ตุลาคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
31 ตุลาคม 2553
 

บทความ [ กลโกง ตลาดหุ้น ]

"กลโกง ตลาดหุ้น" ขอขอบคุณในน้ำใจคุณเม่าประถม ผู้แบ่งปันบทความค่ะ


Create Date : 31 ตุลาคม 2553
Last Update : 31 ตุลาคม 2553 1:41:35 น. 7 comments
Counter : 686 Pageviews.  
 
 
 
 
กลโกงปั่นหุ้น

ถ้าไม่พูดถึงการปั่นหุ้นเลย ก็จะดูไม่สมบูรณ์ ใช่ไหมครับ เพราะมันมีอยู่จริง ในตลาดหุ้น

แต่ที่เอามาเล่าในที่นี้ ไม่ใช่สนับสนุนการปั่นหุ้นนะครับ เพราะการปั่นหุ้น ผิดศีล ผิดกฎหมาย ผิดจรรยาบรรณ ฯลฯ

บาป กรรมอีกต่างหาก ที่ร่ำรวยบนความเสียหายของผู้อื่น ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหนหรอกครับ เราๆท่านๆ ที่เป็นนักลงทุนรายย่อย หรือ ที่กลุ่มปั่นหุ้นเรียกเหยื่อของเขาว่า”แมงเม่า” นั่นแหละ

บทนี้จึงเป็นเหมือนเปิดโปงพวกปั่นหุ้น ให้พวกเราได้ ”รู้ทันเกม” มากกว่า จะได้ไม่หลงตกไปเป็นเหยื่อของพวกขอทานใส่สูท

จริงๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นหุ้นใหญ่หรือหุ้นเล็ก ไม่ว่าจะเป็นหุ้นฝรั่งหรือหุ้นไทย มันก็ต้องไล่ราคาทั้งนั้นแหละ ไม่งั้น มันก็ไม่ขึ้นหรอก

แต่ในที่นี้ เราจะมุ่งเน้นไปที่หุ้นปั่นก็แล้วกันครับ เพราะหุ้นพวกนี้เป็นอันตรายมากกว่า ไม่มีปัจจัยพื้นฐานสนับสนุน เราจึงต้องรู้เท่าทันเป็นพิเศษ

เดี๋ยวเราตามไปดูพร้อมๆกันดีกว่า ว่าการปั่นหุ้น เขามีกระบวนการอย่างไร เพื่อจะได้ไม่ต้องกลายเป็น แมงเม่า บินเข้ากองไฟ ไม่ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพในตลาดหุ้น

ก่อนกระบวนการไล่ราคาเกิดขึ้น กลุ่มปั่นหุ้นก็จะต้องทำการเลือกหุ้นก่อนครับ

ครั้น จะเลือกหุ้นที่มีกองทุนถืออยู่ก็คงไม่ดีแน่ เพราะไล่ๆราคาอยู่ กองทุนอาจขายไม้ใหญ่ใส่มาก็ได้ ถ้าราคามันปรับตัวสูงไปกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก
ข้อ สำคัญอีกอย่าง คือ ต้องพูดคุยเจรจากับเจ้าของกิจการก่อน ไม่งั้น เดี๋ยวเจอดี เพราะเจ้าของกิจการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มีหุ้นให้ขนออกมาขายได้ไม่อั้น

ด้วยเหตุนี้ เราจึงมักจะเห็นความโยงใยของรายใหญ่ในกลุ่มหุ้นที่ร่วมขบวนการอยู่เสมอ หุ้นในกลุ่มเดียวกัน เราก็จะเห็นชื่อกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในเวลาไล่เลี่ย กัน แล้วจากไปพร้อมๆกันในเวลาไม่นานนัก แล้วกลุ่มนี้ก็จะเข้าไปสิงสถิตเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทอื่นต่อๆไป หรือไม่ก็ส่งคนของแต่ละบริษัทมาถือหุ้นไขว้ไปมาระหว่างบริษัทในกลุ่มก๊วนของ ตน

โดยมาก กลุ่มทำราคา ก็มักจะเลือกบริษัทที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดี เพื่อจะได้ไม่ต้องไปชนกับกองทุนครับ รวมทั้ง บริษัทนั้นต้องมีจำนวนหุ้นหมุนเวียนน้อย หรือ ที่เขาเรียกกันว่า มี Free Float ต่ำ ด้วย เพื่อที่จะสามารถควบคุมหุ้นได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และยิ่งราคาหุ้นต่ำ ก็จะยิ่งดี เพราะ จะได้รู้สึกว่าถูกในทางจิตวิทยา ล่อคนมาติดกับดักได้ง่าย และยังทำกำไรได้สูงซะด้วย

เช่น เงิน 10 ล้านบาท ซื้อหุ้นราคา 1 บาท ได้ 10 ล้านหุ้น เมื่อหุ้นขึ้นไปเพียง 1.50 บาท ก็สามารถทำเงินได้แล้วถึง 5 ล้านบาท ซึ่งหากนำเงิน 10 ล้านบาทนี้ ไปซื้อหุ้นบลูชิพ ราคา 100 บาท จะซื้อได้เพียง 1 แสนหุ้น และหุ้นต้องขึ้นไปถึง 150 บาท จึงจะได้กำไร 5 ล้านบาท

เมื่อได้หุ้น เป้าหมายแล้ว ก็ต้องหาบัญชีตัวแทนล่ะครับ เพื่อนพ้องน้องพี่ ลุงป้าน้าอา คนขับรถ คนสวน ที่เปิดบัญชีรอไว้หลากหลายโบรกเกอร์ จะถูกใช้ชื่อ เป็นตัวแทน ในการซื้อ ขาย รับโอนหุ้น ระหว่างกัน ยิ่งเดี๋ยวนี้ ยิ่งซับซ้อนขึ้น เพื่อให้ยากในการตรวจสอบ กระจายไปมากกว่า 20 บัญชี ยังมีให้เห็นอยู่บ่อยเลยครับ

เมื่อทุกอย่างพร้อม คราวนี้ ก็เริ่มทำการ เก็บ-กด หุ้นสิครับ

การ เก็บ-กด หุ้น เป็นจิตวิทยารายใหญ่รังแกรายย่อย โดยใช้วิธีการวาง offer หนาๆ ไม่ให้ใครกล้าเคาะซื้อขึ้นไป และกดดันให้คนที่มีหุ้นอยู่ รู้สึกว่า ราคาคงจะขึ้นต่อไม่ไหวแล้ว ขายหุ้นลงมาที่ฝั่ง bid ซึ่งกลุ่มทำราคาตั้งราคารอซื้ออยู่ วิธีนี้ พบเห็นกันโดยทั่วไปครับ

แต่ สำหรับหุ้นในกลุ่ม เดอะซัน หรือ หุ้นในกลุ่ม เสี่ยลี หรือ หุ้นในกลุ่ม เสี่ยบี แล้ว โหดกว่านั้น ใช้วิธีการกดหุ้นด้วยวิธีซาดิสต์ หรือที่ในวงการชอบเรียกว่า “ทุบให้อ้วก” โดยให้พรรคพวกตั้ง bid ไว้ที่โบรกเกอร์หนึ่ง แล้วสั่งอีกโบรกเกอร์ หนึ่ง ให้ขายโครมลงมา ไม้ใหญ่ๆ เขย่าขวัญพวกเรา บล็อกราคา ดองราคาไม่ให้ไปไหน มีกด มีทุบ สักระยะหนึ่ง เดี๋ยวรายย่อยก็จะขายทิ้งลงมาให้เองครับ

ช่วงหลังนี้ เขาพัฒนาไปถึงขั้นใช้กราฟเทคนิคเข้าช่วย ทำเหมือนๆจะไป ไล่ซื้อหุ้นให้ราคาวิ่งขึ้นไปถึงแนวต้าน ซื้อรวดเดียวแบบกวาดมาจนเกลี้ยง แล้วทิ้งโครมลงมาในลักษณะ “ทุบให้อ้วก” จนเกิด Sell signal เพื่อสั่งลา ว่าหุ้นตัวนี้ ไปไม่รอดแล้ว จากนั้นก็ปล่อยให้มวลชนทั้งหลายที่หลงซื้อหุ้นนั้นเข้าไป เซ็งกันไปเอง ขายขาดทุนบ้าง ขายเท่าทุนบ้าง ส่วนกลุ่มทำราคาก็ย้ายไปเล่นตัวอื่นพลางๆก่อน เพื่อให้มวลชนที่ถือหุ้นนี้อยู่ เกิดอาการสิ้นหวังกันถ้วนหน้า

กระบวนการ เก็บ-กด และ ทุบให้อ้วก นี้ อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ หรือ เป็นเดือน เลยล่ะครับ เพื่อเรียกของคืนมาจนกว่าจะครบตามที่ต้องการ

ใน ช่วงของการกด-เก็บหุ้น ปริมาณการซื้อขายจะมากขึ้นผิดสังเกตครับ มีซื้อๆขายๆ แต่ราคาไม่ขยับ หรือ ขยับก็ขยับไม่มาก หรือ บางครั้งขยับลงอีกต่างหาก เพื่อกดดันให้ผู้มีหุ้นอยู่ รู้สึกว่า แรงขายมีเยอะจัง ราคาไม่ไปไหนเลย แล้วขายหุ้นทิ้งลงมา

เมื่อได้หุ้นครบแล้ว เขาจะนั่งรอเวลาระยะหนึ่ง เพื่อไม่ให้ผิดสังเกตครับ แล้วจึงค่อยไล่ราคาขึ้นไปอย่างรวดเร็ว

ใน ระหว่างที่ไล่ราคาขึ้น ก็จะมีการเชิญนักวิเคราะห์ไปเยี่ยมชมกิจการ หรือ ออกข่าวดี เรื่องรายได้ พันธมิตร หรือ อาจจะเลยเถิดไปถึงขนาดปล่อยข่าวลือต่างๆนานาไปเลยด้วยซ้ำ เพื่อให้มวลชนเชื่อว่า หุ้นกำลังจะมีแนวโน้มที่ดี

แล้วจะทำยังไงล่ะ ครับ เพื่อจะเพิ่มน้ำหนักให้กับข่าวดีนั้น ก็ต้องไล่ราคาโชว์ซิครับ ด้วยการเคาะซื้อครั้งละมากๆ รวบทีละ 2-3 แถว แบบเว่อร์ๆหน่อย ก็กินรวบไม่แบ่งใครเลย 5-6 แถวก็มี

คราวนี้ ความมั่นใจก็มา การแย่งกันซื้อแบบไม่เกี่ยงราคาก็เกิดขึ้น

ถ้า หุ้นนั้น พื้นฐานแย่หน่อย หรือ กลุ่มทำราคากลุ่มเล็ก เกมส์ก็มักจะจบไวครับ แต่บางกรณี ที่กลุ่มทำราคาเป็นกลุ่มใหญ่ การลากราคานั้น อาจจะยาวนาน เพื่อให้ราคาขึ้นไปสุดโต่งเท่าที่จะเป็นไปได้

กลวิธีระหว่างไล่ราคา นี้ ก็น่าเกลียดพอประมาณครับ ตั้งขายไว้ที่โบรกเกอร์หนึ่ง แล้วก็สั่งอีก โบรกเกอร์หนึ่งให้เคาะซื้อเอง เมื่อซื้อได้แล้ว ก็จะสั่งโบรกเกอร์ให้ตั้งขายในราคาที่สูงขึ้น แล้วก็สั่งอีกโบรกเกอร์หนึ่งให้เคาะซื้อตาม

ตลาดหลักทรัพย์ตรวจได้ ไม่ยากครับ ถ้าอยากจะตรวจจริงจัง ใครที่ซื้อแพงแล้วขายถูก แล้วก็ไปไล่ซื้อที่แพงกว่า แล้วก็ขายถูกอีกครั้งแล้วครั้งเล่า และซื้อขายที ไม้ใหญ่ๆ ก็นั่นแหละ แก๊งค์ปั่นหุ้น

เมื่อหุ้นขึ้นมาใกล้ราคาเป้า หมายแล้ว ไม่รู้เป็นไง สื่อและหนังสือพิมพ์ มักจะออกมาเชียร์เรื่อย ช่วงนี้แหละครับ ที่รายใหญ่จะเริ่มทยอยขายหุ้น

แต่เนื่องจากหุ้นมันมีเยอะนะครับ ขายลำบาก ก็ต้องเรียกแขกเข้ามาร่วมแจม

วิธี เรียกแขก ก็จะใช้วิธีเดิมครับ เคาะซื้อของตัวเองที่ตั้งขายไว้ที่อีกโบรกเกอร์หนึ่งอย่างรวดเร็วและรุนแรง หลายๆระดับราคา มีโชว์เคาะซื้อเคาะขายสลับไปมา ครั้งละหลายแสนหลายล้านหุ้น เพื่อให้ดูคึกคัก เป็นที่สนใจของมวลชน

เมื่อมวลชน เห็นว่าหุ้นตัวนี้ วิ่งดี น่าจะทำกำไรได้งาม ก็จะแห่เข้ามาเคาะซื้อสนุกสนานพร้อมความหวัง รวยเร็ว

ตรง นี้แหละครับ ที่รายใหญ่จะเริ่มตั้งขายที่ฝั่ง offer ในแต่ละช่วงราคา พร้อมๆกับตั้ง bid หนาๆ เพื่อจูงใจให้รายย่อยเคาะซื้อเนื่องจากเห็นว่า ขืนตั้งรอซื้อจะไม่ได้ของ

ระหว่างนี้ อาจมีเคาะซื้อนำไม้เล็กๆ ต่อเนื่องกัน เพื่อจูงใจให้รายย่อยแห่เคาะซื้อตาม เมื่อหุ้นที่ตั้งขายใกล้หมด รายใหญ่จะขนหุ้นมาเติมขาย และอาจมีเคาะซื้อหุ้นที่ตัวเองวางขายไว้ที่โบรกเกอร์อื่นสลับเป็นระยะด้วย ครับ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าหุ้นนั้น ยังมีแรงซื้อมากอยู่

แต่พอ ซื้อเสร็จ ก็ขนหุ้นที่เพิ่งซื้อนะแหละ มาวางขายอีกที่ฝั่ง offer อีก หลังจากนั้นไปนาน หุ้นก็จะถูกเปลี่ยนมือไปอย่างเงียบๆ มวลชนก็จะเริ่มครอบครองหุ้นเกือบทั้งหมดของรายใหญ่ ในเวลาต่อมา
ส่วนราย ย่อยที่ยังไม่เคาะซื้อก็จะตั้ง bid รอ ใช่ไหมครับ พอรายย่อย bid รอ รายใหญ่ก็จะค่อยๆถอน bid ออก แล้วตั้งซื้อใหม่เพื่อดันให้รายย่อยได้คิวซื้อก่อน

เมื่อ bid ที่เหลืออยู่ มีแต่คำสั่งซื้อของรายย่อยที่หนาแน่นพอแล้ว รายใหญ่ก็จะเทขาย ลงมา และขายต่อเนื่องลงมาเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดพอร์ต

ขอย้ำอีกครั้งนะ ครับ ว่าบทนี้ เป็นการเปิดโปงเพื่อให้รู้ทันเกมปั่นหุ้น ไม่ได้สนับสนุนการผิดศีลทำบาป ไม่ได้สนับสนุนการลักทรัพย์ ไม่ได้สนับสนุนการมุสาฯ แต่ประการใด แต่ต้องการสื่อให้เห็นไม่เผลอไปเล่นในเกมของเขา เพื่อเราจะได้ไม่หลงทางไปเป็นเหยื่อ

มาถึงตรงนี้ ก็อดที่จะพูดถึง การไล่ราคาวอแร้นท์และการซ่อนออร์เดอร์ไม่ได้

เริ่มจากการไล่ราคาวอแร้นท์ก่อนแล้วกันครับ

หุ้นเก็งกำไรหลายๆตัว ก็มีวอแร้นท์ และหลายๆครั้งที่คนทำราคาจะเอาหุ้นตัวแม่และวอแร้นท์ขึ้นมาอย่างช้าๆ โดยไม่ให้ใครได้ทันสังเกตเห็น

เมื่อสะสมหุ้นและวอแร้นท์ได้มากพอ ก็จะลากวอแร้นท์ขึ้นไปอย่างรวดเร็ว เพราะราคาถูกกว่า ใช้เงินน้อยกว่า

เมื่อ ลากวอแร้นท์ขึ้นไปได้ระยะหนึ่ง ก็จะลากหุ้นแม่ขึ้นไป พร้อมๆกับวางขายวอแร้นท์ เพราะนักเก็งกำไรส่วนใหญ่ เมื่อเห็นหุ้นแม่ขึ้น ก็เชื่อว่า วอแร้นท์จะขึ้นตาม แต่หารู้ไม่ ว่าเขาวางขายวอแร้นท์กันแล้ว

ตบท้ายแล้วนะ จะเปิดโปงเรื่องการซ่อนออร์เดอร์หน่อย

ซื้อแล้วลง ขายแล้วขึ้น เป็นเรื่องปกติที่ผิดพลาดกันได้ครับ แต่ความผิดพลาดนั้น สามารถทำให้ลดน้อยลงไปได้ ด้วยความช่างสังเกตครับ

การ ตั้งซ่อนออร์เดอร์ เพื่อหลอกซื้อของ มักจะใช้ในช่วงที่ราคาอยู่ที่แนวรับ จะหลุดแหล่ไม่หลุดแหล่พอดี ซึ่งตรงจุดนี้ ผู้ที่มีต้นทุนต่ำ มักจะยอมขายทิ้งลงมา ก่อนที่ราคาจะหลุดแนวรับลงไป หรือไม่ก็มักจะใช้ในช่วงที่ราคาอยู่ที่แนวต้านพอดี ให้เราลุ้นเล่นว่าจะ Breakout ผ่านขึ้นไปได้หรือไม่ พอเราเห็นว่า มันคงไปไม่ไหวแล้ว เราก็จะขายลงมา จากนั้นไม่นาน เขาก็จะลากผ่านแนวต้านขึ้นไปอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ใครกล้าตาม

เราไปดูการเล่นกับจิตวิทยามวลชน ด้วยวิธี Partial Publish กันครับ

หากราย ใหญ่ต้องการให้มวลชนขายลงมา เขาก็จะขนหุ้นมาวางขายที่ฝั่ง Offer หนาๆ แล้วตั้ง bid น้อยๆให้เราหวาดเสียวเล่น หรือไม่ก็ใช้ กลวิธี “ทุบให้อ๊วก” ตามแต่ความซาดิสต์ที่มีในจิตใจ

แต่เมื่อราคาไหลหรือดิ่งลงไป ณ ระดับราคาหนึ่งแล้ว รายใหญ่เหล่านั้นก็จะสั่งตั้งซื้อแบบซ่อนออร์เดอร์ ที่ฝั่ง bid ด้วยการตั้งซื้อหุ้นจำนวนมาก แต่ใช้คำสั่ง partial publish ทีละน้อยๆ เช่น สั่ง bid ซื้อหุ้นช่องละ 1 ล้านหุ้น แต่ให้เห็นทีละ 40,000 หุ้น

แหม พอเราเห็นฝั่ง offer หนาๆ ขนาดหลายล้านหุ้นขวางอยู่ ขณะที่ bid เหลือแค่ 40,000 หุ้น เราก็รีบขายซิครับ ก่อนที่ราคานั้นจะมีคนชิงขายลงมาก่อน แต่มันก็น่าแปลก พอเราขายลงมา 40,000 หุ้น มันก็โผล่ขึ้นมาอัตโนมัติที่ฝั่ง bid อีก 40,000 หุ้น พอเราขายอีก 40,000 หุ้น มันก็โผล่เข้ามาอีก 40,000 หุ้น พอเราขายอีก 80,000 หุ้น มันก็โผล่เข้ามาอีก 40,000 หุ้น 2 ครั้ง ติดกัน พอเราหยุดขาย มันก็ยังคงรอเราที่ฝั่ง bid อีก 40,000 หุ้น แบบไม่สะทกสะท้านแรงขาย

คำ ถามคือ หากเป็นท่านเอง ท่านต้องการจะขายหุ้น 2-3 ล้านหุ้น ท่านจะเอามาวางโชว์ที่ฝั่ง offer ไหมครับ ถ้าท่านแสดงให้คนอื่นเห็นว่าท่านอยากขาย 2-3 ล้านหุ้น แล้วใครจะไปเคาะซื้อล่ะครับ

และ ใครกันหนอ จะรับซื้อที่ฝั่ง bid ได้ไม่อั้นขนาดนั้น ใครขายมาเท่าไหร่ รับซื้อหมดเลย แสดงว่า คนที่รับซื้อไม่อั้นคนนั้น เขาต้องมั่นใจสูงเลยใช่ไหมครับว่าราคาจะวิ่งแน่ เพราะถ้าเป็นคนปกติ เขาไม่ซื้อหรอก ถ้าแรงขายยังขายทิ้งลงมาเรื่อยๆ

ถ้า ท่านเห็นแบบนี้ ต้องหยุดขาย หรือ หาจังหวะซื้อคืนแล้วนะครับ พลาดแล้วล่ะ เขากำลังตั้งโต๊ะซื้อของอยู่ และเมื่อไม่มีใครขายลงมาให้แล้ว อีกไม่นาน เขาจะกวาดรวบขึ้นไปอย่างรวดเร็ว

พอวิธีนี้ เริ่มมีคนสังเกตเห็น รายใหญ่เลยพัฒนาวิธีใหม่ ด้วยการ ย้าย partial publish มาที่ฝั่ง offer แทน พร้อมๆกับ ทยอยตั้งรับ ที่ฝั่ง bid ด้วย จากนั้น ก็เคาะซื้อของตัวเองไปเรื่อยๆ ที่ฝั่ง offer เพื่อให้ใครๆเห็นว่า นี่เป็น partial publish นะ มีออร์เดอร์ซ่อนขายที่ฝั่ง offer นะ น่ากลัวนะ

พอ เขาเคาะซื้อ 100,000 หุ้น โห partial publish ไหลมาให้เห็น 20 รายการๆละ 5,000 หุ้น เลยแหะ อีกสักพัก เขาก็เคาะซื้ออีก 200,000 หุ้น partial publish ก็จะโชว์ให้เห็นมา 40 รายการๆละ 5,000 หุ้น ว่าไง ว่าไง กลัวไหม มีออร์เดอร์ซ่อนขายอยู่นะ

พอเราเห็นว่า เคาะซื้อฝั่ง offer เท่าไหร่ก็ไม่หมดซะที แถมซ่อนออร์เดอร์ซะด้วย ด้วยความรู้เท่าทัน เราก็จะขายโครมลงมาที่ฝั่ง bid แหะๆๆ เสร็จเขาเลยล่ะครับ เขาได้ของไปแล้ว พอฝั่ง bid จะหมด เขาก็เติม bid อีก ขายมาเท่าไหร่ ฝั่ง bid ก็ไม่หมดซะที ไอ้ที่เราขายไปแล้ว นั่งรอทั้งวัน ยังไม่ได้ซื้อคืนเลย

คำถามคือ หากเป็นท่านเอง ท่านต้องการจะซื้อหุ้นจำนวนมาก ท่านเห็นว่า ฝั่ง offer หนาขนาดนั้น เคาะไม่ผ่านสักที ท่านจำเป็นจะต้องรีบตั้ง bid มาจ่อแบบนี้ไหมครับ ทำไมฝั่ง offer ไมผ่าน แต่ฝั่ง bid ก็ไม่หลุดล่ะ ถ้าไม่มีคนตั้งโต๊ะรอซื้อไม่อั้นที่ฝั่ง bid

แต่ถ้า Offer ไม่ผ่าน ฝั่ง bid ก็ไหลรูด ตัวใครตัวมันล่ะกันนะครับ

น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือไปขวางนะครับ

www.ThaiDayTrade.com
 
 

โดย: เม่าประถม IP: 124.120.72.40 วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:1:37:16 น.  

 
 
 
คุณเม่าประถม ..Very Visit!
 
 

โดย: ปุ๊ (ionic ) วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:1:42:52 น.  

 
 
 
ขอบคุณในความรู้ที่ได้รับ
 
 

โดย: คนอ่อนหัด IP: 223.206.74.61 วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:9:33:58 น.  

 
 
 
ขอบคุณที่แบ่งปันนะคะคุณเม่าประถม คุณปุ๊ด้วยค่ะ

อ่านแล้วพอเข้าใจ แต่ลองนึกว่าเวลาดูจริง ๆ นี่ดิ จะดูออก จะคิดทบทวนทันมั๊ยเนี่ย -_-"

 
 

โดย: ยินดี IP: 124.121.184.246 วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:10:12:17 น.  

 
 
 
ขอบคุณ คุณเม่าประถม สำหรับความรู และคุณปุ๊ผู้เอื้ออาทรด้วยค่ะ อ่านดูแล้ว ช่างเหมือนกับบทเรียนที่ อ.ธี สอนพวกเราเลยเนอะ
 
 

โดย: นู๋ปัน IP: 124.121.18.53 วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:10:33:26 น.  

 
 
 
กลวิธี ขึ้นขายก่อน อ่อนซื้อกลับ

“หุ้นเก็งกำไรทุกวันนี้ คุณอย่าคิดว่าหมูนะ เขาไม่ลากยาวให้พวกคุณมากินเงินเขาฟรีๆหรอก ถ้าคุณจะเก็งกำไร คุณต้องใช้ "ทฤษฎีปิงปอง" คุณท่องไว้ "ขึ้นขาย-ลงซื้อ" "ขึ้นขาย-ลงซื้อ "ขึ้นขาย-ลงซื้อ "ขึ้นขาย-ลงซื้อ” ……… เซียนหุ้นร้อยล้านท่านหนึ่งเผยเคล็ดลับ ขึ้นขายก่อน อ่อนซื้อกลับ ให้ฟัง

ทำไม เซียนหุ้นท่านนี้ ถึงระบุว่า ในอดีต หากเราซื้อหุ้นตัวไหนแล้วมันวิ่ง เราถือยาวได้เลย แต่เดี๋ยวนี้ ขึ้นมาต้องขาย แล้วค่อยรอรับใหม่ด้านล่าง เดี๋ยวไปดูกลวิธีของรายใหญ่พร้อมๆกันครับ

ทุกวันนี้ เขาพัฒนาแล้วครับ เขาใช้ทีมงาน เขาเอาเทรดเดอร์ ที่เก่งกราฟและเก่งจิตวิทยาการลงทุน มาทำหน้าที่แทน และทำแบบทีมพันธมิตร ไม่ใช่หุ้นใครหุ้นมันเหมือนก่อน

หมดยุคเถ้าแก่ ใช้แต่กำลังเงิน แล้วครับ เพราะวิธีลากยาวแบบเก่า มันใช้เงินเยอะ ไม่มีประสิทธิภาพ เลยต้องเอาเซียนกราฟมาสร้างกราฟหลอกล่อ ให้เราซื้อ ให้เราถือ ให้เราขาย ให้เรากระทำไปในทิศทาง ที่เขาต้องการให้เราเป็น เพื่อประสิทธิภาพในการใช้กำลังเงิน

ทุกวันนี้ แนวรับแนวต้าน ใครๆก็รู้พอๆกัน แต่โวลุ่มเทรดนี่สิ จะเป็นตัวยืนยันว่าขึ้นจริงหรือลงจริง หรือไม่

กรณี ราคาขึ้น และมีโวลุ่มเข้า จะยิ่งเป็นการยืนยันการขึ้น แบบนี้ต้องซื้อ

ถ้า โวลุ่มเข้า แต่ราคานิ่งนานเกินไป ต้องหยุดดูทีท่าก่อนล่ะ อย่าไปเคาะขวาซื้อเพลิน เพราะอาจอยู่ระหว่างการรินขายเติมขายไม่หยุดหย่อนก็ได้

แต่ถ้าราคาไหลลง พร้อมๆกับโวลุ่มเข้ามามาก แบบนี้ ต้องขายหนีตายก่อนล่ะครับ

ก่อน จะเข้าเรื่อง ขึ้นขายก่อน อ่อนซื้อกลับ เดี๋ยวคงต้องขยายความสักหน่อย คำว่า โวลุ่มเข้า ไม่ได้หมายถึง การดูว่า วันนี้ซื้อไปแล้วเท่าไหร่ ขายไปแล้วเท่าไหร่นะครับ ขืนไปดูว่าวันนี้ มีเคาะซื้อหรือเคาะขาย มากกว่ากัน โดนหลอกเละเทะแน่

คำว่า โวลุ่มเข้า ในที่นี้ หมายถึง โวลุ่มเทรดรวม เมื่อเทียบกับปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย 3 หรือ 5 วันทำการย้อนหลัง นะครับ

ถ้าโวลุ่มไม่เข้า แปลว่า เขายังไม่มา มีแต่พวกเราโซ้ยกันเอง

ดัง นั้น หากเราเห็นราคาหุ้นขยับขึ้น แต่เทรดกันไปเพียง 2 แสนหุ้น ก็ให้คิดไว้เหอะว่า เราๆท่านๆนะแหละ ไล่ซื้อกันเอง อย่างนี้ ไปไม่ได้กี่น้ำหรอกครับ

เอาล่ะ เมื่อเข้าใจความหมายของคำว่า “โวลุ่มเข้า” ตรงกันแล้ว เราจะเข้าเรื่องต่อ

ใน เมื่อทุกวันนี้ เขาใช้กลวิธี ขึ้นขายก่อน อ่อนซื้อกลับ ดังนั้น เราก็ควรจะเทรดไปตามแนวโน้มที่มันกำลังจะไปด้วยเช่นกัน ใช่ไหมครับ ต่อให้กราฟออกมาสวยสดงดงามขนาดไหนก็ตาม แต่ถ้าเราถือหุ้นเพลิน ในขณะที่เขากำลังขายกัน มันจะเจ็บหนักได้ในภายหลัง กว่าจะรู้ตัวก็ขาดทุนไปมากเชียว

ดังนั้น เมื่อกราฟยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น และทุกแนวต้านที่มันกำลังวิ่งไปทดสอบ เราอาจต้องเพิ่มความสังเกตนิดนึง ว่าเขารินขาย หรือ แอบเก็บ

สังเกตเพิ่มอีกนิดว่า เขาซื้อ 3 ส่วน แล้วตบขู่ด้วยการขาย 1ส่วน หรือ เขาซื้อ 1ส่วน เพื่อหลอกขายไอ้ที่วางไว้ 3 ส่วน

ช่วยสังเกตเพิ่มนิดนึงนะครับว่า ราคาและปริมาณเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน หรือไม่


แล้วทำไมถึงต้องใช้กลวิธี ขึ้นขายก่อน อ่อนซื้อกลับ ล่ะครับ

ก็ราคาหุ้นมันเกินมูลค่าที่ควรจะเป็นไปมากนะซิครับ หากวันนี้ เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่ขาย คนอื่นก็ต้องขายใส่อยู่ดี

ดังนั้น การวางแผนการขายจึงเริ่มขึ้น

ขั้นแรก ก็ต้องทำการสะสมหุ้นก่อน ช่วงนี้ ใช้เวลาเป็นไตรมาสนะครับ กว่าจะผูกขาดอำนาจการควบคุมหุ้นของตนมาไว้ในมือได้

หลัง จากสะสมหุ้นไว้ในมือของกลุ่มและพรรคพวกมากพอแล้ว ก็จะมีการลากกระชากราคา เรียกร้องความสนใจ ช่วงนี้ โวลุ่มเข้า ราคาขึ้น กราฟสวย นักวิเคราะห์เชียร์ นักลงทุนเริ่มหันมามอง

ขั้นต่อมา จะเริ่มมีการใช้พอร์ตของเจ้าของซื้อหุ้นขึ้นไปต่อเนื่อง เพื่อให้ใครต่อใครรับรู้กันว่า ขนาดเจ้าของยังซื้อเก็บต่อเนื่องเลย มาร์เก็ตติ้งที่อ่อนหัดก็อาจจะเที่ยวไปบอกลูกค้ารายอื่นๆของตนให้ซื้อตาม เพราะเห็นว่าเจ้าของเข้าเก็บ น่าจะมีข่าวดีอะไรบางอย่างในเร็วๆนี้

เมื่อ นักวิเคราะห์เชียร์ มาร์เก็ตติ้งเชียร์ โวลุ่มก็เข้า ราคาก็ขึ้น กราฟก็สวย นักลงทุนจะเข้ามาเคาะซื้อบ้าง ตั้งรอซื้อบ้าง กระบวนการหลอกขายของก็เริ่มต้น

บัญชีของเจ้าของอาจจะมีเคาะโชว์ไม้ ใหญ่ๆให้เห็นหนึ่งส่วน เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ที่รอซื้ออยู่ให้รีบเคาะซื้อแต่โดยไว แต่ในขณะเดียวกัน บัญชีเทรดของกลุ่มและพรรคพวกกำลังวางขายรออยู่ตรงฝั่งออฟเฟอร์ถึง 3 ส่วน

และเมื่อหุ้นที่วางขายอยู่มีคนเคาะซื้อขึ้นไปจนหมด ก็จะเริ่มเติมให้อีก

หมดอีก เติมอีก หมดอีก เติมอีก หมดอีก เติมอีก หมดอีก เติมอีก ไม่รู้จบ

นี่ไงครับ โวลุ่มเข้า แต่ราคากลับแน่นิ่ง ไม่สอดคล้องกับโวลุ่มที่เข้ามาเลย

ใน เมื่อคนเคาะซื้อเริ่มเหนื่อยใจ เคาะเท่าไหร่ก็ไม่หมดสักที คนส่วนใหญ่จะเริ่มลังเลที่จะเคาะซื้อแล้วครับ มาวางซื้อที่ฝั่งบิดบ้าง วางซื้อต่ำลงมา 2 ช่องบ้าง 3 ช่องบ้าง

ก่อนที่ไก่จะตื่น ต้องรีบกระทำการใช่ไหมครับ …… ในเมื่อคนเริ่มรู้ทันแล้ว เจ้าของบริษัทและผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะรีรอทำไม เดี๋ยวเขาถอนบิดออกหมดเกลี้ยง จะขายไม่ได้ราคา ….. อย่ากระนั้นเลย ขายทิ้งลงมาเลยยังได้ราคาดีกว่า ขายตอนนี้มีคนมาตั้งรอซื้ออยู่ตั้งเยอะ

แล้วกลวิธี ขึ้นขายก่อน อ่อนซื้อกลับ ก็ดำเนินไปตามแผน

ขาย ลงมาทันที ได้ราคาดีซะด้วย เพราะไล่ราคาขึ้นไปก่อนแล้ว พอราคาลงไปมาก ก็หยุดการขาย เดี๋ยวก็จะมีคนที่อยากได้ของถูกมาตั้งรอซื้ออีก เดี๋ยวก็มีนักเก็งกำไรมาเคาะซื้ออีก …… และเพื่อเรียกความมั่นใจ ต้องมีเคาะโชว์ไม้ใหญ่ๆให้เห็นหนึ่งส่วน แต่ในขณะเดียวกัน บัญชีเทรดของกลุ่มและพรรคพวกก็วางขายรออยู่ตรงฝั่งออฟเฟอร์เช่นกันถึง 3 ส่วน เพื่อบีบให้นักเก็งกำไร บีบให้สิงห์เดย์เทรดเคาะขวา

นี่เป็นอีกกลวิธีในการหาเงินขาลงครับ

กล ต. ก็เฝ้าแต่จับหุ้นวิ่งขึ้นอยู่ได้ ไม่ยอมมาจับพวกทุบหุ้นบ้าง ความจริงแล้ว ขาลงก็ทำเงินได้ดีเช่นกัน ได้เงินเร็วกกว่าด้วยซ้ำ และสัดส่วนในการถือครองหุ้นในบริษัทก็ไม่ได้สูญเสียลงไปแต่อย่างใด

เดี๋ยวสมมุติเหตุการณ์ให้ดู ว่าขาลง เขาได้เงินยังไง

หุ้น ตัวหนึ่ง มูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานที่ควรจะเป็น มันไม่เท่าไหร่หรอก เขาอาจจะค่อยๆสะสม กวาดซื้อหุ้นขึ้นไปเรื่อยๆ วันละเล็กวันละน้อย โดยไม่มีใครมาสนใจ

ไตรมาสหนึ่งผ่านไป ไวเหมือนโกหก ราคาหุ้นขยับขึ้นจาก 5 บาท ไป 11 บาทกว่าๆ เจ้าของบริษัทและกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ก็รู้ครับว่าแพงเกินจริงไปมากแล้ว ต้องทำกำไรแล้วล่ะ

สมมุติว่ารายใหญ่ตัดสินใจที่จะเริ่มกลวิธี ขึ้นขายก่อน อ่อนซื้อกลับ ที่ราคา 11 บาท สมมุติตัวเลขน้อยๆพอ สมมุติขายมาแค่ 100 หุ้น ก็จะได้เงินค่าขายกลับคืนมา 1,100 บาท

พอ ตกลงมา ที่ 8 บาท ซื้อคืน 100 หุ้น กลับ เพื่อไม่ให้เสียสัดส่วนการถือครอง ใช้เงิน 800 บาท ยังเหลือเงินเข้าบัญชีอีก 300 บาท ใช่ไหมครับ

พอหุ้นขึ้นไป 9 บาท ขาย 100 หุ้น จะได้เงินคืนมา 900 บาท

พอตกลงมา ที่ 6 บาท ซื้อคืน 100 หุ้น กลับ เพื่อไม่ให้เสียสัดส่วนการถือครอง ใช้เงิน 600 บาท เหลือเงินเข้าบัญชีเพิ่มอีก 300 บาท

พอหุ้นขึ้นไป 7 บาท ขาย 100 หุ้น จะได้เงินคืนมา 700 บาท

พอตกลงมา ที่ 5 บาท ซื้อคืน 100 หุ้น กลับ เพื่อไม่ให้เสียสัดส่วนการถือครอง ใช้เงิน 500 บาท เหลือเงินเข้าบัญชีเพิ่มอีก 200 บาท

พอหุ้นขึ้นไป 6 บาท ขาย 100 หุ้น จะได้เงินคืนมา 600 บาท

พอตกลงมา ที่ 4 บาท ซื้อคืน 100 หุ้น กลับ เพื่อไม่ให้เสียสัดส่วนการถือครอง ใช้เงิน 400 บาท เหลือเงินเข้าบัญชีเพิ่มอีก 200 บาท

พอหุ้นขึ้นไป 5 บาท ขาย 100 หุ้น จะได้เงินคืนมา 500 บาท

พอตกลงมา ที่ 3 บาท ซื้อคืน 100 หุ้น กลับ เพื่อไม่ให้เสียสัดส่วนการถือครอง ใช้เงิน 300 บาท เหลือเงินเข้าบัญชีเพิ่มอีก 200 บาท

พอหุ้นขึ้นไป 4 บาท ขาย 100 หุ้น จะได้เงินคืนมา 400 บาท

พอตกลงมา ที่ 2 บาท ซื้อคืน 100 หุ้น กลับ เพื่อไม่ให้เสียสัดส่วนการถือครอง ใช้เงิน 200 บาท เหลือเงินเข้าบัญชีเพิ่มอีก 200 บาท

พอหุ้นขึ้นไป 2.5 บาท ขาย 100 หุ้น จะได้เงินคืนมา 250 บาท

พอตกลงมา ที่ 1.5 บาท ซื้อคืน 100 หุ้น กลับ เพื่อไม่ให้เสียสัดส่วนการถือครอง ใช้เงิน 150 บาท เหลือเงินเข้าบัญชีเพิ่มอีก 100 บาท

สรุป แล้ว เมื่อสิ้นสุด วงจรอุบาทว์นี้ เจ้าของบริษัทและรายใหญ่ ยังมีหุ้นอยู่ครบ ไม่ได้เสียสัดส่วนการถือครองหุ้นเลย ไม่สูญเสียอำนาจการบริหารกิจการด้วย แถมยังได้เงิน ขาลง มาตลอดทางอีกต่างหาก

เวลาขึ้น จะใช้บัญชีเจ้าของเป็นผู้ซื้อขึ้นครับ แต่เวลาขาย เขาไม่ใช้บัญชีตัวเองขายหรอก พวกเราก็ชอบไปดูกันจังว่า เจ้าของบริษัทซื้อหุ้นตัวเองเข้าพอร์ตหรือยัง ขายหุ้นออกมาหรือไม่ มันบอกอะไรไม่ได้หรอกครับ

มาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจจะสงสัย ว่า เวลาหุ้นอ่อนตัวลงมาแล้วเจ้าของซื้อกลับขึ้นไป ทำไมไม่เอามาคิดคำนวณด้วย อยากจะบอกว่า การซื้อขึ้นไปหาราคาที่ต้องการจะขาย ไม่มีต้นทุนครับ เพราะไอ้ที่เคาะขวาซื้อๆขึ้นไป ในแต่ละรอบ ก่อนทำการขายจริง มันก็ของเขาทั้งนั้นแหละ เพียงแต่ว่าจะใช้ชื่อบัญชีไหนวางขายเท่านั้นเอง

ดัง นั้น หากท่านเห็นว่าหุ้นหยุดนิ่งอยู่ที่แนวต้าน แม้จะมีโวลุ่มเข้ามาตลอด แต่ราคาก็ตื้อๆ ไม่สามารถขยับขึ้นต่อไปได้ และเมื่อราคานั้นใกล้หมด ก็มีคนเติมขายอีก ท่านรู้แล้วใช่ไหมครับว่าควรทำอย่างไรดี..?

www.ThaiDayTrade.com
 
 

โดย: เม่าประถม IP: 110.168.90.188 วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:12:16:28 น.  

 
 
 
กลวิธี สงครามกองโจร

“เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตี เอ็งหนี ข้าตาม” นอกจากจะนำไปใช้ในการรบแบบสงครามกองโจรแล้ว ยังมีการนำมาใช้ในตลาดหุ้นโดยรายใหญ่เสมอ


จะว่าไปแล้ว กลวิธี สงครามกองโจร ก็แสบไม่แพ้ กลวิธี สวนควันปืนเล่นสวนทางมวลชนนะครับ

ต่าง กันเพียง การสวนควันปืนเล่นสวนทางมวลชนนั้น จะใช้จิตวิทยาและอำนาจเงิน ควบคุมตลาด ในขณะที่ กลวิธีสงครามกองโจร จะใช้ข่าววงในและอำนาจบริหารควบคุมราคาหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง

ผมสังเกต เห็นตามเว็บบอร์ดหุ้นหลายแห่ง มักตั้งข้อสงสัยว่า นักวิเคราะห์บางค่าย เชียร์ซื้อให้รายใหญ่ออกของ เชียร์ขายให้รายใหญ่เข้าเก็บ นักวิเคราะห์แนะให้ซื้อ มันกลับลง พอแนะขาย มันกลับขึ้น

ผมขอฟันธงเลยว่า นักวิเคราะห์ “ส่วนใหญ่” ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

แต่รายใหญ่ต่างหากที่กำลังทำสงครามกองโจรกับคุณ

การ ที่นักวิเคราะห์เชียร์ให้ซื้อแล้วลง เชียร์ให้ขาย แล้วขึ้น ไม่ใช่เพราะเขาไม่มีความรู้ ไม่ใช่เพราะเขาไม่มีเครื่องมือในการทำงานที่ดีพอนะคับ

ความรู้และเครื่องมือ ในการวิเคราะห์การลงทุนของนักวิเคราะห์ ออกจะมีมากมายหลายหลาก

แต่ ทุกวันนี้ รายใหญ่ หรือ เจ้าของบริษัท เขามักจะเลือกคนเก่งกราฟ มาดูแลราคาหุ้น และใช้เครื่องมือเหล่านั้น มาหาประโยชน์ ส่วนตนอีกที

หลัง จากรายใหญ่เข้าเก็บหุ้นจนมากพอ เขาก็จะเริ่มด้วยการไล่ราคาหุ้น จนกระทั่งกราฟ "สั่งซื้อ" จากนั้นเขาก็จะวางขาย รินขาย ไม่หยุดหย่อน และลงเอยด้วยการทุบเปรี้ยงลงมาเลย เมื่อแรงเคาะซื้อเริ่มหมดแรง เพื่อให้กราฟ "สั่งขาย"

หลังจากที่กราฟสั่งขายแล้ว เขาไม่ต้องทำอะไรให้เหนื่อยเลยครับ แค่นั่งรอเวลาเฉยๆ อีกไม่นาน เขาก็จะได้ซื้อหุ้นคืน ในราคาที่ต่ำกว่าเดิม ...... นี่คือความจริง ภาคสนามรบ

หลังจากมีโอกาสได้นัดพบนั่งกินข้าวกับเพื่อนสนิทคนหนึ่ง ผมก็อดไม่ได้ที่จะถามเขา ในฐานะผู้รู้ดีที่สุดแล้วในตลาด เกี่ยวกับหุ้นตัวนี้

ไม่รู้ว่า เป็นเพราะเขาเกรงใจที่ผมเลี้ยงข้าวหรือเปล่านะ ในที่สุดเขาก็เล่าให้ฟัง เมื่อผมถามว่า ทำไม หุ้นของนายถึงกวนบาทาขนาดนี้ เที่ยวซิกแซกรังแกชาวบ้าน

“นาย คิดดู ถ้านายเป็นรายใหญ่ ใช้เงินสดซื้อหุ้น ไล่ราคาขึ้นมาตั้งเยอะ แต่กลับโดนใครก็ไม่รู้ ที่มีหุ้นต้นทุนต่ำ ขายใส่ตลอดทาง นายเซ็งไหม”

“นายว่า มันต้องใช้เงินมากขึ้นกว่าเดิมไหมล่ะ ในการทำราคา หากเจอแต่พวกเดย์เทรดมาจับเสือมือเปล่า กินเงินของนาย ไปฟรีๆ ในแต่ละวัน”

“เราเลยจำเป็นต้อง ลาก กระชาก ตบ เป็นระยะๆ ไม่งั้น เงินหมดตัวแน่ กว่าราคาหุ้นจะถึงเป้าหมาย ตามที่ "เจ้านาย" สั่ง”

เอ ถ้าผมบอกเจ้านี่ว่าผมจะเอาเรื่องของเขามาเขียนหนังสือ เขาจะเล่าให้ผมฟังรึปล่าวหว่า

เอาล่ะ จากนี้ไป ผมยกพื้นที่ให้เขาสาธยายเลยแล้วกัน

“ขั้น แรก เราก็จะต้องสะสมหุ้นก่อน เราจะไปเช็คกราฟจากโปรแกรมเทรด เพื่อหาจุดตัดขาดทุน และแนวรับ จากนั้น เราจะสั่งมาร์เก็ตติ้ง อีกโบรกฯ หนึ่ง ให้ตั้งซื้อรอไว้ หลายๆราคา แล้วก็สั่งมาร์เก็ตติ้งอีกโบรกฯ หนึ่ง ให้ตั้งรอซื้อไว้ที่แนวรับ แล้วก็สั่งมาร์เก็ตติ้งอีกโบรกฯ หนึ่ง ให้ตั้งออร์เดอร์รอ ในระดับราคาที่ต่ำกว่าจุดตัดขาดทุน”

“เมื่อ ออร์เดอร์ตั้งรอไว้หนาแน่น เราก็จะสั่งมาร์เก็ตติ้ง อีกโบรกฯหนึ่ง ให้ขายโครมลงมา ที่ฝั่งบิด นายสังเกตไหมว่า หุ้นไม่ได้หายไปไหน แค่เปลี่ยนไปอยู่ในมือของอีกโบรกฯหนึ่งแทน แต่ภาพที่ออกมามันน่ากลัวนะ เพราะบิดที่รอไว้เป็นล้านหุ้นโดนขายทิ้งจนหมดในไม้เดียว”

“นายเข้าใจ ใช่ไหม นี่มันเกิดผลทางจิตวิทยาขึ้นแล้ว คราวนี้ คนที่ถือหุ้นต้นทุนต่ำรายอื่น ก็จะขายทิ้งหุ้นลงมาด้วย ทำให้ออร์เดอร์ของเรา ที่ตั้งรอไว้ที่แนวรับ ได้ของมามากพอสมควรเลยล่ะ”

“จาก นั้น ก็จะสั่งขายหุ้นที่เพิ่งซื้อมาเมื่อกี้นี้แหละ โครมลงมาอีกที เพื่อให้หลุดแนวรับ หรือ ให้ถึงจุดที่โปรแกรมจะต้องสั่งขาย .... เมื่อหลุดแนวรับ หรือ เมื่อถึงจุดที่โปรแกรมสั่งขาย คราวนี้ ทุกคนที่มีหุ้นอยู่ก็จะขายหนีตาย ราคามันก็จะไหลรูดดิ่งลงมาอย่างรวดเร็ว ปริมาณหุ้นที่เราตั้งซื้อไว้ในระดับราคาต่ำๆ จะได้รับคืนจนครบ”

“ถ้า ยังได้ไม่ครบ แสดงว่ามีคนใจแข็งทนถืออยู่ เราก็จะสั่งบล็อกราคาซะ ขนหุ้นเอามาวางขายหนาๆที่ฝั่งออฟเฟอร์ แล้วก็ตบมั่ง ทุบลงมามั่ง บีบไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้หุ้นครบตามที่เจ้านายสั่ง”

“ตอนนี้ กราฟเสียรูปแล้วใช่ปล่าว วันรุ่งขึ้น นักวิเคราะห์ทุกโบรกฯ ก็จะออกมาแนะนำ ขาย ให้ เองแหละ เพราะกราฟมันสั่งขาย เราตั้งรอไว้ไม่นาน เดี๋ยวเราก็จะได้ของครบแล้วไง”

แหม ดูเจ้านี่เล่าให้ฟัง มันช่างโหดร้ายเสียจริงๆ

ระหว่าง เล่าเรื่อง ดูเหมือนเพื่อนผมจะมีความสุขแกมซาดิสม์ นั่นนะซิ คนที่ควบคุมอะไรได้แบบเบ็ดเสร็จ มักจะคิดว่าตนมีพลัง มักจะคิดว่าตนมีอำนาจ ชี้เป็นชี้ตายทางไหนก็ได้อยู่ในมือ

นี่ ข้าวยังกินไม่หมดเลย มันกลับโม้ต่อเป็นการใหญ่ ไปฟังแผนอุบาทว์ของมันกันต่อเลยครับ

“คราว นี้ พอได้ของครบ เราก็จะค่อยๆเคาะซื้อไล่ราคาขึ้นทีละเล็กทีละน้อย แบบไม่ให้ใครสังเกตเห็น ระหว่างนี้ กราฟยังไม่สั่งซื้อนะ คนในตลาดก็จะไม่ค่อยได้สังเกตกัน”

“เมื่อได้ของพอประมาณแล้ว เจ้านายก็จะเริ่มให้ข่าวดีเป็นระยะๆ ผ่านสื่อ แต่ขณะเดียวกัน เราก็จะโทรไปสั่งให้โบรกฯ วางหุ้นหนาๆ ไว้ที่ฝั่งออฟเฟอร์ด้วย แล้วเราก็จะสั่งให้อีกโบรกฯ หนึ่งเคาะซื้อไล่ราคาขึ้นไป นายสังเกตไหมว่า หุ้นไม่ได้เพิ่มขึ้น เราไม่ได้ใช้เงินมากขึ้นนะ แค่เปลี่ยนหุ้นและเงินไปอยู่ในมือของอีกโบรกฯหนึ่งแทน”

“ข่าวที่ ค่อยๆทยอยออกตามสื่อ กับภาพที่ออกมาดูดี เพราะมีคนกวาดซื้อหมดเกลี้ยงเป็นล้านหุ้นในไม้เดียว นายว่ามันน่าสนรึปล่าวล่ะ ตอนนี้ใครๆก็เริ่มจับตาแล้ว”
“เราก็สั่งโบรกฯ หนึ่งให้ซื้อหุ้นของเรา ที่เราสั่งวางขายไว้กับอีกโบรกฯ หนึ่งขึ้นไปเรื่อยๆ อีกไม่นาน มันก็ผ่านพ้นแนวต้านขึ้นไปได้ คราวนี้ โปรแกรมเทรดก็จะสั่งซื้อแล้วใช่ป่ะ วันรุ่งขึ้น นักวิเคราะห์ก็จะออกมาแนะนำ ซื้อ เองแหละ เพราะมันเกิดสัญญาณซื้อ”

“โธ่ นาย คิดดู เราตุนหุ้นไว้ 30 ล้านหุ้น 50 ล้านหุ้น ตอนนี้มีคนมาตั้งรอซื้อเยอะๆในราคาสูงๆอย่างงี้ ถ้าไม่ขายตอนนี้ จะให้ไปขายตอนไหนล่ะ”

“แต่ ครั้นจะขายโครมลงมา กราฟจะเสียรูป เดี๋ยวขายไม่ได้ราคา อย่ากระนั้นเลย ค่อยๆแอบๆขาย ดีกว่า เราเคาะขวาสลับบ้าง นิดๆหน่อยๆ ก็ไม่เป็นไรใช่ป่าว ของเราวางไว้เองทั้งนั้น ไอ้ที่ตั้งรอขายอยู่หน่ะ”

“จนเมื่อไหร่ แรงซื้อชักเริ่มเบา คราวนี้ล่ะ เราก็จะรีบขายโครมลงมาอย่างรวดเร็ว ไม่งั้น อีก 10 ล้านหุ้นที่เหลือ จะออกไม่ทัน”

“เออ นายรู้ปล่าว เวลาขาย เจ้านายสั่งไว้ว่าอย่าขายออกมาจนหมด ทายสิว่าทำไม”

“ก็ บางคนใจแข็ง ถือทนนะสิ เวลาขายเลยต้องเหลือหุ้นไว้หน่อยนึง เพื่อทิ้งไม้สุดท้าย โครมลงมา ให้หลุดแนวรับลงไปเลย กราฟจะได้สั่งขาย ไม่งั้น เดี๋ยวจะไม่ได้ของคืน”

“พอวันรุ่งขึ้น นักวิเคราะห์ทุกโบรกฯ ก็จะออกมาแนะนำ ขาย เองแหละ เพราะกราฟมันสั่งขาย เราตั้งรอไม่กี่วัน เดี๋ยวก็มีคนขายคืนเรามาแล้ว"

เมื่อผมฟังเจ้าเพื่อนผมคนนี้มันโม้จบ ก็ได้แต่ถอนใจ

โถ นักวิเคราะห์ กลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามกองโจรโดยไม่ได้เจตนา

ถ้า ใครจะเล่นหุ้นให้ได้เงินนะครับ ผมว่านะ อย่าไปรอนักวิเคราะห์เลย กว่านักวิเคราะห์จะแนะนำ ซื้อ มันก็ขึ้นไปไกลจนเขาจะขายกันแล้ว และกว่าที่นักวิเคราะห์จะแนะนำ ขาย มันก็ลงมาลึกจนเขาจะทยอยเก็บคืนกันแล้ว

ทางที่ดีนะครับ เราศึกษากราฟ ทำการบ้าน และดูโวลุ่มประกอบในชั่วโมงเทรดน่าจะดีกว่า อยากได้เงินมันก็ต้องทำงานนะครับ

หลัง ตลาดปิด ดูกราฟแป๊ปนึง คงไม่เสียเวลามากเท่าไหร่ ดูคร่าวๆสักหน่อยก็ยังดี ว่า กราฟหุ้นตัวไหนมีสัญญาณการสะสม ภาวะตลาดรวมและโวลุ่มเทรดในหุ้นตัวนั้น มันเอื้อต่อการเข้าเก็บแล้วหรือยัง

เก็บหุ้นพร้อมๆเขาดีกว่าครับ อย่าไปรอใครมาเชียร์

www.ThaiDayTrade.com

 
 

โดย: เม่าประถม IP: 110.168.90.188 วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:12:18:17 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ionic
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ionic's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com