Just_Winter
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
11 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

อ้างอิงกฏหมายต่างๆถามตอบจากเวปสถานทูตไทย ณ กรุงโรม อิตาลี

คำถามและคำตอบ

ปัญหากฎหมายและระเบียบปฏิบัติ

ที่คนไทยในต่างแดนโดยเฉพาะคนไทยใน อิตาลีที่ควรทราบ

1 คำถาม บุคคลสัญชาติไทย ปัจจุบันอาศัยอยู่ในอิตาลี ต้องการสมรสกับคนอิตาลีในประเทศอิตาลีจะทำได้หรือไม่ มีวิธีการอย่างไรบ้าง

คำตอบ ท่านสามารถทำการสมรสได้ตามกฎหมายอิตาลี โดยท่านจะต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นต่อสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม ดังต่อไปนี้

เอกสาร ของบุคคลสัญชาติไทย

-หนังสือรับรองความเป็นโสดหรือสถานภาพการสมรสต้นฉบับที่ออกจาก อำเภอของไทยมีอายุไม่เกิน 6 เดือน และต้องผ่านการรับรองจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่าง ประเทศ

- สำเนา บัตรประชาชน สำเนาหนังสือเดินทาง สำเนาสูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการเปลี่ยนชื่อสกุล หากมี(จะต้องมีต้นฉบับมา แสดงด้วย)

- รูปถ่าย 1 ใบ

เอกสารของฝ่ายชายหรือหญิงที่เป็นคนต่าง ชาติ

- หนังสือ รับรองความเป็นโสดหรือสถานภาพการสมรสต้นฉบับ มีอายุไม่เกิน 6 เดือน

-สำเนา หนังสือเดินทางและบัตรประจำตัว มีต้นฉบับแสดงด้วย

- คำยืนยันว่าจะทำการสมรสกับบุคคลสัญชาติไทย

- รูปถ่าย 1 ใบ

เมื่อเอกสาร พร้อมแล้ว ให้ท่านนำไปยื่นต่อสถานเอกอัครราชทูตไทย ฯ ซึ่งจะออก

หนังสือรับรองการสมรสที่เรียกว่า Nulla Osta ท่านจะต้องนำไป รับรองลายมือชื่อเจ้าหน้าที่กงสุลที่ Prefettura ก่อน หลังจากนั้นจึงไปติดต่อที่อำเภอหรือcommune เพื่อ ดำเนินการสมรสตามระเบียบทางการอิตาลีต่อไป





2. คำถาม บุคคลสัญชาติ ไทย อาศัยอยู่ในประเทศไทย ต้องการสมรสกับคนอิตาลีตามกฎหมายไทยจะได้หรือไม่

คำตอบ ท่านสามารถทำได้โดยท่านต้องไปติดต่อ ที่สถานทูตอิตาลีในประเทศไทยด้วย

ตนเอง ไม่เกี่ยวข้องกับสถานเอกอัครราชทูต ฯ ที่โรม โดยที่บุคคลสัญชาติไทยจะต้องเตรียมเอกสารต่างๆ คล้ายกับเอกสารในข้อ 1 แต่ต้องผ่านการรับรองเอกสาร ทุกอย่างจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศก่อนและแปลเป็นภาษาอิตาลี ก่อนนำไปยื่นต่อสถานทูตอิตาลี หลังจากนั้น สถานทูตอิตาลีจะออกหนังสือที่เรียกว่า procura speciale ให้ ทั้งนี้บุคคลสัญชาติไทยจะต้องส่งเอกสารทั้งหมดไปให้คนอิตาลีเพื่อนำไปติดต่อ กับอำเภอของอิตาลีดำเนินการทางเอกสารต่อไป รายละเอียดท่านสามารถติดต่อได้ที่สถานทูตอิตาลีประจำประเทศไทย โทรศัพท์ 02-2854090-3 โทรสาร 02-2854791 - 93



3. คำถาม ผู้ที่จะสมรสจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

คำตอบ ผู้ที่จะสมรสจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

-ชายหญิงมีอายุครบ 17 ปี หามีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์จะต้องมีคำ สั่งศาลและได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองและหากอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์จะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองเพราะถือว่ายังไม่ บรรลุนิติภาวะจะกระทำนิติกรรมใดๆไม่ได้

-ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต

-ไม่ เป็นญาติทางสายโลหิต

-ไม่มีคู่สมรสอยู่แล้ว

-ไม่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมและเป็นบุตรบุญธรรมซึ่งกันและกัน

-หากฝ่ายหญิงหย่ามาก่อนแล้วจะต้องให้พ้น 310 วัน เว้นแต่ คลอดบุตรระหว่างนั้น หรือสมรสกับสามีคนเดิม หรือมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์



4. คำถาม หากสมรสตามกฎหมายอิตาลีแล้ว จะต้องสมรสตามกฎหมายไทยด้วยหรือไม่

คำตอบ ไม่ต้อง สมรสตามกฎหมายไทยอีก เพราะกฎหมายไทยยอมรับการสมรสตามกฎหมายต่างชาติอยู่แล้ว เพียงแต่ท่านจะต้องนำเอกสารการสมรสตามกฎหมายต่างชาติมาแจ้งบันทึกฐานะแห่ง ครอบครัว (คร.22) เพื่อยืน ยันการสมรสของท่าน



5 คำถาม การแจ้งบันทีกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรสหรือการหย่า ตามกฎหมายต่างชาติ จะต้องแจ้งหลังการสมรสหรือการหย่ากี่วัน จำเป็นหรือไม่และมีวิธีการอย่างไร

คำตอบ กรณีหญิงสมรสหรือหย่ากับชาวต่างชาติตามกฎหมายต่างชาติแล้ว ไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องแจ้งทางการไทยกี่วัน แต่ได้อนุโลมว่า กรณีที่พำนักอยู่ในต่างประเทศยังไม่ต้องแจ้งทางการไทยก็ได้ จนเมื่อมีโอกาสเดินทางกลับประเทศไทย ขอให้ไปติดต่อเขต หรืออำเภอในประเทศไทยเพื่อดำเนินการต่อไป

และถึงแม้ว่าตามกฎหมายใหม่ของไทย อนุญาตให้หญิงไทยที่สมรสแล้วสามารถคง

ชื่อสกุลตนเองไว้ได้ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อ สกุลตามสามีก็ตาม แต่เนื่องจากสถานภาพสมรสของท่านเปลี่ยนไปแล้วจากเคยเป็นโสดปัจจุบันสมรสแล้ว ดังนั้น คำนำหน้าจะเปลี่ยนจากนางสาวเป็นนาง ดังนั้นท่านจะต้องแจ้งบันทึกฐานะแห่งครอบครัวหรือ คร.22 โดยทางการไทยจะ

บันทึกไว้เป็นหลักฐานว่า ท่านจดทะเบียนสมรสกับใคร เมื่อใด ที่ไหน เลขที่ทะเบียนสมรสอะไร

วิธี การแจ้งบันทึกฐานะแห่งครอบครัว คือให้ท่านนำเอกสารการสมรสที่ทางการอิตาลีออกให้ไปยื่นรับรองที่prefettura ก่อนและนำเอกสารฉบับนั้นไปแปลเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย หลังจากนั้นให้นำไปรับรองที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ และนำไปรับรองที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศอีกครั้ง ท่านจึงจะสามารถนำเอกสารดังกล่าวไปยื่นบันทึกฐานะแห่งครอบครัวที่อำเภอใน ประเทศไทยได้



6. คำถาม ท่านสามารถขอหนังสือมอบอำนาจในต่างประเทศที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ เพื่อมอบอำนาจให้บุคคลที่ประเทศไทยดำเนินการในเรื่องใดได้บ้าง และมีหลักฐานที่ใช้ในการยื่นขอหนังสือมอบอำนาจมีอะไรบ้าง

คำตอบ ท่านสามารถขอหนังสือมอบอำนาจให้คนอื่น ไปดำเนินการในประเทศไทยได้ ดังนี้

-หนังสือรับรองสถานภาพการสมรสหรือการหย่า

-หนังสือรับรองการเกิด

-การแจ้งบันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรสหรือการหย่า

-หนังสือรับรองสิทธิปกครองบุตรคนเดียว

-หนังสือรับรองประวัติอาชญากรรม

-การโอน ขาย ซื้อที่ดิน

-หนังสือยินยอมให้บุตรทำหนังสือเดินทาง

เอกสาร ที่จำเป็นจะต้องยื่นประกอบได้แก่ สำเนาหนังสือเดินทาง สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาการเปลี่ยนชื่อสกุลหากมี ให้ท่านถ่ายเอกสารอย่างละ 2 ชุด พร้อม แสดงหลักฐาน ต้นฉบับด้วย ทั้งนี้ ในการขอหนังสือมอบอำนาจท่านจะต้องเดินทางไปสถานเอก อัครราชทูต ฯด้วยตนเองทุกครั้งเพราะจะต้องลงนามเป็นผู้มอบอำนาจต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของ สถานเอกอัครราชทูต ฯด้วย





7. คำถาม คนต่างด้าวมีสิทธิซื้อที่ดินพร้อมสิ่ง ปลูกสร้างในประเทศไทยได้หรือไม่ อย่างไร

คำตอบ คนต่างด้าว มีสิทธิซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทยได้ตามหลักเกณฑ์ที่ปรากฎใน มาตรา 96 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เช่นสามารถซื้อที่ดินได้เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินหนึ่งไร่ โดยจะต้องนำเงินมาลงทุนในประเทศไทยตามที่กฎหมายระบุไว้ไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้าน บาท และต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรี นอกจากนั้น คนต่างด้าวที่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว อาจขอได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ตามนัยมาตรา 19/1 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด



ท่านสามารถหารายละเอียดได้จาก //www.dol.go.th หรือสอบถามราย ละเอียดได้

จากสำนักงานที่ดินทุกแห่งทั่วประเทศ หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมที่ดิน โทร 02 2226196 หรือโทร 026223472

นอกจากนั้น คนต่างด้าวอาจขอได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายอื่นเช่น พระราช

บัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 หรือ พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่ง

ประเทศไทยพ.ศ.2522ซึ่ง สามารถติตต่อขอรายละเอียดได้ที่สำนักงานคณะกรรมการ

ส่งเสริมการลงทุนโทร.025378111 หรือการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทร.02 253-0561



8. คำถาม หญิงไทยทีสมรสกับคนต่างด้าวสามารถที่ จะซื้อบ้านและที่ดินในประเทศไทยได้หรือไม่ อย่างไร

คำตอบ กรณีที่ท่านได้สมรสกับคนต่างด้าว ถ้าท่านได้สละสัญชาติไทยเพื่อไปถือครองสัญชาติของคู่สมรส เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและประกาศในราชกิจจา นุเบกษาแล้ว ท่านก็จะเสียสัญชาติไทย จึงถือว่าท่านเป็นคนต่างด้าว ท่านก็จะมีสิทธิในการซื้อที่ดินได้เท่ากับคนต่างด้าว แต่ ถ้าท่านไม่ได้สละสัญชาติไทย ก็ไม่ถือว่าท่านเป็นคนต่างด้าว ท่านยังมีสัญชาติไทยอยู่ สามารถถือที่ดินที่ท่านมีอยู่แล้วก่อนสมรสได้เช่นเดิม และสามารถจะซื้อที่ดินใหม่ได้ไม่จำกัดแต่จะต้องมีเงื่อนไขว่า เงินที่ได้มาต้องเป็นสินส่วนตัวจะเป็นสินสมรสไม่ได้ ดังนั้น ในกรณีนี้หากคู่สมรสคนต่างด้าวอยู่ในประเทศไทยจะต้องให้คู่สมรสต่างด้าวและ คนไทยไปยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวัน

จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมว่าเงินทั้ง หมดที่นำมาซื้อที่ดินเป็นสินส่วนตัวของคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ใช่สินสมรส และกรณีที่คู่สมรสต่างด้าวอยู่ต่างประเทศไม่สามารถเดินทางไปประเทศไทยได้ ให้ไปทำหนังสือรับรองต่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยใน ต่างประเทศเพื่อบันทึกถ้อยคำว่าเงินทั้งหมดเป็นสินส่วนตัวของคนไทยไม่ใช่สิน สมรส



9. คำถาม หญิงสัญชาติไทยสมรสกับคนต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมายมีบุตรด้วยกัน บุตรจะมีสัญชาติไทยด้วยหรือไม่ การขอสัญชาติไทยให้กับบุตรจะทำอย่างไร

คำตอบ หญิงสัญชาติไทยไม่ว่าจะสมรสอย่างถูก ต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม บุตรมีสิทธิที่จะได้สัญชาติไทย รวมทั้งเด็กที่เกิดจากมารดาไทยก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์2535 ไม่ว่าขณะนี้จะมีอายุเท่าใดก็ตามจะได้สัญชาติไทยย้อนหลัง ด้วยเช่นกัน สำหรับเด็กที่เกิดจากมารดาไทยในอิตาลี ซานมาริโไซปรัส บิดามารดาเด็กสามารถยื่นคำร้องขอสูติบัตรไทยให้กับเด็กได้ที่สถานเอกอัคร ราชทูต ณ กรุงโรม โดยมีเอกสารสำคัญคือ

-ใบ รับรองการเกิดที่ออกจากอำเภอระบุชื่อบิดามารดาหรือใบแจ้งการเกิดที่ออกจาก โรงพยาบาล(ใบรับรองการเกิดจะต้องผ่านการรับรองจาก prefettura ด้วย)

- หลักฐานประจำตัวของบิดามารดา ถ่ายสำเนาอย่างละ 2 ชุด(ในกรณีที่จะทำหนังสือเดินทาง ไทยให้กับบุตรด้วย) และจะต้องนำเอกสารต้นฉบับมาแสดง ด้วย ได้แก่ ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า (หากมี) ทะเบียนบ้าน หนังสือเดินทาง บัตรประชาชน ใบเปลี่ยนชื่อสกุล (หากมี)รูป ถ่ายของเด็ก 1 ใบ

- ในกรณีที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและบุตรใช้นามสกุลของบิดา บิดามารดาจะต้องทำบันทึกสอบปากคำในการยินยอมให้เด็กใช้นามสกุลบิดา



10. คำถาม คนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศมีหนังสือเดินทางไทย สามารถจะต่ออายุหนังสือเดินทางไทยได้หรือไม่

คำ ตอบ เพื่อเป็นการ อำนวยความสะดวกให้กับคนไทยที่พำนักในต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุล สามารถต่ออายุหนังสือเดินทางของคนไทยในเล่มที่ยังไม่เคยต่อมาก่อนโดยจะต่อ ได้จนถึงวันที่ 28 กรกฎาคม ค,ศ 2010 เท่านั้น และหากเล่มที่เคยต่ออายุมาแล้ว คนไทยนั้นๆ จะต้องเดินทางไปทำหนังสือเดินทางอิเล็คทรอนิกส์ด้วยตัวเองที่สถานเอกอัคร ราชทูตหรือสถานกงสุล เอกสารสำคัญในการต่ออายุหนังสือเดินทางคือ หนังสือเดินทาง บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ถ้ามี) ใบ ทะเบียนสมรสหรือใบหย่า (หากมี) รูปถ่าย 2 ใบ พร้อมแบบฟอร์มขอต่ออายุหนังสือเดินทาง

สำหรับ การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ เอกสารสำคัญคือหนังสือเดินทางเล่มเดิม สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่า (หากมี) ใบเปลี่ยนชื่อสกุล (หากมี)



11คำถาม กรณี ที่เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องการต่ออายุหนังสือเดินทางหรือทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะทำด้วยตนเองได้ หรือไม่ อย่างไร

คำตอบ เด็กที่อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ จะทำหนังสือเดินทางหรือขอต่ออายุหนังสือเดินทาง บิดามารดาจะต้องมาลงชื่อในคำร้องขอหนังสือเดินทางทั้งสองคน ในกรณีที่ไม่มีบิดาหรือมารดามาลงชื่อร่วมด้วยจะต้องมีหลักฐานว่า บิดาหรือมารดามีสิทธิปกครองบุตรคนเดียว (หนังสือ แสดงสิทธิปกครองบุตรคนเดียว ปค.14) หรือในกรณีที่ ฝ่ายหนี่งฝ่ายใดไม่สามารถมาลงชื่อในคำร้องได้ บิดามารดาที่ไม่สามารถมาลงชื่อในคำร้องได้ต้องไปทำหนังสือยินยอมให้บุตรเดิน ทางไปต่างประเทศได้ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ทางการไทยเช่นที่เขตหรืออำเภอ หรือเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุล ทั้งนี้จะต้องมีสูติบัตรของเด็กประกอบคำร้องขอหนังสือเดินทางพร้อมกับเอกสาร ต่างๆตามข้อ 10 ด้วย



12. คำถาม หากหนังสือ เดินทางไทยสูญหาย จะต้องทำอย่างไรบ้าง

คำตอบ ท่านจะต้องติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ฯ ทันที โดยจะต้องนำหลักฐานที่สำคัญคือ

-ใบแจ้งความจากสถานีตำรวจท้องที่ที่ท่านทำหนังสือเดินทางหาย

-บันทึก สอบปากคำโดยเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ (แบบ ฟอร์มจากสถาน

เอกอัครราชทูต ฯ)

-สำเนา หนังสือเดินทางเล่มที่หาย (หากมี)

-สำเนา บัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน

-ค่า ธรรมเนียมทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ 30 ยูโร แต่ในกรณีที่ท่านจะต้องเดินทางกลับประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูต ฯ จะออกใบสำคัญประจำตัว (C .I )เพื่อ ให้ท่านใช้เดินทางกลับประเทศไทย



13. คำถาม หญิงไทยที่แต่งงานกับคนอิตาลี จะเสียสัญชาติไทยหรือไม่ จะถือ 2 สัญชาติได้หรือไม่

คำ ตอบ ตาม กฎหมายอิตาลี ยอมรับการถือ 2 สัญชาติ หญิงไทยที่โอนสัญชาติเป็นอิตาลีไม่ได้ถูกบังคับให้ต้องสละสัญชาติไทย ขณะเดียวกัน การสละสัญชาติไทยท่านจะต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และมีการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเสียก่อน จึงจะสละสัญชาติไทยได้หากไม่มีกระบวนการเหล่านี้ก็ยังถือว่าท่านมีสัญชาติ ไทยอยู่

และสามารถถือ2 สัญชาติได้



14.คำถาม บุตรชายสัญชาติไทยพำนักในต่างประเทศ จะต้องเข้ารับ การตรวจเลือกทหาร หรือไม่

คำ ตอบ จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหาร เนื่องจากรัฐธรรมนูญกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศโดยรับราชการทหาร ดังนั้นชายไทยที่อายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ ย่างเข้า 18 ปีจะต้องลงบัญชีทหารกอง เกิน (แบบสด.44) ณ ภูมิลำเนาของตน โดยแสดงหลักฐานสูติบัตร หรือบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านต่อสัสดีท้องที่ด้วยตนเอง หากไม่สามารถมาลงบัญชีไว้ได้ อาจจะมอบหมายให้ บิดา มารดาหรือผู้บรรลุนิติภาวะแล้วไปแจ้งการลงบัญชีทหารกองเกินแทน หากไม่ลงบัญชีทหารกองเกินจะมีความผิดฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน กล่าวคือถ้าเจ้าหน้าที่สัสดีส่งรายชื่อไปให้ตำรวจติดตามจับกุมมาดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสามร้อยบาทหรือทั้งปรับ ทั้งจำ

สำหรับบุคคล ที่อายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ มีหน้าที่จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อเป็นทหารตามภูมิลำเนาที่ตนมีชื่อใน ทะเบียนบ้าน แต่ระหว่างศีกษาอยู่สามารถทำเรื่องขอผ่อนผันได้ โดยนำหลักฐานการศึกษาที่ระบุ ชื่อนามสกุลนักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ สาขาวิชาที่กำลังศึกษาเล่าเรียน เริ่มเข้าศึกษาตั้งแต่ปีใด และคาดว่าจะจบการศึกษาในปีใด

ไปประกอบยื่นเรื่องขอหนังสือรับรองจาก สถานเอกอัครราชทูตฯด้วยตนเองเพื่อส่งไปขอ

ผ่อนผันเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับ ราชการทหารได้หากไปไม่ได้ด้วยตนเอง อาจมอบอำนาจให้ผู้บรรลุนิติภาวะไปยื่นแทนได้ หากได้รับหมายเรียกแล้ว ไม่ไปเกณฑ์ทหารจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี

กรณีที่ เด็กเกิดในต่างประเทศและยังไม่ได้เพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้าน เมื่ออายุครบ 17 บริบูรณ์ย่างเข้า 18 ปี จะต้องแจ้งลงบัญชีทหารกองเกินเช่นกัน หากไม่สามารถไปแจ้งด้วยตนเองได้ อาจจะมอบหมายให้บุคคลที่น่าเชื่อถือได้นำสำเนาสูติบัตรไปพบสัสดีอำเภอที่ บิดามารดามีภูมิลำเนาอยู่เพื่อแจ้งการลงบัญชีทหารกองเกินแทน เพราะชื่อของเด็กสัญชาติไทยและไม่ไปแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้าน จะมีชื่อปรากฎในทะเบียนบ้านกลาง สัสดีกลางมีอำนาจที่จะออกหมายจับได้หากไม่ไปรับการเกณฑ์ทหารมีโทษจำคุกและ ถือว่าเป็นความผิดอาญา

ท่าน สามารถดูรายละเอียดในเวบไซต์ของกระทรวงกลาโหมได้ที่www.mod.go.th



15. คำถาม บุคคลต่างด้าวสามารถที่จะยื่นเรื่องขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้หรือไม่ จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

คำ ตอบ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับหญิงไทยที่มีสามีเป็น คนต่างด้าวและต้องการพำนักเป็นการถาวรในประเทศไทย สามารถที่จะทำได้ แต่ต้องคนต่างด้าวนั้นจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

-บรรลุนิติภาวะตาม กฎหมายไทยและตามกฎหมายบรรลุนิติภาวะของประเทศผู้ขออาศัยอยู่ด้วย

-มีความประพฤติดี โดยจะต้องได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

-มีอาชีพเป้นหลักฐาน โดยเฉพาะฝ่ายชายจะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 30,000บาท ต่อเดือนและหากเป็นชายโสดจะต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่า 80,000 บาทต่อเดือน

- มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยนับถึงวันยื่นคำร้องไม่น้อยกว่า 5 ปี

- ผู้ยื่นคำร้องจะต้องสามารถมีความเข้า ใจในภาษาไทย พูด ฟัง ในระดับสามารถสื่อสารได้ และภายหลังได้มีการเพิ่มหลักเกณฑ์ว่าผู้ยื่นคำร้องจะต้องสามารถร้องเพลงชาติ ไทยและเพลงสรรเสริญพระบารมีได้ด้วย



16. คำถาม บุคคลต่างด้าวต้องการขอพำนักในประเทศไทยระยะยาวเป็นเวลา 1 ปี จะยื่นคำร้องขอวีซ่าที่สถานเอกอัครราชทูต ฯได้หรือไม่

คำ ตอบ ได้ สถานเอกอัครราชทูต ฯ สามารถออกวีซ่าประเภท non-immigrant visa รหัส O-A (long stay) โดยผู้ร้องจะต้อง มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

-มีอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (นับถึงวันยื่นคำร้อง)

-ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร

- ไม่มีประวัติเป็นภัยต่อความมั่นคงทั้งต่อประเทศไทยและประเทศที่ตน มีสัญชาติหรือมีถ่นพำนักอยู่

- มีสัญชาติหรือมีถิ่นพำนักถาวรใน ประเทศที่ตนยื่นคำร้อง

-ไม่เป็นโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ.2535)

-ไม่อนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย

เอกสารที่จะต้องยื่นคำร้อง

-หนังสือเดินทางที่มีอายุไม่น้อยกว่า 18 เดือน

-แบบฟอร์มการขอรับการตรวจลงตรา (พร้อมรูปถ่าย 4X6 ซ,ม หน้าตรงไม่สวมหมวก ถ่ายภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 3 ชุด

- สำเนาบัญชีเงินฝาก จำนวนเทียบเป็นเงินไทยไม่น้อยกว่า 800,000 บาท หรือหนังสือรับรองรายได้ ฉบับจริงเดือนละไม่น้อยกว่า 65,000 บาท

-ใบรับรองประวัติอาชญากรรม จากประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือมีถิ่นพำนัก อายุไม่เกิน 3 เดือน

-ใบรับรองแพทย์ไม่เป็นโรคต้องห้าม อายุไม่เกิน 3 เดือน

เมื่อ เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ พิจารณาเอกสารและเห็นว่าเอกสารสมบูรณ์ถูกต้องจะออกวีซ่าประเภทนี้ให้แก่ผู้ ร้องโดยมีอายุวีซ่า 3 เดือน และเมื่อผู้ร้องเดินทางเข้าประเทศไทย ด่านตรวจคนเข้าเมืองจะประทับตราอนุญาตให้อยู่ระยะยาวไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เดินทางเข้าประเทศไทย

หมายเหตุ การอนุญาตให้ อยู่ด้วยวีซ่าประเภทนี้ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสามารถที่จะเพิกถอนการอนุญาตได้และแจ้งคำสั่งให้ เดินทางออกนอกราชอาณาจักรในทันที หากตรวจพบว่า คนต่างด้าวไม่ได้นำเงินมาใช้ตลอดระยะเวลาที่พำนัก หรือมีการลักลอบทำงาน หรือมีพฤติกรรมที่สมควรเพิกถอนการอนุญาต



17. คำถาม คนต่างด้าวอยู่เกินกำหนด หากเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไทยจะถูกเปรียบเทียบปรับหรือไม่ อย่างไร

คำ ตอบ จะ ต้องถูกปรับ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2549 เป็นต้นมา คนต่างด้าวที่อยู่เกินกำหนดอนุญาตจะถูกเปรียบเทียบวันละ 500 บาท แต่รวมแล้วไม่เกิน 20,000 บาท แต่เดิมวันละ 200 บาท รวมแล้วไม่เกิน 20,000 บาท



18. คำถาม บุตรของคน สัญชาติไทยที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ถือหนังสือเดินทางของประเทศอื่นและเดินทางพร้อมบิดามารดา จำเป็นที่จะต้องขอวีซ่าเข้าประเทศไทยหรือไม่

คำ ตอบ ในทางปฏิบัติแล้ว เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองจะผ่อนผันให้บุตรของคนสัญชาติไทยที่มีอายุ ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ เดินทางพร้อมบิดามารดาอยู่เในราชอาณาจักรไทยเกินกำหนดได้ แต่เนื่องจากไม่มีการระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงเห็นว่าผู้ร้องควรจะขอวีซ่าให้ถูกต้องจะดีกว่า



19. คำถาม คนต่างด้าวที่ยังไม่เกษียณอายุมีภรรยาหรือสามีคนไทยต้องการขอมีถิ่นที่อยู่ ถาวรในประเทศไทยจะทำได้หรือไม่ ในกรณีใดบ้าง

คำตอบ สามารถทำได้ เป็นการยื่นคำขอเพื่อมนุษยธรรม โดยจะต้องมีสามีหรือภรรยาคนไทยที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย จะ ต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี มีบุตรด้วยกัน หากไม่มีบุตรจะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่สามารถมีบุตรได้ และพำนักอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3 ปี มีหลักฐานการทำงาน



20. คำถาม คนต่างด้าวที่เกษียณอายุแล้วมีภรรยาหรือสามีเป็นคนไทย ต้องการที่จะพำนักในประเทศไทยเป็นระยะเวลานาน สามารถทำได้หรือไม่

คำตอบ สามารถทำได้ โดยจะต้องยื่นหลักฐานบำนาญที่ได้รับ ทะเบียนสมรส สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะตรวจสอบที่มาที่ไปของเงิน หลักฐานว่าอาศัยอยู่กับบุคคลสัญชาติไทยจริง และเมื่อยื่นคำขอแล้วภายใน 1 เดือน จะมีการพิจารณาอนุมัติให้อยู่ในประเทศไทยได้คราวละ 1 ปี




 

Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2553
1 comments
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2553 11:40:08 น.
Counter : 2104 Pageviews.

 

มีประโยชน์มากเลยค่ะ ขอบคุณมากๆ

ขอถามเลยละกันนะคะ
พอดีกำลังจะไป Aupair อ่ะค่ะ ต้องใช้วีซ่านักเรียนใช่าวป่าวค่ะ และกฎหมายที่นั่นให้ทำได้กี่ ชม/สัปดาห์ค่ะ

อีีกหลายคำถามเลย แต่เอาแค่นี้ก่อนไว้ไปถามหลังไมค์ด้วยดีกว่าค่ะ

 

โดย: News_BSP 5 พฤษภาคม 2553 12:00:30 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Sakura_tree
Location :
Dubai United Arab Emirates

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




2001 เข้าเรียนที่ และอาศัยอยู่ Tokyo,Japan.
2008 นักเรียนภาษา1 ปีในRoma,Italy.
2009 กลับมาทำงานที่ญี่ปุ่น
2011 ติดตาม ผบ.ทบ.(ผู้บัญชาการที่บ้าน) มาอยู่ Dubai จ้า แต่ไปๆมาๆ Dubai และ Japan ในฐานะ PR คร่า



สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ลอกเลียนแบบ หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความรวมทั้งภาพถ่ายในบล็อกแห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยเผยแพร่และเพื่อการอ้างอิง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของบล็อก หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
Load Counter
Money Exchange Currency Converter
New Comments
Friends' blogs
[Add Sakura_tree's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.