น้ากรอกลงไปก็ทานได้เลย
ดูตามรูปก้แล้วกัน

อีกรูปค่ะ ชัด ชัด สำหรับ ข้าวของ ที่ต้องเตรียมยามฉุกเฉิน

แล้วก็มีการจำลองให้เห็นถึงตอนซึนามิ มา ว่าคลื่น มันมาอย่างไง เป็น 3 D



ส่วนที่ทะเล ก็จะมีกำแพงกั้น อยู่ 3 ชั้น เนื่องจากหมู่บ้านและทะเลอยู่ใกล้กันมาก และแถบอยู่ในระดับเดียวกัน

มีโอกาสได้ไปดู ศูนย์ป้องกันภัยพิบัติ

มีโอกาสได้เรียนรู้เรื่อง AED เกี่ยวกับการใช้เครื่องช็อตหัวใจมาด้วยง่ะ
รูป การสอน AED Automated External Defibrillator
เป็นการให้ความช่วยเหลือขั้นต้นต่อผู้ประสบเหตุหัวใจหยุดเต้น
และ หากวันหนึ่งคุณมีโอกาสได้ใช้คุณจะรู้ซึ้งกับคำว่า "รู้ไว้ใช่ว่า"

ว่าแต่ว่า เครื่องนี้มันจะมีไว้ให้เราหยิบใช้ได้อย่างทันท่วงทีหรือเปล่า หว่า


ขณะนี้ญี่ปุ่นกำลังเข้ามาช่วยเราในเรือ่งการจัดการเรียนการสอนการป้องกันภัยธรรมชาติในโรงเรียนอยู่ค่ะ โดยแบ่ง ภัยธรรมชาติ ออกเป็น
3 เรือ่งค่ะ
มีเรื่องดินถล่ม ที่ปาย
น้ำท่วมที่ชุมพร
ซึนามิที่ภูเก็ต ค่ะ

ต้องขอบคุณรัฐบาลญี่ปุ่น นะค่ะ



Create Date : 31 ตุลาคม 2550
Last Update : 30 มิถุนายน 2554 12:26:20 น. 0 comments
Counter : 2441 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ภูเก็ต-ป่าตอง
Location :
ภูเก็ต Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




ข้าเจ้าเป็นสาวภูเก็ต แต้ๆ กะเจ้า

Friends' blogs
[Add ภูเก็ต-ป่าตอง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.