สิงหาคม 2555

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
อภิธานศัพท์ทางการแพทย์ ในภาษาชาวบ้าน และการทำงานร่วมกับล่าม
วันนี้ได้ไปเข้า course เรียนเรื่องการสื่อสารทางการแพทย์ และการทำงานกับล่ามมา
ที่ รพ. กรุงเทพ สาขาใหญ่ มีคุณเจ้าหน้าที่ชื่อ Joanna Altridge มาจากอังกฤษ ทำงานเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษทุกอย่างของโรงพยาบาล 

ทำให้ได้รู้ว่า มี resource อีกมากมายที่ค้นหาได้บน internet แต่เราเลือกคำไม่ถูก ไม่รู้จะไปหาจากไหน  และไม่คิดจะหาเองมากกว่า จึงไม่เจอ

อย่างสิ่งนี้ ที่มีประโยชน์มากสำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างแพทย์และคนไข้โดยตรงในภาษาที่เข้าใจง่ายๆ  
หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Layman's terms 

จัดทำโดย CDC ค่ะ 


อย่างอื่นที่ได้เรียนในวันนี้คือ
การทำงานร่วมกับล่ามภาษาต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปเป็นข้อๆเท่าที่จำได้ดังนี้ 
1. ล่ามต้องเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  ด้วยเหตุนี้ล่ามที่ดีจึงไม่ควรทำงานแปลให้แก่ครอบครัวของตัวเองหรือเพื่อนฝูง เพราะอาจเอาใจเราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยมากเกินกว่าความเป็นมืออาชีพ
2. แปล -ทุกอย่าง- ที่ทั้งแพทย์ และคนไข้พูด  แม้ว่าเราจะรู้สึกว่าสิ่งนั้นอาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ก็ตาม เพราะคนที่เป็นเจ้าของการสนทนานั้นเป็นแพทย์กับคนไข้ ไม่ใช่ล่ามที่จะมีหน้าที่ตัดสิน  และการแปลให้ใช้ลักษณะประโยคที่เจ้าของคำพูดนั้นพูดจริงๆ ไม่ต้องพูด เช่นว่า  คุณหมออยากจะทราบว่า บลา บลา บลา   แต่ให้พูดไปตามที่แพทย์หรือคนไข้พูดไปเลย
3. ถ้าไม่เข้าใจศัพท์ใด ให้ถามเสมอ  อย่าคิดว่าตัวเองรู้แล้วเดา เพราะมันเป็นสาเหตุของความผิดพลาดใหญ่หลวงได้ ถ้าถามแล้วแพทย์ไม่ตอบ  ให้ถามซ้ำ ถ้าไม่ตอบหรืออธิบายอีก เช่น บางท่านอาจจะบอกว่า  นี่มันงานของคุณนะ คุณก็ควรจะรู้นี่  (คือแพทย์บางท่านก็เรียนมาด้วยศัพท์นั้ัน และอธิบายเป็นภาษาบ้านๆไม่เป็นจริงๆนะคะ -_-")  ก็ให้ล่ามจำไว้่ แล้วรายงานต่อผู้บังคับบัญชา เพราะเรื่องเหล่านี้ เราต้องถือประโยชน์ของคนไข้เหนือสิ่งอื่นใด บุคคลเหล่านี้ ควรได้รับการแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 
4. เพื่อความถูกต้อง ให้แปลทีละ 1-2 ประโยค  ถ้าแพทย์พูดยาวไป ก็เตือนว่าให้พูดสั้นลงทีละ 1-2 ประโยคแล้วล่ามจะแปลตามนั้น  ทั้งนี้ก็เพื่อความถูกต้อง ไม่เป็นการย่นย่อความที่อาจจะทำให้หลุดบางประเด็นไป และระหว่างที่มีการคั่นจังหวะการพูดที่เป็นช่วงแปลของล่าม ก็จะทำให้แพทย์ได้มีเวลาคิดสรุปความสร้างประโยคอธิบายที่ชัดเจน รวบรัดได้มากยิ่งขึ้นด้วย 
5.  ไม่ถามคำถามคนไข้มากกว่าครั้งละหนึ่งคำถาม 
6.  ไม่ตอบแทนผู้ป่วย เช่นในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจจากแพทย์หลายท่าน และท่านก่อนได้ถามคำถามนี้ไปแล้ว ล่ามก็ทราบข้อมูลแล้ว แต่เมื่อแพทย์ท่านใหม่ถาม ก็ต้องแปลไปตามนั้น และให้ผู้ป่วยเป็นคนตอบเอง ไม่ควรไปตอบแทนเขา 
7.  ถ้ามีข้อมูลที่คิดว่าสำคัญแต่ไม่ได้รวมอยู่ในการสัมภาษณ์ครั้งนั้น ล่ามอาจพบกับแพทย์เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบางกรณี เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยอาจมีปัญหาทางจิต หรือข้อมูลบางอย่างเช่นการดื่มสุรา  etc.
8.  ระมัดระวังประเด็นทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  ของทั้งแพทย์และผู้ป่วย การถามคำถามบางอย่างในบางวัฒนธรรมอาจเป็นการไม่สุภาพได้ 

สำหรับแพทย์  จำง่ายๆก็คือ 
1. พูดสั้นๆทีละ 1-2 ประโยค  
2. คุยกับคนไข้  ไม่ใช่กับล่าม  ดังนั้น มองหน้าคนไข้ สื่อสารกับเขา แต่หูฟังล่ามได้ 
3. จำไว้ว่าทุกคำที่พูดหรือบ่นออกมาจะถูกแปลทั้งหมด 
4. คนไข้บางคนเก่งภาษาอังกฤษมากกว่าเรา แต่ไม่สะดวกใจที่จะพูดเมื่ออยู่ในช่วงที่ป่วย อย่าคิดว่าพูดเป็นภาษาอังกฤษแล้วเขาจะไม่เข้าใจ
5. ล่ามคือเจ้าหน้าที่ที่ทำงานร่วมกับเรา เป็น teamwork เดียวกัน  ไม่ใช่ลูกน้อง 

นอกจากนี้วันนี้ก็ยังได้ความรู้ใหม่ ว่าที่ USA เขามีสมาคมล่ามทางการแพทย์ด้วยนะ
มี code of ethics for medical interpreters ด้วยนะ 
ดูได้ที่ //www.imiaweb.org 

วันหลังจะมา update อีกค่ะ 







Create Date : 08 สิงหาคม 2555
Last Update : 9 ตุลาคม 2555 11:08:19 น.
Counter : 982 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

blueschizont
Location :
ประจวบคีรีขันธ์  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



รักญี่ปุ่น