ขอให้รอ วันรุ่งของพรุ่งนี้ ฟ้าคงมี พรชัยให้กับเรา (พ.ท. ณรงค์เดช นันทโพธิเดช)
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
1 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 

แดนอะบอริจิ้น


หลังจากตัดสินใจได้ว่าผมควรจะไปออสเตรเลียดีกว่าไปอเมริกา เพราะถ้าขืนไปคิดจะไปแต่อเมริกา ชาตินี้คงจะไม่ได้ไปไหนแน่ เพราะตอนนี้อายุอานามก็ไม่ใช่น้อยแล้ว แถมพ่อแม่ก็ ไม่ได้มีเงินถุงเงินถัง อย่าว่าแต่เงินทองเลย จะอยู่ให้ผมรับใช้ตอนแก่ยังไม่ยอมเลย ท่านทั้งสอง มาด่วนจากไปตั้งแต่ผมยังเด็ก ผมจึงไม่รอช้าร่ำไรเก็บรวบรวมเงินทองที่มีอยู่ทั้งหมด รีบจัดการ ติดต่อที่เรียนผ่านหน่วยงานที่ทำอยู่ แต่บังเอิญหน้าตาผมคงจะดูจัณฑาลไปสักหน่อย พนักงานที่ ให้บริการจึงไม่เชื่อมั้งว่าผมจะไปเมืองนอกจริง ในเมื่อไม่ถูกใจในบริการ ผมจึงเปลี่ยนไปใช้ บริการของไอดีพี ที่ตึกซีพีทาวเวอร์ ใกล้กับที่ทำงานนั่นแหละ ที่นี่บริการค่อนข้างดี เพราะ เจ้าหน้าที่เข้าใจงานที่ทำ งานคือการแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้บริการ หลังจากติดต่อกับไอดีพีว่า ผม ต้องการไปเรียนที่ออสเตรเลีย ทางไอดีพีก็ให้คู่มือมาหนึ่งเล่ม นั่งอ่านอยู่สามชั่วยาม ผมก็ ตัดสินใจได้ว่า จะไปเรียนภาษาก่อนในขั้นต้น ผมเลือกเรียนที่วิทยาลัยเทคนิคของออสเตรเลีย หรือเรียกว่า TAFE (Technical and Further Education) ที่เมืองเมลเบิร์น เมืองหลวงของรัฐ วิคตอเรีย ที่นี่มีหลักสูตรสอนภาษาสำหรับนักเรียนต่างชาติ (overseas students) แต่เจ้าหน้าที่ ของไอดีพีแนะนำว่าอย่าไปเลยเมลเบิร์น ไปบริสเบนดีกว่า เพราะอากาศสบายๆ ไม่หนาวมาก ผมเป็นคนเชื่อคนง่ายอยู่แล้ว เลยตัดสินใจมาที่บริสเบน
ผมได้แต่นึกในใจว่า ไปไหนก็ไปเถอะ เพราะถ้าอยู่เมืองไทย ก็คงไม่ได้มีอะไรดีขึ้นกว่า ที่เป็นอยู่แน่ หน้าที่การงานก็คงไม่เจริญรุ่งเรือง คงจะมีชีวิตแบบเช้าชามเย็นสามชามไปจน ตายเป็นแน่แท้ ไปตายเอาดาบหน้าดีกว่า เผื่อจะมีอะไรดีๆให้กับชีวิตบ้าง อย่างน้อยถ้าไม่ประสบ ความสำเร็จ ก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได ้เพราะทำดีที่สุดแล้ว
เหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่ผมตัดสินใจมาออสเตรเลีย ก็คือที่นี่นักเรียนมีสิทธิ์ทำงานได้โดยถูก กฎหมาย ผมรีบขอวีซ่านักเรียนเข้าิดินแดนอะบอริจิน หนึ่งอาทิตย์ผ่านไปไวเหมือนโกหก ผมก็ได้รับหนังสือเดินทางพร้อมกับวีซ่านักเรียน จึงรีบทำเรื่องลาออกจากงานที่ทำอยู่ เพื่อน ร่วมงานดีใจกันออกนอกหน้า(อย่างเห็นได้ชัด) ไม่มีใครคัดค้าน ทุกคนโล่งใจที่มันไปพ้นๆซะที หัวหน้าส่วน,ผู้จัดการฝ่าย ทุกคนรีบอนุมัติใบลาออกทันที มีคุณจิระศักดิ์ ตัณสถิตย์ ท่านเดียว ที่่ถามว่าทำไมไม่ลาศึกษาต่อ ลาออกทำไม ผมจึงเรียนท่านว่า ผมไม่แน่ใจว่าจะเรียนจบเมื่อไหร่ เพราะผมต้องไปดิ้นรนต่อสู้ ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีเงินเรียน ท่านได้ให้พระผงวัดปากน้ำ รุ่นกุฏิแตก มาหนึ่งองค์ พร้อมกับอวยพรให้ สำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจไว้ และบอกอีกว่าไม่ตายคงได้เจอกันอีก ครั้งนั้นเป็นครั้งสุดท้ายที่ผมได้เจอท่านเพราะอีกประมาณเดือนกว่า ท่านก็จากไปอย่างไม่มีวันกลับ ด้วยโรคมะเร็งที่ตับ มัจจุราชพรากท่านจากครอบครัวและคนรัก
ผมจึงกำหนดวันเดินทางแน่นอน คือวันที่ ๓ มกราคม เป็นวันเดินทาง ระหว่างนี้ผมเริ่มออก เดินสายร่ำลาบรรดามิตรรักแฟนเพลง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ร่ำลาคนรักและชู้รัก เพราะ ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะเจอกันอีก จากนั้นจึงเริ่มจัดกระเป๋าเดินทาง และแลกเงินเป็นเงินดอลลาร์ออส-เตรเลีย จัดแจงเรื่องเอกสารต่างที่คิดว่าจำเป็นต้องใช้

คืนนี้เป็นคืนที่อากาศร้อนอบอ้าว เหงื่อเม็ดโตๆจับตามตัวเต็มไปหมด ข่มตานอนอย่างไร ก็นอนไม่หลับ ได้แต่พลิกไปพลิกมา ้เพราะไม่สามารถหยุดคิดเรื่องต่างๆนาๆได้ จะว่าเกิด ความหวาดกลัวผสมกับความตื่นเต้นว่า อนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไรก็คงได้ แต่ในที่สุด ผมก็หลับไปตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู้ มาตกใจตื่นก็เพราะได้ยินเสียงนาฬิกาปลุกดังขึ้นเหมือนจะ บอกว่า เวลาต่อไปนี้เป็นเวลาที่เจ้าเลือกเดินและใฝ่ฝันมาทั้งชีวิต เจ้าต้องตื่นขึ้นมาเจอกับมัน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เจ้าเป็นคนกำหนดเอง

ผมไปถึงสนามบินตั้งแต่เช้ามืด เมื่อจัดการทุกอย่างตามขั้นตอนเสร็จเรียบร้อย ผมก็ร่ำลา เพื่อนที่มาส่งกันมากมายเต็มสนามบิน (มีตั้งสี่คน) ลาก่อนทุกคน ลาก่อนประเทศไทย สายการ บินแควนตัสมุ่งจากกรุงเทพฯสู่นครบริสเบน (โดยไม่พักจอดเติมน้ำมันและเช็คลมยางที่นคร สวรรค์) เพียงแปดชั่วโมงก็ถึงแดนอะบอริจิน ตรงตามความคาดหมาย

พอเครื่องบินมาถึงสนามบิน หลังจากผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเรียบร้อยแล้ว ผมเดินออกมารับกระเป๋าพร้อมกับมองหาคนที่มารับ และนั่งรถแท็กซี่มาบ้านที่ติดต่อไว้ หรือที่เรียกกันว่า โฮมสเตย์ ก็คือบ้านที่คนต่างชาติแบ่งห้องให้นักเรียนเช่าโดยกินอยู่พร้อม บ้านนี้มีอยู่ด้วยกันทั้ง หมดหกคนรวมทั้งตัวผม เจ้าของเป็นจีนมาเลเซีย สามีเป็นออสซี่ มีลูกสาวหนึ่งคน เด็ก นักเรียนญี่ปุ่นสองคน ความจริงแล้วครอบครัวนี้มีลูกสาวสองคน แต่อีกคนหนึ่งแม่เธอเล่าให้ฟัง สรุปโดยรวมคือว่าแรดมาก ชอบเริงร่าท้าผู้ชายยิ่งกว่าเปลี่ยนผ้าอนามัย แม่เธอทนไม่ได้ เลยส่ง ไปอยู่กับตาที่มาเลเชีย นับว่าผมโชคดีที่มาเจอกับเจ้าของบ้านใจดีและมีน้ำใจ อาจจะเป็นเพราะ ว่าถูกชะตาหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ ดังนั้นผมยังติดต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

นักเรียนบางคนโชคดี บางคนโชคร้ายเจอกับโฮมสเตย์ที่ไม่ดี อย่างน้องจอย เธอเล่าให้ฟัง ว่าโฮมสเตย์ที่เธออยู่ด้วยเห็นแก่ได้มาก ตอนเช้าให้กิน Corn flakes กับนม แล้วลองคิดดูสิว่า เธอ เรียนตั้งแต่แปดโมงครึ่งจนถึงบ่ายโมง เธอต้องทนหิวขนาดไหน ตอนเย็นกลับมาบ้าน ก็ได้กิน อาหารที่ฝรั่งเตรียมให้เพียงน้อยนิด กินหมดก็ไม่มีเติม ต้องนอนหิวไปอีก ครั้นจะย้ายออกก็ เสียดายเงินที่จ่ายไปแล้วล่วงหน้า แถมบางครั้งต้องดื่มนมผสมน้ำ ที่เจ้าของบ้านสุดประหยัดแอบ ทำไว้ให้ เธอเล่าต่ออีกว่า ตอนมาใหม่ๆ เธอมีน้ำหนักตั้งหกสิบเจ็ดกิโลกรัม ส่วนสูงร้อยห้าสิบ แปดเซ็นติเมตร มาอยู่บ้านนี้เพียงสามเดือน น้ำหนักหนักเพียงห้าสิบเจ็ดกิโลกรัม น้องจอยเล่า ด้วยสีหน้าที่เศร้าสร้อย (เพราะความเสียดายน้ำหนักหรืออย่างไรไม่แน่ใจ) นับว่าผมโชคดีกว่า น้องจอยมาก ที่เจอกับเจ้าของบ้านที่มีเมตตา ฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาในการมาอยู่ที่ บริสเบน


บริสเบนเป็นเมืองที่มีชื่อเหมือนแม่น้ำที่ไหลผ่านคือแม่น้ำบริสเบน และเป็นเมืองหลวงของ รัฐควีนส์แลนด์ ประชากรในเมืองนี้ยังไม่ค่อยมากเท่าไหร่ เป็นเมืองที่กำลังเติบโต สภาพอากาศ ค่อนข้างร้อน แต่ไม่ร้อนเหมือนเมืองไทย บ้านเราอากาศร้อน แต่มีความชื้นสัมพัทธ์ใน อากาศ ที่นี่ร้อนแบบแห้งแล้ง ร้อนแบบไหม้ คนที่ไม่ชอบให้ตัวดำขอเตือนว่า อย่ามาอยู่เมืองนี้อย่าง เด็ดขาด เพราะท่านจะต้องดำอย่างไม่ต้องสงสัย บริสเบนไม่มีปัญหาเรื่องรถติด อาหารการกิน ที่นี่ก็แสนจะอุดมสมบูรณ์ มีให้เลือกกินตามใจชอบ ราคาไม่แพง มีหมดทุกอย่าง ไทย จีน ลาว แขก เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม เขมร ทั้งคนและอาหาร
เลยออกไปหน่อยเป็นเมืองชายทะเลชี่อว่าเมืองโกลด์โคสท์ ผมว่าทะเลที่นี่สวยกว่าเมืองไทย ก็ตรงการจัดการในเรื่องของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทะเลที่นี่ไม่เห็นจะสวยตรงไหนเลย ร้อนก็ร้อน ทรายก็เม็ดใหญ่ๆ สวยไม่ได้ครึ่งเกาะเสม็ดที่ระยองบ้านเรา แถมปลาฉลามก็ชุมมาก นักเล่นกระดานโต้คลื่นถูกปลาฉลามหม่ำไปไม่รู้เท่าไหร่แล้ว บางคนเล่นน้ำอยู่ดีๆ ไม่รู้แขนหาย ไปไหน ทะเลมีแต่คลื่นลูกมโหฬารและลมแรงมาก เหมาะสำหรับเล่นกระดานโต้คลื่น

แต่ก่อนไม่เคยมาออสเตรเลีย ผมก็คิดว่าเวลาเดินทางไปตามท้องทุ่งข้างถนน คงจะเห็น จิงโจ้กระโดดโลดเต้นเต็มไปหมด หรือมองไปบนต้นไม้ คงจะมีแต่โคอะล่าเกาะต้นไม้เต็มไป หมด แต่พอมาจริงๆ ก็หาดูได้ในสวนสัตว์ที่มีไว้บริการ สังเกตุจากนักท่องเที่ยวที่มาที่นี่ เห็น ได้แต่เดินดูสวนสัตว์ ดูสวนสาธารณะ โถอนิจจาอนิจจังมาเมืองนอกทั้งที มาดูแค่นี้นะ แต่ก็อย่าง ว่ามันไม่มีอะไรจะให้ดูนี่หว่า พิพิธภัณฑสถานก็ไม่เห็นมีอะไรให้ดูเป็นประวัติศาสตร์ เหมือน ไปดูงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรมากกว่า แต่ก็อย่างว่า ออสเตรเลียเป็น ประเทศที่มีอายุไม่กี่ร้อยปี จะให้มันมีศิลปวัฒนธรรมเหมือนกับประเทศไทย ก็คงเป็นไปไม่ได้ ดินแดนแห่งนี้ ถึงแม้จะมีพวกชนพื้นเมือง (Aboriginal) อาศัยอยู่มากกว่าหกพันปีก็จริง แต่ พวกเหล่านั้นอยู่แบบคนป่าบ้าง อยู่อย่างมนุษย์ถ้ำบ้าง ดังนั้นก็ไม่มีอะไรมาให้เห็นถึงความศิวิไลซ์ ไม่เหมือนบ้านเรา เรามีสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาหลายร้อยปี ต่อมามีอยุธยาเป็นราชธานีอีก 400 กว่าปี และกรุงรัตนโกสินทร์อีกสองร้อยกว่าปี เราจึงมีศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องมายาวนาน นี่ถ้ากรุงศรีอยุธยาไม่ล่มสลายย่อยยับไปด้วยไอ้พม่า (เรียกอย่างนี้จะกระเทือนถึงความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศรึเปล่าก็ไม่รู้ เดี๋ยวพม่าจะไม่ซื้อสัญญาณดาวเทียม) พระราชวังกรุงเก่า คงจะสวยงามมาก แต่ออสเตรเลียเจริญได้ทุกวันนี้ เป็นเพราะผังเมืองที่วางไว้อย่างดีเยี่ยม ทุกสิ่ง ทุกอย่างประเทศอังกฤษนำมาเนรมิตให้ ดินแดนแห่งนี้ นาย William James คนขาวกลุ่มแรก ได้ขึ้นที่ฝั่ง Cape York, Queensland เมื่อสามร้อยกว่าปีที่แล้ว (ค.ศ.1606) และในปี ค.ศ.1770 Captain James Cook ได้ขึ้นที่ชายฝั่งตะวันออก และตั้งชื่อว่า New South Wales

แม้ออสเตรเลียจะเป็นดินแดนที่กว้างใหญ่จนเป็นทวีป (7,682,300 ตารางกิโลเมตร) แต่มี ประชากรเพียง 19.6 ล้านคน (ปี ค.ศ.2003) ในเมื่อออสเตรเลียเป็นดังที่กล่าวมานี้ แล้วจะให้มี อะไรในพิพิธภัณฑ์เหมือนเมืองไทยได้อย่างไร เมืองไทยขนาดรักษาไว้ได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็ยังมีให้ เราได้ศึกษาได้ชม ครั้นจะไปเดินช็อปปิ้งก็ไม่เห็นมีอะไรน่าสนใจ เพราะสินค้าที่นี่ เขียนติดไว้ เลยว่า Made in China คนที่นี่ไม่สนใจเรื่องยี่ห้อ แต่สนใจคุณภาพ รูปแบบและราคา เพราะฉะนั้น อย่าแปลกใจเลย ถ้าเดินไปพบเสื้อโปโลทำในจีนหรือศรีลังกา หรือรองเท้าอดิดาส ทำในอินโด และในประเทศไทยบ้านเราเอง เห็นมีแต่เครื่องสำอางค์ยี่ห้อเดวิดโจนส์ ที่พอจะเป็นของฝาก ติดไม้ติดมือกลับบ้านได้ (ข้อมูล จากThe pocket Aussie Fact Book)

บ้านช่องดูก็เป็นระเบียบเรียบร้อยดี แต่ไม่มีความงามในทางสถาปัตยกรรมโบราณ หรือ เป็นตึกประวัติศาสตร์หลายร้อยปี เหมือนกับบ้านเราเลย เมืองไทยแค่วัดวาอารามต่างๆที่มีอยู่ สวยงามกินขาดแล้ว ส่วนพระราชวังก็งดงาม และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างมากมาย หลาย พันเท่า บ้านเราเสียตรงที่ไม่มีระเบียบและความสะอาด ผมจึงไม่แปลกใจเลย ที่เห็นคนไทยนิยม มาเที่ยวที่ออสเตรเลีย เพราะว่าคนไทยน้อยคนนักที่มาเที่ยว เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ของบ้าน เมืองอื่น เห็นมาเที่ยวกัน อย่างมากก็แค่เอาไปคุยข่มกันว่า ฉันไปเที่ยวนั่นมาไปเที่ยวนี่มา และ แต่งตัวสวยๆหล่อๆ ถ่ายรูปไปอวดกัน ผมมีเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งนิยมไปเที่ยวเมืองนอก และก็ ทำอย่างผมพูดนี่แหละ ผิดอยู่ตรงที่ท่านผู้นี้ไปเที่ยวดูไบตะวันออกกลาง ร้อนจะตายชัก ิแต่คุณ เธอแต่งตัวเหมือนยังกับหนาวนักหนา แทนที่จะนุ่งขาสั้น ผมดูแล้วยังอยากจะถามตามประสา คนปากเสียว่า มันหนาวนักเหรอุถึงได้ใส่เสื้อผ้าขนาดนั้น เหมือนกับที่บริสเบน เพราะที่นี่ร้อน เหลือทน ใครที่จะมาที่นี่ ผมแนะนำให้นุ่งขาสั้นจะสะดวกที่สุด

สิ่งหนึ่งที่ออสเตรเลียนิยมมีที่สุดคือคาสิโน แทบจะทุกเมืองจะมีคาสิโนรองรับนักท่องเที่ยว ให้ผู้คนที่มาเที่ยวได้จับจ่ายใช้เงินอย่างเต็มที่ ผมเคยเห็นอดีตรัฐมนตรีและรัฐมนตรีปัจจุบันชอบพาอีหนูหนีเมียมานั่งเล่นไพ่ (ไม่น่าจะเป็นเมียหลวงเพราะเธอเด็กมาก) ดาราก็มีเยอะที่มา พักผ่อน หย่อนใจในคาสิโน (ไม่รู้ว่าไปทำอะไรกันมา ใจมันถึงได้ตึงกันนัก) หลายคนมีความสุขกลับไป และอีกหลายคนเช่นกันที่เศร้าเพราะเล่นเสีย

ดินแดนอะบอริจินส่วนดี เห็นจะเป็นเรื่องของระบบต่างๆ ที่วางแผนไว้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของระบบการศึกษา ที่มีมหาวิทยาลัยของรัฐกระจายอยู่ทั่วประเทศ และทำรายได้อย่างมหา ศาลจากนักเรียนต่างชาติ เรื่องการคมนาคมที่สะดวกสบาย ผังเมืองที่มีีระเบียบวินัย ไม่มีหาบเร่ แผงลอยวางกีีดขวางทางเท้า (ไม่มีข่าวคนตกท่อและเทศกิจไล่จับแม่ค้าให้เห็น) ผับ,บาร์,ดิสโก้ เธค มีเจ้าหน้าที่ตรวจตราเข้มงวด ไม่ให้เยาวชนไปมั่วสุม ไม่มีระบบลูกท่านหลานเธอ คนที่นี่ ไม่สนใจเลยว่าพ่อมึงเป็นใคร (จึงไม่ต้องเสือกไปถามว่า “รู้ไหมว่าพ่อกูเป็นใคร”) ทุกคนเคารพสืทธิ ไม่เคารพเงิน ไม่สนใจด้วยว่าจะนามสกุลอะไรหรือชื่ออะไร มึงจะชื่อกระโถนทองคำ หรือโถส้วมทองแท้ ก็ไม่มีใครสนใจ ไม่มีระบบเอื้ออาทรกับลูกคนใหญ่คนโต หรือลูกนักการเมือง,ลูกนายตำรวจ,ลูกนายทหาร ทุกคนอยู่ใต้กฏหมายฉบับเดียวกันถ้วนหน้า ผู้รักษากฏหมาย
ไม่ต้องกลัวอิทธิพลใคร ไม่เหมือนในเมืองไทย ที่ยังคงความไม่เป็นระเบียบไว้ได้อย่างดีเยี่ยม ใครจะทำอะไรก็ได้ ขอให้มีเงินและมีเส้นสายในเมืองไทย ไม่มีองค์กรใดมาตรวจตราความเรียบร้อยหรือมีแต่ไม่เคยเห็น (ยกเว้น รมช.มหาดไทยมีหน้าที่ตรวจฉี่กับจับดาราพี้ยา) และที่สำคัญ ยากมากที่จะเลี่ยงภาษี เพราะคนที่นี่เสียภาษีไม่เท่ากัน คนที่มีรายได้มากต้องเสียมากกว่าคนที่
มีรายได้น้อย คิดจากร้อยละ ออสเตรเลียจึงเป็นประเทศที่มีสวัสดิการสังคมที่ดีมาก และค่าครองชีพต่ำเมื่อเทียบกับรายได้ของประชาชาติ จึงไม่ต้องมาเถียงกันเหมือนในเมืองไทยว่า ไข่นาย ชวน แพง ไข่ทักษิณแพงกว่าอีก นอกจากนี้ออสเตรเลียยังไม่มีเรื่องซุกหุ้นให้เห็น (หรือมีแต่ไม่เคย เห็น) ออสเตรเลียเป็นดินแดนได้ชื่อว่าลัคกี้คันทรี (Lucky country) หลายคนมาแบบไม่มีอะไร แต่กลับไปด้วยความมั่งมี มีคุณภาพชีวิตที่ดี หลายคนมาหาความรู้ เพื่อความก้าวหน้าของชีวิต แต่หลายคนกลับไปด้วยความเจ็บปวด ไม่มีใครรู้ชะตาตัวเอง เพียงแต่ขอให้มีความมุ่งมั่น และถามตัวเองให้ได้ว่ามาที่นี่ทำไม ต้องการอะไร และทำวันนี้ให้ดีที่สุด แม้ว่าล้มบ้างลุกบ้างก็อย่ายอมแพ้โชคชะตา จงยืนหยัดเผชิญกับความจริงที่เกิด ถึงแม้ว่ามันจะทำให้เราเจ็บปวดสักเพียงใดก็ตาม แต่เราก็ยังมีชีวิตอยู่ ยังมีคนที่เรารักและคอยเป็นห่วงเป็นใย เรายังมีลมหายใจ
อยู่คนที่เข้มแข็งเท่านั้นที่จะยืนอยู่ได้ ถามตัวเองแล้วกันว่า ต้องการที่จะเป็นคนเข้มแข็งหรือเป็นคนที่อ่อนแอ อย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนที่เหนือกว่า เพราะจะทำให้เราหมดกำลังใจ เราต้องภูมิใจในตัวตนที่แท้จริง และมุ่งมั่นสร้างความมีค่าให้กับชีวิต วันหนึ่งข้างหน้าจะได้ไม่เสียใจในการกระทำในวันนี้ เพราะถือว่าเราทำดีที่สุดแล้ว

ชินะปัญชะระปะริตตัง มัง รักขะตุ สัพพะทา ....ขอพระชินบัญชรปริตร จงคุ้มของรักษาผู้มุ่งมั่นทำดีตลอดกาลทุกเมื่อ

กราบขอบคุณ
คุณ จิระศักดิ์ และ คุณหญิงภัทราภา ตัณสถิตย์
น้องจอย, จอน, แพท, เอซิดนีย์ เพื่อนในบอร์ดเอ็มไทยทุกๆคน




 

Create Date : 01 มิถุนายน 2550
5 comments
Last Update : 8 กรกฎาคม 2550 19:28:51 น.
Counter : 1021 Pageviews.

 

น่าสนใจครับ

 

โดย: ฟ้าดิน 1 มิถุนายน 2550 23:22:02 น.  

 

ขอบคุณครับ คุณเป็นคนแรก ที่มาทักทาย เพราะผมเพิ่งพยายามทำให้เสร็จ ยังงงๆอยู่เลย

 

โดย: james (พินิจนันท์ เจมส์ ) 1 มิถุนายน 2550 23:43:40 น.  

 

ยินดีที่ได้รู้จักคะ

 

โดย: tanya (tanya_story ) 2 มิถุนายน 2550 17:51:00 น.  

 

สนุกดีค่ะ

 

โดย: นูนี่ IP: 124.121.47.90 2 มิถุนายน 2550 19:42:23 น.  

 

บูมเมอแรง

 

โดย: nu IP: 61.7.165.12 7 มกราคม 2551 10:35:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


พินิจนันท์ เจมส์
Location :
โน้ส อุดม Ayaka Oishi Hiroko Australia

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




รวมเรื่องสั้นจากต่างแดน ชุด หนูอยากเป็นโสเภณีนี้
ผู้เขียนตั้งใจเขียนเพื่อให้เป็นความรู้ และตีแผ่สังคมที่ได้พบได้เจอมา ต้องการให้เป็นเรื่องสั้นที่มีครบทุกอรรถรสหลากหลาย อารมณ์ตลก ชีวิต เสียดสีสังคม และแฝงไปด้วยคติเตือนใจ แต่ละเรื่องผู้เขียนหวังแค่ปลุกจิตให้กับผู้อ่าน ได้รู้ได้สัมผัสกับแง่มุมบางแง่ ที่คนอาจมองข้ามไป และต้องการแสดงให้ เห็นว่าทุกสังคมนั้น ย่อมมีการแก่งแย่งแข่งขัน ดิ้นรน โอ้อวด เหยียดหยามกัน มีทั้งคนดี และคนไม่ดี สิ่งเหล่านี้ในสังคมเดียวกัน แต่คนอาจจะพบอาจเจอไม่เหมือนกัน และสังคม ของคน ก็เหมือนสังคมของสัตว์ผู้ที่เก่งผู้ที่มีกำลังมาก ผู้ที่รู้จักปรับตัว ก็ย่อมอยู่ได้ในสังคม นั้น ผู้ที่อ่อนแอและไม่ปรับตัว ก็ไม่สามารถจะอยู่ร่วมกับคนในสังคมนั้น เพราะทุกคนมี ที่มาต่างกันและมีจุดมุ่งหมายต่างกัน แต่ในเมื่อมาอยู่ร่วมกันในที่ที่เดียวกัน ก็ย่อมที่จะมี ปัญหา เพราะทุกคนเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ต่างคน ต่างต้องต่อสู้ดิ้นรน เพื่อความอยู่รอด

เรื่องสั้นส่วนใหญ่ เคยโพสต์ลงในเวปเอ็มไทย ได้รับคำวิจารณ์และคำติชมจากผู้อ่านพอสมควร ผู้เขียนต้องการเพียงแค่ เสนอแนะให้เป็นข้อคิดกับคนรุ่นต่อไป หรือคนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมของคนในต่างแดนว่า เราควรจะเตรียมตัวอย่างไร ถึงจะอยู่รอดได้ ผู้เขียนไม่ได้มีจุดมุ่งหมาย ที่จะนำชีวิตผู้หนึ่งผู้ใดมาประจานให้ได้รับ ความเสียหาย เพราะทุกเรื่องตัวละครทุกตัวก็เป็นเรื่องสมมุติ ถึงแม้จะอิงหรืออ้างถึงสถานที่ จริง ก็เพื่อให้เกิดความสมจริงขึ้นกับเนื้อเรื่องเท่านั้น

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จะบรรจุเรื่องราวต่างๆที่เป็นประโยชน์ ความสนุก สนาน สำหรับผู้อ่านอย่างครบถ้วน

ด้วยความปรารถนาดี

เจมส์

มกราคม 2543
New Comments
Friends' blogs
[Add พินิจนันท์ เจมส์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.