*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2554
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
8 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 

การให้ความเคารพต่อ Freedom of Expression & Right of Privacy ในสหรัฐอเมริกา

เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ ได้มีการรายงานว่า รมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)ได้จับกุมบัณฑิตใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเพิ่งรับพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาในที่ทำงาน หลังจากจับกุมตั้งแต่วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ก็ได้นำไปฝากขังที่ สน.บางเขนไว้ ๑ คืน ก่อนที่จะ นำไปตัวไปฝากขังต่อศาลในวันต่อไป และปรากฎยื่นเรื่องประกันตัวต่อไม่ทันในวันศุกร์ที่ผ่านมา

ผู้ต้องหารายล่าสุดนี้ ได้ถูกนายนิพนธ์ ลิ้มแหลมทอง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แจ้งความดำเนินคดี โดยอ้างว่าเพื่อรักษาชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจากที่เขาแสดงความเห็นใน Facebook ของเขา และได้ถูกผู้บริหารมหาวิทยาลัยไปตักเตือนแล้ว และได้ถูกกลุ่มล่าแม่มด ตามเอาเรื่องผู้ต้องหารายนี้อย่างต่อเนื่อง




ผมไม่เห็นหรอกว่า เด็กคนนี้ พูดอะไร เขียนอะไร และมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่ จึงขอนำหลักกฎหมายเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิด (Freedom of Expression) และสิทธิในความเป็นส่วนตัว (Right of Privacy) ตามหลักกฎหมายสหรัฐฯ และ รัฐธรรมนูญของไทย มากล่าวไว้สักเล็กน้อย

การวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ หรือการแสดงความคิดเห็นใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำที่น่ารังเกียจขนาดไหน (Hate Speech) ก็จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑ หรือ The First Amendment to the U.S. Constitution เสมอ เว้นแต่ถ้อยคำนั้น จะก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างร้ายแรงและเกิดขึ้นจริง ๆ ไม่ใช่ทึกทักว่าน่าจะเกิดขึ้น หรือ กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐอย่างร้ายแรง และมีแนวโน้มจะทำให้รัฐล่มสลายจริง ๆ เท่านั้น รัฐจึงจะเข้าควบคุมและจัดการดำเนินคดีได้

ถ้าการวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ เกิดให้ความเสียหายแก่บุคคลใด ๆ บุคคลที่ได้รับความเสียหายนั้น ก็จะต้องมีการฟ้องร้องทางแพ่งฐานละเมิด หรือ ฟ้องร้องทางคดีอาญาต่อไป

แต่การใช้สิทธิฟ้องร้องดังกล่าว จะถูกจำกัดอย่างมาก หากเป็นการวิพากษ์วิจารณ์บุคคลสาธารณะ (Public Figure) ได้แก่ ตำแหน่งผู้บริหารฝ่ายการเมือง หรือ ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานของรัฐ เพราะบุคคลพวกนี้ กระทำในฐานะที่จัดทำบริการสาธารณะ (Public Service) ย่อมถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างเต็มที่ ในทางที่ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว คือ ถ้าวิจารณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแล้ว เอาให้ตายไปข้างหนึ่ง จะไปเรียกค่าเสียหายไม่ได้

สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของสหรัฐฯ ได้รับความคุ้มครองที่สูงมาก เพราะเชื่อว่า หากสังคมมีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลมากที่สุด ตามหลัก Free Market of Ideas มากเท่าไหร่ ประชาชนก็จะได้ประโยชน์มากเท่านั้น และ ในสังคมประชาธิปไตย ไม่มีสิ่งใดที่ไม่อาจจะถูกตรวจสอบหรือไม่อาจจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ หากมีพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แล้ว สังคมนั้นก็ไม่อาจจะเรียกตัวเองได้ว่า เป็นประชาธิปไตยได้ เพราะขาดความโปร่งใส ขาดการตรวจสอบ ขาดการวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนเจ้าของประเทศตนเอง

ในอีกด้านหนึ่ง การวิพากษ์วิจารณ์ที่เผยแพร่มายังสาธารณะ หากวิพากษ์วิจารณ์บุคคลอื่นในทางที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ ย่อมเป็นความผิดได้ แต่ถ้าไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ในสื่อสาธารณะ เช่น การเขียนไดอะรี่ส่วนตัว การเขียนบันทึกส่วนตัว ฯลฯ ที่บุคคลอื่น ๆ หรือบุคคลทั่วไปเข้าไม่ถึง กรณีนี้ ย่อมไม่ถือเป็นพื้นที่สาธารณะ (Public Zone) แต่ถือเป็นพื้นที่ส่วนตัว ( Private Zone) เช่น ในการเขียนข้อมูล หรือบันทึกข้อมูลใด ๆ ใน Facebook ถ้าจำกัดการเข้าถึงมิให้เป็น Public Figure หรือ ประชาชนทั่วไปเข้าถึงไม่ได้ ย่อมแสดงว่า เจ้าของเวปเพจ ของ Facebook นั้น ย่อมสงวนพื้นที่ส่วนตัว (Private Zone) ซึ่งถือเป็นสิทธิส่วนตัวโดยแท้ โดยเฉพาะการจำกัดมิให้บุคคลเข้าถึงได้ หรือ มีการตั้งรหัสผ่าน การที่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เจ้าตัวนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ จึงกลายเป็นว่าบุคคลอื่นกระทำการเผยแพร่ ไม่ใช่เจ้าของเพจที่กระทำผิดใด ๆ และบุคคลอื่นนั้น อาจจะกระทำผิดเสียเอง ไม่ใช่คนที่เขียนข้อความในทางส่วนตัวนั้น




ผู้บังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย อัยการ หรือ ศาล จึงต้องตระหนักถึงสิทธิสองประการข้างต้นให้หนักว่า Freedom of Expression ในการวิพากษ์วิจารณ์ย่อมได้รับความคุ้มครอง ในฐานะประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศ และ โดยเฉพาะ Right of Privacy ในดินแดนส่วนตัว ไม่ว่าเขาจะเขียนหรือพูดอะไร ก็เป็นเพียงแค่ความคิด ไม่ใช่การกระทำที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ การลงโทษเพราะคิดต่าง เห็นต่าง จึงไม่อาจจะกระทำได้

กลับมาที่ประเด็นว่าเด็กเกษตรคนนี้ กระทำผิดอะไรบ้าง เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ผมมีนั้นน้อยมาก จึงไม่รู้ว่าเขาเขียนอะไร พูดอะไร ฯลฯ แต่ถ้าเขาเขียนในเวปเพจ ส่วนตัว คนอื่นเข้าถึงไม่ได้ แล้วมีคนลักหรือนำข้อความที่เขาเขียนเอาไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ กรณีเช่นนี้ ย่อมไม่ถือว่าเขากระทำผิดใด ๆ คนที่นำไปเผยแพร่ คือ คนที่กระทำผิดอาญา ไม่ใช่เด็กคนนี้ เว้นแต่เวปเพจ ของเด็กคนนี้จะเผยแพร่เป็นสาธารณะ หากถ้อยคำที่เขาเขียนเข้าข่ายกระทำผิดอาญา ก็จะต้องรับผิดชอบไป เพราะสังคมไม่ปรารถที่จะให้คนใช้สิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์ไร้ขอบเขต จนทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงเช่นกัน




ความผิดที่เด็กคนนี้ ถูกกล่าวหาและจับกุม คือ มาตรา ๑๑๒ ป.อาญา หรือความหมิ่นฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรอืแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ฯ

ศาลฎีกาพิพากษาไว้ในหลายกรณี ( และด้วยความเคารพตามหลักวิชาการแล้ว ผมคิดว่า ศาลฎีกาพิพากษาพิพากษาเลยเถิดจากหลักกฎหมายอย่างมาก ) เช่น ฎีกาที่ ๒๓๕๔/๒๕๓๑, ๕๑/๒๕๐๓ ที่ว่า การกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น ทำให้พระกษัตริย์เสียหาย ไม่อาจจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกล่าวติชมโดยสุจริต เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ อยู่เหนือการติชมทั้งปวง

ตามหลักโบราณราชประเพณี ว่าด้วยหลักการ "เอนกชนนิกรสโมสรสมมุติ" หลักการประชาธิปไตย และ หลักกฎหมายอาญาแล้ว อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนทุกคน นักวิชาการชื่อดัง จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น อ.หยุด แสงอุทัย อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และนักวิชาการชั้นนำอีกหลายท่าน จึงเห็นว่าทุกคนในรัฐจึงต้องสามารถถูกตรวจสอบได้ การวิพากษ์วิจารณ์หรือติชมโดยชอบธรรม แม้กระทั่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอง ก็เคยตรัสว่า พระองค์เองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ เมื่อมีการดำเนินคดีตาม ป.อาญา มาตรา ๑๑๒ ก็ทำให้พระองค์เดือดร้อนทุกครั้ง ดังนั้น ข้าราชการผู้บังคับใช้กฎหมาย จึงไม่ควรจะตีความกฎหมายทางที่ผิด

กฎหมายอาญาจะต้องตีความเคร่งครัด การกระทำผิดตาม มาตรา ๑๑๒ จึงจะต้องตีความเคร่งครัดมาก ๆ เช่น จะต้องเป็นการกล่าวที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่สาม คือ กระทำต่อสาธารณะเป็นการทั่วไป และไม่ใช่การติชมโดยสุจริต หากเป็นเพียงการแสดงความเห็นส่วนตัว โดยเฉพาะในพื้นที่เฉพาะส่วนตัวด้วยแล้ว หากบุคคลอื่นนำมาเผยแพร่ ย่อมแสดงให้เห็นว่า เจ้าตัวไม่ได้มีเจตนากระทำการให้เผยแพร่ ก็จะต้องนำความเคร่งครัดของกฎหมายอาญามาตีความด้วยเช่นกัน




กล่าวโดยสรุป หากเด็กคนนี้ เผยแพร่ความคิดของเขาเองสู่สาธารณะ และเข้าองค์ประกอบกฎหมายอาญาที่ตีความเคร่งครัด ก็ดำเนินคดีกันไป ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ แต่ถ้าไม่ผิด ผู้บังคับใช้กฎหมายก็จะต้องกล้าหาญ มีจริยธรรมและหลักวิชาชีพในการที่ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของเด็กคนนี้จนสุดชีวิตเช่นกันครับ ว่ากันไปตามข้อเท็จจริงครับ




 

Create Date : 08 สิงหาคม 2554
8 comments
Last Update : 9 สิงหาคม 2554 13:54:33 น.
Counter : 5690 Pageviews.

 

Freedom of speech comes hand in hand with tolerance.... without the freedom, tolerance to other different ideas will not happen.

For the admin in this case, it seems to me that it has no tolerance nor openmindedness in its ideology.

 

โดย: amatuer translator 8 สิงหาคม 2554 21:14:50 น.  

 

ในสหรัฐฯ ถือว่า ศักดิ์ศรีความเป็นคน จะยังอยู่โดยสมบูรณ์ หากเขาได้รับการปกป้องคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หรือ Free Speech อย่างเต็มที่

ในดินแดนอเมริกา จึงปกป้องการแสดงความคิดเห็น แม้จะเป็นถ้อยคำที่น่ารังเกียจที่สุดก็ตาม (Protect Speech We Hate)

แต่ก็มีปัญหาเรื่องความมั่นคงของชาติ (National Security) เช่นกัน ถ้าเป็นภัยอย่างร้ายแรงและเป็นภัยที่จะเกิดขึ้นจริง ๆ แล้วก็อาจจะมีวิธีการจัดการได้ แต่ถ้าเป็นเพียงการคาดเดาว่า เปิดเผยข้อมูลแล้ว จะเกิดภัย ศาลก็จะไม่เห็นด้วยเด็ดขาด เช่นมีคดีหนึ่ง สมาคมสิทธิพลเมืองร้องขอให้กองทัพเปิดเผยภาพที่ กองทัพนำตัวผู้ต้องสงสัยว่าก่อการร้ายมาสอบสวนและกักขังไว้ในที่กักขังลับของสหรัฐฯ เช่น ภาพการทรมาน การใช้สุนัข ฯลฯ ทางกองทัพสหรัฐฯ บอกว่าเปิดเผยแล้วชาวอเมริกันจะประสบกับการแก้แค้น ฯลฯ ศาลไม่เห็นด้วย เพราะเป็นเพียงการคาดเดา เลยสั่งให้กองทัพสหรัฐฯ เปิดเผยภาพประมาณ ๓๐๐ ภาพ

ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์ประมุขของประเทศ สหรัฐฯ ยอมรับให้วิจารณ์ได้อย่างเต็มที่ แม้จะมี Sedative Law ในเรื่องการห้ามวิพากษ์วิจารณ์ก็ตาม แต่เห็นว่า กม.ดังกล่าว ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะของฝ่ายบริหาร จึงไม่มีการบังคับใช้กฎหมายเลย

เมืองไทยไม่รู้จะเป็นอย่างไร ต้องรอดูการพัฒนาการต่อไป

 

โดย: POL_US 9 สิงหาคม 2554 13:45:16 น.  

 

ผมยังงงๆอยู่กับคำจัดความของ "พื้นที่ส่วนตัว" ในเวปหรือใน Blog
ถ้าผมหรือใครก็ตาม เที่ยวเขียนอะไรต่ออะไรตามใจฉัน แต่ไม่ตามใจกฎหมายในเวปหรือใน Blog เนี่ย คนทั่วไปที่เข้าเน็ตได้ อาจจะเข้ามาอ่าน
แล้วชอบใจหรือไม่ีชอบใจ เอาไปเผยแพร่เนี่ย ผมผิดด้วยหรือหว่า
ถ้าหากจะจำกัดคนเข้าเวปหรือ Blog ได้ มันก็ดูจะเวอร์ไปหน่อย

อาจารย์บอกว่า "โดยเฉพาะในพื้นที่เฉพาะส่วนตัวด้วยแล้ว หากบุคคลอื่นนำมาเผยแพร่ ย่อมแสดงให้เห็นว่า เจ้าตัวไม่ได้มีเจตนากระทำการให้เผยแพร่" ถ้าผู้มีอำนาจเขาโต้ว่า พื้นที่ส่วนตัวก็จริง แต่คนอื่นเข้ามายุ่มย่ามได้ด้วยนี่หว่า ถ้าไม่อยากให้มายุ่มย่าม คุณก็ต้องจำกัดคนเข้าอ่านสิ อะไรทำนองนี้น่ะ อาจารย์คิดว่าอย่างไรครับ เพราะผมเห็นว่าถึงจำกัดคนเข้าถึงได้ แต่ถ้าเขาเอาไปเผยแพร่อีกไม่ว่าด้วยวิธีใด เราก็โดนจนได้อยู่ดี ขอเรียกว่าอาจารย์เถอะ เพราะคุณวุฒิของ จข.Blog
ต้องเรียกอาจารย์แล้ว

 

โดย: เฒ่าน้อย 10 สิงหาคม 2554 9:01:27 น.  

 

พื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น ถ้าเป็นพื้นที่ส่วนตัวร้อยเปอร์เซ็นต์ เช่น สมุดบันทึกส่วนตัว คอมพิวเตอร์ส่วนตัว ฯลฯ เหล่านี้ ถ้าใครก็เข้าไม่ถึง ยกเว้นตัวเราเอง ข้อมูลทั้งหมดย่อมได้รับความคุ้มครองร้อยเปอร์เซ็นต์ รัฐจะเข้าไปตรวจสอบไม่ได้ และแม้จะไปตรวจสอบด้วยเหตุอื่น ๆ แล้วไปเจอเข้า ก็จะยึดเอาไปเป็นหลักฐานไม่ได้ เพราะมันเป็นพื้นที่ส่วนตัวโดยแท้ ถ้าลงโทษกันเพราะเหตุดังกล่าว ย่อมเปรียบเทียบเหมือนกับการลงโทษเพราะคิด จึงขัดหลักการ

แต่ถ้าใน Blog ที่เปิดกว้าง ไม่มีระหัสผ่าน อันนี้ คงไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ แต่ถ้ามีการจำกัดสมาชิก หรือ จำกัดการเข้าถึง เช่นนี้ก็จะได้รับความคุ้มครองเพิ่มขึ้นครับ

ก็ต้องดูข้อเท็จจริงกันไปครับ ดังที่บอกไว้ ถ้าเด็กคนนี้ผิด ก็ต้องรับโทษ แต่จะต้องดูเหตุผลในการกระทำผิด ดูปัจจัยต่าง ๆ และจะต้องตีความกฎหมายอย่างถูกต้อง เที่ยงธรรม และเสมอภาคตามหลักประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ ในขณะเดียวกัน ถ้าเด็กคนนี้ ไม่ผิด นักกฎหมายก็จะต้องกล้าหาญ เพราะที่ผ่านมา ถ้าเป็นคดี ๑๑๒ ทุกคนไม่ว่า ตำรวจ อัยการ ศาล ฯลฯ จะแกล้งหลับหูหลับตา ปัดปัญหาให้พ้นภาระไปเท่านั้น แบบฟ้องๆ ๆ มันไปก่อน ให้มันแก้ตัวกันเอง ยันชั้นศาลนั่นแหละ คนถูกแกล้งเพราะ ม.๑๑๒ นี่ตายกันมาเยอะแล้ว

 

โดย: POL_US 10 สิงหาคม 2554 10:33:09 น.  

 

ขอบคุณครับอาจารย์

ทุกอย่างที่อาจารย์ว่ามา เห็นด้วยครับ

 

โดย: เฒ่าน้อย 12 สิงหาคม 2554 9:08:57 น.  

 

น้องพลคะ

พี่ชอบเข้ามาอ่าน...ขโมยความรู้จากน้องพล (ขออนุญาตใช้คำนี้นะคะ เพราะรู้สึกแบบนี้จริงๆ) เป็นประจำเลย
พี่ไม่ได้จบกฎหมาย แต่จำเป็นต้องรู้กฎหมายทั้งแบบไทยๆและUS เพราะทั้งหน้าที่การงานและชีวิตประจำวัน ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

พี่ชอบอ่านงานเขียนของน้องพลฯ น่าจะเป็นเพราะเรามีทัศนคติไปในแนวทางเดียวกัน พี่ก็เป็นประเภทหัวก้าวหน้า ที่ทนไม่ค่อยได้กับความอยุติธรรมที่มองเห็นตรงหน้า

ทุกวันนี้ทั้งไทยและ USA ก็เหมือนกับ บ้านของพี่ทั้ง 2 หลัง (ครอบครัวของพี่อยู่ทางโน้นทั้งหมดค่ะ) มันทำให้อดที่จะเปรียบเทียบกันไม่ได้ แล้วก็อยากผลักดันให้สังคมไทย ความคิดของคนไทย โดยเฉพาะลูกศิษย์ทั้งที่เป็นตำรวจและทุกที่พี่ไปสอน ได้รับมุมมอง วิธีคิด วิธีการหาความรู้ที่ทำให้ตัวเองก้าวพ้นจากหลุมดำขนาดใหญ่ ที่ขุดขวางพวกเขาเอาไว้ (เลี่ยงคำว่า กะลาที่ครอบไว้ ให้สุภาพค่ะ)

วันนี้พี่หาเบอร์โทรฯของน้องพลในสมุดโทรศัพท์ของสตช. โทรไปแล้วไม่มีใครรับสาย
พี่อ่านเรื่องการปรับโครงสร้างของสตช.ของน้องพลแล้วถูกใจมาก เพราะตรงกับแนวคิดของพี่มากเลย

อ้อ! พี่อ่านแนวคิดในเรื่องของการที่จังหวัดเชียงใหม่จะขอแยกออกเป็นอิสระแบบ กรุงเทพฯและพัทยา แล้วชอบมาก

บางทีเราอาจต้องช่วยกันปลูกฝัง และสร้างค่านิยมในการรวมกลุ่มขององค์กรระดับฐานรากให้เข้มแข็ง ให้พลังของมวลชนเป็นแรงบีบส่วนกลาง เพื่อให้กระจายอำนาจออกไป
แล้วเมื่อนั้นเราจึงจะได้เห็นการกระจายอำนาจของสตช.เป็นแบบในฝันของเรา

เมื่อหลายวันก่อนพี่อ่านเรื่อง ผู้พิพากษาของรัฐบาลกลางสหรัฐ ไม่นำเอาคำให้การของ นายวิคเตอร์ บูทที่ตำรวจสอบสวนไว้ เข้ามาใช้ในการพิพากษาคดี ตามนี้นะคะ [url]//www.nytimes.com/2011/08/25/nyregion/judge-disbelieves-agents-in-bout-arms-dealing-case.html?_r=1[/url]

และการลงนามของโอบามาในเรื่อง การห้ามผู้ฝ่าฝืนสิทธิมนุษยชนเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา ตามลิ้งค์นี้นะคะ
[url]//m.whitehouse.gov/the-press-office/2011/08/04/presidential-proclamation-suspension-entry-immigrants-and-nonimmigrants-[/url]

พี่ก็ยิ่งมีความรู้สึกว่า กระบวนการยุติธรรมไทยมันล้าหลังไปประมาณ เกือบร้อยปีที่แล้วของ USA เลยอยากคุยกับน้องพล นี่แหละค่ะ

พี่ณหทัย
(ปล.ตอนนี้พี่ลาเรียนต่อ ป.เอก อยู่ค่ะ)

 

โดย: พ.ต.อ.หญิง ณหทัยฯ (อัสนีขยี้พสุธา ) 28 สิงหาคม 2554 15:03:03 น.  

 

น้องพลฯคะ

พี่เคยเข้าไปตอบกระทู้เกี่ยวกับเรื่อง "Freedom of Expression"
ไว้ในกระทู้นี้นะคะ สามารถเข้าไปอ่านได้ตรงๆ ไม่ได้ถูกบล๊อกค่ะ
ด้วยความที่ไม่ได้จบกฎหมายแต่อยากรู้อยากเห็น ตามประสาครูตำรวจน่ะค่ะ ก็เลยอ่านๆ แล้วก็ถามผู้รู้บางท่าน

ลองดูว่ามีข้อผิดพลาดหรือจะสามารถนำมาปรับใช้ใสสังคมไทยของเราได้อย่างไรบ้างไหม พี่อยากเห็น บ้านเมืองของเราพัฒนา และโดยเฉพาะอยากให้ "วิชาชีพตำรวจ" เป็น วิชาชีพที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี เป็น "สุภาพบุรุษสามพราน" อ้อ ตอนนี้เปลี่ยนเป็นอะไร ลืมไปแล้ง "สุภาพชนสามพราน" หรือเปล่า ไม่แน่ใจ

//www.tfn5.info/board/index.php?topic=11089.0

พี่ณหทัย

 

โดย: ณหทัย (อัสนีขยี้พสุธา ) 6 กันยายน 2554 9:56:56 น.  

 

"ดวงจำปาUSA"

 

โดย: ณหทัย (อัสนีขยี้พสุธา ) 6 กันยายน 2554 10:01:08 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


POL_US
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.