กรกฏาคม 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
20 กรกฏาคม 2555
All Blog
วัด Sanjuusangendou, Kyoto, Japan
ถ้าพูดถึงศูนย์รวมของพุทธนิกายเซนในญี่ปุ่น ก็ต้องนึกถึงเกียวโต  
แต่ในทางกลับกัน เกียวโตเป็นศูนย์รวมของพุทธนิกายอื่นๆด้วย
ความแตกต่างของสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาของญี่ปุ่น
แบ่งหลักๆเป็น ชินโต  กับพุทธ
แต่ในความเป็นพุทธ ก็แบ่งออกเป็นนิกายต่างๆ ที่มีแนวทางของศิลปะแตกต่างกัน 

เซน เคารพความแตกต่างหลากหลาย  ความสำคัญของกระบวนการก่อนความสมบูรณ์  ดังนั้นจึงเคารพความไม่สมบูรณ์ของสรรพสิ่ง และที่จริงแล้ว ตั้งใจทำให้สิ่งต่างๆเหล่านั้น "ไม่สมบูรณ์ และไม่สมมาตร"  แต่เป็นความสมบูรณ์แบบปราณีต นึกถึงห้องพิธีชงชา ที่ใช้วัสดุธรรมชาติ ดูผาดๆเหมือนบ้านชาวนาทั่วไป แต่แท้จริงแล้วประกอบไปด้วยวัสดุ และความชำนาญของช่าง รวมทั้งการคำนวนและกำหนดระยะต่างๆมาแล้วอย่างดี  ราคาที่แท้จริงของการก่อนสร้าง จึงได้สูงมาก จนอาจสูงมากกว่าสร้างบ้านทั่วๆไปทั้งหลัง
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีชงชา ก็เลือกใช้ที่มีความหลากหลาย เนื้อสัมผัส และรูปทรงแตกต่างกันไป ไม่ค่อยมีสิ่งใดสมมาตรหรือเหมือนซ้ำ 

ดังนั้นจึงแยกศิลปะแบบเซนออกจากพุทธอื่นๆได้ง่ายมาก

วัดที่จะเขียนถึงในวันนี้ ไม่ใช่วัดเซน (เกริ่นมาซะยาว 555) 
ไม่ใช่ตัวดูดนักท่องเที่ยวระดับแม่เหล็กเหมือนวัดเงิน หรือวัดทอง หรือวัด Kiyomizu
แต่เป็นวัดที่ ไม่เคยได้ยินว่าใครไปแล้วจะไม่ประทับใจ

ชื่อวัดในภาษาไทยไม่มี   
แต่ชื่อในภาษาญี่ปุ่น แปลตรงตัวได้ว่า "(พื้นที่)ระหว่างช่องเสาทั้ง 33" 
แต่ชื่อที่ว่านี้เป็นชื่อที่รู้จักกันโดยทั่วไป ส่วนชื่อเป็นทางการชื่อ Rengeou-in (hall of the lotus king)  แต่อย่าพูดไปเลย  คิดว่าคนญี่ปุ่นเองก็ไม่ค่อยรู้จักชื่อนี้ (-in ใช้กับวัดขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย ใหญ่กว่า  -ji) และเป็นวัดที่อยู่ภายใต้วัด Myoho-in อีกที 

ชาวตะวันตกส่วนใหญ่ มักคิดว่าพุทธของญี่ปุ่นที่แท้คือแบบเซน เป็นพุทธที่มีความลึกซึ้งมากกว่าแบบอื่นๆ  แต่แท้จริงแล้วมันก่อกำเนิดมาร่วมกัน มีรากฐานเดียวกัน  และต่างก็พัฒนาศิลปะในแบบของตัวขึ้นมา ซึ่งมีความงามไม่แตกต่างกัน 

วัดนี้อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง  (นับตามแผนที่รถบัสเมืองเกียวโตนะ)
ตรงข้ามกับ Kyoto  National Museum เป๊ะ 



ส่วนหนึ่งที่อาจจะไม่ค่อยมีคนมา เพราะไม่ได้อยู่ในกลุ่มสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงกันเหมือนที่อื่นๆ คนที่จะมาก็ต้องตั้งใจมาที่นี่จริงๆ (หรือไม่ก็มาพิพิธภัณฑ์ฝั่งตรงข้ามด้วย)  รถก็ผ่านไม่กี่สาย 
นั่งจากสถานีรถไฟมาประมาณ 10 นาที ลงที่สถานี Hakubutsukan-Sanjuusangendou-mae (แปลได้ว่า ป้ายหน้าพิพิธภัณฑ์และวัด Sanjuusangendou)   





อ้อ  และอยู่ติดกับ  Hyatt Regency  Kyoto  นะคะ  ใครมาพักก็แจ๋วเลย 

เปิดทุกวันตั้งแต่  8:00 - 17:00 น. (ช่วง 16 พฤศจิกายนถึงมีนาคมจะเลื่อนเวลาเป็น 9:00 - 16:00 น.) โดยเหมือนกับที่อื่นๆคือ เวลาเข้าคนสุดท้ายไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมงก่อนเวลาปิดค่ะ 
ค่าเข้า 600  เยน 

*** ภาพที่ไม่ใช่ของตัวเองจะลง credit ไว้ใต้ภาพนะคะ ***

ด้านหน้า  (ทิศเหนือ) ไม่ใหญ่โต เป็นรั้วเป็นกำแพงมีหลังคา สร้างโดย Toyotomi Hideyoshi  ซึ่งอีกสิ่งหนึ่งที่ท่านมีบทบาทคือการจัดให้สร้างประตูใหญ่ด้านทิศใต้ด้วย ซึ่งเป็น important cultural property ของชาวญีปุ่นเขา



ประตูทางทิศใต้ 

เข้าไปด้านในหลังจากซื้อตั๋วแล้วก็จะผ่านเข้าไปเจออาคารหลัก (Houdou = main hall) ที่มองจากด้านกว้างแบบนี้ 


ด้านหน้าของอาคารมีสวนกว้าง บ่อน้ำ ให้ได้เดินเล่น





ถ้าโอกาสดี อาจได้เห็นนกกระสาใกล้ๆแบบนี้  (รูปนี้ไม่ได้ถ่ายเองนะคะ)



ล้อมรอบไปด้วยลานกว้างโรยกรวด บริเวณโดยรอบนี้เอง (ลานฝั่งตะวันตก) เป็นที่จัดการแข่งขันยิงธนูซึ่งจัดในวันที่ 15 มกราคมของทุกปี ที่มีชื่อว่า Toshiya โดยจัดให้ยิงธนูข้ามจากฟากหนึ่งไปยังอีกฟากหนึ่งของอาคาร (ยาว 118 เมตร!) ให้โดนเป้าที่กำหนดไว้ ภายในเวลา 24 ชั่วโมงแล้วนับจำนวนว่าใครยิงได้มากที่สุด ก็เป็นอันชนะไป  โดยสถิติที่มากที่สุดคือ 8,133 ศรยิงโดยคนคนเดียว  

และบริเวณด้านนอกของอาคารนี้เอง ที่เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ในการดวลกันของ Miyamoto Musashi กับ Yoshiyoka Denshichiro ในปี  1604



คือยาวขนาดที่ว่า กล้องไม่สามารถเก็บภาพได้ทั้งหมดในเฟรมเดียว..


ตรงกลางของอาคารหลัก ด้านนอก 

บานหน้าต่างที่เห็นเป็นสีขาวๆ คือหน้าต่างที่กรุด้วยกระดาษขาว หรือแบบที่เรียกว่า "โชจิ" นั่นเอง  ดังนั้น แสงที่ลอดเข้าไปด้านในอาคาร ก็สือแสงที่กรองผ่านกระดาษจึงไม่จ้านัก 





จะเห็นว่าฐานของอาคารเป็นแบบยกสูงจากพื้นขึ้นเล็กน้อย 
อาคารนี้ ไม่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวใหญ่แถบโกเบเมื่อปี  1995 ส่วนหนึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะใต้ฐานของอาคาร ซ้อนไปด้วยทราย โคลน และชั้นอีกหลายชั้นที่ช่วยดูดซับแรงสั่นสะเทือน  เป็นความฉลาดของคนยุคก่อนโดยแท้

งานเทศกาลอีกงานที่สำคัญของที่นี่คืองาน Yanagi-no-okaji ที่จัดขึ้นกลางเดือนมกราคมของทุกปี  โดย yanagi แปลว่าต้นหลิวหรือ willow ส่วน okaji แปลว่า pray for divine protection หรือการสวดขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ผู้มาร่วมงานจะได้รับการประพรมที่ศีรษะเพื่อให้หายจากอาการปวดศีรษะ 

รั้วรอบช่วงที่ไป (ช่วงปี 2006) เขากำลังทาสีใหม่อยู่พอดี 
สีแสดแบบนี้เรียกว่าสี vermilion (หรือ vermillion ก็ได้) สีแสดระหว่างแดงกับส้ม บาดตามาก







วัดนี้สร้างในสมัยเฮอัน ตามดำริของจักรพรรดิ Go-Shirakawa และเสร็จสมบูรณ์โดยการช่วยเหลือของ Taira no Koyomori (warrior-politician) ภายในเวลาเพียง 4 ปี คือเมื่อปี  ค.ศ. 1164  

ภายในอาคารประดิษฐานรูปสลักไม้องค์ Kannon พันกร (ของจริงแต่ละ องค์มี 11 หน้า 40 กร) จำนวนทั้งสิ้น  1,001 องค์
ซึ่งแต่ละองค์ก็มีใบหน้าแตกต่างกัน  ว่ากันว่า ลองสังเกตดู จะพบว่ามีใบหน้าที่คล้ายกับคนที่เรารู้จักอยู่ด้วย

เมื่อครั้งไฟไหม้ใหญ่เกียวโตในปี 1249 รูปสลักเสียหายไปประมาณ 800 องค์ และตัวอาคารเสียหายเกือบทั้งหมด ต่อมาได้มีการสร้างขึ้นมาใหม่ จนตัวอาคารหลักแล้วเสร็จในปี 1266 ส่วนรูปสลักไม้ Cypress ขององค์ Kannon (ขนาดเท่าคนจริง) ที่ยังเหลือรอดมาได้จำนวน 124 องค์ ก็ได้รับการจัดสร้างขึ้นเพิ่มเติม อีก 876 องค์ โดยใช้เวลาในการบูรณะใหญ่ทั้งหมดถึงสี่ครั้ง เวลารวมแล้วกว่า 16 ปีจึงเสร็จเรียบร้อยทั้ง 1000 องค์ และองค์ประธานขนาดใหญ่สูงกว่า 3 เมตรอีก 1 องค์ ( องค์พระประธานเป็น national treasure)  โดยแบ่งกันอย่างสมมาตร คือเป็นแถวข้างละ 10 แถวตามแนวกว้างของอาคาร และ 50 แถวซ้าย-ขวา ขององค์พระประธานเรียงไปเต็มหน้ากระดานแนวยาวของอาคาร

องค์ประธานสร้างในแบบของยุค Kamakura โดยมีเอกลักษณ์ที่ความสมมาตร ดูหนาหนัก แต่ก็สง่างาม เป็นไม้สลักหุ้มด้วยทองคำ สร้างโดยศิลปิน Tankei แต่ก่อนจะเสร็จเขาก็เสียชีวิตไปก่อนในวัย 84 ปี  เหล่าศิษย์จึงรับช่วงต่อและสร้างเสร็จในอีก 2 ปีหลังการเสียชีวิตของเขา 

นอกเหนือจากรูปสลักไม้ Kannon แล้ว ยังมีรูปสลักไม้ของเทพอารักษ์ที่เรียงเป็นแถวด้านหน้าองค์ Kannon อีก 28 องค์ซึ่งลักษณะแตกต่างกันออกไป บางองค์ดูแข็งแกร่ง แต่บางองค์ดูอ่อนโยน และมีแม้กระทั่งเล่นดนตรี 
นอกจากนี้ยังมีเทพวายุ (Fuujin) และเทพสายฟ้า (Raijin) ของชินโตอีก 2 องค์มาขนาบข้างด้วย  ทั้งสองรูปสลักถือเป็น national treasure เนื่องจาก ตำนานเก่าแก่ของญี่ปุ่นเกี่ยวกับเทพสององค์นี้มีหลักฐานเป็นภาพวาดอยู่มาก แต่ที่เป็นรูปสลักและเก่าแก่จริงก็มีสองรูปสลักนี้เอง

เดิมเชื่อว่า เทพสายฟ้าและเทพวายุนั้นสร้างความเสียหาย จึงจัดเป็นเทพชั้นเลว แต่ในที่นี้ตำนานเล่าว่า เพราะเทพอารักษ์นั้นเอาชนะเทพทั้งสองได้ เทพทั้งสองจึงได้กลายมาเป็นผู้ติดตามขององค์ Kannon เปลี่ียนความหมายมาเป็นทางด้านดีแทน

แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของความเชื่อหลากหลาย โดยไม่ตัดแบ่งออกจากกันอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่น 

ภายในอาคาร ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปใดๆ ไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้แฟลช
ตอนแรกคิดว่าไม่ให้ถ่ายรูปเพราะกลัวแสงแฟลชจะทำให้สภาพของเสื่อมไปเรื่อยๆเมื่อโดนแสงหลายๆครั้งเข้า แต่คิดไปคิดมาก็ไม่น่าใช่ เพราะห้ามถ่ายในทุกกรณี

ดังนัั้นจึงไม่มีภาพถ่ายมาให้ดูกัน

ภาพเหล่านี้เป็นของ postcard และภาพที่ทางวัดถ่ายเอง 


นึกถึงภาพนี้ แต่ในขนาดของคนจริงๆ  อันที่จริงแต่ละองค์สูงใหญ่กว่าตัวเราเสียอีก

ความรู้สึกเมื่อเข้าไปจึงรู้สึกว่าตัวเรานั้นที่จริงแล้วเป็นแค่สิ่งเล็กๆสิ่งหนึ่งเท่านั้น





องค์พระประธาน ขนาดสูงกว่า 3 เมตร



เทพสายฟ้า (Raijin) 



และเทพวายุ หรือเทพลม  (Fuujin) 



หลายคนที่ไป เมื่อเดินไปถึงปลายทางแล้วก็น้ำตาซึม 
เพราะเราได้รู้ว่า "ตัวกู" นั้นกระจิ๋วหลิวแค่ไหน



Create Date : 20 กรกฎาคม 2555
Last Update : 21 กรกฎาคม 2555 2:18:13 น.
Counter : 6238 Pageviews.

4 comments
  
สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยมทักทายอย่างเป็นทางการ
บล๊อกนี้แจ้งชื่อที่กลุ่มหรือยังคะนี่
เหมือนฉัตรไม่ค่อยคุ้นเลยค่ะ แหะๆ

ขอแชร์ไปที่หน้าแฟนเพจหน่อยนะคะ
^ ^

โดย: ณ ปลายฉัตร วันที่: 21 กรกฎาคม 2555 เวลา:20:26:53 น.
  
แจ้งแล้วค่ะ แต่นานมากแล้ว ไม่ค่อยได้อัพค่ะ แหะ แหะ
โดย: blueschizont วันที่: 21 กรกฎาคม 2555 เวลา:21:14:26 น.
  
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แวะเข้ามาทักทายคะ^^
โดย: kikujungna_Minkky9 วันที่: 21 กรกฎาคม 2555 เวลา:21:37:58 น.
  
เคยเห็นแต่โปสการ์ดแต่ยังไม่เคยไปเยือนครับ
อยากหาโอกาสไปบ้างจังเลย
โดย: คนขับช้า วันที่: 21 กรกฎาคม 2555 เวลา:21:45:26 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

blueschizont
Location :
ประจวบคีรีขันธ์  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



รักญี่ปุ่น