Corporate DNA
Corporate DNA แปลเป็นไทยในชื่อ สร้างประสิทธิภาพวามจำ สร้างประสิทธิภาพองค์กร พิมพ์เมื่อเดือน กันยายน 2549
หนังสือเล่มนี้พูดถึงการสร้างประสิทธิภาพขององค์กร โดยมีแนวคิดที่น่าสนใจได้แก่
ผลผลิตที่หายไป จากความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรในด้านต่างๆ ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรภาครัฐที่ไม่มีการเปลี่ยนตัวพนักงานเข้าออกบ่อยนัก ได้แก่ ด้านการบริหาร คือ ขาดการสอนให้รู้จักใช้กระบวนการในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ และด้านองค์กร คือ ขาดกระบวนการในการสะสมความรู้ และส่งต่อความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง โดยเฉพาะความรู้เฉพาะตนขององค์กร

การแก้ปัญหาเชิงรุก มุ่งเน้นการวิเคราะห์ปัญหาสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เริ่มจากการรวบรวมข้อมูล แล้วจึงประเมินทางเลือกที่เหมาะสม
การแก้ปัญหาเชิงป้องกัน มุ่งเน้นการค้นหาปัญหาก่อนเกิดปัญหา โดยการทำความเข้าใจความซับซ้อนของธุรกิจ และใช้ประสบการณ์ช่วยในการตัดสินใจ

วงจรการสะสมความรู้สามารถสรุปได้ ดังนี้
ความรู้ที่มีอยู่ + ประสบการณ์ + ความรู้ที่ได้รับเพิ่มเติม --> ความรู้ใหม่ --> เผยแพร่ + สะสมข้อมูลเป็นคลังข้อมูล --> แยกแยะความรู้โดยผู้มีประสบการณ์ --> จัดทำแนวทางปฏิบัติ --> ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์สู่ปัจจุบัน -->
จินตนาการ + ประสบการณ์ --> ความรู้
จากระบบฐานข้อมูล --> ระบบบริหารข้อมูล --> การพัฒนาข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

การผลิตแบบโลภมาก คือความคิดของเจ้าของกิจการ ที่คิดจะสร้างผลผลิตและกำไรจำนวนมากอย่างรวดเร็วโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของสินค้า
เมื่อเกิดปัญหา ผู้ผลิตอาจอ้างว่าที่คุณภาพไม่ดีก็เพราะไม่มีต้นทุนพอที่จะผลิตสิ่งดีๆ ให้กับลูกค้า
และในอนาคต ลูกค้าก็จะอ้างว่า เราไม่มีต้นทุนพอที่จะซื้อสินค้าไร้คุณภาพแบบนั้นเช่นกัน

ความไร้ประสิทธิภาพของระบบขั้นตอนที่ซับซ้อน ทำให้ต้นทุนในการจัดการสูงแต่ให้มูลค่าต่ำ
ผู้บริหารควรทำความเข้าใจต่อความซับซ้อนของการบริหาร ทบทวนและจัดการกับปัญหาต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่

การเรียนรู้มีหลายวิธี แต่วิธีที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ง่าย มีดังนี้
การเรียนรู้แบบทั่วไป และการเรียนรู้ตามโปรแกรม --- เพื่อสร้างความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
การเรียนรู้แบบทำไปรู้ไป การเรียนรู้ภาคปฏิบัติ การเรียนรู้ผ่านทางประสบการณ์ การเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง และการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ --- เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน
การสร้างทัศนคติเชิงบวก การสร้างความร่วมมือ การสร้างคุณภาพ การสร้างคุณธรรมและจริยธรรม การสร้างความเข้าใจในยุทธศาสตร์ และการสร้างการเรียนรู้ระหว่างองค์กร --- เพื่อสร้างจริยธรรมคุณธรรม การทำงานเป็นทีมและคุณภาพของงาน
การสร้างการแข่งขัน --- เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

การส่งผ่านความรู้ที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานทั่วไปคือ การเรียนรู้แบบทำไปรู้ไป

การสร้างผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพคือการเพิ่มผลผลิตต่อแรงงาน
การเพิ่มแรงงานอาจทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ไม่ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ผลผลิตแสดงถึงทักษะในการบริหารมากกว่าทักษะของแรงงาน
การบริหารที่ดีจะไม่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่เป็นการจัดสรรปันส่วนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสม

แรงจูงใจ --> การตั้งเป้าหมาย (ที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง) --> ความคิดสร้างสรรค์เพื่อไปสู่เป้าหมาย --> เป้าหมาย หรือ รายงานเท็จว่าถึงเป้าหมายแล้ว

ความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กร ส่วนหนึ่งมาจากผู้บริหารที่อยากเรียนรู้มากๆ แต่ไม่เคยรู้ว่าจะนำความรู้นั้นไปใช้ได้อย่างไร



Create Date : 07 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2559 22:25:16 น.
Counter : 757 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1158799
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2559

 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
7 พฤศจิกายน 2559