JyHorseman
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
29 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
2010m07d24: Yon-Roi iSan with OSorTho; 02 On the Way

2010m07d24: Yon-Roi iSan with OSorTho; 02 On the Way to Prasat Phnom Rung

เราออกเดินทางมา รถยนต์ค่อนข้างมาก แต่ก็ยังวิ่งไปได้เรื่อยๆ
ออกเดินทางมาสักพักหนึ่ง ก็มีของว่างมาให้ทานรองท้อง

ที่ไม่ได้ทานมานาน ก็คงเป็น "ข้าวเหนียวหมู / เนื้อ" นี่แหละ
อร่อยมาก ขอบอก และขอขอบคุณผู้จัดเตรียมด้วยนะครับ






ระหว่างทาง เมื่อเรามาถึงที่
อำเภอหนองบุญมาก
จังหวัดนครราชสีมา

ก็ได้เห็นขบวนแห่เทียนพรรษาของคนท้องถิ่น สวยงามมากเลย













































ภาพนี้ เวลาดูแล้ว ชอบตรงลูกศรชี้นำการกลับรถบนถนน
ดูแล้ว จัดรูปได้แปลกดี เอาไปทำคำบรรยายได้ดีนะ







... ... ... ...


บล๊อกหน้านี้ จะใส่รูปขบวนแห่เทียนพรรษามากเลย
เริ่มแรก มีความรู้สึกว่ามาก และได้ตัดออกไปบ้าง

พอนำภาพมาใส่ จากการที่เสียดายภาพที่ได้ถ่ายมา
และได้มีโอกาสเห็นขบวนแห่แบบนี้
เลยขอนำภาพมาเก็ยรวมไว้

พอนำภาพมาใส่ในหน้าบล๊อกนี้ ก็ใช้เวลาอยู่บ้าง
แต่พอนึกถึงว่า
ขนาดภาพยังมากขนาดนี้
และภาพก็เป็นคนท้องถิ่นในแต่ละกลุ่มโดยส่วนใหญ่

แต่ละกลุ่มก็จัดกลุ่มขบวนของตน แต่งกายกันคนละแบบ
เต็มที่กับกิจกรรมของงาน
และเวลานั้น แดดร้อนมากๆ ก็อยู่กันกลางแจ้งเลย
ทำให้คิดว่า
คนท้องถิ่นเขายังให้ความสำคัญอย่างมาก
กับงานเทศกาลอย่างนี้นะ
ขบวนแห่ ยาวมากๆเลย

และอีกอย่างหนึ่งคือ

รถเทียนพรรษา ขนาดใหญ่มากๆ

จากที่ได้ฟังไกด์ในคณะให้ข้อมูล
เทียนแบบนี้
ต้องใช้เงินซื้อเทียนมาทำเป็นหลักแสนบาทเลย
ไม่รู้ว่า รถเทียนพรรษาของขบวนแห่นี้
จะใช้งบลงทุนไปเท่าไร

อย่างไรแล้ว ก็ขอให่้มีความสุขกับโอกาสวันเข้าพรรษานี้นะครับ





Create Date : 29 กรกฎาคม 2553
Last Update : 12 เมษายน 2554 17:18:30 น. 1 comments
Counter : 1665 Pageviews.

 
ประวัติงานประเพณีแห่เทียนพรรษา เมืองอุบล

Source: www.GuideUbon.com

ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน

การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป้นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน

ในระยะเวลาประมาณ พ.ศ.2480 การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น ถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผล จึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ

ในช่วงปี พ.ศ.2494 ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น

ใน พ.ศ.2495 ได้มีการฟื้นฟูศิลปะการทำต้นเทียน และการแห่เทียนพรรษาของ จังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดเทียนพรรษา 2 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภท ติดพิมพ์

ครั้น พ.ศ.2497 ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อันได้แก่ นายอารีย์ สินสวัสดิ์ นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีทำขึ้นใหม่ โดยใช้ปูนพลาสเตอร์แกะเป็นแม่พิมพ์ลายต่างๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอกๆ ผึ้งที่ใช้หล่อดอกไม้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นเป็นส่วนลึกของลายอย่างชัดเจน นายประดับ ก้อนแก้ว ได้ทำต้นเทียนติดพิมพ์ และตกแต่งขบวนต้นเทียนของวัดมหาวนารามได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ

ประมาณปี พ.ศ.2500 มีการจัดงานกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน

พ.ศ.2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างสูงอายุคนหนึ่งได้คิดและแกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา ทำให้ต้นเทียนแกะสลักที่นายคำหมาทำให้กับบ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ มีความแปลกใหม่สวยงาม ดังนั้น ในปีต่อมา จึงได้มีการเสนอให้จัดประกวดต้นเทียน 3 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ระยะต่อมา จึงตัดต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลายที่เป็นต้นเทียนแบบเก่า ออกจากการประกวด ช่างแกะสลักต้นเทียนที่มีฝีมือในรุ่นต่อมา ได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัยจันทรวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้องกัน

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร มีการประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ ประกวดขบวนแห่ และนางฟ้า โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนอย่างรัดกุม มีการประชาสัมพันธ์งานกันอย่างกว้างขวาง ทำให้มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเที่ยวและชมงานเป็นจำนวนมาก




โดย: JyHorseman (yoadjarust ) วันที่: 31 กรกฎาคม 2553 เวลา:15:07:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yoadjarust
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




:Users Online
Jy Horseman
New Comments
Friends' blogs
[Add yoadjarust's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.