โลกนี้แสนสวยงาม... อยากให้เธอได้อยู่ร่วมชม...............
Group Blog
 
<<
มกราคม 2550
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
23 มกราคม 2550
 
All Blogs
 

แก่งเสือเต้น ป้องกันน้ำท่วมได้จริงหรือ

Source - เว็บไซต์ข่าวสด (Th)

Monday, October 30, 2006 02:13

คอลัมน์ สดจากประชาสังคม

หาญณรงค์ เยาวเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายวิชาการและนโยบาย มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์

เป็นเหตุการณ์ที่เป็นอย่างนี้ทุกปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูฝน หรือฤดูแล้ง น้ำจะท่วมตรงไหนก็แล้วแต่ผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ จะต้องออกมาเสนอว่า "เขื่อนแก่งเสือเต้น" จะป้องกันน้ำท่วมได้แบบนั่งยัน นอนยัน กันมาหลายปีดีดัก

นับได้ตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา ราว 17 ปี แต่ถ้านับตั้งแต่การไฟฟ้าได้คิดโครงการผันน้ำ กก อิง น่าน มาตั้งแต่ปี 2523 ก็นับได้ราว 26 ปี เห็นจะได้

วัตถุประสงค์ของการสร้างเขื่อนคืออะไร "เพื่อป้องกันน้ำท่วมหรือเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง"

"เพื่อป้องกันน้ำท่วม" ปัจจุบันประเทศไทย มีการแบ่งลุ่มน้ำออกเป็น 25 ลุ่มน้ำ ประมาณไว้ว่า เมื่อรวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ปิง วัง ยม น่าน แล้ว จะมีน้ำจากแม่น้ำยมอยู่ประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่น้ำที่มีอยู่และแม่น้ำสายใหญ่กว่า น่าจะเป็นแม่น้ำน่าน แม่น้ำปิง เสียมากกว่า ซึ่งสองแม่น้ำรวมกันเกินกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำที่มีอยู่

เขื่อนทุกเขื่อนน้ำจะไหลลงเขื่อนได้ จะต้องมีฝนตกเหนือเขื่อนเท่านั้น ถ้าตกใต้เขื่อนก็ไม่สามารถรับน้ำได้ น้ำก็จะท่วมแม่น้ำตอนล่างอยู่นั่นเอง ยกตัวอย่าง กรณีดินถล่ม 3 จังหวัดคือ แพร่ อุตรดิตถ์ และสุโขทัย น้ำท่วมสุโขทัย แต่ในช่วงนั้น ฝนไม่ได้ตกจุดที่จะสร้างเขื่อนเลย เวลาห่างกันสองวัน ได้ไปดูจุดที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ปรากฏว่าไม่มีน้ำผ่าน แต่น้ำท่วมบางส่วนของจังหวัดแพร่ เช่น อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย และอำเภอเมืองบางส่วน แต่จุดที่จะสร้างเขื่อนอยู่จุดที่ฝนตกขึ้นไปประมาณ 100 กิโลเมตร ก็ทำให้น้ำท่วมทางตอนใต้ได้

นายเส็ง ขวัญยืน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 ต.สะเอียบ กล่าวว่า ปีนี้ฝนตกเหนือจุดที่จะสร้างเขื่อนไม่กี่ครั้ง แต่ครั้งที่น้ำสูงสุดมีเพียงครั้งเดียว สูงประมาณ 5 เมตร ซึ่งไม่เกินริมตลิ่งมากนัก และช่วงนั้นน้ำก็ไม่ได้ท่วมจังหวัดแพร่ และย้ำด้วยว่า น้ำที่ท่วมจังหวัดแพร่ ส่วนใหญ่มาจากลำน้ำสาขา เช่น น้ำแม่หล่าย น้ำจากป่าแดง และปีนี้น้ำจากลำน้ำยมยังไม่ได้ท่วมจ.แพร่เลย ซึ่งต่างจากปี 2538 ที่น้ำท่วมแพร่ ดังนั้น ปีนี้ที่น้ำท่วมไม่น่าจะเกี่ยวกันกับลำน้ำยม

"เขื่อนที่มีอยู่แล้วทำไมป้องกันน้ำท่วมไม่ได้"

เขื่อนแก่งเสือเต้น ถ้าสร้าง สามารถจุน้ำได้ประมาณ 1,175 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อเทียบกับเขื่อนอื่นๆ เช่น เขื่อนภูมิพล จะจุน้ำประมาณ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จุน้ำได้ถึง 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเมื่อวันที่ 10 ต.ค.2549 ที่ผ่านมา น้ำมีปริมาณอยู่ที่ 98 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำอยู่ในเขื่อน ประมาณ 13,090 ล้านลูกบาศก์เมตร และ 9,213 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ จะเหลือพื้นที่รับน้ำได้เพียง 372 ล้านลูกบาศก์เมตร และ 387 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น

ซึ่งน้ำไหลวันละ 80 กว่าล้าน ก็จะรับน้ำได้เพียง 3 วันเท่านั้น ก็จะต้องท่วมเหมือนกับเขื่อนป่าสักที่เก็บน้ำได้ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปัจจุบันมีน้ำอยู่ในเขื่อนถึง 1,017 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งต้องปล่อยน้ำเมื่อน้ำเข้าเขื่อน เพราะเขื่อนเป็นเพียงทางผ่านของน้ำเท่านั้น

เมื่อเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งสองเขื่อน มีปริมาณน้ำมากกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นรวมกัน ถึง 20 เท่า ทำไมจึงคิดว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นจะป้องกันน้ำท่วมได้ และที่สำคัญน้ำที่ท่วมอยู่ ณ วันนี้ก็เป็นน้ำที่มาจากเขื่อนทั้งนั้น จะหวังอะไรกับการที่ออกมาพ่นว่า "เขื่อนแก่งเสือเต้นป้องกันน้ำท่วมได้" ถ้าน้ำมาจากต้นน้ำแล้วค่อยว่ากันไปอีกเรื่อง

อธิบดีกรมชลประทาน ได้กล่าวผ่านสื่อว่า อาจจะทบทวนเขื่อนแก่งเสือเต้น ท่วมกลางกระแสน้ำในลุ่มเจ้าพระยาซึ่งมาจากเขื่อนต่างๆ หรือต้องการเบี่ยงประเด็นที่หลายคนถามว่า จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เพิ่มมามากขึ้นได้อย่างไร เพราะปัญหาน้ำท่วมอยู่ขณะนี้ก็มาจากเขื่อน แต่ท่านไม่เคยพูดความจริง อย่างนี้เรียกว่า กลบเกลื่อนเบี่ยงเบนประเด็นเอาดื้อๆ โดยที่ไม่ได้พิจารณาว่าสาเหตุที่แท้จริงมาจากไหน

รมว.เกษตรและสหกรณ์ มารับงานวันแรกก็กล่าวว่าจะทบทวนเขื่อนแก่งเสือเต้น รัฐมนตรีไม่ได้ได้ดูหรือว่าน้ำที่ท่วมมาจากไหน แม่น้ำไหนที่มีเขื่อนแล้วน้ำไม่ท่วมค่อยมาบอกว่า เขื่อนป้องกันน้ำท่วม และรัฐมนตรีทราบหรือไม่ว่า ทุกครั้งที่จะสร้างเขื่อนแล้วรับปากรับคำ ยืนยันหนักหนาว่าเขื่อนป้องกันน้ำท่วม แต่วันนี้ป้องกันไม่ได้แล้ว ยังจะเอาเขื่อนมาเป็นข้ออ้างว่าสามารถป้องกันน้ำท่วมอีกหรือ อายฟ้าดินบ้างว่าวัตถุประสงค์เหล่านั้นท่องจากตำรามา แต่วันนี้คือเรื่องจริง

แม้แต่หัวหน้าพรรคชาติไทย อดีตนายกรัฐมนตรี ก็อดไม่ได้ที่จะต้องออกมาสนับสนุนเขื่อนอยู่นั่นเอง ถ้าหากเขื่อนนี้วิเศษจริง ป้องกันน้ำท่วมได้เมื่อครั้งที่ท่านเป็นนายกฯ ก็คงตัดสินใจไปแล้ว แต่ถึงวันนี้กลับยังหาตอบไม่ได้

สาเหตุของปัญหาอยู่ตรงไหนต้องแก้ตรงนั้น มาถึงวันนี้ เขื่อนที่เก็บน้ำไว้เมื่อถึงระดับหนึ่งก็ต้องปล่อยน้ำลงมาด้านล่าง ไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้ ก็ต้องปล่อยท่วมด้านล่างแบบที่เห็น

"แนวทางแก้ที่ต้องหาทางออก"

ต้องผันน้ำเข้าทุ่งที่มีผลกระทบน้อยที่สุด หรือระบายน้ำเข้าคลองชลประทานที่สามารถรับน้ำได้ เพื่อลดน้ำในแม่น้ำใหญ่ พบว่าในคลองระบายน้ำระหว่างแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง บางพื้นที่ประตูน้ำปิดสนิท ไม่มีการบริหารจัดการ ต้องเฉลี่ยน้ำเข้าทุ่งบ้าง ระบายเข้านาราว 10-20 เซนติเมตร ในทุ่งขนาดใหญ่ ข้าวไม่เสียหาย ก็ป้องกันน้ำท่วมได้แล้ว พร้อมทั้งจัดระบบน้ำไหลให้สะดวก ชุมชนที่น้ำท่วมหนัก เพราะเราสร้างพนังกั้น และถูกกีดขวางด้วยถนนทั้งนั้น จึงทำให้น้ำท่วมในบางจุดมากเกินไป หนองน้ำธรรมชาติ ต้องผันน้ำเข้าไปเพื่อรักษาระบบได้มากขึ้น เช่น บึงบอระเพ็ด ช่วงฤดูฝนต้องเป็นแหล่งเก็บน้ำให้ได้

"การจัดการน้ำต้องพิจารณาทั้งลุ่มน้ำ"

เป็นที่ทราบว่าทุกปีก็จะมีคนออกมาพูดเรื่องการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นและไม่มีทางออก แต่ที่ผ่านมาเถียงกันว่า เอาหรือไม่เอาเขื่อนแก่งเสือเต้น ถ้าจะให้เกิดปัญญาและทุกฝ่ายมีข้อมูล ต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน ที่เรียกว่าการมองในเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพิจารณากันอย่างรอบด้าน และทุกฝ่ายมีส่วนร่วม จะได้หาทางออกที่ดี ไม่ต้องขัดแย้งกัน และที่ผ่านมานับสิบปี

หน่วยงานหลักอย่างกรมชลประทานก็ยันตลอดว่าต้องมีเขื่อนแก่งเสือเต้น แต่ถ้าพิจารณาทางเลือกและพิจารณาร่วมกับผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดร.ทวีวงค์ ศรีบุรี ได้สังเคราะห์ข้อมูลที่กรมทรัพยากรน้ำ ได้ว่าจ้างให้บริษัทที่ปรึกษารวบรวมไว้ รวมทั้งทีมวิจัยที่ได้ลงพื้นที่และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ พบว่า ทางเลือกในการจัดการน้ำในลุ่มน้ำยม "แก่งเสือเต้น" ไม่ใช่ทางเลือกต้นๆ แต่เป็นเรื่องของการขุดลอกแม่น้ำ ผันน้ำเข้าทุ่งแทน และหลายกลุ่มก็เห็นว่าถึงแม้จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ก็ไม่สามารถแก้ไขได้เบ็ดเสร็จ เนื่องจากบางพื้นที่เป็นที่ลุ่มน้ำก็ต้องท่วมอยู่ หรือฝนตกใต้เขื่อนน้ำก็ต้องท่วมอยู่ดี

ทางเลือกในการจัดการน้ำมีข้อมูลมากขึ้น คงไม่มาเถียงกันว่าจะเอาเขื่อนแก่งเสือเต้นหรือไม่ แต่ต้องมาหาสาเหตุว่าน้ำท่วมมาจากไหน มีวิธีแก้กี่วิธี แล้วค่อยดำเนินการที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ ไม่ใช่คิดแบบเก่าๆ ไม่เปลี่ยนแปลง!!!
หน้า 5



ที่มา: //www.matichon.co.th/khaosod




 

Create Date : 23 มกราคม 2550
0 comments
Last Update : 23 มกราคม 2550 22:35:51 น.
Counter : 1326 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


เด็กชายก้อง
Location :
แพร่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แม้วันนี้เติบใหญ่
มาได้หลายฝนแล้ว
แต่ในใจก็ยังคง
เผื่อพื้นที่เล็กๆ
ไว้ให้เป็น
"เด็กชาย"

ดังนั้น ในบางครั้ง
พื้นที่บล็อกนี้
จึงมีพื้นที่
ที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว
และในบางพื้นที่
ยังคงเก็บไว้บ้าง
ให้สำหรับ
"เด็กชายก้อง"


.................

เพลง Lemon Tree
โดย Fools Garden
Get this widget | Share | Track details



















Friends' blogs
[Add เด็กชายก้อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.