เมษายน 2555

1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
กำเนิดและพัฒนาการหอการค้าไทยจีน

กำเนิดและพัฒนาการหอการค้าไทยจีน


ที่มาของบทความในบล็อค :

โดย วัฒนา วงศ์สุวรรณ : แปล/ ปนัดดา เลิศล้ำอำไพ : บรรณาธิการ

จาก คอลัมน์ 60ปีโพ้นทะเล บันทึกและประสบการณ์ของ อู๋จี้เยียะ ในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 17ฉบับที่ 862(หน้า 44) และฉบับที่ 863(หน้า 44) ประจำเดือนธันวาคม ปี พ.. 2551

(60 ปีโพ้นทะเลเป็นบันทึกความทรงจำของนาย อู๋จี้เยียะ นักหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทยผู้ลือนามท่านเขียนบันทึกชุดนี้ในปี ค.ศ.1982(พ.ศ.2525)เพื่อบอกเล่าพัฒนาการในดินแดนอุษาคเนย์ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 20จากการพบเห็นโดยประสบการณ์ตรงของท่านในฐานะนักหนังสือพิมพ์ที่ทำงานมากว่าครึ่งศตวรรษข้อมูลชุดนี้ยังถือได้ว่าเป็น เอกสารชั้นต้นของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนอุษาคเนย์ในระหว่างช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากยบุคอาณานิคมสู่ยุคเอกราชในสายตาของปัญญาชนจีน ซึ่งมีมุมมองที่แตกต่างจากตะวันตก)

นับแต่ก่อตั้งโรงพยาบาลเทียนฟ้าขึ้นเมื่อปี 1904 บรรยากาศสังคม ชาวจีนในไทยก็คึกคักขึ้น พร้อมๆกับที่บรรยากาศแห่งกระแสการปฏิวัติที่ เจริญเติบโต มีการก่อตั้งหนังสือพิมพ์จีน 'ฮั่นจิ้งยื่อเป้า, ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงพยาบาลเทียนฟ้า อันมี เกาเฟยซึ เฉินลิเหมย อู่เซินเหยียน ฯลฯเห็นว่าที่ฮ่องกงมี 'สภาพ่อค้าจีน และที่สิงคโปร์ก็มี 'หอการค้าจีน'

ชาวจีน เมืองไทยก็มีอยู่เป็นจำนวนมากเพื่อ ตามติดกระแสโลก ก็ควรมีองค์กรจัดตั้ง ของวงการค้าขึ้นด้วย เพื่อติดต่อประสานแลกเปลี่ยนความรู้กัน จึงได้ริเริ่มก่อตั้ง ‘หอการค้าจีน’ขึ้น

ในระหว่างตระเตรียมการ อู่เซินเหยียนได้ถึงแก่กรรม บบุตรชายอู่จั่วหนาน ได้เข้า รับหน้าที่แทน ทั้งยังได้ เลี่ยวเป่าซ่านผู้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าอยู่หัวรัซกาลที่ 6มาเข้าร่วมเป็นผู้ก่อตั้งอีกคนหนึ่ง

เวลานั้น เลี่ยวเป่าซ่านได้รับพระราชทานสถาปนาบรรดาคักดิ์เป็นพระยา มีฐานะอันสูงส่งในสังคมชาวจีนในเมืองไทย และได้เป็นตัวแทนนำความขึ้นกราบบังคมทูลความคิดริเริ่มที่ จะก่อตั้ง 'หอการค้าจีน' ให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวฯได้มีพระมหากรุณาพระราชทาน คำชมเชยกลุ่มผู้ริเริ่มจึงต่างรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง เป็นกำลังใจอันใหญ่หลวง ดังนั้นงานตระเตรียมการจัดตั้ง 'หอการค้าจีน' จึงได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นก่อตั้ง 'หอการค้าจีน' เสร็จอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคมปี 1910 ก่อน การปฏิวัติซินไฮ่จะประสบผลสำเร็จและสถาปนาสาธารณรัฐขึ้นหนึ่งปีสถานที่ตั้งอยู่ที่วัดสามปลื้ม

ในช่วงระยะเวลา 70 ปี (นับแต่จัดตั้ง 'หอการค้าจีน' ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนซื่อเป็น 'หอการค้าไทย-จีน') พัฒนาการของ ‘หอการค้าจีน’ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายช่วง

ในระหว่าง 20 ปีแรก นับ แต่ปี 1910 ถึง1930 กล่าวได้ว่า เป็นระยะ เริ่มก่อตั้ง และเป็นระยะอนุรักษ์นิยม เมื่อแรกก่อตั้งวาระของผู้ดำรงตำแหน่งเป็น ประธานก็เหมือนกันตำแหน่งประธานกรรมการโรงพยาบาลเทียนฟ้า คือ 1 ปี เกาเฟยซึเป็นประธานสมัยที่ 1, 2 และ3 ติดต่อกัน 3 สมัย สมัยที่ 4 จึงเปลี่ยน เป็นเฉินลิเหมย และในยุคของกรรมการ สมัยที่ 5 ได้แก้ไขระเบียบการ เปลี่ยนวาระประธานเป็นสมัยละ 2 ปี

ในช่วง 10 ปีแรก บรรยากาศแบบคำพังเพยที่ว่า 'อยู่ในวงการค้าก็พูดแต่เรื่อง การค้า' ครอบงำอยู่ หอการค้าจีนมิได้มีผลงานอะไร

ครั้นเดือนสิงหาคมปี 1922 ที่เมืองซัวเถาของชาวแต้จิ๋ว ได้เกิด 'วาตภัย 2 สิงหา' เป็นวาตภัยครั้งร้ายแรงยิ่งเวลานั้นเป็นช่วงจังหวะที่ เกาเฟยซึ ยินยอมกลับมารับเลือกให้ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการชุดที่ 6, 7 และ 8 เพื่อเป็นผู้นำการดำเนินการเพื่อบรรเทาทุกข์วาตภัยที่บ้านเกิด และนับเป็นครั้งแรกที่ชาวจีนโพ้นทะเลในดินแดนต่าง ๆ ได้ก้าวลํ้าขอบเขตของคำพังเพยที่ว่า 'อยู่ในวงการค้าก็พูดแต่เรื่องการค้า' โดย ได้ระดมสรรพกำลังกันเพื่อเรี่ยไรเงินนำไปช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ของผู้ประสบภัย และ เลี่ยวเป่าซาน ก็ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลในหลวงรัชกาลที่6 ให้ทรงรับ ทราบถึงสภาพพิบัติภัยที่เมืองซัวเถา จึงทรงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเงินจำนวน 5,000 บาท ให้กองทุนบรรเทาทุกข์นั้น

เมื่อข่าวนี้แพร่หลายออกไป ชาวจีนวงการต่างๆ ได้พากันบริจาคตามอย่าง อุ่นหนาฝาคั่ง ร่วมกันบำเพ็ญการกุศล ขนานใหญ่จนได้เงินบริจาคมากถึงร่วม 1แสนบาท นี่เป็นครั้งแรกที่ 'หอการค้าจีน' ได้เข้าร่วมงานเพื่อสวัสดิการทางสังคมและเป็นการแสดงออกถึงความผูกพัน รักชาติรักบ้านเกิดเมืองนอนของชาวจีนในเมืองไทยด้วย

ครั้นถึงปี 1924 เลี่ยวเป่าซาน ได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการของ 'หอการค้า จีน'รองประธาน คือ อู่จั่วหนาน เนื่องจาก งานของ 'หอการค้าจีน'นับวันจะมีมากขึ้น สถานที่เดิมที่ตั้ง ซึ่งอยู่ภายในวัดสามปลื้มก็คับแคบไม่เพียงพอที่จะขยายงานคณะกรรมการจึงได้เสนอให้หาทุนเพื่อจัดหาสถานที่ตั้งแห่งใหม่ ประธาน เลี่ยวเปาซานได้บริจาคเงิน1 หมื่นบาท เป็นการนำร่อง น่าเสียใจที่เลี่ยวเป่าซานอยู่ไม่ครบวาระก็ได้ถึงแก่กรรมไป

รอง-ประธาน อู่จั่วหนานจึงได้รับเลื่อนขึ้นเป็นประธาน งานหาเงินที่จะซื้อที่ดินใหม่ยังคงดำเนินต่อไป

โจวจั้วเฟย ประธานกรรมการชุดที่ 10ก็ยังคงดำเนินงานหาเงินเพื่อที่จะซื้อ และเสาะหาสถานที่ใหม่

ต่อมา ในช่วงที่โจวจั้วเฟย เป็นประธานอยู่2 ปีนั้น 'หอการค้าจีน' ได้รับการติเตียนจากสังคมชาวจีน เนื่องจากการเสาะหาสถานที่ใหม่ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า แต่เงินที่เรี่ยไรรวบรวมไว้เพื่อการก่อสร้างสถานที่ใหม่ได้มากกว่าหนึ่งแสนบาทแล้ว

กระทั่งเดือน ตุลาคม ปี 1929 หวางชิ่งซิวผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกวางตุ้ง ได้ขึ้นเป็นประธานกรรมการหอการค้าจีนชุดที่ 11หวางชิ่งซิว เป็นคนกวางตุ้งอยู่ในวัยฉกรรจ์ที่มีความรู้ มีความรับผิดชอบต่องานมากเมื่อรับตำแหน่งเป็นประธานแล้ว ก็ได้เสาะหาที่สร้าง 'หอการค้าจีน' ใหม่อย่างขะมักเขม้น ตกลงได้ซื้อที่ดินของห้างบอมเบย์เก่าที่ถนนสาธร เนื้อที่ 5 ไร่เศษ มีตึกอยู่ 2 หลัง หลังหนึ่งเป็นตึก 3 ชั้น อีกหลังเป็นตึก 2 ชั้น

เวลานั้นมีคนเสนอว่า 'หอการค้าจีน' ควรจะตั้งอยู่ในใจกลางเมือง และเสนอให้แลกที่กันกับโรงพยาบาลเทียนฟ้าโดยให้โรงพยาบาลย้ายไปอยู่ที่สาธรส่วนสถานที่ของโรงพยาบาลเทียนฟ้าให้สร้างเป็น 'หอการค้าจีน'แทนแต่ผลของการเจรจา เนื่องจากมีความเห็นขัดแย้งกันมากจึงล้มเหลวไปในที่สุด'หอการค้าจีน' จึงได้ย้ายไปอยู่สถานที่ใหม่ที่ถนนสาธร

สถานที่อันโอ่โถงของ ‘หอการค้าจีน’ หลังจากทำการตกแต่ง ก็ได้ประกอบพิธีเปิดอย่างเอิกเกริกเมื่อวันที่10 มกราคม ปี 1930 ในหลวงรัชกาลที่ 7พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานประกอบพิธีเปิดเป็นข่าวใหญ่ที่โด่งดังของสังคมชาวจีนในเวลานั้น

นับแต่นั้นมา 'หอการค้าจีน' ก็ได้ก้าวย่างสู่ช่วงการพัฒนาใหม่ใน 10ปีต่อมา กล่าวได้ว่าเป็นระยะที่มีการพัฒนาอย่าง คึกคักขอบข่ายของงานก็ไม่จำกัดอยู่ที่ 'อยู่ในวงการค้า ก็พูดแต่เรื่องการค้า'เช่นเดิมอีกต่อไป

ในเดือนตุลาคม ปี 1930 หม่าลิฉวินได้รับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการชุดที่ 11

หนึ่งปีต่อมา ปี 1931 ประเทศจีนเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ของแม่น้ำหวางเหอ(ฮวงโห)(แม่น้ำเหลือง) สาหัสสากรรจ์กว่า

'วาตภัย เฉาซาน (เมืองซัวเถา ของชาวแต้จิ๋ว) 2 สิงหาคม' 10 เท่าตัว จูซิ่งหาน ประธานกรรมการบรรเทาทุกข์ประเทศของจีน ได้มีหนังสือถึงประธานหม่าลิฉวินวิงวอนให้ช่วยเหลือขบวนการบรรเทาทุกข์ ประธานหม่าลิฉวินได้เรียกประชุมใหญ่ มวลชนชาวจีนขึ้นทันทีจัดตั้งคณะกรรมการบรรเทาทุกข์ขึ้น และลงมือเร่งดำเนินงานบรรเทาทุกข์กันอย่างไม่รอช้า

ช่วงเวลา 2 ปีที่หม่าลิฉวินอยู่ใน ดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าจีนนั้นนอกจากงานสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลืออุทกภัย ในประเทศจีนแล้ว ผลงานใหญ่ของเขาอีกด้านหนึ่งได้แก่ การสร้างสนามเทนนิสกับ สนามแบดมินตันขึ้นที่หอการค้าจีน และยังมีห้องตั้งโต๊ะบิลเลียดด้วยที่นำสรรเสริญที่สุด คือ ท่านผู้อาวุโสไล่ซีได้ได้นัดผู้นำของ 'พวกแก๊งค่าย' ที่แพร่หลายอยู่ใน สังคมชาวจีนมาประชุมขอให้ตระหนักถึงคุณธรรม ยอมยุบ 'แก๊ง' อันเป็นองค์กรที่มิชอบด้วยกฎหมายไทย และฝืนกระแส แห่งยุคเสีย ปรากฏว่า พวกชาวแก๊งค่ายก็สำนึกตัวได้ยินยอมยุบเลิกแก๊งค่ายของแต่ละคนไป

นับแต่ปี 1932 เป็นต้นมาในเทศกาลวันสารทที่มีขึ้นปีละครั้ง พวก 'พี่น้องแก๊ง'ซึ่งแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าประหลาด ที่ออกมา เดินลอยชายไปตามท้องถนนก็ได้หาย สาบสูญ 'พวกแก๊งค่าย' จีงกลายเป็นดำนานทางประวัติศาสตร์ไป

เฉินโส่วหมิงได้รับเลือกเป็นประธานหอการค้าจีนอยู่ 2 สมัย (ตุลาคม ปี 1932 ถึงตุลาคม ปี 1936) เป็น ระยะเวลา 4 ปี ได้สร้างผลงานไว้มากที่สุด และก็บริจาคเงินส่วนตัวออกมาทำกิจกรรมของหอการค้าเป็นจำนวนมากที่สุดด้วย

กล่าวกันว่า อย่างน้อยท่านก็ได้ใช้เงินส่วนตัวไปถึง 5 หมื่นบาทของเวลานั้น นอกจากการจัดงานแข่งขันกีฬาสามัคคีระหว่างโรงเรียนจีนที่หอการค้าจีนเป็นผู้จัดขึ้นซึ่งสำเร็จลุล่วงด้วยดี และให้การสนับสนุน การคึกษาและการกีฬาอย่างขนานใหญ่แล้วงานของหอการค้าจีนยังได้ขยายขอบเขต กว้างขวางออกไปอีก ด้วยความเคลื่อนไหว อันคึกคักเหล่านี้ได้ส่งให้จำนวนสมาชิกของหอการค้าจีนเพิ่มขึ้นจากหลายร้อยคนเป็น 2-3 พันคน อันยังผลให้ 'หอการค้าจีน’อยู่ในสถานะเป็นผู้นำขององค์กรชาวจีน ต่าง ๆและได้กลายเป็นองค์กรสูงสุดของชาวจีนในเมืองไทยไปโดยปริยาย

เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1936 รัฐบาลจีนได้ส่งคณะสำรวจและศึกษางาน คณะใหญ่มาศึกษางานในเมืองไทยทั้งเพื่อเป็นการหยั่งเชิงการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยด้วย

เวลานั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคือนายปรีดีห์ พนมยงค์ ได้ให้การต้อนรับ อย่างอบอุ่นแก่คณะผู้แทนจีนกึ่งทางการชุดนี้ค่าใช้จ่าย ค่าอาหารการกินและที่พัก ทั้งหมดที่คณะสำรวจและศึกษาในระหว่างที่อยู่เมืองไทยนั้น เฉินโส่วหมิงเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด และได้เชิญผู้แทนองค์กรสมาคมชาวจีนต่าง ๆ มาร่วมกันจัดงานต้อนรับคณะนี้อย่างมโหฬารเป็นประวัติการณ์ ที่ศาลากวงหวาถังตกค่ำก็จัดงานเลี้ยงกลางแจ้งที่ลานกว้างหน้าศาลากวงหวาถังนั้นเอง ตั้งโต๊ะเป็นจำนวนร้อย เอิกเกริกเป็นประวัติการณ์

คณะสำรวจฯ แม้ว่าจะมิได้ลุล่วงภารกิจสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยแต่ก็ได้ปูทางแก่งานส่งเสริม สันถวไมตรีระหว่างจีน-ไทย ไว้มาก

ท่านเฉินโส่วหมิงก็ได้รับคำชมเชยจากรัฐบาลจีนอย่างสูงและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทูตการค้าประจำประเทศไทยจากกระทรวงการต่างประเทศจีนเป็นคนแรก(เท่ากับ ตำแหน่ง 'กงสุล,)

เมื่อมีการเลือกตั้งคณะกรรมการหอการค้าจีนในเดือนตุลาคมปี 1936 อี้กวงเหยียน ได้รับเลือก และเขาได้เป็น ประธานติดต่อกัน 2 สมัย คือชุดที่ 15 และ 16เวลานั้น ในประเทศจีนสงครามต่อต้านญี่ปุ่นได้ปะทุขึ้น ชาวจีนโพ้นทะเลได้ก่อเกิดกระแสขบวนการรักชาติอินเร่าร้อนประธาน อี้กวงเยี่ยน ด้านหนึ่งได้ร่วมกับเฉินจิ่งชวนนำการเคลื่อนไหวรักชาติ

อีกด้านหนึ่งก็ได้พัฒนางานของหอการค้าจีนได้ก่อสร้างตึกการเรียนการสอนเพิ่มเติม ขยายการศึกษาขึ้นถึงชั้นมัธยมตอนปลายเป็นผลงานที่เด่นชัดที่สุด หลังอี้กวงเหยียนถูกฆาตกรรมเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 1939 แล้ว จางหลานเฉิน (นายสหัส มหาคุณ) ได้ขึ้นเป็นประธานสมัยที่ 17 และ หอการค้าจีนก็ตกอยู่ในสภาวะที่ง่อนแง่น

ฤดูหนาวปี 1941 ญี่ป่นรุกใต้ลงมาทางอุษาคเนย์ และควบคุมประเทศไทยไว้ได้สำนักงานใหญ่ของหอการค้าจีนถูกญี่ป่น เข้ายึดครองโดยพลการอย่างสิ้นเชิง หอการค้าจีนถูกบีบคั้นให้ต้องออกไปเช่าสถานที่ใหม่ที่ถนนสี่พระยา

จากปี 1942 จนถึง เดือนสิงหาคม ปี 1945 เฉินโส่วหมิงถูกกองทัพญี่ปุ่นบังคับให้เป็นประธานหอการค้าจีนสมัยที่18 และ 19 ภายใต้การควบคุมของทหารญี่ป่น เป็นระยะเวลาหลายปีที่ สังคมชาวจีนในประเทศไทยตกอยู่ในภาวะที่

มืดมนอนธกาลอย่างที่สุด และก็เป็นระยะเวลาที่สับสนยุ่งเหยิงอย่างที่สุดด้วย

เมื่อญี่ป่นได้ประกาศยอมจำนนสงครามในวันที่ 15 สิงหาคม ปี 1945 วันรุ่งขึ้น คือวันที่ 16 สิงหาคมเฉินโส่วหมิงก็ถูก ผู้ร้ายลอบสังหารถึงแก่กรรม สาเหตุการตาย ตราบจนปัดนี้ก็ยังเป็นปริศนาคงจะเป็นคดีที่ไม่อาจสะสางได้ไปตลอดกาล

ครั้นเดือนตุลาคม ปี 1945 ผู้นำชาวไหหลำ ฝงเอ๋อเหอ ได้เป็นประธานกรรมการหอการค้าจีนสมัยที่ 20 ได้ดำเนินการนำสำนักงานหอการค้าจีนกลับคืน และได้เปิดโรงเรียนมัธยมจงหวาขึ้นใหม่

ถึงปี 1946 หอการค้าจีน ก็เข้าสู่ยุคฟื้นฟู เมื่อโรงเรียนมัธยมจงหวาเปิดใหม่อีกครั้งได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ขยายสนามกีฬาทั้งลู่และลานด้านหลัง ศาลากวงหวาถังและสร้างหอพัก อาจารย์สหสมาคมกีฬาชาวจีนสยาม, งานแข่งขันกีฬาลู่และลานก็ใช้สนามกีฬาของโรงเรียนมัธยมจงหวาเป็นสนามแข่งขัน

แต่เมื่อจอมพล ป. พิบูล สงครามคืนสู่อำนาจเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1948 ก็ได้ออกคำสั่งปิดโรงเรียนมัธยมที่ชาวจีนเป็นผู้ประกอบการ

โรงเรียนมัธยมจงหวากับมัธยม หนานหยางที่เพิ่งเปิดขึ้นใหม่ไม่นาน ก็ต้องถูกบังคับให้ปิดกิจการไปอีก โรงเรียนมัธยมจงหวาต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียน มัธยมหวาซัง, สอนภาษาไทยและอังกฤษ

จางหลานเฉิน หรือ นายสหัส มหาคุณได้เป็นประธานหอการค้าจีนอีกครั้งในสมัยที่ 21 เมื่อเดือนตุลาคม ปี 1948 คราวนี้ เขาได้เป็นประธานติดต่อกันถึง7 สมัย กระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม ปี 1961

ในช่วงเวลา 14ปีที่นายสหัส มหาคุณ เป็นประธานอยู่นั้นเป็นระยะเวลาที่หอการค้าจีนอยู่อย่างราบเรียบปราศจากคลื่นลม งานของประธานสหัส มหาคุณรวมศูนย์อยู่ที่กิจกรรมส่งเสริมสันถวไมตรีระหว่างจีนกับ ไทย และเป็นผู้นำของสังคมชาวจีน

ส่วนงานของหอการค้าจีนนั้น นอกจากเปลี่ยนโรงเรียนมัธยมจงหวาเป็นโรงเรียนมัธยม ภาษาไทย เปลี่ยนสนามเทนนิสเป็นสนามบาสเกตบอลและจัดการ 'แข่งขันบาสเกตบอลซิงถ้วยไคเซ็ค,ปีละครั้งแล้ว ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดอื่นๆ แต่อย่างไร

ครั้นจน 1962 หวางจั๋วหมิง ได้เป็น ประธานหอการค้าจีนสืบต่อจากนายสหัส มหาคุณและอยู่ในตำแหน่งประธาน มาจนปี 1982ซึ่งถือเป็นประธานที่อยู่ใน ตำแหน่งประธานนานที่สุด

ระหว่างเวลา 20 ปีนี้เขาพูดเองว่าเป็นเพียง 'ผู้เจริญรอยตาม' ท่านประธานคนก่อนๆ ที่ได้สร้างผลงานไว้มากมาย แต่เขาก็ได้บูรณะ ซ่อมแซมศาลากวงหวาถังระดมทุนเป็นค่าใช้จ่ายในจำนวนมากพอสมควร และได้เป็นประธานจัดงาน 'การประชุมพ่อค้าจีนทั่วโลก' ซึ่งมีลักษณะสากลรวม 2 ครั้ง

และในปี 1971 ก็ได้ออกหนังสือ อนุสรณ์ 'วารสาร'ระลึกวันครบรอบ 60 ปี ของการก่อตั้งหอการค้าจีน'และในทศวรรษ ที่ 1970 นี้เอง ก็มีการแก้ไขระเบียบข้อบังคับของหอการค้าจีนเปลี่ยนซื่อเรียกคณะกรรมการบริหาร จากระบบประธานเป็น ระบบ 'นายก'

ในปี 1976 ก็ได้จัดคณะผู้แทนไปทัศนศึกษาที่ประเทศจีน ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากรัฐบาลจีน

และในปีเดียวกันนั้น ก็ได้จัดทีมบาสเกตบอล'ผู้สูงวัย' ไปเยือนสิงคโปร์และมาเลเซียด้วยกล่าวโดยสรุปได้ว่า "สร้างตำนาน ‘ผู้นำ, สังคมชาวจีน หอการค้าไทย จีนถือกำเนิดปี 1910 เติบใหญ่ตามกาลเวลานำพาชาวจีนในไทยสามัคคี" 




Create Date : 04 เมษายน 2555
Last Update : 10 มิถุนายน 2557 21:25:36 น.
Counter : 1316 Pageviews.

0 comments

jommassalyn
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ดีจ้า
google-site-verification: google895789bf776a19de.html