Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
17 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 
10 ปี หลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 กับการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550

อภิชาต สถิตนิรามัย



เป็นเวลา 10 ปีแล้วหลังจากวิกฤต เศรษฐกิจ 2540 แต่ผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นต่อระบบเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่กับเราต่อไป หลักฐานของประโยคข้างต้นอย่างน้อยมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ

1.ระดับการลงทุนมวลรวมยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ที่นำไปสู่วิกฤตเสียอีก ในขณะที่ระดับการออมมวลรวมไม่ได้แตกต่างไปจากช่วงก่อนวิกฤตเท่าใดนัก หมายความว่าระดับการออมมีค่าสูงกว่าการลงทุน ซึ่งทำให้ประเทศไทยเกินดุลการค้ามาเกือบตลอดเวลา

2.นับตั้งแต่ พ.ศ.2543-2544 ที่สถาบันการเงินเริ่มต้นปล่อยสินเชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็นต้นมานั้น อัตราการขยายตัวของสินเชื่ออยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนวิกฤต ทำให้ระบบสถาบันการเงินมีสภาพคล่องล้นเกิน มาโดยตลอด

ในขณะที่ตัวเลขการใช้กำลังการผลิตนั้น ชี้ว่า กำลังการผลิตส่วนเกินนั้นหมดไปแล้ว แต่ระดับการลงทุนก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยก่อนช่วง เศรษฐกิจฟองสบู่ และส่วนใหญ่เป็นการลงทุน เพื่อทดแทนทุนที่เสื่อมสภาพไป จากการใช้งาน ไม่ใช่การลงทุนเพื่อสร้างกำลัง การผลิตใหม่

ไม่ว่าการถกเถียงในหมู่ผู้สังเกตการณ์เศรษฐกิจไทยเกี่ยวกับสาเหตุของระดับการ ลงทุนที่ต่ำนั้นว่าเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม เช่น ความไม่สามารถ/ความไม่เต็มใจในการปล่อยกู้ของภาคสถาบันการเงิน (ด้านอุปทาน) หรือเกิดจากด้านอุปสงค์ต่อการลงทุน/เงินกู้ที่ต่ำของ ภาคธุรกิจ ซึ่งอาจจะเกิดจากการปรับโครงสร้างของงบดุลที่ยังไม่เสร็จสิ้น หรือเกิดจากการ ไม่สามารถปรับโครงสร้างการผลิตให้มีผลิต ภาพการผลิตที่สูงขึ้น หรือเป็นเพราะการพัฒนาของตลาดทุนยังไม่ดีพอที่จะแทนที่ตลาดเงินกู้ก็ตาม ผลก็คือทำให้ประเทศกำลังพัฒนาเช่น ไทยกลายเป็นผู้ส่งออกทุนให้กับประเทศอื่น โดยเฉพาะอเมริกาแทนที่จะเป็นผู้นำเข้าทุน ทำให้เราสูญเสียโอกาสในการสะสมทุน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาหนึ่งของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวนั่นเอง

ในสถานการณ์ที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ทำให้ภาคเอกชนเรียกร้องกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการต่างๆ เพื่อทำให้ค่าเงินอ่อนลง โดยอ้างว่าค่าเงินที่ แข็งขึ้นจะทำให้ภาคส่งออกไม่สามารถแข่งขัน กับคู่แข่งของไทยได้ และหากทางการไม่ทำตามแล้วโรงงานต่างๆ ก็จะปิดกิจการ เลิกจ้าง ลอยแพคนงาน ข้อเรียกร้องข้างต้นนี้แสดงว่าอุตสาหกรรม ส่งออกของเรานั้นเน้นการแข่งขันด้านราคามากกว่าด้านคุณภาพสินค้าหรือผลิต ภาพการผลิต (productivity) ที่สูงกว่า หรือภาพลักษณ์ของสินค้าที่ดีกว่า

ในสภาพที่ประเทศจีน อินเดีย และประเทศ ในยุโรปตะวันออกกระโจนเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโลกเช่นทุกวันนี้แล้ว ถ้าไม่ต้องการหลอก ตัวเองเราต้องยอมรับว่าไทยจะไม่สามารถซื้อเวลาด้วยการใช้นโยบายค่าเงินอ่อนได้อีกต่อไป ทางเดียวที่จะเป็นทางรอดก็คือ การปรับตัวของภาคการผลิตให้มีผลิตภาพและคุณภาพของ สินค้าสูงขึ้น ทางรอดนี้ก็เป็นเรื่องที่ “รู้ๆ กัน” อยู่แล้วมาเป็น 10 ปี แต่เมื่อมองไปที่ตัวชี้วัด ของการเพิ่มผลิตภาพการผลิตทั้งหลาย เราก็ จะพบแต่ความห่อเหี่ยวไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ และจำนวน ของแรงงานที่มีการศึกษาพอเพียง จำนวนนักวิจัย ความสามารถในการวิจัย เงินลงทุนในการวิจัยและพัฒนาสินค้า หรือเทคนิคการผลิตแบบใหม่ ฯลฯ

การลงทุนที่ไม่ฟื้นตัวกับการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันที่พูดมาข้างต้น เกี่ยวข้องกันตรงไหนและอย่างไร ทั้ง 2 เรื่องเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก คงจะไม่มีใครยอมลงทุนสร้างโรงงานขึ้นใหม่แน่หากเขาไม่มีความเชื่อมั่นเลย ว่าจะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ในการส่งออก ผู้ผลิตเพื่อตลาดภายในประเทศก็จะไม่ลงทุนใหม่หากเขาไม่คิดว่าจะผลิตแข่งสู้กับสินค้านำเข้าได้ พูดสั้นๆ คือหากผลิตภาพการผลิตไม่ถูกยกระดับให้สูงขึ้นก็จะแข่งขันกับต่างประเทศไม่ได้ เมื่อแข่งขันไม่ได้ก็จะไม่ได้กำไรคุ้มค่ากับการลงทุน เมื่อคำนวณแล้วว่าจะไม่ได้กำไรพอเพียงนายทุน ก็จะไม่ลงทุน

พูดอีกแบบได้ว่า การที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่จากวิกฤต 2540 นั้น เป็นเพราะรัฐไทย ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ไม่สำเร็จในการยก ระดับผลิตภาพของอุตสาหกรรม (industrial upgrading) ทั้งๆ ที่มีแผนงานจำนวนมหาศาล ที่ต้องการแก้ปัญหานี้ ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาก็มีทั้ง แผนปฏิรูปการศึกษาและแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมด้วยกันทั้งนั้น คำถามคือทำไมไม่สำเร็จ

ในภาษานักเศรษฐศาสตร์ การเพิ่มผลิต ภาพการผลิตและยกระดับอุตสาหกรรมนั้น ส่วนสำคัญหนึ่งของปัญหาคือมันเป็นเรื่องของ การผลิตสินค้าสาธารณะ เอกชนจะไม่มีแรง จูงใจที่พอเพียงในการผลิตสินค้าสาธารณะ ดังเช่นการเพิ่มคุณภาพการศึกษา ดังนั้นใน ทางทฤษฎีแล้วรัฐมีความได้เปรียบมากกว่า เอกชนในการผลิตสินค้าเช่นนี้ คำถามที่ตามมา คือแล้วในทางปฏิบัตินั้นรัฐไทยมีความสามารถ แค่ไหนในการผลิตสินค้าสาธารณะ คำตอบที่ แทบไม่ต้องสงสัยเลยก็คือ รัฐไทยมีความสามารถค่อนข้างต่ำ

ความสามารถต่ำนี้เกิดขึ้นเพราะเรามีทั้ง ระบบราชการที่ไร้ประสิทธิภาพ ไร้ประสิทธิผล รวมทั้งมีกติกาทางการเมืองที่ทำให้รัฐบาลอ่อนแอมาโดยตลอด โดยเฉพาะกติกาการเมืองก่อนหน้ารัฐธรรมนูญฉบับ 2540 จะมีผลบังคับใช้

ดังนั้นกติกาการเมืองของรัฐธรรมนูญ 2540 จึงถูกออกแบบโดยตั้งใจให้ผลิตรัฐบาลที่เข็มแข็ง มีประสิทธิผลทางนโยบายนับตั้งแต่การเปลี่ยน เขตเลือกตั้งให้เป็นแบบ one-man one-vote และระบบปาร์ตี้ลิสต์ที่ต้องการสร้างพรรค ขนาดใหญ่ให้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา

เคยมีผู้คำนวณไว้ว่ากฎการเลือกตั้ง 2540 นั้นทำให้ พรรคไทยรักไทยได้เปรียบในการ เลือกตั้งเมื่อปี 2544 เป็นจำนวน ส.ส.กว่า 40 คน เมื่อเทียบกับกรณีสมมติว่า ทรท. ต้องแข่งขันภายใต้กฎการเลือกตั้งก่อนปี 2540 นอกจากเปลี่ยนเขตเลือกตั้งแล้วกติกาอื่นๆ ของรัฐธรรมนูญ 2540 ก็เอื้อให้รัฐบาลกลาย เป็นรัฐบาลที่มีประสิทธิผล เช่น กฎสังกัดพรรค 90 วัน ในขณะที่การเลือกตั้งต้องมีขึ้นภายใน 60 วันหลังการยุบสภา กฎนี้ต้องการเพิ่มอำนาจ นายกฯในการควบคุม ส.ส.โดยตรง หรือกฎที่ เมื่อเป็นรัฐมนตรีแล้วต้องขาดจาก สมาชิกภาพของรัฐสภาก็คือการเพิ่มอำนาจต่อรองให้นายกฯเมื่อเทียบกับ รมต.ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือหัวหน้ามุ้งการเมือง

ในแง่นี้รัฐธรรมนูญ 2540 จึงประสบความสำเร็จมากในการสร้างรัฐบาลที่เข็มแข็งและ มีประสิทธิผลทางนโยบาย เป็นครั้งแรกในรอบ 75 ปีของระบอบการเมืองไทยที่มีรัฐบาลเสียง ข้างมากพรรคเดียว และอยู่เป็นรัฐบาลครบ 4 ปี พร้อมกับชนะการเลือกตั้งครั้งที่ 2 อย่างขาดลอย ปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่าการออกแบบกติกาการเมืองของรัฐธรรมนูญ 2540 ที่เน้นการ ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารไม่ให้ abuse of power นั้นล้มเหลว ซึ่งตัวอย่างมีมากมาย และทราบกันดีจนไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำในที่นี้ ส่วนความอ่อนแอหลักของระบบราชการไทยก็คือ

การขาดการประสานงาน (coordination) กันระหว่างหน่วยงานต่างๆ แม้กระทั่งเป็นหน่วยงานในกระทรวงเดียวกัน แต่สังกัดคนละกรม ในขณะที่ขอบเขตงานที่กระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมหนึ่งๆ นั้นกลับกระจัดกระจายอยู่ ในหลายๆ หน่วยงาน (fragmentation) ความอ่อนแอของกลไกรัฐไทยนั้นสูงมากจนถึงระดับที่กลายเป็นอุปสรรค์ แม้ต่อการแก้ปัญหา ที่กระทบคุณภาพชีวิตประจำวัน เช่น การจัดการจราจร ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ฯลฯ โดยไม่ต้องพูดถึงบทบาทการยกระดับอุตสาหกรรม หรือเพิ่มผลิตภาพการผลิต ซึ่งเป็นภาระที่ยากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นการสร้างความเข้มแข็งและประสิทธิภาพให้แก่ระบบราชการไทยนั้นจึงมีความจำเป็น

แม้เป็นการเร็วเกินไปและขาดหลักฐาน ที่ชัดเจนที่จะประเมินว่าการปฏิรูประบบ ราชการ ของรัฐบาลทักษิณประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดในการแก้ปัญหาความอ่อนแอ ข้างต้น แต่อาจกล่าวได้ว่าทิศทางการปฏิรูปนี้ถูกต้องโดยรากฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิ่งที่รัฐบาลทักษิณเรียกว่าการสร้าง “เจ้าภาพ” ขึ้นรับผิดชอบขอบเขตงานที่แน่นอนหนึ่งๆ

ประเด็นหลักในที่นี้คือ เมื่อรัฐบาลทักษิณ มีความเข้มแข็งทางการเมืองแล้ว รัฐบาลจึง ใช้ความเข้มแข็งนี้ไป “จัดการ” กับระบบราชการทั้งโดยการปฏิรูประบบราชการ และการโยกย้าย แต่งตั้งข้าราชการระดับสูงที่เป็นคนของตัวเอง เข้าสู่ตำแหน่งสำคัญๆ ทั้งทหารและพลเรือน ทำให้เหล่ามหาอำมาตย์ทั้งหลายตอบโต้โดย การรัฐประหาร 19 กันยา และร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นโดยมีชนชั้นกลางเป็นกองเชียร์และหางเครื่อง

รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 กำหนดให้กติกาการเมืองย้อนยุคกลับไปคล้ายคลึงกับช่วงเวลาก่อนหน้า 2540 ซึ่งมีรายละเอียดคร่าวๆ ดังต่อไปนี้ 1.กำหนดให้วุฒิสมาชิกมีที่มาจาก 2 ส่วน คือ จากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน (76 จังหวัด) และจากการสรรหาโดยกรรมการชุด 1 อีก 74 คน ในขณะที่วุฒิสภามีอำนาจ คล้ายเดิม เช่น อำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลขององค์กรอิสระ 2.กำหนดให้เขตเลือกตั้ง ส.ส.กลับไปเป็นแบบเขตใหญ่และมีหลายที่นั่ง ในขณะที่แบ่งเขตเลือกตั้งของ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อจากทั้งประเทศเป็น 8 เขต เมื่อกติกาการเมืองย้อนยุคกลับไปสู่อดีตแล้วจึงมี แนวโน้มสูงว่า หัวหน้ามุ้งของพรรคการเมืองจะมีอำนาจต่อรองกับหัวหน้าพรรคสูงขึ้น พรรคจะ ไร้วินัย ไม่มีวาระ/นโยบายระดับชาติ รัฐบาลใหม่ ก็จะกลายเป็นรัฐบาลผสมที่อ่อนแอไร้เสถียรภาพและขาดประสิทธิผล

ทั้งหมดนี้ก็คือความพยายามของกลุ่มชนชั้นนำทางอำนาจในปัจจุบัน ทั้งจากระบบราชการ กองทัพ และชนชั้นนำทางประเพณีที่จะลดทอน ไม่ให้นักการเมืองกลับมามีอำนาจที่เข้มแข็ง และได้รับการสนับสนุนอย่างสูงจากกลุ่มรากหญ้าชนบท/เขตเมือง ดังเช่นรัฐบาลทักษิณอีกครั้งหนึ่ง เพื่อที่พวกตนจะได้มีอำนาจชี้ขาดอยู่หลังฉาก/เหนือรัฐธรรมนูญต่อไปเช่นเดิม หรือก็คือการถอยหลัง ย้อนยุคไปสู่ระบอบอำมาตยธิปไตย อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อเหล่ามหาอำมาตย์เป็นใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ก็อย่าหวังเลยว่า ระบบราชการจะถูกปฏิรูป ให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลเพิ่มขึ้น หากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านประชามติแล้วยิ่งจะเป็นการทำให้รัฐไทยกลับไปสู่ความอ่อนแอ ในแง่การเมือง มีระบบราชการที่ไม่ตอบสนอง ต่อความต้องการ ความจำเป็นของเศรษฐกิจ และสังคมอีกครั้งหนึ่ง ทั้งหมดนี้ทำให้แผนการ ยกระดับอุตสาหกรรม เพิ่มความสามารถใน การแข่งขันไม่มีทางเกิดขึ้น ระดับการลงทุนก็จะ ยังคงต่ำต่อไป เศรษฐกิจก็จะไม่ฟื้นตัวเต็มที่ต่อไป หากอยู่เมืองไทยในวันลงประชามติ ผมจะไปลงคะแนน ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับอภิสิทธิ์ชนนี้แน่นอน




ตีพิมพ์ครั้งแรก: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 สิงหาคม 2550 ถูกเผยแพร่ใน //www.onopen.com/2007/01/2066



Create Date : 17 สิงหาคม 2550
Last Update : 17 สิงหาคม 2550 18:56:44 น. 0 comments
Counter : 650 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.