After Sunset...Before Sunrise
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2550
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
29 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 

Cosmetic ingredient_สารเคมีในเครื่องสำอาง

ได้พบข้อมูลที่มีประโยชน์มากๆ เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในเครื่องสำอาง ใน //www.fda.moph.go.th website ของ อย.ค่ะ

หลากคำถามเกี่ยวกับสารออกฤทธิ์ในเครื่องสำอาง อย. มีคำตอบให้ค่อนข้างชัดเจน และที่สำคัญเชื่อถือได้ ด้วยค่ะ ^^

เราขอเอามาสรุปให้ฟังคร่าวๆ ส่วนคำอธิบายเชิงลึกนั้น click เพื่อเข้าไปอ่านได้ใน link หลังคำตอบเลยค่ะ

คำถาม : สารที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอางมีอะไรบ้าง
คำตอบ : มีเยอะค่ะ...แต่ที่ตรวจพบและเป็นข่าวบ่อยๆ ก็ได้แก่ ปรอทแอมโมเนีย ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ (รวมทั้งเอสเทอร์ เกลือและอนุพันธ์อื่นๆ ของวิตามินเอ)
ที่น่าสนใจคือมีการเปรียบเทียบกฏหมายควบคุมของไทย กับ USA และ EU ด้วย

click สารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง

คำถาม : SLS หรือ Sodium Lauryl Sulfate ก่อมะเร็งจริงหรือไม่
คำตอบ : SLS เป็นสารทำความสะอาดที่ใช้ในเครื่องสำอางหลายชนิด เช่น โฟม สบู่ แชมพู ไม่ได้เป็นสารก่อมะเร็ง เพียงแต่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีสารที่แนะนำเป็นทางเลือกคือ Sodium Laurate Sulfate (SLES) ซึ่งระคายเคืองน้อยกว่า


click to SLS

คำถาม : Roll-on ที่โฆษณาว่าช่วยให้ผิวใต้ลงแขนขาว ดีจริงหรือไม่
คำตอบ : ส่วนใหญ่อ้างสรรพคุณจากส่วนผสมคือ Licorice extract ซึ่งให้ผลเรื่องความขาวน้อยมากในคนเอเซีย ในขณะที่สารที่ทำให้ขาวขึ้นจริง (โดย bleach สีผิวหรือยับยั้งการผลิตเม็ดสีผิว) ได้แก่ ปรอทแอมโมเนีย ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอและอนุพันธ์ของวิตามินเอ เป็นสารที่มีอันตรายมาก จึงไม่อนุญาตให้ใช้ในเครื่องสำอาง

click ความปลอดภัยของ Roll on

คำถาม : AHA และ BHA ปลอดภัยต่อการใช้หรือไม่
คำตอบ : AHA และ BHA มีคุณสมบัติเป็นกรด จึงช่วยขจัดเซลผิวชั้นนอกให้หลุดออกได้เร็วขึ้น ทำให้เซลผิวใหม่เกิดเร็วขึ้น มีความปลอดภัยเมื่อใช้ในความเข้มข้นที่กำหนดดังนี้

BHA หรือ Salisylic acid ผสมในเครื่องสำอางได้ไม่เกิน 2%

AHA มีหลายตัวมาก ทั้งที่ได้จากการสกัดจากพืชหรือจากการสังเคราะห์ แต่ที่นิยมคือ Glycolic acid และ Lactic acid และมีข้อกำหนดสำหรับการใช้แต่ละลักษณะดังนี้

  • ผสมในเครื่องสำอางสำหรับผู้บริโภคนำไปใช้เอง ได้ไม่เกิน 10% และต้องมี pH ไม่เกิน 3.5

  • ผสมในเครื่องสำอางเพื่อทำ chemical peeling แบบทาไว้ไม่นานแล้วล้างออก ไม่เกิน 30% และต้องมี pH ไม่เกิน 3.0

  • AHA ความเข้มข้นสูง 50-10% ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ข้อแนะนำอื่นๆ ต้องมีการทดสอบการแพ้ก่อนใช้ ระหว่างการใช้เซลผิวใหม่ที่เกิดจะไวต่อแสงแดดมาก เวลากลางวันต้องใช้ร่วมกับครีมกันแดดที่มี SPF 15 เป็นอย่างต่ำ

click to AHA BHA

คำถาม : สารกันเสียในเครื่องสำอาง ได้แก่ Paraben และ Triclosan มีอันตรายหรือไม่
คำตอบ : ทั้งสองชนิดเป็นสารที่ช่วยยับยั้งแบคทีเรีย มีความกังวลว่า Paraben จะเป็นสารก่อมะเร็ง ในขณะที่ Triclosan อาจทำปฏิกิริยากับคลอรีนในน้ำได้เป็นคลอโรฟอร์มที่อันตรายต่อร่างกาย แต่ได้รับการยืนยันว่าจะไม่เกิดในสภาวะและความเข้มข้นที่ใช้โดยทั่วไป สารทั้งสองตัวจึงยังอนุญาติให้ใช้ได้ต่อไป ในปริมาณที่กำหนด


click to Paraben
click to Triclosan


โดยรวม website ให้รายละเอียดค่อนข้างดีนะคะ ชัดเจน เข้าใจง่าย เสียดายว่าไม่ค่อยมีคนเข้าไปดูเท่าไร คงประมาณว่าสงสัยอะไรมาถามใน webboard ดีกว่า

วันนี้ขอประชาสัมพันธ์ website ของ อย.เพียงเท่านี้




 

Create Date : 29 กรกฎาคม 2550
1 comments
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2550 10:01:29 น.
Counter : 2202 Pageviews.

 

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ กำลังสนใจเรื่อง aha อยู่พอดีเลยคะ

 

โดย: aump (aump_stupid ) 18 สิงหาคม 2550 12:45:43 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


After Sunset_Before Sunrise
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




I have a life to live, goals to achieve and love to care.

ผู้ชมทั้งหมด คน
ติดต่อหลังไมค์ กดที่นี่ค่ะ
สงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 ห้ามผู้ใดละเมิดไม่ว่าการลอกเลียนหรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปใช้ทั้งโดยเผยแพร่และโดยอ้างอิง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด
Friends' blogs
[Add After Sunset_Before Sunrise's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.