Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
29 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ

บทความ"มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ"นี้นำมาจากเวปไซน์ประชาไทยซึ่งเผยแพร่ในเวปดังกล่าวเมื่อวันที่ : 29/10/2550 มีการนำเอาคำกล่าวของศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เนื้อหาเป็นการกล่าวถึงระบบการศึกษาไทยโดยเฉพาะสถาบันการศึกษา ที่ปัจจุบันกำลังถูกระบบทุนนิยมกลืนไปหมดในฐานะส่วนหนึ่งของระบบเพื่อผลิตแรงงานผ่านกลไกตลาด ละเลยความรับผิดชอบ ซึ่งตอนทายบทความได้สรุปไว้อย่างน่าคิดว่า มหาวิทยาลัยจะมีคุณค่าและประโยชน์อันใดหากแวดล้อมมหาวิทยาลัยนั้นเต็มไปด้วยแหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาสังคม ขอทานและความยากจนในขณะที่มหาวิทยาลัยคือตึกโต -อาคารสวยงามตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลาง และไม่เคยเยื่อใยต่อการแก้ปัญหาความทุกข์ยากเหล่านั้น กับคำถามที่ว่า "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ " หรือ "มหาวิทยาลัยตายแล้ว"





คำขวัญของมหาวิทยาลัยไทยหลายแห่ง ล้วนถูกสรรค์สร้างขึ้นด้วยการยึดโยงกับอุดมการณ์สังคมและประชาชน ดังเช่นที่ว่า



"ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน"

"เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน"

"ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ เกษตรศาสตร์เป็นภาษีของประชาชน"

ฯลฯ



แต่อุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยเหล่านี้ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร หรือล้วนถูกดึงเข้าสู่กระแสทุนเสรีอย่างเต็มที่ที่ละทิ้งความหมายทางสังคมเหล่านั้นไปหมดแล้ว ใช่หรือไม่?



การศึกษาในปัจจุบันจึงหนีไม่พ้นการยัดเยียดความคิดที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวและไม่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบทุนนิยมเสรี (ซึ่งอำนาจรัฐใต้แนวทางทุนนิยมได้วางกรอบให้) การดำรงอยู่ของคณะ ภาควิชาต่างๆ สะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีเมื่อขึ้นลงตามการกำหนดของกลไกตลาด คณะสาขาวิชาที่รับใช้สังคมส่วนรวมจริงๆ ตามลักษณะสังคมนิยมหรือสวัสดิการนิยมจึงมีน้อย หรือแทบไม่มีเลย



ตัวอย่างชัดเจนที่สุด คือ การเรียนการสอนในคณะเศรษฐศาสตร์ (economic) กระแสหลักในปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนนั้นจะไม่ใช่หลักสูตรเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแนวเดียวเท่านั้น แต่จะเรียนเศรษฐศาสตร์การเมือง(Political Economy) รวมอยู่ด้วย ซึ่งเพราะเศรษฐศาสตร์และการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เหมือนดังที่ในยุโรปมีการเรียนการสอนเรื่องเศรษฐศาสตร์สังคม (social economy) แต่หลังจากที่ไทยก้าวตามความคิดแบบอเมริกาหรือทุนนิยมเสรี การศึกษาจึงเป็นไปตามหลักกลไกตลาด ตามกระแสหลักของทุนนิยมเสรีที่พูดถึงตัวเลขทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่ไม่ได้พูดถึงความเป็น "ชีวิต" ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และคู่ควรในความเป็นมนุษย์อย่างไม่ถูกริดลอน เปรียบดังที่ "เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ" หรือยุค ศรีอาริยะ นักวิชาการชื่อดัง เคยกล่าวครั้งหนึ่งว่า .





"เศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เราเรียนอยู่นี้เปรียบกับเรือลำหนึ่งที่ล่องลอยอยู่ในมหาสมุทร ทิศทางและการฝ่าข้ามคลื่นลมทั้งมวลก็ล้วนเพื่อผลของคนบนเรือที่เป็นชนชั้นสูงเท่านั้นซึ่งเป็นผู้กุมบังเหียนเรืออย่างแท้จริง แต่ทุนนิยมก็ไม่ได้พูดถึงทางอยู่และทางรอดของคนที่อยู่ใต้เรือ ซึ่งเป็นชนชั้นล่าง เป็นผู้ต้อยต่ำในสังคม ไม่มีสิทธิไม่มีเสียง ไม่มีอำนาจ ซึ่งถูกบังคับให้เป็นแรงงานที่เติมเชื้อไฟและเป็นกลไกส่วนหนึ่งที่ต่อเวลาให้ฟันเฟืองระบบทุนนิยมดำรงอยู่และขับเคลื่อนไปได้ …"





ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เคยกล่าวว่า



"ในเมื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยพากันเดินสายฝึกอบรมและแปรสภาพเป็น "เซลส์แมน" ขายปริญญาบัตรและวุฒิบัตร มิใยต้องกล่าวว่า มหาวิทยาลัยในเมืองไทยในรากเหง้าทางประวัติศาสตร์มิได้มีการออกแบบเชิงสถาบัน (Institutional Design) เพื่อให้เป็นสถาบันผลิตองค์ความรู้ตั้งแต่ต้น ด้วยเหตุดังนี้ใครก็ตามที่ผลักดันมหาวิทยาลัยของรัฐออกนอกระบบราชการ และเข้าสู่วิถีแห่งตลาด โดยหวังว่าจะก่อให้เกิดความก้าวหน้าขององค์ความรู้และวิทยาการ คงจะมีความไร้เดียงสาอย่างถึงที่สุด"



โดยเฉพาะเมื่อมหาวิทยาลัยออกจากระบบราชการที่กลไกรัฐสามารถผลักดันความคิดหรือชี้นำอุดมการณ์ชาติได้อย่างเต็มที่แล้ว ไปสู่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐหรือออกนอกระบบย่อมปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า มหาวิทยาลัยที่หลุดพ้นออกจากแก้วครอบของระบบราชการแล้วจะปะทะกับลมพายุแห่งกระแสทุนนิยมอันเชี่ยวกราก จึงย่อมหลีกหนีไม่พ้นจากการหมุนคว้างไปกับวิถีตลาดที่จะเป็นตัวชี้ทางเดินของมหาวิทยาลัยอย่างเบ็ดเสร็จ การเป็นไทจากระบบราชการย่อมไม่อาจหลีกหนีจากการเป็นทาสของระบบตลาดได้เลย และภายใต้โซ่ตรวนพันธนาการเหล่านี้ล้วนจะสร้างงานวิจัยทางวิชาการที่มีคุณภาพอย่างเป็นอิสระและไม่ขึ้นกับกลไกตลาดก็ยากเต็มที สุดท้ายก็คือระบบการศึกษาตกอยู่ในอุ้งมือ "ทุน" ที่กดขี่ขูดรีดอย่างเต็มที่ มิพักต้องพูดถึงพื้นที่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแต่อย่างใด



และหากมหาวิทยาลัย เป็น "มหาวิทยาลัยแห่งการค้าและการลงทุน" แล้ว ก็จะมีทิศทางดังนี้



1. มหาวิทยาลัยที่เป็นเสมือนองค์กรแห่งธรรม จะถูกแบ่งแยกเป็นสองโฉมหน้าอย่างชัดเจนขึ้น ด้านหนึ่งคือสถาบันความรู้ที่บ่มเพาะศาสตร์วิชาและจริยธรรมเพื่อการดำรงชิวิตอยู่ร่วมกันในสังคม แต่อีกด้านหนึ่งเหมือนกลับเป็นบริษัท มีนักบริหารเป็นผู้วางแผน สร้างกลยุทธ์ทางการตลาด มีการ "เก็งกำไร" มีการบริหาร-จัดการที่ดี นักศึกษาคือลูกค้า มีผลประโยชน์ กำไร-ต้นทุนต่อการผลิตบัณฑิตแต่ละคนเพื่อตนเองไม่ไช่เพื่อสังคมอย่างชัดเจน ดูจากคณะ -สาขาวิชาที่เรียน คณะใดอุ้มชู-จรรโลงและตอบแทนผลต่อสังคมน้อยแต่ตอบแทนผลประโยชน์ต่อตนเองสูงเมื่อเรียนจบออกมาค่าเล่าเรียนย่อมแพง เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ เช่นกัน คณะวิชาใดมีผลต่อสังคมมากแต่ตอบแทนผลประโยชน์ส่วนตนต่ำ ค่าเล่าเรียนก็ย่อมถูกตาม เช่น คณะมนุษย์ศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ เป็นต้น



2 .การศึกษาที่แยกคนออกห่างจากสังคม เพื่อมารับใช้กลไกตลาด ผลิตบัณฑิตเพื่อเป็น น็อตหรือชิ้นส่วนชิ้นหนึ่ง ที่จะไปเป็นกลไกในเครื่องจักรกล หรือตลาดแรงงาน ที่ดูเหมือนมีคนวางไว้แล้วว่าในเครื่องจักรกลนี้ควรมีชิ้นส่วนตัวไหนบ้าง และสุดท้ายก็ไปขับเคลื่อนให้เครื่องจักรทำงานซึ่งผลประโยชน์กลับตกอยู่กับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นเจ้าของเครื่องจักรอย่างแท้จริง มหาวิทยาลัยตกเป็นเครื่องมือผลิตบุคลากรของเอกชนไปแล้ว ไม่ไช่ผลิตเหล็กที่มีคุณภาพทุกด้านที่พร้อมไปหล่อหลอมเป็นอะไรก็ได้ในทุกๆพื้นที่เพื่อประโยชน์ของสังคมและประชาชนทั้งมวล ดูจากนักศึกษาที่มาจากชนบทต้องถูกแปรรูปตนเองเพื่อสร้างประโยชน์ให้เมืองและกลไกตลาดไม่ได้กลับไปสร้างประโยชน์ให้สังคมที่ตนเองจากมาอย่างแท้จริง



สังเกตได้ในสาขาวิชาที่รับใช้ชุมชนท้องถิ่นมีน้อยเต็มทีหรือแทบไม่มีเลย ที่มีอยู่เช่น คณะอุตสาหกรรมยางพารา ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันกำลังจะถูกยุบไป สถาบันการศึกษาในหลายๆที่มุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อก้าวขึ้นไปให้ไกลจากชุมชน -สังคม ตามค่านิยมที่ดูถูกเหยียดหยามชาวนา-ชาวไร่และผู้ใช้แรงงานว่าเป็นผู้ต้อยต่ำ ในมหาวิทยาลัยจึงมีแต่คณะวิชาที่อิงกับกลไกตลาด เช่นคณะเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นต้น ซึ่งถ้าคณะไหนเป็นที่ต้องการและตลาดงานเรียกร้อง เช่นครั้งหนึ่งที่กระแส คณะการบริหารธุรกิจ มาแรงก็จะมีคนไปเรียนคณะนั้นมาก ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นถึงมหาวิทยาลัยที่ขึ้น -ลงตามผลประโยชน์กระแสทุน ไม่ใช่ขึ้น-ลงเพราะสังคมต้องการอย่างแท้จริง



3. มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานที่สร้างความขัดแย้ง เพราะเน้นผลิตคนให้มีความรู้เฉพาะด้านแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้สร้างองค์ความรู้ที่ครอบคลุม มองเห็นสังคมแล้วเข้าใจอย่างรอบด้านและเป็นระบบ เช่น ผลิตบัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่สอนให้สร้างเขื่อนว่ารูปแบบเป็นอย่างไร ค่าทางฟิสิกส์ต่างๆเท่าไหร่ ไม่ได้สอนว่าผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมคืออะไร ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร มหาวิทยาลัยหลายแห่งสอนให้ท่องแต่ตำรา จดแผ่นใสและอ่านชีทสอบให้ผ่านเท่านั้น ทำให้มองโลกคับแคบ ไม่สามารถเชื่อมโยงทั้งสองด้านอย่างเข้าใจ เพราะเช่นนั้นสังคมจึงเกิดความขัดแย้งกันจากด้านตรงข้าม เข้าใจสาขาวิชาที่เรียนเพียงด้านเดียว ไม่ได้เรียนรู้แล้วเข้าใจทั้งสองด้านอย่างมีเอกภาพกัน จึงไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ได้ถูกต้อง



4. มหาวิทยาลัยสร้างความรุนแรง เหตุเพราะไม่มีการวางเกณฑ์การศึกษาให้สมดุลย์กัน ทั้งตำราการสอนในหลายสถาบันก็มีมาตรฐานไม่เหมือนกัน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้ง นักเรียนหลายคนฆ่าตัวตายเพราะสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ตนเองชอบไม่ได้ หลายคนพยายามทุกวิถีทางแม้ต้องคดโกงเพื่อที่จะได้สวมชุดนิสิตของจุฬาฯ นี่คือความรุนแรงที่โหดร้ายไม่ต่างไปจากความรุนแรงทางทารุณกรรมร่างกาย ทำนองเดียวกันกับปัญหาความยากจนที่เป็นต้นเหตุก่อให้เกิดความรุนแรงในรูปแบบอื่นมากมาย



นอกจากนี้ยังสร้างปัญหาทางชนชั้นด้วย ปฏิเสธไม่ได้ว่าระดับมหาวิทยาลัยมีการแบ่งเกรด แบ่งระดับกันทั้งคุณภาพและค่านิยม .. สร้างเงื่อนไขการแข่งขันเพื่อมุ่งสู่จุดสูงสุด คนที่ได้เปรียบในระดับความรู้ก็ถูกเชิดชูทางสังคม ทั้งที่ทุกคนไม่ได้อยู่ในสภาวะและโอกาสที่เอื้ออำนวยเหมือนกัน บ้างมาจากชนบทที่ขาดแคลนวิชาการและทฤษฏี เท่ากลับว่ามหาวิทยาลัยไม่สามารถดูแลและคุ้มครองคนอ่อนแอให้อยู่ได้โดยเท่าเทียมในสังคมได้ ต้องยอมรับว่า การนำคนที่หลากหลายทั้งถิ่นฐานและความคิดมารวมกัน ในคณะเดียวกัน มาสอนในห้องเดียวกัน เรื่องเดียวกัน เพื่อฉาบทาให้ทุกคนเหมือนกัน เป็นความรุนแรงอย่างหนึ่ง หากความเหมือนกันนั้นไม่สามารถตอบเรื่องปากท้องของเขาและสังคมได้ เช่นเดียวกับการเอาเด็กนักเรียนมาอดอาหารเที่ยงเรียนวิชาที่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเขาเลยในชนบท [1]





5. มหาวิทยาลัยสร้างสายสัมพันธ์ที่โดดเดี่ยวและสร้างความแปลกแยกจากสังคม เพราะไม่ได้เอาสังคมเป็นศูนย์กลางการศึกษาแต่กลับเอารัฐเป็นศูนย์กลางการศึกษาซึ่งรัฐถูกครอบงำจากระบบทุนนิยมหรือความคิดเสรีนิยมอีกทอดหนึ่ง



ในวิถีชีวิตการเรียนรู้แต่ละวันที่มุ่งการแข่งขันทำให้หลายคนถูกแยกอยู่อย่างโดดเดี่ยวในโลกแห่งการศึกษา และยืนอยู่อย่างว้าเหว่ ไม่ต่างจากหุ่นยนต์ จึงไม่แปลกที่มีการจัดหาความอบอุ่นขึ้นในมหาวิทยาลัย เช่น การรวมกลุ่มรวมรุ่นต่างๆ ที่ทดแทนช่องห่างของสังคม ช่องห่างของสังคมที่ถูกแบ่งแยกโดยมหาวิทยาลัย ตัวอย่างเช่น ในชนบท บ้านและที่ทำงานไม่สามารถแยกออกจากกันได้ บ้านคือบ้าน ท้องนาคือที่ทำงานที่แยกไม่ออกจากบ้าน อยู่ท้องนาก็เหมือนอยู่บ้าน แต่ในสังคมเมือง บ้านกับที่ทำงานถูกแยกห่างออกจากกัน นักศึกษาที่กลับบ้านในชนบทเริ่มรู้สึกแปลกแยกกับชนบท ความรู้สึกที่มีต่อชุมชนเริ่มเปลี่ยนไปและไม่สามารถจะใช้ชีวิตอยู่ในถิ่นฐานเดิมต่อไปได้เหมือนเดิม



เท่ากับว่ามหาวิทยาลัยพยายามแยกคนให้ออกห่างจากสังคมเพื่อมาเป็นกลไกในตลาดอุตสาหกรรม ในสังคมใหม่ที่เป็นผลประโยชน์ของผู้ปกครองและนายทุนเท่านั้น ไม่ใช่สังคมใหม่ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง เนื่องเพราะสังคมอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมที่เป็นอยู่ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็น "สังคม" ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ตราบใดที่ผลประโยชน์เหล่านั้นไม่ได้ตกเป็นผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ อย่างแท้จริง [2]



จากสภาพการณ์เหล่านี้ วิวาทะเรื่อง "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ " หรือ "มหาวิทยาลัยตายแล้ว" เพราะไม่มีลมหายใจและจิตวิญญาณเพื่อสังคม ที่ยังเคลื่อนไหวได้อยู่เป็นเพียงซากศพนั้น จึงดังอยู่ในแวดวงผู้ที่ตั้งคำถามต่ออุดมการศึกษาไทยมาโดยตลอด



มหาวิทยาลัยจะมีคุณค่าและประโยชน์อันใดหากแวดล้อมมหาวิทยาลัยนั้นเต็มไปด้วยแหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาสังคม ขอทานและความยากจนในขณะที่มหาวิทยาลัยคือตึกโต -อาคารสวยงามตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลาง และไม่เคยเยื่อใยต่อการแก้ปัญหาความทุกข์ยากเหล่านั้น





--------------------------------------------------------------------------------



(บทความนี้ ตัดบางส่วนมาจากงานวิชาการขนาดยาวเรื่อง "แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง กับปัญหาและสภาพการณ์ของมหาวิทยาลัยไทย")



[1] ลาว คำหอม, ในคำนำในหนังสือ " ครูสีดา" ของรงค์ วงศ์สวรรค์ : สำนักพิมพ์มติชน




[2] ความขัดแย้ง 5 ข้อ ของมหาวิทยาลัย, เมธา มาสขาว ; ผู้จัดการรายวัน




ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องใน Blog

เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน
ม า ห า วิ ท ย า อ ะ ไ ร
เปิบข้าว


ฟังเพลง

มหาลัย ของ คาราบาว


Create Date : 29 ตุลาคม 2550
Last Update : 29 ตุลาคม 2550 18:24:46 น. 5 comments
Counter : 4372 Pageviews.

 
ในบทความนี้ผมเห็นด้วยแทบจะทุกส่วน เนื่องมาจากการสังเกตสภาพรอบๆของสถานศึกษาแล้ว นักศึกษามีส่วนร่วมต่อการเป็นอยู่ของประชากรในชุมชนน้อยเหลือเกิน ทั้งนี้นิยามนักศึกษาของผมไม่ได้หมายความเพียงด้วยว่ามหาวิทยาลัย แต่ยังครอบคลุมไปถึงนักเรียนในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงป.เอกเลยก็ตาม
ระบบการศึกษาไทยไม่ได้สอนให้ตอบแทนสังคมอะไรมากมาย เพราะไม่ได้ตอบสนองต่อปากท้องที่นับวันค่าครองชีพยิ่งสูงขึ้นๆ ยิ่งอยู่ในตัวเมืองเป็นไปได้ว่าอนาคตคงต้องซื้อขายอากาศกันสูดดมกระมัง

เข้าใจว่าการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนส่วนหนึ่งไม่ตั้งใจที่จะผันตัวเองมาเป็นผู้สอน หากแต่ความเป็นไปได้ที่ระบบสังคมไม่ได้เชิดหน้าชูตาอาชีพครูสักเท่าไหร่ เพราะนอกจากจะเงินเดือนต่ำ ฐานะทางสังคมก็ไม่ได้สูงอะไรมาก(เว้นแต่ครูอาจารย์ในมหาลัย) ดังนั้นการผลิตลูกศิษย์หลายๆคนในส่วนนี้ก็ทำพอๆให้ไม่ถูกกล่าวว่า เหมือนกันกับที่นักเรียนเรียนเพื่อพอผ่านๆไป ลอกได้เป็นลอก ขอคะแนนมันผ่านก็พอ ทั้งครูและนักเรียนก็จึงแทบไม่อยากจะเรียนอยากจะสอนกันเสียเท่าไหร่นัก

ในส่วนเชิงสังคมในเมืองใหญ่นั้น นอกรั้วโรงเรียน การเรียนก็จบเพราะเรียนไปก็ม่ได้คะแนน คะแนนแทบจะเป็นทุกอย่างในชีวิตของคนที่ได้ชื่อว่านักเรียนนักศึกษาไปแล้ว จึงไม่แปลกที่ข่าวนักเรียนนักศึกษาที่มาดมั่นว่าจะต้องทำคะแนนสูงๆแล้วคะแนนไม่เป็นไปตามเป้าจะมาจบชีวิตลงเอาดื้อๆอย่างที่เห็นนี้ แล้วการที่ต้องทำคะแนนให้ได้ดี ส่วนมากก็นิยมเรียนพิเศษทั้งตั้งใจเอง และผู้ปกครองผลักดันจนเป็นกระแสสังคมไปแล้ว ซึ่งการเรียนพิเศษในเชิงความรู้และทฤษฎี ก็ในหลายส่วนก็สอนได้เพียงเปลือกผิว เพราะถ้าท่านนั้นๆเก่งจริงๆคงมาขุดเรื่องเดิมๆมาเล่าใหม่ให้เปลืองเนื้อที่สมองเอาไว้คิดทฤษฎีใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ดีกว่า ถ้าโยงเรื่องใหม่นั่นอาจจะเพราะเงินกระมัง แล้วคิดไปก็คงโดนเลียนแล้วไม่ได้เงินอยู่ดี? ทำให้นักเรียนไม่มีเวลา เวลาพอที่จะได้พบปะกับคนในชุมชน เพราะคนในชุมชนก็ไม่มีเวลาเช่นกันเพราะพวกเขาก็ต้องทำงานหาเงิน และไปเรียนอยู่เนืองๆ

ถ้ากล่าวถึงในเมืองเล็ก การเรียนก็คงเป็นเรื่องแปลกใหม่ที่ชาวเมืองใหญ่มาระบุไว้ในระบบการศึกษา จังหวัดไหนคนเยอะหน่อยก็เริ่มเข้าเค้าเหมือนเมืองใหญ่ เพราะเมืองใหญ่มีต้นแบบอย่างนี้ เมืองเล็กจะขัดได้อย่างไร ส่วนเมืองในชนบท เรื่องทฤษฎีบทอาจจะไม่เข้าถึงเท่าที่ควร ทั้งรูปการณ์ก็คงเหมือนให้นักเรียนมาอดข้าวกลางวันเพื่ออ่านหนังสือที่เขาไม่รู้ว่าไปทำอะไรได้(ที่ได้กล่าวไว้ ^ ^)

ว่าด้วยเรื่องของเวลา คนเรามีเวลาอยู่กับครอบครัว คนรอบข้างมาก และตัวเองมากน้อยแค่ไหน? คำตอบคือ แทบจะไม่เว้นแต่เพื่อนร่วมการกระทำ เช่นเพื่อนในสถานศึกษา เพื่อนในที่ทำงาน หรือเพื่อนในชมรม หากแต่ความสนิทสนมก็คงไม่มากถึงฝากผีฝากไข้กันได้ด้วยการสั่งสอนของกระแสในเชิงอย่าไว้ใจใคร เพราะไม่มีใครมาหวังดีกับเราจริงๆหรอก ทุกคนหวังผลประโยชน์จากเรา(แม้แต่คนของรัฐที่หวังผลประโยชน์เมื่อคนเราผิดพลาด) แต่สำหรับเมืองเล็กแล้วเรื่องเช่นนี้แทบไม่มีปัญหาในเรื่องของเวลาเลย หากแต่คนเมืองไม่มีอะไรทำในกรอบบ้างละเขาจะทำอะไร? หลายคนมุ่งไปที่หาความสุขใส่ตนเอง เพื่อที่จะได้มี"ใจ"ไปสิ่งที่"ใจ"ไม่อยากทำต่อ ทั้งในทางเสื่อม หรือทางสร้างสรรค์ ส่วนอันไหนมากน้อยก็ลองพิจารณาไปตามสถานการณ์ก็แล้วกัน

โดยส่วนตัวผม ถ้ากล่าวถึงปัญหาการศึกษา ผมมองว่าการศึกษาไม่สนใจผู้เรียน มีแต่ผู้เรียนต้องไปตามการศึกษาที่เบื้องบนที่คุมบังเหียนว่าไว้ ซึ่งแทบจะปิดกั้นคุณค่าของคนไว้เลยทีเดียว ถ้าพิจารณาดูแล้ว ศาสตร์ต่างๆเกิดจากคนสังเกตโลก และสร้างโลกขึ้น แล้วเหตุใดต้องกะเกณฑ์ให้แต่ละคนเรียนในสิ่งต่างๆ ทั้งกะเกณฑ์ให้เรียนแต่แบบนี้ ไม่เป็นในเชิงเปิดกว้างเลย ซึ่งผมมองว่าเป็นจุดตกต่ำเลยทีเดียวที่การศึกษาไร้จิตใจเช่นนี้


โดย: ทะเลคราม (blueocynia ) วันที่: 3 พฤศจิกายน 2550 เวลา:0:09:23 น.  

 
ขอบคุณครับสหายทะเลคราม สำหรับความคิดเห็นดีๆที่เข้ามาแลกเปลี่ยน
ผมก็คิดเช่นนั้น มหาลัยก็ไม่ต่างจากโรงปิดฉลากแรงงาน ข้าราชการ เพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป ใยต้องมาสนใจชุมชนรอบตัว และผมว่าน่าจะเรียกหินวิทยาลัยน่าจะถูก เพราะโดยระบบมันก็มีข้อจำกัดในการเข้าถึง จึงไม่ควรเรียกว่ามหา ไปดูมหาลัยดังไนบ้านเราส่วนใหญ่มาจากไหน คงไม่ต้องบอกว่าสถาบันเราเป็นที่เท่าไหร่ของเอเชียหากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาสังคมได้จะมีประโยชน์อะไรที่จะเป็นที่ 1 ในเอเชีย ไหนจะออกนอกระบบหรือจะบอกว่าอยู่ในกำกับของรัฐอีก จริงอยู่ที่มันต้องเปลี่ยนแปลงแต่มีทางเลือกที่ดีกว่านี้ไหม ที่ไม่ทำให้มันโคตรหิน ขอบคุณครับ


โดย: Darksingha วันที่: 3 พฤศจิกายน 2550 เวลา:10:15:59 น.  

 


จ๊ะเอ๋ หวัดดีจ้า...แวะมาทักอีกแล้ว...แต่คราวนี้แวะมาบอกเล่าเก้าสิบบางเรื่องด้วยคะ
ก็บังเอิญได้แวะไปเยี่ยม blog ของ คุณครูปอ สาวสดใส ผู้อุทิศตัวและใจ ให้กับเด็กๆๆ วัดพระบาทน้ำพุ
ได้อ่านเรื่องราวต่างๆแล้ว ที่คุณครูเขียนแล้ว ชอบมากเลย ไม่รู้ว่า เคยไปอ่านกันหรือยัง
เลยเอามาฝาก หากสนใจ เข้าไปอ่านนะคะ
คลิกที่นี่

และหากสนใจมีจิตศรัทธาจะบริจาคเงินสิ่งของหรือแรงกาย ก็เชิญติดต่อที่ที่อยู่ เบอร์โทร
ที่คุณปอ แจ้งไว้บนหัว blog ได้เลยนะ



โดย: a_mulika วันที่: 14 ธันวาคม 2550 เวลา:18:17:37 น.  

 
ขอบคุรครับคุณa_mulika


โดย: Darksingha วันที่: 16 ธันวาคม 2550 เวลา:9:38:37 น.  

 
เรื่องจริงคือ นักศึกษาสนใจแค่เกรด ไม่ว่าคุณจะเที่ยวกลางคืน ทำตัวมั่วสุ่ม แต่ได้เกรดดี ๆ ก็พอแล้ว ยิ่งทำตัวนอกกฎแต่ได้เกรดดี ๆ ยิ่งเท่
ส่วนมหาวิทยาลัยก็มุ่งแต่จะตอบโจทย์ของตลาด มองตัวเองเป็นโรงงานผลิตบัณฑิต สรรหาวัตถุดิบชั้นยอดเพื่อตอบสนองความต้องการของภาค "ธุรกิจ" ยิ่งสามารถผลิตบัณฑิตให้บริษัมยักษ์ใหญ่ข้ามชาติได้ยิ่งภาคภูมิใจ
จนลืมปรัชญาการจัดการการศึกษาในสมัยแรกเริ่มว่า ตั้งเพื่ออะไร เพื่อใคร...
มิใช่ให้มีความรู้ทัดเทียมกับชาติอื่น เพื่อมิให้เราโดนเอารัดเอาเปรียบหรอกหรือ แต่วันนี้เราก็ยังได้แค่เป็นผู้ตามและผู้ยอมตามเขาอยู้วันยังค่ำ


โดย: bestwish วันที่: 29 ธันวาคม 2550 เวลา:2:22:49 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.