"Be the change you want to see in the world." - महात्मा (Mahatma Gandhi)

จอมเยอะเล่า
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




สิ่งที่น่านับถือในจอมยุทธ์หาใช่วิทยายุทธไม่
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
1 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add จอมเยอะเล่า's blog to your web]
Links
 

 
คู่มือเที่ยวย้อนเวลา: Timeline of "Our" Milestones (Part 1: From Bang to Sun)



คู่มือนี้ไม่ได้พาเที่ยวย้อนอดีตจริงๆหรอกครับ เพียงแต่ผมพยายามรวบรวมสถานที่หรือกิจกรรมที่จะทำเพื่อที่ถ้าทำแล้วอาจจะช่วยทำให้เราจิตนาการว่าในอดีตเมื่อเรื่องราวมันเกิดขึ้นมันเป็นยังไงบ้าง

แรงบัลดาลใจของการรวบรวมสถานที่หรือกิจกรรมต่างๆนี้ผมได้จากการอ่านหนังสือ A Short History of Nearly Everything ของ Bill Bryson และก็จากการไปเที่ยว Museums ต่างๆ
สถานที่ หรือกิจกรรมที่รวบรวมมานี้ มีแค่บางอย่างเท่านั้นผมเคยทำมาแล้ว ดังนั้นจึงอาศัยข้อมูลที่ค้นหามาประกอบ และหวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างหากต่อไปมีโอกาสจะได้ลองไปหรือลองทำ

ตารางข้างล่างสรุปเหตุการณ์ตามเวลาและกิจกรรมเพื่อเที่ยวย้อนเวลา


































นาฬิกา เหตุการณ์ ดู เสริม
13,700 MYA กำเนิดเอกภพ รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล
ดูได้คลื่นซ่าจากทีวีที่บ้านเวลาจูนไม่ตรงช่อง

Holmdel Horn Antenna ที่ New Jersy, USA
13,500 MYA กำเนิดทางช้างเผือก
จุดศูนย์กลางของทางช้างเผือกอยู่ห่างจากโลกราวๆ 27,000 ปีแสงทางทิศของกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius)

Paranal Observatory ที่ Cerro Paranal, Chile
4,600 MYA กำเนิดระบบสุริยะ เนบิวลา เช่น เนบิวลานายพราน (Orion nebula) หรือ M42 อยู่ใกล้กับกลุ่มดาวไถ่ (เข็มขัดโอไรออนในกลุ่มดาวนายพราน)

พระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก สุริยะคาส พระอาทิตย์เที่ยงคืน แสงเหนือ/ใต้
4,600 MYA กำเนิดโลกและดาวเคราะห์อื่นๆ
ดาวเคราะห์ต่างๆ เช่น ดาวศุกร์ (Venus), ดาวอังคาร (Mars), ดาวพฤหัส (Jupiter), และ ดาวเสาร์ (Saturn)

ดวงจันทร์ ปุ่มป่ำบนดวงจันทร์ เป็นเหมือนบันทึกประวัติต้นๆของระบบสุริยะ




13,700 ล้านปีก่อน: กำเนิดเอกภพ/บิ๊กแบง (Big Bang)

ดู

Cosmic Microwave Background Radiation
รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล ที่เชื่อกันว่าแผ่ออกมาในช่วงหลังจากการเกิดบิ๊กแบงไม่นาน
ดูได้ทีวีที่บ้านเวลาจูนไม่ตรงช่องจะเห็นเป็นจากคลื่นซ๋าๆ ซึ่งเป็นผลจากรังสีนี้เอง

เสริม


(ภาพจาก //upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/f/f7/Horn_Antenna-in_Holmdel%2C_New_Jersey.jpeg)

Holmdel Horn Antenna ที่ New Jersy, USA เป็นสถานที่ที่ Arno Penzias กับ Robert Wilson รายงานเกี่ยวกันสัญญาณรบกวนที่ไม่หาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งภายหลังถูกอธิบายได้ด้วย รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล และกลายเป็นหลักฐานสำคัญอีกอย่างที่สนับสนุนทฤษฏีบิ๊กแบง
หมายเหตุปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีข้อสรุปว่าอะไรเกิดก่อนบิ๊กแบง และก็น่าเวียนหัวที่ว่าเนื่องจากบิ๊กแบงถูกเชื่อว่าเป็นจุดกำเนิดของทั้ง space และ time เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาเกิดจากบิ๊กแบง สิ่งที่มาก่อนบิ๊กแบง ก็มาก่อนเวลา ซึ่งพูดให้ง่ายก็คือว่า ยังไม่มีนิยามแม้แต่คำว่า "ก่อนบิ๊กแบง"




13,500 ล้านปีก่อน: กำเนิดกาแลคซี่ทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy)

ดู


(ภาพจาก //upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a6/Sagittarius_constellation_detail_long_exposure.jpg)

จุดศูนย์กลางของทางช้างเผือกอยู่ห่างจากโลกราวๆ 27,000 ปีแสงทางทิศของกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius)

เสริม


(ภาพจาก //upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/9e/Starlight_Paranal.jpg)

Paranal Observatory ที่ Cerro Paranal, Chile เป็นห้องดูดาวที่ในปี 2003 ทีมของ Luca Pasquini จากอิตาลีใช้สังเกตุปริมาณรังสีในย่านอุตราไวโอเลตเพื่อบอกปริมาณ Berylium ของดาวในทางช้างเผือกซึ่งสามารถใช้ในการคำนวณอายุของดาวนั้นและประมาณอายุของทางช้างเผือกได้



4,600 ล้านปีก่อน: กำเนิดระบบสุริยะ (Solar System)

ดู

เชื่อกันว่าระบบสุริยะเกิดจากเนบิวลา (กลุ่มฝุ่นกับแก๊ส) ที่หนาแน่นมากจนแรงดึงดูดของมันบีบอัดมันเข้ามาในตัวเองและขณะนั้นก็มีการหมุนด้วย จากการหมุนก็ทำให้กลุ่มฝุ่นแก๊สนี้แบนลง มีลักษณะเป็นจานแบน รอบๆศูนย์กลางที่เป็นวัตถุขนาดใหญ่ที่เกิดจากการรวมตัวของแก๊ส ซึ่งเรียกว่า protostar หรือ ดาวฤกษ์ก่อนเกิด แล้วจากนั้นดาวฤกษ์ก่อนเกิดก็ร้อนขึ้นเรื่อยๆขณะที่เศษหินและน้ำแข็งก็ควบรวมตัวกันเป็นวัตถุที่ใหญ่ขึ้น เรียกว่า planetestimals ซึ่งต่อมา planetestimals เหล่านี้ก็ชนกันเอง แตกออกบ้าง รวมตัวกันใหม่บ้าง จนในที่สุดหลังจากร้อยๆล้านปีผ่านไปก็มีสภาพเป็นดาวเคราะห์ดังเช่นที่เรารู้จักกัน



(ภาพจาก //upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/9e/Starlight_Paranal.jpg)

เนบิวลาที่สังเกตุได้ง่ายที่สุด น่าจะเป็น เนบิวลานายพราน (Orion nebula) หรือ M42 เป็นหนึ่งในเนบิวลาที่สว่างที่สุด สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อยู่ใกล้กับกลุ่มดาวไถ่ (เข็มขัดโอไรออนในกลุ่มดาวนายพราน)
และเนบิวลานายพรานยังเป็นย่านกำเนิดดาวฤกษ์มวลมากที่อยู่ใกล้กับโลกมากที่สุด (ราวๆ 1,344 ปีแสง)

เสริม


นอกจากพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก สุริยะคาส และ พระอาทิตย์เที่ยงคืน แล้ว แสงเหนือ/ใต้เป็นอีกปรากฎการณ์เกี่ยวกับดวงอาทิตย์ที่น่าติดตามชม


(ภาพจาก //upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a9/Polarlicht.jpg)

แสงเหนือ/ใต้ เกิดจากอนุภาคจากลมสุริยะ (คลื่นอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์) ที่ถูกดูดด้วยสนามแม่เหล็กโลก แล้วชนกับอนุภาคต่างๆเช่นออกซิเจนหรือไนโตรเจนขณะผ่านชั้นบรรยากาศโลกแล้วคายพลังงานออกมาในย่านแสงสีต่างๆ

เนื่องจากอนุภาคจากลมสุริยะจะถูกสนามแม่เหล็กโลกดูดไปรวมกันแถวขั้วโลกเหนือและใต้ ดังนั้นคล้ายกับพระอาทิตย์เที่ยงคืนที่ ที่ที่เหมาะในการดูก็จะอยู่บริเวณขั้วหรือใกล้ขั้นโลกเช่น ทางเหนือของ Canada; Alaska, USA; Siberia, Russia; Sweden, Norway, Finland หรือ ทางใต้ของ Australia; Argentina; Chile พวกนี้เป็นต้น



4,600 MYA: กำเนิดโลกและดาวเคราะห์อื่นๆ (Planets)

ดู

เชื่อกันว่าโลกและดาวเคราะห์อื่นๆกำเนิดขึ้นมาพร้อมๆกับระบบสุริยะ

* ดาวพุธ (Mercury): สังเกตุเห็นได้ยากเพราะวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มาก

* ดาวศุกร์ (Venus): เป็นสิ่งที่สว่างเด่นในท้องฟ้าตอนหัวค่ำทางทิศตะวันตก สว่างเป็นรองแค่ดวงจันทร์ ดวงพฤหัสที่สว่างในลำดับต่อมาก็สว่างเพียงครึ่งของดาวศุกร์ ส่วนดาวซิริอุส (Sirius) ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในฟ้ากลางคืนก็สว่างเพียง 8 % ของดาวศุกร์

* ดาวอังคาร (Mars): ช่วงที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลกและเหมาะแก่การสังเกตุคือ:
** 3 มี.ค. 2555 (ระยะห่าง 0.67 AU);
** 8 เม.ย. 2557 (0.62 AU);
** 22 พ.ค. 2559 (0.50 AU)
[1 AU = 149,598,000 กิโลเมตร]


โดยจะหาตำแหน่งของดาวอังคารจะอยู่ใกล้กับกลุ่มดาวดังนี้:













































































































ปี/เดือน มค กพ
มีค เมย พค มิย
กค สค กย ตค พย ธค
2554 - - - - - Taurus Taurus Gemini Gemini Cancer Leo Leo
2555 Leo Leo
Leo
Leo
Leo
Leo
Virgo
Virgo
Libra
Scorpio
Sagittarius -
2556 - - - - - - Taurus Gemini Cancer Leo Leo Virgo
2557 Virgo Virgo Virgo Virgo Virgo Virgo Virgo Libra Scorpio Scorpio Sagittarius Capricorn
2558 Aquarius Pisces - - - - - - Leo Leo Virgo Virgo
2559 Virgo Libra Scorpio Scorpio Scorpio Libra Libra Scorpio Scorpio Sagittarius Capricorn Capricorn


[ข้อมูลจาก Dickinson's NightWatch]

* ดาวพฤหัส (Jupiter):
** ปี 2554: ต้นปีอยู่แถวๆระหว่าง Aquarius กับ Pisces; ช่วงระหว่างกลางมี.ค. ถึง พ.ค. สังเกตุได้ยาก; ช่วงหลังกลาง มิ.ย. จะอยู่แถว Aries
** ปี 2555: หลังจากกลาง มิ.ย. แล้วจะอยู่แถวๆ Taurus
** ปี 2556: ต้นปีอยู่แถวๆ Taurus; ช่วงระหว่างกลาง พ.ค. ถึง กลาง ก.ค. สังเกตุได้ยาก; หลังจากนั้นจะอยู่แถวๆ Gemini



* ดาวเสาร์ (Saturn):
** ปี 2554: อยู่แถว Virgo แต่ช่วง ปลาย ส.ค. ถึง กลาง พ.ย. อาจจะสังเกตุได้ยาก
** ปี 2555: อยู่แถว Virgo
** ปี 2556: ต้นปีอยู่แถวๆ Libra; ช่วง พ.ค. จะอยู่แถว Virgo; จากนั้นจะอยู่แถวๆระหว่าง Libra กับ Virgo


แหล่งข้อมูล


=== ทั่วไป ===

* Bill Bryson, A Short History of Nearly Everything, Broadway Books, 2003
* Michael Allaby, Robert R Coenraads, Stephen Hutchinson, Karen McGhee, John O'Byrne, and Ken Rubin, The Encyclopidia of Earth: A Complete Visual Guide, University of California Press, 2008
* wikipedia

=== ทางช้างเผือก ===

* อายุของทางช้างเผือก: //www.physorg.com/news854.html
* ศูนย์กลางของทางช้างเผือก: //www.astro.ucla.edu/~tanner/gcintro.html

=== การดูดาวและวัตถุบนฟ้า ===

* Terence Dickinson, Nightwatch: A Practical Guide to Viewing the Universe, 4th Edition, Firefly Books, 2006
(ให้ข้อมูลการดูดาว-ดาวเคราะห์และวัตถุบนฟ้าที่ละเอียดครบถ้วนจนถึง ปี พ.ศ. 2561)
* เวปไซต์ของสมาคมดาราศาสตร์ไทย (มีแผนที่ดาวสำหรับดาวน์โหลด): //thaiastro.nectec.or.th/

=== แสงเหนือ/ใต้ ===

* ไปดูได้ที่ไหน: //www.exploratorium.edu/learning_studio/auroras/seethem.html

free counters



Create Date : 01 เมษายน 2554
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2559 10:57:48 น. 0 comments
Counter : 1824 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.