รูปบล็อคนอก
Photobucket - Video and Image Hosting
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
25 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
อุปลมณี 04 วัตถุธรรม ตอนที่ 1



วัตถุธรรม


วัตถุธรรม


ในสิบปีแรกของวัดหนองป่าพง วัดยังมีลักษณะเป็นที่พักสงฆ์กลางดง ถาวรวัตถุยังมีน้อย พระสงฆ์อยู่อย่างเรียบง่ายในกุฏิเล็ก ๆ มุงด้วยหลังคา ฝาผนังทำด้วยใบตอง หลวงพ่อพาลูกศิษย์ทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ โดยไม่สนใจกับการพัฒนาทางวัตถุเท่าไรนัก ประกอบกับในสมัยนั้นทุนก่อสร้างไม่ค่อยจะมี

ต่อมา ชื่อเสียงของหลวงพ่อเริ่มขจรขจาย ทั้งในจังหวัดอุบลฯ และต่างจังหวัด จำนวนพระภิกษุสามเณรจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ญาติโยมที่มากราบนมัสการหลวงพ่อก็มากขึ้นโดยลำดับ ภายในไม่กี่ปี วัดหนองป่าพงจึงกลายเป็นวัดใหญ่ เป็นศูนย์กลางของวัดสาขาหลายวัด จำเป็นต้องปรับสภาพของวัดให้เหมาะกับบทบาทใหม่ วัดหนองป่าพงจึงเติบโตตามเหตุตามปัจจัย จนกระทั่งในที่สุดก็พรั่งพร้อมด้วยถาวรวัตถุ อันเหมาะสมแก่วัดป่าอันเป็นวัดแม่ของพระภิกษุสามเณรหลายร้อยรูปด้วยกัน มีกุฏิพระเณร ๗๐ หลัง กุฏิแม่ชี ๖๐ หลัง มีศาลาเอนกประสงค์ โรงฉัน เมรุเผาศพ ฯลฯ

หลวงพ่อไม่ยินดีในตึกอาคารที่หรูหราฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ หากมุ่งคุมการก่อสร้างในวัด ให้อยู่ภายในเกณฑ์ที่พอดี สร้างแต่สิ่งที่มีประโยชน์จริง ๆ สร้างให้กลมกลืนกับธรรมชาติให้มากที่สุด และในลักษณะที่ไม่ทำลายบรรยากาศ เรียบง่าย มักน้อยสันโดษของวัดป่า

หลักการสำคัญที่หลวงพ่อยึดไว้เสมอต้นเสมอปลาย คือ การไม่ขออะไรเลยจากญาติโยมแม้ในทางอ้อมก็ตาม ฉะนั้น การเจริญโดยวัตถุธรรมของวัดหนองป่าพงจึงค่อยดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติ ตามหลัก สีเลน โภคสมฺปทา โดยไม่มีการเรี่ยไรจากชาวบ้านเป็นอันขาด หลวงพ่อสอนอยู่เสมอว่า พระไปยุ่งกับการหาเงินก่อสร้างวัดเป็นสิ่งที่น่าเกลียด แต่ให้พระสร้างคน คนจะสร้างวัดเอง

แม่ชีบุญยู้ ได้กล่าวถึงการสร้างวัตถุธรรมต่าง ๆ ในวัดหนองป่าพงว่า
“หลวงพ่อท่านไม่ให้มีการเรี่ยไรข้าวของเงินทอง อันจะทำให้ญาติโยมต้องเดือดร้อน ให้สร้างไปตามกำลังปัจจัย ถ้าหมดเมื่อไรก็หยุดเอาไว้ก่อน งานก่อสร้างทุกอย่าง อาศัยแรงงานของพระเณรเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเป็นการประหยัดและฝึกความอดทน ฝึกให้รู้จักเจริญสติในทุกอิริยาบถ เพื่อเป็นการสร้างสรรค์ความสามัคคีในหมู่คณะ และเนื่องจากปัจจัยในการก่อสร้างมีจำกัด ไม่สามารถใช้ได้อย่างฟุ่มเฟือย สิ่งใดที่พอจะเป็นการประหยัดได้ก็ต้องทำเอง บางครั้งก็มีชาวบ้านที่อยู่รอบ ๆ วัดเสียสละแรงงานมาช่วยด้วย”




การก่อสร้างถาวรวัตถุเริ่มต้นอย่างแจ้งชัดด้วยศาลา (โรงธรรม) ซึ่งเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ มีขนาดกว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ขณะที่กำลังปรับพื้นที่เตรียมจะสร้าง มีผู้ทักท้วงหลวงพ่อว่า สร้างศาลาใหญ่เกินไป ด้วยวัดอยู่กลางป่าดงเช่นนี้ จะมีใครที่ไหนมากันมากมาย หลวงพ่อจึงพูดแย้งขึ้นว่า

“โอ๊ย... บางทีศาลาจะเล็กไปด้วยซ้ำ อีกหน่อยจะมีคนมามากมาย จะไม่มีที่พอนั่งกัน จะต้องล้นออกไปข้างนอก”

ในกาลต่อมา ก็ปรากฏเป็นจริงอย่างที่ท่านว่า จนเมื่อศาลาอยู่ในสภาพที่เก่าคร่ำคร่ามาก ใน พ.ศ.๒๕๓๓ พระอาจารย์เลี่ยมจึงได้รื้อทิ้ง และสร้างใหม่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

การสร้างสมัยนั้นทำตามกำลังปัจจัย ไม่รีบร้อน ใช้เวลาหลายปีจึงแล้วเสร็จ โดยในปีแรก พ.ศ.๒๕๐๖ ได้หล่อเสา ๖๐ ต้น ได้เศษเหล็กเส้นมาจากสะพานเก่าที่เขารื้อทิ้ง ในปีต่อมาได้เทคานและขึ้นโครงหลังคา จึงแล้วเสร็จ และได้สร้างหอฉันขนาดกว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๕๒ เมตร ต่ออกไปทางด้านหลังศาลา โดยได้รับแรงศรัทธาจากญาติโยมช่วยกันบริจาคทั้งปัจจัยและแรงงาน จนการก่อสร้างสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ต่อมาในปี ๒๕๑๒ ได้เทพื้นยกอาสน์สงฆ์จนเสร็จสิ้น





กำแพงและถนนรอบวัด


กำแพงและถนนรอบวัด


วัดหนองป่าพงเป็นวัดที่มีกำแพงสองชั้น เนื่องจากเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ ได้ขยายที่ดินจากเดิม ๑๘๗ ไร่เป็น ๓๐๐ ไร่ จึงได้ก่อกำแพงชั้นที่ ๒ ขึ้น สูง ๒ เมตร ยาว ๒,๗๒๐ เมตร ส่วนกำแพงชั้นแรกนั้น หลวงปู่เสยเล่าประวัติความเป็นมาว่า

“พอสร้างศาลาเสร็จ ก็มาทำถนน แล้วก็ทำเขตวัด กว่าจะได้เขตวัดรอบก็ต้องซื้อที่ดินสิบกว่าเจ้าของ ก็ไม่มีปัญหาอะไร มีอยู่แปลงเดียวเท่านั้นที่มีปัญหา ใคร ๆ เขาขายแปลงละ ๑,๐๐๐ บาท แกไม่ยอม จะเอาแปลงละ ๑๐,๐๐๐ บาท พูดยังไงก็ไม่ยอมละ แกบอกว่า แกอยากได้มาก ถ้าไม่ได้ที่แก เขตวัดก็ไม่ต่อกัน ลงท้ายเลยไปปรึกษาเถ้าแก่สมหวังลูกแม่ฮวยกับพรรคพวก ช่วยซื้อให้ ในราคา ๑๐,๐๐๐ บาท ตอนแรกล้อมด้วยรั้วลวดหนาม ต่อมาจึงได้สร้างเป็นกำแพง ซึ่งก็ไม่ใช่ง่าย ๆ ต้องหล่อเสา ผมเป็นคนพาพวกชาวบ้านทำ พวกบ้านกลาง บ้านตาติดบ้านผึ้ง พวกนี้ไปตามมาช่วยงานได้ กลางคืนก็เอารถผู้ใหญ่บ้านกลางไปรับคนมา ขุดหลุม หล่อเสา ได้วันละ ๑๐ ต้น เอาเสาลง เขาก็ทำกันสนุกสนาน ตลอดคืนจนถึงเช้า หลวงพ่อไปบิณฑบาตนั่นแหละจึงหยุด

หลวงพ่อก็สั่งให้รางวัลเขา มีผ้าเช็ดหน้า สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ก็เอาออกมาแจกพวกหนุ่ม ๆ สาว ๆ ต่อมาจึงได้จ้างเขาทำ ช่องละ ๒ บาท ก็ทำได้วันละ ๕-๖ ช่อง สมัยก่อนรายได้ไม่ค่อยมี ทอดกฐินทีได้เงินเข้าวัดห้าหกร้อยบาท”





ถูกต้องตามกฏหมาย


ถูกต้องตามกฏหมาย





๒๘ ตุลาคม ปี ๒๕๑๓ วัดหนองป่าพงได้รับหนังสืออนุญาตให้เป็นวัดได้ถูกต้องตามกฏหมาย ก่อนหน้านั้น เมื่อยังเป็นเพียงสำนักสงฆ์ เวลามีการอุปสมบทต้องพานาคไปรับการอุปสมบทต่างวัด ต่างตำบล ถ้าคราวใดมีนาคบวชพร้อมกันมาก ๆ ถึงครั้งละ ๓๐-๔๐ คน ก็มีปัญหาขัดข้องขลุกขลักในการนิมนต์พระคู่สวดกรรมวาจาจารย์ อนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อจึงได้ฝึกพระเถระทั้งหลายให้ช่วยกันทำหน้าที่เป็นพระคู่สวด เพื่อให้พิธีอุปสมบทดำเนินไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

๒๙ เมษายน ๒๕๑๖ หลวงพ่อได้รับตราตั้งเป็นเจ้าอาวาส
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ หลวงพ่อได้รับตราตั้งเป็นพระอปัชฌาย์
๕ เมษายน ๒๕๑๗ วัดหนองป่าพงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ปัญหาที่จะต้องพานาคไปบวชยังวัดต่างถิ่นนั้นก็หมดไป เพราะการอุปสมบท จะทำได้แต่ในวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเท่านั้น






Create Date : 25 ตุลาคม 2554
Last Update : 31 ตุลาคม 2554 20:35:59 น. 0 comments
Counter : 520 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Jจุ้ย
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ข่าวจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ


facebookฝากข้อความได้ครับ
Google

ฟังวิทยุออนไลครับ
ฟังวิทยุออนไลน์ กดที่รูปครับ




หลับฝันดี
๑ หลับคืนนี้ฝันดีนะที่รัก...
หลับตาพักหลับตาฝันถึงวันใหม่...
หลับคืนนี้คนดีฝันถึงใคร...
รู้บ้างไหมฉันตั้งใจฝันถึงเธอ...


Friends' blogs
[Add Jจุ้ย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.