ธารธรรมใสเย็นยิ่ง สุขได้
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
3 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
ใจพรานธรรมถาม

.


Create Date : 03 ธันวาคม 2552
Last Update : 3 ธันวาคม 2552 9:39:53 น. 1 comments
Counter : 1196 Pageviews.

 
ความเบื่อหน่าย,ความเซ็ง,ความไม่พอใจ ต่างกันตรงใหน
๑) ความเบื่อหน่าย ,ความเซ็ง,ความไม่พอใจ ต่างกันอย่างไร

๒) คนทำกุศลเพราะเบื่อหน่าย ในขันธ์ห้า เพราะเบื่อหน่ายในสังสารวัฏ
กับ คนที่ทำกุศลเพราะไม่พอใจ ในขันธ์ห้า เพราะไม่พอใจในสังสาวัฏ
ต่างกันอย่างไร

๓) เราจะทราบได้อย่างไรว่าเราทำกุศลเพราะเบื่อหน่ายในขันธ์,เบื่อหน่ายใน
สังสารวัฏ หรือทำกุศลเพราะแท้จริงเราไม่ชอบใจในขันธ์ ไม่พอใจขันธ์ ไม่พอใจในสังสารวัฎ

๔) ความเบื่อหน่าย ภาษาบาลี คือคำใด

ขอบคุณครับ

ทั้งหมดที่กล่าวนั้น เกิดจากโทสะมูลจิตทั้งสิ้น ต่างกันเพียงชื่อเรียกขาน
และระดับความรุนแรงของโทสะ ที่จะต้องเกิดหลังจากโมหะ(ความหลง)
ส่วนการเบื่อในสังสารวัฏนั้นเป็นโทสะ มิใช่นิพพิทาญาณครับ
ตรงนี้ท่านอาจารย์สมบัติ นันทิโก อธิบายไว้ดีมาก (ในเรื่องการเบื่อในสังสารวัฏ)

เช่นเบื่อการเกิด เบื่อในภพที่ตนเป็นอยู่ เบื่อชนิดนี้ ไม่ได้เกิดด้วยมหากุศลจิต ไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา(ญานสัมปยุติ)

จะขอแยกประเด็นที่น่าสนใจที่คุณ จขกท ยกไว้ดังนี้

๑) ความเบื่อหน่าย ,ความเซ็ง,ความไม่พอใจ ต่างกันอย่างไร
- ดังที่กล่าวแล้วนั้น ในเรื่องโทสะมูลจิต

๒) คนทำกุศลเพราะเบื่อหน่าย ในขันธ์ห้า เพราะเบื่อหน่ายในสังสารวัฏ
กับ คนที่ทำกุศลเพราะไม่พอใจ ในขันธ์ห้า เพราะไม่พอใจในสังสาวัฏ
ต่างกันอย่างไร
- แยกเป็นสองประเด็น
๑ เบื่อในสังสารวัฏ และไปสร้างกุศลจิต(ยังไม่พ้นการเกิด) ยังอยู๋ในเหตุ ๖
จึงเป็นการแก้ปัญหาผิดจุด ก็ย่อมไม่พ้น ทำกุศลเพราะมีเหตุคือโลภะ
๒ อ่านข้อ ๑ ได้เลยครับ เป็นกรณีเดียวกัน
การไม่พอใจในสภาพที่เป็นอยู่ อยากผลักไป ไม่อยากเป็นไม่อยากมี เรียกวิภวตัณหา
การเบื่อหน่าย ซึ่งอันที่จริงในกรณีนี้ มิได้เป็นปัญญาที่เรียกว่าวิปัสสนาญาณะ
คือว่าเป็นวิภวตัณหา ทำไมจึงกล่าวว่าเป็นวิภวตัณหา เพราะกรณีนี้ไปสร้างกุศลเพราะต้องการให้ถึงผล
เป็นการกระทำเพราะมีแรงดิ้นทางใจ มีมโนสัญเจตนา คือมีการกระทำทางใจ คืออยากพ้นไป
และที่สำคัญนั้น วิปัสสนาญาณมิได้เกิดขึ้นเพื่อยังกิจอันเป็นความอยาก(ตัณหา)
หมายว่า ปัญญานั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับตัณหาไม่ได้ ขณะที่เกิดปัญญา ซึ่งหมายเอาวิปัสสนาปัญญา
ก็เป็นมหากุศลจิตอยู่แล้ว เป็นกุศลที่เหนือกว่าทานศีลอยู่แล้ว

การที่บุคคลมิได้เข้าใจในเหตุ ๖ และปัจจัย ๒๔ จึงเข้าใจไปว่าต้องไปสร้างกุศลเพื่อพ้นสงสาร

๓) เราจะทราบได้อย่างไรว่าเราทำกุศลเพราะเบื่อหน่ายในขันธ์,เบื่อหน่ายใน
สังสารวัฏ หรือทำกุศลเพราะแท้จริงเราไม่ชอบใจในขันธ์ ไม่พอใจขันธ์ ไม่พอใจในสังสารวัฎ
-เป็นคำถามที่ดีมาก และคำตอบอยู่ที่การเจริญสติปัฏฐานครับ
เพราะสติปัฏฐานนั้นยังกิจให้ผู้ปฏิบัติทราบชัด ว่ากุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล
สตินั้นละรึกรู้สภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามจริง เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นแจ้งสภาพธรรมที่ปรากฏ มีญาณทัศนะในการเห็นตามความเป็นจริง
คำว่าเห็นตามจริงจึงเบื่อหน่าย คำนี้มิได้เกี่ยวข้องกับความเบื่อที่เรา ๆ เข้าใจกันเลย
กระผมเองเคยตั้งข้อสังเกตุไว้นานแล้วต่อกรณีนี้ (ซึ่งมีอีกหลายกรณีที่เราเอาภาษาธรรม มาปนกับภาษาคน)
จึงเรียนให้ทราบว่าต้องขอให้แยกคำที่พ้องเสียงและพ้องรูป อันมีความหมายต่างกันออกเสียก่อน
กลับมาอธิบายในส่วนคำถามอีกรอบ นึกถึงตอนที่โกรธ ตอนนั้นโกรธจริง ๆ ตอนนั้นเป็นอกศลจิตเรียบร้อยแล้ว
ในกรณีของสติเจตสิก(เฉพาะส่วนที่ระลึกรู้รูปนามตามจริง)หรือที่เรียกว่าสติปัฏฐานนั้น ก็เช่นเดียวกันครับ
ขณะที่ระลึกรู้ ขณะนั้นก็เป็นกุศลจิตเรียบร้อยแล้ว ส่วนจิตต่อมาที่หลงคิดไปว่าต้องสร้างกุศลจิต
ส่วนนี้คืออะไรนะครับ ใช่แล้วครับ เป็นตัณหาซ้อนตัณหา เป็นคิดซ้อนคิด
คือหลงคิด คือไม่เข้าใจ คือเข้าใจผิดว่าต้องไปกระทำอะไรนอกเหนือจากรู้
ถึงจุดนี้ หากท่านผู้อ่านเข้าใจ ก็เรียกว่าภาวนาเป็น ส่วนยังไม่กระจ่าง ก็ขอให้ลองเฝ้าสังเกตุอาการของจิตไปเรื่อย ๆ
*ฉะนั้น ข้อควรทราบก็คือ เมื่อเจริญสติปัฏฐานอย่างถูกต้อง ย่อมทราบสภาวะธรรมตามจริงแน่นอนครับ
เหมือนเราปวดท้อง ก็ปวดจริง ๆไม่ได้วิปัสสนึก นึก ๆคิด ๆเอา แต่ประจักษ์จริง ๆ
ก็เป็นอันจบไปนะครับ สำหรับคำถามที่ว่าอะไรจะเป็นอะไร

๔) ความเบื่อหน่าย ภาษาบาลี คือคำใด
- ในพระบาลี ความเบื่อหน่ายนั้นหมายถึงการคลายความอยาก (ตัณหา)
ซึ่งจะต้องประกอบด้วยญาณสัมปยุติ คือเกิดเพราะวิปัสสนาปัญญาหรือมรรคปัญญาเท่านั้น
ส่วนในภาษาที่เราใช้ หมายถึงวิภวตัณหา คือเบื่อสิ่งหนึ่งเพื่อไปจับอีกสิ่งหนึ่ง
หรือเบื่อสิ่งหนึ่งด้วยความไม่อยากมีไม่อยากเป็นในปัจจุบันขณะนั้น ๆ

พิ่มเติมนิดนะครับ นิพพิทาญาณนั้น ไม่ใช่อาการเบื่อในกรณีวิภวตัณหาแม้แต่น้อย
เพราะสภาวะขณะที่เกิดความเบื่ออย่างที่เรา ๆ พยายามคิดเอานั้นเป็นอกุศลจิต
ขณะที่เกิดนิพพิทา จึงเป็นกุศลจิตที่คลายความอยากความยึดล้วน ๆ
ต่างกันคนละฝั่ง นึกอาการก็ไม่ได้ ต้องฝึกจิตเองรู้เอง

ส่วนกรณีที่กล่าวถึงท่านอาจารย์สมบัติ นันทิโก ท่านกล่าวต่อกรณีที่เบื่อสังสารวัฏไว้ตรงประเด็น
สรุปสั้น ๆคือต้องเกิดขณะเกิดวิปัสสนาปัญญาและหรือมรรคปัญญาเท่านั้น
จะเกิดตามที่เราคิดนึกเอาไม่ได้เลย และเน้นย้ำว่าต้องปลอดจากความคิดเสียด้วย

ฉะนั้นในกรณีที่ จขกท ยกขึ้นเป็นปุจฉา จึงอธิบายได้ว่าความเบื่อในแง่ความคิดที่จะพ้น จึงเป็นตัณหา
แต่ก็อย่าได้ตกใจไปเลย เพราะอาศัยตัณหา เพื่อละตัณหานี่หละครับ
ถ้าไม่ใช่พระอรหันต์ ก็ต้องมีตัณหาแน่นอน แล้วตัณหา ก็เป็นเหตุให้สร้างกุศลได้ สร้างอกุศลก็ได้
(เพราะยังเป็นธรรมฝ่ายเกิด)
ลองค้นไฟล์ของ อ สมบัติ ในเรื่องมิลินทปัญหา ผมจำได้ว่ามีเรื่องนี้ท่านอธิบายไว้ดีมาก ๆเลยครับ
ถ้าสนใจจริง ๆเดี๋ยวผมจะอัพให้

จากคุณ : TheAcT
เขียนเมื่อ : 3 ธ.ค. 52 02:22:28


โดย: ใจพรานธรรม วันที่: 3 ธันวาคม 2552 เวลา:9:41:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ใจพรานธรรม
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




มีหลายเรื่องที่ควรสงสัย แต่เราไม่สงสัยในสิ่งต่างๆนั้นแล้ว
เราศรัทธาแต่ในพระรัตนตรัย

..แม้เทวดา มารหรือพรหม จะมีหรือไม่มีอยู่จริง
เราก็มีธรรม มีปัญญารู้ในสิ่งต่างๆนั้นด้วยตนเองแล้ว
ทั้งปัญญา ทั้งศรัทธา เป็นสิ่งที่ท่านต้องสร้างให้เกิดขึ้นเอง
ใครสร้างท่านไม่ได้

พระพุทธเจ้า พระองค์ดุจผู้บอกทางให้เท่านั้น
จะเดินหรือไม่ เรามิได้กล่าวโทษตำหนิท่านแต่อย่างใดเลย
ท่านเชื่อ ท่านก็เดิน ท่านไม่เชื่อก็ควรแล้ว ที่ท่านจะสงสัยควรแล้วที่ท่านจะปฏิบัติ เพื่อคลายความสงสัยนั้น
S! Radio
Express 4
เพลง ทานตะวัน ---ฟอร์ด
ศิลปิน รวมศิลปิน : Express
อัลบั้ม Express 4
ดูเนื้อเพลงคัดลอกโค้ดเพลงนี้
ขอบคุณ code และ ภาพ จากคุณ aggie_nan ตามลิงค์ที่อยู่ ด้านล่างครับ
Friends' blogs
[Add ใจพรานธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.