Good bye old love.........
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
13 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
คุณลักษณะของวัตถุระเบิดทางทหาร


เห็นแต่ข่าวระเบิด เรามารู้จักชนิดของระเบิดกันดีฟ่า
วัตถุระเบิดทางทหาร

1. วัตถุระเบิดทางทหารเป็นสสารชนิดหนึ่ง
ซึ่งเกิดปฏิกริยาทางเคมี เมื่อได้รับความร้อน การเสียดสี การกระทบกระแทก หรือได้รับแรงกระตุ้นเตือนเริ่มแรกอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดเป็นสารอย่างใหม่ขึ้น หรือกลายเป็นแก๊สจำนวนมาก ๆ เราแยกชนิดของวัตถุระเบิดแรงต่ำ และวัตถุระเบิดแรงสูงด้วยอัตราความเร็วในการระเบิด (เป็น ฟุต หรือเมตร ต่อวินาที) ซึ่งผลจากการระเบิดนี้เป็นลักษณะพิเศษของวัตถุระเบิดแต่ละชนิด


2. วัตถุระเบิดแรงดันต่ำ
วัตถุระเบิดแรงดันต่ำเกิดจากการเผาไหม้จากของแข็งไปเป็นแก๊ส
อย่างช้า ๆ สม่ำเสมอ (อัตราเร็วในการระเบิดตั้งแต่เริ่มต้นจนถึง
400 เมตร หรือ 1.321 ฟุต/วินาที) คุณลักษณะพิเศษนี้ ทำให้วัตถุระเบิด แรงดันต่ำเหมาะสมอย่างมากเมื่อต้องการให้เกิด
ผลในการผลักดัน ตัวอย่างของวัตถุระเบิดแรงดันต่ำ ได้แก่ ดินไร้ควัน และดินดำ

3. วัตถุระเบิดแรงดันสูง
เกิดจาการเปลี่ยนแปลงวัคถุระเบิดเป็นแก๊สแย่างรวดเร็วในอัตรา
1,000 เมตร/วินาที (3,280ฟุต/วินาที) ถึง 8,500เมตร/วินาที (27ล880 ฟุต/วินาที) ก่อให้เกิดผลการฉีกขาดของเป้าหมาย
วัตถุระเบิดแรงสูงนี้ใช้บรรจุเป้นดินระเบิดแท่ง บรรจุในทุ่นระเบิด
และในลูกระเบิดต่าง ๆ

วัตถุระเบิดใช้ในทางทหาร


1. แอมโมเนียไนเตรท (AMMONIUM NITRATE)
แอมโมเนียไนเตรท เป็นวัตถุระเบิดที่มีความไวในการระเบิดน้อย
ที่สุดในบรรดาวัตถุระเบิดทางทหาร จึงต้องมีดินขยายการระเบิดในการระเบิด เพราะว่าดินระเบิดแอมโมเนียไนเตรทมีความไวในการระเบิดน้อย จึงใช้ผสมสำหรับการใช้เป็นดินระเบิดตัด หรือระเบิด
แตกหัก แต่เราจะนำไปใช้สำหรับระเบิดทำหลุม หรือขุดคู ส่วนมากจะนำไปใช้ในด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่ หรือการขุดดิน แอมโมเนียไนเตรทจะชื้นเมื่อถูกอากาศ ดังนั้น จึงต้องบรรจุให้ดีเพื่อป้องกันมิให้อากาศเข้าได้ ฉะนั้น วัตถุระเบิด
ชนิดนี้จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ใต้น้ำ นอกจากได้มีการป้องกันมิให้ถูกน้ำซึมเท่านั้น

2. พีอีทีเอ็น (PENTAERYTHRITE TETRANITRATE) (PETN)
พีอีทีเอ็น เป็นวัตถุระเบิดที่มีความไวสูง (highly sensitive) และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาวัตถุระเบิดทางทหาร มีอำนาจพอๆ กับอาร์ทีเอ็กซ์ และไนโทรกรีเซอรีน พีอีทีเอ็นใช้
เป็นดินขยายการระเบิด บรรจุในชนวนฝังแคระเบิด และเชื้อประทุบางชนิด และบางทีก็ใช้ผสมกับดินระเบิด
ทีเอ็นที หรือใช้กับไนโตรเซลลูโลส เช่น ดินระเบิด M118 พีอีทีเอ็นไม่ละลายน้ำ จึงสามารถใช้ทำลายใต้น้ำได้

3. อาร์ดีเอ็กซ์ (CYCCLOTRIMETHLENETRINITRAMIE) (RDX)
อาร์ดีเอ็กซ์ เป็นวัตถุระเบิดที่มีความไวในการระเบิดมาก
มีอำนาจในการทำลายสูงและเป็นวัตถุระเบิดทางทหารที่มีอำนาจ
มากชนิดหนึ่ง อาร์ดีเอ็กซ์ ใช้เป็นวัตถุระเบิดหลักในเชื้อประทุ
ไฟฟ้า เอ็ม 6 และเชื่อประทุชนวน เอ็ม7 ดินระเบิดชนิดนี้
ถ้าทำให้หมดความไวในการระเบิดแล้วสามารถใช้เป็นดินช่วยขยายการระเบิด
ดินระเบิดทำลาย และดินระเบิดแท่งได้ ส่วนดินระเบิดอาร์ทีเอ็กซ์
ใช้เป็นส่วนผสมทำเป็นดินระเบิดชนิดอื่นๆ เช่น ดินระเบิดคอมโปซิชั่น เอ,บี หรือคอมโปซิชั่น ซี

4. ทีเอ็นที (TRINITROTOLUENE) (TNT) ตัวนี้ได้ยินบ่อย
ทีเอ็นที เยอรมนีผลิตขึ้นใช้เป็นชาติแรก โดยใช้ทูโลอีนจากถ่านหินเป็นวัตถุดิบ ต่อมาสหรัฐฯ ใช้โทลีอีน
จากปิโตรเลียม ทำให้สามารถผลิตได้อย่างพอเพียง เนื่องจากทีเอ็นที มีคุณสมบัติในการหลอมบรรจุได้ดี ฉะนั้น ทีเอ็นที จึงมีที่ใช้อย่างกว้างขวางจัดเป็นวัตถุระเบิดมาตรฐาน
ที่สำคัญในราชการทหาร มีลักษณะเป็นผนึกสีเหลืองอ่อน มีความคงทนดี มีความไวน้อย ถ้าลุกไหม้ในที่โล่งจะมีควันเป็นสีดำ ใช้สำหรับบรรจุลูกกระสุนปืนใหญ่ ลูกระเบิดอากาศ ลูกระเบิดขว้าง ดินระเบิดทำลาย ทำส่วนประกอบของดินเริ่ม
และส่วนประกอบของดินกระสุนบางชนิด เมื่อเก็บรักษาในที่มีอากาศร้อนจัด อาจเกิดการไหลเยิ้มได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อการใช้ นอกจากนี้ดินระเบิดทีเอ็นทียังเป็นวัตถุระเบิดหลักทางทหาร ซึ่งใช้เป็นกำลังเปรียบเทียบอำนาจการระเบิดกับวัตถุระเบิดชนิดอื่นๆ
(ใช้เป็นมาตรฐานตัววัด แบบเซนติเมตรหรือ กก. นั่นเอง)


5.เทตตริล (TETRYL) รูปแทน
เทตตริล ใช้เป็นดินขยายการระเบิด ใช้ทำวัตถุระเบิดผสม และใช้ในการระเบิดทำลาย เทตตริลมีความไวและอำนาจมากกว่า
ทีเอ็นที อย่างไรก็ตามเทตตริลและวัตถุระเบิดที่มีสีส่วนผสมของเทตตริล
กำลังได้รับการทดแทนด้วย RDX และพีอีทีเอ็น ซึ่งมีอำนาจทำลายมากว่า

6.ไนโทรกลีเซอรีน (NITROGLYCERIN)
ไนโทรกลีเซอลีน เป็นวัตถุระเบิดที่มีอำนาจมากพอกับอาร์ดีเอ็กซ์ และพีอีทีเอ็นใช้เป็นดินระเบิดหลักในไดนาไมต์ทางการค้า ไนโทรกลีเซอลีนมีความไวในการระเบิด เมื่อถูกกระทบกระแทกเสียดสีสูง เพราะมีความไวในการระเบิดสูง
จึงยากต่อการจับถือ จึงไม่นำมาใช้เป็นวัตถุระเบิดทางทหาร และดินไดนาไมต์ทางการค้า จะไม่นำมาใช้ในพื้นที่การรบ
(combat area)

7. ดินดำ (BLACK POWDER)
ดินดำ เป็นวัตถุระเบิดที่เก่าแก่ และรู้จักกันมานานว่าเป็นดินขับ
ดินดำเป็นส่วนผสมของโพแทสเซียม หรือโซเดียมไนเตรทกับถ่านโค๊ก และกำมะถัน ดินดำใช้ในชนวนฝักแค เวลาดินประทุ และเครื่องจุดบางชนิด
เพื่อเป็นส่วนถ่วงเวลา

8.อมาตอล (ANATOL)
อมาตอล เป็นส่วนผสมของแอมโมเนียไนเตรท และทีเอ็นที และสามารถนำไปใช้แทน ทีเอ็นที อมาตอล 80 - 20% (80 % แอมโมเนียไนเตรท และ 20% ทีเอ็นที) ใช้บรรจุในบังกะโล ตอร์ปิโดรุ่นเก่า ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ทีเอ็นทีเกิดการ
ขาดแคลน อังกฤษจึงได้คิดค้นอมาตอลขึ้นมา แต่อมาตอล 80 - 20 มีความยุ่งยากต่อการบรรจุลงในลูกดินกระสุน จึงหันมาใช้อมาตอล 50 - 50 ซึ่งสามารถหลอมบรรจุได้ง่ายขึ้น
ต่อมาเมื่อสามารถผลิตทีเอ็นทีเพียงพอแล้ว จึงได้ใช้เป็นวัตถุระเบิดผสมอย่างอื่นที่มีกำลังมากกว่า เช่น
คอมโปซิชั่น บี และเพนโทไลท์แทนอมาตอล

9. คอมโปซิชั่น เอ 3 (COMPOSITION A3)
คอมโปซิชั่นเอ3 ทำจากอาร์ทีเอ็กซ์ 91% ขี้ผึ้ง 9% มีอำนาจฉีก
ขาดดี เหมาะสำหรับการอัดบรรจุลูกกระสุน ต่อมาได้มีการปรับปรุงส่วนประกอบ โดยเพิ่มส่วนลดความไวเข้าไปและเปลี่ยนมาเป็น เอ2 ,เอ 3 ปัจจุบันนี้มีใช้ถึง เอ4 และ เอ5 คอมโปซิชั่นเอ 3 ใช้เป็นดินขยายการระเบิดในดินระเบิดแท่งแบบเซฟชาร์จชนิดใหม่
และในบังกะโลตอร์ปิโดและยังใช้เป็นระเบิดหลักในดินระเบิดพลาสติดแรงสูง

10. คอมโปซิชั่น บี (COMPOSITION B)
เนื่องจากอาร์ทีเอ็กซ์หาได้ง่าย และมีอำนาจฉีกขาดและการระเบิด
ดีกว่าทีเอ็นทีเราจึงใช้อาร์ทีเอ็กซ์ ปสมกับทีเอ็นที เรียกว่า คอมโปซิชั่น บี ซึ่งมีอัตราส่วนผสมอาร์ดีเอ็กซ์ 60% ทีเอ็นที 39% และขี้ฝึ้ง 1% คอมโปซิชั่น บี ใช้เป็นดินระเบิดหลักในเซฟชาร์จ

11. คอมโปซิชั่น บี 4 (COMPOSITION B4)
คอมโปซิชั่นบี 4 ประกอบด้วยอาร์ดีเอ็กซ์ 60% ทีเอ็นที 39.5%
และแคลเซียมซิลิเกต 0.5% คอมโปซิชั่น บี 4 ใช้เป็นดินระเบิดหลักในบังกะโลตอร์ปิโดแบบใหม่ และในเซฟชาร์จ

12. คอมโปซิชั่น ซี 2 และซี 3 (COMPOSITION C2 AND C3)
คอมโปซิชั่นซี2 เป็นดินระเบิดที่มีส่วนประกอบของ อาร์ดีเอ็กซ์ 60% และดินระเบิดพลาสติก 20% ดินระเบิดพลาสติกประกอบด้วย ทีเอ็นที และส่วนผสมของดินระเบิดชนิดอื่น คอมโปซิชั่นซี 2 ได้ถูกแทนที่ด้วยคอมโปซิชั่นซี 3 ซึ่งประกอบด้วย อาร์ดีเอ็กซ์ 77% และดินระเบิดพลาสติก 23% ซึ่งประกอบด้วย ทีเอ็นที เทตตริล ไนโตรเซลลูโลส และส่วนผสมของดินระเบิดชนิดอื่นๆ
ดินระเบิดทั้งสองชนิดนี้จะอ่อนและปั้นได้ ณ อุณหภูมิระหว่าง
-20 องศาฟาเรนไฮต์ ถึง+125 องศาฟาเรนไฮต์ เพราะว่าเป็นดินระเบิดที่มีอัตราความเร็วในการระเบิดสูง
จึงใช้เป็นดินระเบิดในการทำลาย และทำเป็นดินระเบิดแท่ง
เหมาะสำหรับใช้ทำลายใต้น้ำ

13. คอมโปซิชั่น ซี4 (COMPOSITION C4)
คอมโปซิชั่น ซี4 ประกอบด้วยดินระเบิดอาร์ทีเอ็กซ์ 91% และวัสดุที่เป็นพลาสติกที่ไม่ใช่ระเบิด 9% คอมโปซิชั่นซี 4
มีอำนาจเท่ากับคอมโปซิชั่น ซี3 แต่สามารถรักษาสภาพได้ดีกว่า
(อุณหภูมิ ระหว่าง -70 องศาฟาเรนไฮต์ ถึง +170 องศสฟาเรนไฮต์) และสามารถคงทนต่อการกัดเซาะของน้ำได้ดีเมื่อใช้ใต้น้ำ

14. เทตตริคอล (TETRYTOL)
เทตตริคอลประกอบด้วยเทตตริล และทีเอ็นที 75/25 ใช้ทำดินระเบิดแท่ง และส่วนผสมดินระเบิดชนิดอื่น
และใช้การทำลาย เทตตริคอลมีอำนาจมากกว่าทีเอ็นที
และมีความไวน้อยกว่า เทตตริล(ใช้ข้อดี ของทีเอ็นที และเทตตริลมารวมกัน) แต่ดินระเบิดชนิดนี้เปราะหักง่าย
การใช้ต้องระมัดระวังอย่าให้ตกจะทำให้อำนาจการระเบิดน้อยลง

15. เพนโทไลท์ (PENTOLINE)
เพนโทไลท์ ประกอบด้วย ทีเอ็นที กับพีอีทีเอ็นในอัตราส่วน 50/50 ซึ่งไวต่อการจุดระเบิดให้อำนาจการฉีกขาดดี และเหมาะในการหลอมบรรจุ เนื่องจากมีอัตราการจุดระเบิด
และอำนาจสูง จึงใช้เป็นดินขยายการระเบิดในเซฟชาร์จ

16. ไดนาไมต์ (DYNAMITES)
เดิมใช้เรียกชื่อส่วนผสมของไนโตรกลีเซอรีน กับสารที่ดูดซึม
ไนโตรกลีเซอรีน ต่อมาได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงส่วนผสมบางอย่าง ทำให้เกิดเป็นไดนาไมต์ หลายชนิด ได้แก่ สเตรทไดนาไมต์
แอมโมเนียไดนาไมต์ เยลาตินไดนาไมต์ และแอมโมเนียเยลาตินไดนาไมต์ ไดนาไมต์เหล่านี้ มีไนโตรกลีเซอรีนผสมอยู่ด้วย เป็นไดนาไมต์ทางการค้า

17. ไดนาไมต์ทางทหาร (MILITARY DYNAMITES)
ไดนาไมต์ทางทหารประกอบด้วย อาร์ดีเอ็กซ์ 75% ทีเอ็นที 15%
และอีก 10% เป็นวัสดุที่ทำให้หมดความไว และวัสดุที่เป็นพลาสติก มีอำนาจเท่ากับไดนาไมต์ 60% ทางการค้า ดินระเบิดทางทหารไม่มีไนโตรกลีเซอรีน จึงมีความแน่นอนปลอดภัยในการเก็บรักษา และการจับถือ
ดีกว่าไดนาไมต์ทางการค้า












Create Date : 13 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2551 22:17:35 น. 10 comments
Counter : 15303 Pageviews.

 
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ ผมใช้ในโครงงานวิทย์พอดีเลย


โดย: เด็กอิเล็เเทพ IP: 192.168.10.203, 125.26.218.141 วันที่: 13 สิงหาคม 2552 เวลา:8:43:15 น.  

 
ดีทางการ


โดย: เดง IP: 119.42.93.58 วันที่: 14 สิงหาคม 2552 เวลา:14:57:09 น.  

 
อยากได้ c-4


โดย: เต๋า IP: 125.26.180.55 วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:15:05:47 น.  

 
RDX 70%
TNT 15%
NITROGLYCERIN 15%
ปริมาณแค่ 250gมีอำนาจทำลาย=C4 20 ลูก จากการคำนวน


โดย: Stomd IP: 124.122.136.182 วันที่: 8 กันยายน 2552 เวลา:19:58:23 น.  

 
ผมทำเองได้5555ล้อเล่น


โดย: เสนารักษ์ IP: 117.47.228.142 วันที่: 29 ตุลาคม 2552 เวลา:9:58:27 น.  

 
โอโห แจ๋วจิงๆ ผมลองทำดู เกือบตาย


โดย: Dr.นะโม IP: 192.168.182.55, 203.172.216.129 วันที่: 21 กรกฎาคม 2553 เวลา:12:41:14 น.  

 
ประเภทระเบิดผมเก่งที่สุดครับ


โดย: ร.ท สุริยงค์ กุดเปล่ง IP: 125.27.31.78 วันที่: 10 มกราคม 2554 เวลา:17:06:25 น.  

 
ผมอยู่อำเภอยะหริ่ง


โดย: ส.อ สุเมท ภาระเวท IP: 125.27.31.78 วันที่: 10 มกราคม 2554 เวลา:17:08:54 น.  

 
555+เดอิดาระในนารุโตะแมร่งทำระเบิดเองอ้ะ
อาโด่แล้วก็ตายเพราะระเบิดเจอซาโซริระเบิดตุดสะแหกเล
ย 555+ดากฉีก


โดย: เดอิดาระ IP: 58.8.116.246 วันที่: 31 มกราคม 2554 เวลา:18:38:11 น.  

 
พวกกาก


โดย: กูไงจะใครล่ะ IP: 101.51.176.102 วันที่: 4 กันยายน 2559 เวลา:21:36:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jimihendrix
Location :
อุดรธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ดนตรีบลูส์ คือ อารมณ์
Friends' blogs
[Add jimihendrix's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.