การเดินทางของกาลเวลา
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2554
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
4 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 

เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา

เรื่องของ เกลือ เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา

สารชนิดหนึ่งที่อยู่คู่โลกมาแต่ดึกดำบรรพ์

เกลือมี 2 ชนิดครับ
เกลือที่อยู่ใต้ดินเรียกว่าเกลือสินเธาว์
และเกลือที่ได้จากน้ำทะเล

แหล่งเกลือสินเธาว์ที่ใหญ่ที่สุดเห็นทีจะไม่มีใครเกินไปกว่าบ่อเกลือที่
ตำบลบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เป็นบ่อเกลือที่อยู่คู่อาณาจักรไทยมาแต่โบราณ
เชียวแหละ

เกลือสินเธาว์นี่มีกรรมวิธีทำค่อนข้างจะยุ่งยากกว่าเกลือทะเล หลายขั้นตอน

วิธีต้มเกลือ:
ชาวบ้านยังคงต้มแกลือด้วยวิธีแบบดั้งเดิม โดยจะตักน้ำเกลือจากบ่อเกลือส่งผ่านมาตามลำรางที่ทำด้วยไม้ไผ่เข้าสู่บ่อพัก
แล้วจึงค่อยนำน้ำเกลือมาต้มในกะทะใบบัวขนาดใหญ่ สุมไฟในเตาต้มเกลือให้ร้อนสม่ำเสมอ ก็จะได้เกลือที่ตกผลึก จากนั้นตักเกลือที่ตกผลึก ใส่ตะกร้าที่แขวนไว้บนกระทะเพื่อสะเด็ดน้ำ ก่อนที่จะผ่านกรรมวิธีทำป่น

เกลือชนิดนี้ไม่มีธาตุไอโอดีนเหมือนเกลือทะเล
ปัจจุบันจึงมีการใช้สารไอโอดีนลงผสมก่อนที่จะออกจำหน่าย

ส่วนเกลือทะเลกรรมวิธีค่อนข้างจะซับซ้อน เล็กน้อย ที่สำคัญ
แหล่งเกลือต้องอยู่ชายทะเล เพราะต้องอาศัยน้ำทะเลเป็นสารเริ่มต้น
ที่สำคัญ

กรรมวิธีในการผลิต
ใช้พื้นที่เหมือนกับการทำนาข้าวนั่นแหละครับ มีผืนนา มีคันนา
สำหรับกั้นน้ำ

ต่างกันก็ตรงที่นาข้าวต้องไถดินให้ร่วนซุย

แต่นาเกลือต้องบดดินให้แน่น เพื่อเก็บน้ำ รอการระเหยแห้ง

ก่อนถึงฤดูทำนาเกลือ ( คือเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนพฤษภาคม )
ชาวนาเกลือจะไขน้ำเข้าไปเก็บไว้ในวังขังน้ำ เพื่อให้สิ่งเจือปนในน้ำ
เช่น โคลนตมตกตะกอนลงมาก่อน

จึงระบายน้ำทะเลจากวังขังน้ำเข้าสู่นาตาก โดยให้มีระดับน้ำในนาสูงประมาณ 5 เซนติเมตร ปล่อยให้น้ำในนาตากระเหยไปบ้าง โดยอาศัยแสงแดดและกระแสลม

จากนั้นก็จะระบายน้ำจากนาตากเข้าสู่นาเชื้อ และปล่อยให้น้ำระเหยไปอีก ซึ่งความถ่วงจำเพาะของน้ำจะเพิ่มขึ้น

ในขั้นนี้จะมีผลึกแคลเซียมซัลเฟตตกลงมาบ้าง ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่นำไปขายได้

ระบายน้ำจากนาเชื้อเข้าสู่นาปลง ระยะเวลาตั้งแต่การระบายน้ำเข้าสู่นาตากจนถึงนาปลง

ประมาณ 45 วัน หลังจากระบายน้ำเข้าสู่นาปลงประมาณ 2 วัน ผลึกเกลือแกงจะตกลงมาและมีปริมาณ

มากขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างนี้น้ำจะยังคงระเหยต่อไป ทำให้ความถ่วงจำเพาะของน้ำเพิ่มขึ้น จะทำให้ผลึก

แมกนีเซียมคลอไรด์ และแมกนีเซียมซัลเฟต ตกลงมาด้วย ทำให้ได้เกลือแกงที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นเหตุให้เกลือแกงมีคุณภาพต่ำ ชื้นง่าย

การป้องกันไม่ให้ผลึกแมกนีเซียมคลอไรด์ และแมกนีเซียมซัลเฟต ตกลงมา ก็คือควบคุมความถ่วงจำเพาะของน้ำในนาปลงไม่ให้สูงเกินไป โดยการระบายน้ำจากนาเชื้อเข้าสู่นาปลงอย่างสม่ำเสมอ

แล้วจะปล่อยให้เกลือแกงตกผลึกอยู่ในนาปลงประมาณ 9 – 10 วัน จึงขูดเกลือออก กอง และเก็บ เข้าฉางรอการบรรจุจำหน่ายต่อไป


นอกจากนี้แล้วเกลือยังมีการแบ่งเพศอีกด้วย

มีตัวผู้ตัวเมีย

เกลือตัวผู้ ลักษณะ จะเม็ดยาวรี ลักษณะแบบเม็ดข้าวสาร
เกลือตัวเมีย ลักษณะ ป้อม เหลี่ยม

ถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นความแตกต่าง

หมอยาไทยโบราณ ถ้ามียาตัวไหนที่ต้องเข้าเกลือ จะใช้เกลือลักษณะนี้ครับ

เกลือตัวผู้ เค็มกว่าเกลือตัวเมียด้วยครับ

สมัยนี้ ผู้คนห่างเหินจากยาหม้อ ยาไทย
เลยไม่ให้ความสนใจกับความแตกต่างของมัน

นอกจากเกลือจะมีตัวผู้ และตัวเมียแล้ว ยังมีดอกเกลืออีกนะครับ

ดอกเกลือนี่จะว่าไปแล้ว สนนราคาแพงกว่าเกลือธรรมดาหลายเท่าตัว
แต่ส่วนมาก ชาวนาเกลือจะไม่ขายเกลือประเภทนี้ นอกจากเก็บไว้ใช้เอง

เพราะว่ามันมีจำนวนน้อยต่อการทำนาเกลือแต่ละรุ่น

การเก็บดอกเกลือก็มีกรรมวิืธีและระยะเวลาเหมือนกัน ไม่ใช่นึกอยากจะเก็บก็เก็บ
เวลาที่เหมาะสมคือตอนฟ้าเริ่มสาง อาทิตย์ทอแสงสีทองอ่อน ๆ
หลังจากที่น้ำทะเลในผืนนาเกลือจะถูกแดดและลมพัดให้แห้งจนได้ที่

ช่วงนี้จะเกิด เกิดเกสรเกลือ หรือ เกลือแรกเริ่มตกผลึก ชาวนาเกลือเรียกว่า ดอกเกลือ

ลอยจับตัวกันเป็นแพอยู่เหนือน้ำผืนนาเกลือ
ก่อนที่น้ำจะแห้งสนิท ชาวนาเกลือจะ รีบช้อนดอกเกลือ ก่อนที่แสงแดด และสายลมจะทำให้ดอกเกลือจมลงด้านล่าง

ลุงที่ทำนาเกลือเคยเล่าให้ฟังว่า ดอกเกลือที่ เก็บได้ในเวลาเช้าตรู่นี้จะมีไอโอดีนสูง รสชาติเค็มอมหวาน
เป็นดอกเกลือที่สะอาด เพิ่งเกิดใหม่ๆ ไม่ได้สัมผัสกับพื้นดิน หรือตากลม ตากฝุ่นอยู่นาน มีแร่ธาตุต่างๆสูงมาก จึงมีคุณภาพสูง และราคากว่าเกลือธรรมดาหลายเท่าตัว.






 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2554
1 comments
Last Update : 24 มิถุนายน 2554 18:12:15 น.
Counter : 10629 Pageviews.

 

เรื่อง ดอกเกลือ ผมเคยได้ชมทางทีวีมาบ้าง

แต่ยังไม่เคยจับ ยังไม่เคบชิมดอกเกลือครับ


บล็อกเรื่องเกลือ เป็นเรื่องใกล้ตัว เห็นอยู่ทุกวัน กินอยู่ทุกมื้อ

พอนำมาเขียน เป็นเรื่องที่ เหลือเชื่อ ไม่น้อย



ผมขอมอบกำลังใจให้คุณเฉิ่มศักดิ์ โดยเสริมข้อมูลเป็น KM ไว้


สรรพคุณ...ของเกลือ


ในทุกครัวเรือนหรือร้านอาหารจะต้องมีเกลือเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารทุกชนิด แต่หลายคนมักจะรู้จักสรรพคุณของเกลือ เฉพาะความเค็มเท่านั้น

จริงแล้วเกลือมีสรรพคุณหลายด้าน ดังนี้

๑. แก้ตะคริว ใช้เกลือละลายน้ำดื่มแก้ตะคริวได้ บางท่านก่อนจะลงว่ายน้ำถ้าได้ดื่มน้ำเกลือก่อนจะช่วยให้ไม่เป็นตะคริว

๒. แก้คลื่นไส้ เมาสุรา ใช้เกลือ ๑/๒ ช้อนกาแฟต่อน้ำ ๑ แก้ว ผสมกันแล้วดื่ม อาการคลื่นไส้จะหายไป

๓. แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ ใช้เกลือละลายน้ำสะอาด ๑ แก้ว ดื่มก่อนเข้านอนหรือตื่นนอนตอนเช้า แก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้ผลดี

๔. รักษาโรคกระเพาะ ใช้เกลือ ๑ ช้อนชา ละลายน้ำ ๑ แก้ว ดื่มทุกเช้าหลังจากตื่นนอน ช่วยรักษาโรคกระเพาะได้

๕. แก้เป็นลม เอาเกลือทะเลละลายกับน้ำร้อน หรือน้ำเย็น ดื่มแก้อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียน ตาลาย เพราะร่างกายอ่อนเพลียได้ผลดี

๖. แก้ถูกยาเบื่อ ใช้เกลือ ๑ ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำอุ่น ๑/๒ แก้ว กินครั้งเดียวกันอาเจียนออกมา

๗. แก้แผลปากเปื่อย ใส่เกลือบริเวณแผลแล้วอมไว้ ครั้งแรกจะรู้สึกแสบ ครั้งต่อไปแผลจะหาย

๘. แก้เผ็ด ถ้ากินอาหารรสเผ็ด รู้สึกแสบที่ปาก อมเกลือแล้วทิ้งไว้สักครู่ ก็จะหาย


นำมาจาก บทความ สนุก! พีเดีย หมวดความรู้



การตั้งบล็อกเรื่องนี้เป็นหน้าหลัก ทำโดย

คลิก จัดการ Group Blog

คลิก ตรงปุ่มกลม เกลือ ที่เป็นเกลือ หน้าหลัก

ก็จะมีป๊อบอัพ “ปิดหน้าต่างนี้ เพื่อยืนยันการแก้ไข แล้วรอหน้าจอ refresh อัตโนมัติ”

ตรงนี้ กด OK นะครับ

จากนั้น หน้าจอแรกของบล็อก ก็จะเป็นเรื่อง ‘เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา’


ในความคิดผม

ผมว่า กลุ่มเรื่อง ควรเป็น ‘เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา’

ชื่อเรื่องบล็อกนี้ ควรเป็น ‘เกลือ ที่เป็นเกลือ’

เรื่อง ‘ขมา - ขะม้า - ขาวม้า ?’ ใส่รวมใน กลุ่มเรื่อง ‘เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา’ ก็ได้




 

โดย: yyswim 25 สิงหาคม 2554 15:42:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


~นายเฉิ่มศักดิ์~
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




การเดินทางของกาลเวลา
ไม่มีเวลาสิ้นสุด...นอกจากลมหายใจ
Friends' blogs
[Add ~นายเฉิ่มศักดิ์~'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.