Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
26 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
แก่นหลักของสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

แก่นหลักของสัญญาซื้อขายจะต้องประกอบด้วยข้อความสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้

แก่นหลักของสัญญาซื้อขายจะต้องประกอบด้วยข้อความสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้

ประการที่ 1 ข้อความที่ระบุว่า เป็น สัญญาซื้อขาย ทั้งนี้เพราะเป็นการลงนามเพื่อการซื้อและการขายมิใช่เพื่อการอื่นใด (การระบุเป็นสัญญาจะซื้อจะขายก็เช่นกันครับ)

ประการที่ 2 ข้อความบ่งชัดว่า ใครเป็นผู้ซื้อ ที่อยู่หรือภูมิลำเนาของผู้ซื้อที่สามารถติดต่อได้

ประการที่ 3 ใครเป็นผู้ขาย นั่นคือเจ้าของที่ดินและบ้านที่ทำสัญญาซื้อขายนั่นเอง หากนิติบุคคลเป็นผู้ขาย จะมีข้อความระบุถึงกรรมการผู้จัดการหรือกรรมการผู้จัดการที่มีอำนาจทำสัญญาแทนนิติบุคคลนั้น รวมทั้งระบุหมายเลขจดทะเบียนของนิติบุคคลไว้ด้วย ในกรณีซื้อจากโครงการต้องตรงตามที่โฆษณาไว้ ในกรณีเป็นนิติบุคคลควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ดูการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ รวมถึงข่าวสารตามหน้าหนังสือพิมพ์ และที่อยู่ซึ่งสามารถติดต่อได้

ประการที่ 4 ข้อความที่ระบุชัดเจนถึงทรัพย์สินที่ขายว่าคืออะไรอย่างชัดเจนอ้างอิงได้ โดยต้องระบุว่าเป็นโฉนดเลขที่เท่าใด ตั้งอยู่ในท้องที่ใด มีเนื้อที่เท่าไร กี่ไร่ กี่งาน และกี่ตารางวา หากเป็นการซื้อขายพร้อมบ้านต้องระบุรูปทรงของบ้านด้วย หรือมีแบบอาคารเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ก็ดีมากขึ้น

ประการที่ 5 ต้องระบุชัดเจนถึงราคาของที่ดินและบ้านที่จะซื้อจะขายนั้น ทั้งนี้ราคาที่ระบุในสัญญาจะเป็นราคาคงที่ในวันที่เซ็นสัญญา ไม่ว่าราคาตลาดจะเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างไรก็ตาม

ประการที่ 6 ข้อความระบุถึงการโอนกรรมสิทธิ์ แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อนั้นย่อมโอนให้ผู้ซื้อตั้งแต่"ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน" แต่จะมีผลตามกฎหมายนั้นก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ในการโอนกรรมสิทธิ์จะระบุผู้รับผิดชอบค่าโอนด้วยซึ่งมักจะเป็นผู้ซื้อที่จ่ายค่าธรรมเนียมการโอนและปรับปรุงเป็นออกค่าใช้จ่ายฝ่ายละครึ่งหนึ่ง สัญญาซื้อขายที่ดีจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องนี้
ข้อนี้สำคัญมาก เพราะกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายเปลี่ยนเจ้าของด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน ดำเนินการโดยเจ้าพนักงานที่ดินเท่านั้น และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกบ้าน หรือบรรดาบ้านจัดสรรทั้งหลาย หากจะรับโอนกันได้ บ้านต้องสร้างเสร็จตามสัญญา ตรงนี้เป็นข้อได้เปรียบของสินค้าประเภทบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย บ้านพร้อมอยู่ กระทั่งบ้านมือสอง และบ้านประมูล เพราะบ้านสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะซื้อบ้านไม่ได้บ้านน้อยมากครับ

ประการที่ 7 ข้อบังคับจากกฎหมายแพ่งว่าด้วยการซื้อขาย ซึ่งอนุญาตให้คู่สัญญาทำสัญญากันว่าจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิ์ก็ได้ด้วย ทั้งนี้ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิ์นั้นเป็นเรื่องของผู้ขาย กรณีอย่างนี้จะเกิดกับการซื้อบ้านมือสอง หรือบางทีซื้อบ้านทิ้งดาวน์ แต่การซื้อบ้านใหม่สร้างเสร็จ หรือบ้านผ่อนดาวน์ จะไม่มีเรื่องแบบนี้ หากเป็นลักษณะการทำสัญญาค้ำประกันดูแลตัวบ้านโดยกำหนดระยะเวลาประมาณ 1-3 ปีไว้

ในกรณีบ้านพร้อมอยู่ บ้านทิ้งดาวน์ บ้านมือสองต่าง ๆ ความรับผิดชอบเพื่อความชำรุดบกพร่องเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ ทั้งนี้หมายความถึงทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้นชำรุดบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันผู้ซื้อมุ่งจะใช้เป็นปกติ หรือประโยชน์ที่เป็นความมุ่งหมายแห่งสัญญานั้นเอง กฎหมายแพ่งระบุชัดเจนว่า ให้ใช้บังคับถึงแม้ว่าผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องนั้นมีอยู่ในตอนทำสัญญาซื้อขายกัน การให้ใช้บังคับก็คือผู้ซื้อไม่สามารถท้วงติงสภาพของบ้านได้ ในเงื่อนไขต่อไปนี้

ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่า มีความชำรุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน หมายความว่า หากประมาทไม่ตรวจสอบให้ดี ผู้ซื้อก็ต้องรับผิดชอบเอง

ความชำรุดบกพร่องนั้นเห็นประจักษ์ (เห็นชัด ๆ ตำหูตำตา)ในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมิได้อิดเอื้อนหรือท้วงติง

การซื้อขายนั้นเป็นการซื้อทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด (ตรงนี้ต้องเข้าใจว่าการซื้อบ้านจากการประมูลขายทอดตลาดนั้น ควรจะไปตรวจดูสภาพบ้านก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบหากบ้านชำรุด)

สำหรับกรณีความรับผิดเพื่อการรอนสิทธินั้น การซื้อบ้านสร้างเสร็จเป็นการเลี่ยงเรื่องนี้โดยตรง เป็นการป้องกันซื้อบ้านแล้วไม่ได้โอน เพราะบ้านติดจำนอง หรือยังไม่ได้ถ่ายถอน

แต่กระนั้นก็ควรตรวจสอบให้ละเอียดว่าโฉนดปลอดจำนองหรือไม่ ในกรณีมีโฉนดตัวจริงดูได้จากหลังโฉนดจะมีการเขียนเอาไว้

อย่าลืมว่าการรอนสิทธินั้นหากผู้ซื้อรู้อยู่แล้วว่าบ้านหรือที่ดินที่จะซื้อนั้นมีการรอนสิทธิหรือมีผู้รบกวนสิทธิอยู่แล้ว ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบเอง การซื้อบ้านที่มีภาระติดจำนองจะต้องเจรจารายละเอียดกันให้ดี ว่าจะปลอดภาระจำนอง จะโอนและจะจำนองกู้เงินใหม่อย่างไร

ประการที่ 8 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่ดิน โดยปกติการซื้อขายบ้านพร้อมอยู่มักจะไม่ค่อยมีปัญหานี้ โดยเฉพาะบ้านในโครงการบ้านจัดสรร แต่ถ้าหากผู้ซื้อรอบคอบมีการตรวจสอบรังวัดซ้ำกับหมุดหลักเขต และมีที่ดินขาดหรือเกินเกิดขึ้น กฎหมายให้สิทธิ์ไว้ว่า ในกรณีที่ดินเกินผู้ขายไม่สามารถเพิ่มราคาได้ แต่ในกรณีที่ดินขาดผู้ซื้อสามารถขอให้ผู้ขายลดราคาได้ ดังนี้

กรณีที่ 1 ถ้าหากขาดหรือเกินจำนวนพื้นที่ในสัญญาเกินกว่าร้อยละห้าของที่ดินทั้งหมด ผู้ซื้อจะไม่ซื้อหรือขอให้ลดราคาลงตามส่วนได้ ถ้าบอกปัดไม่ซื้อผู้ขายจะต้องคืนเงินให้ หากจดทะเบียนโอนแล้วก็โอนคืน หากผู้ซื้อจะซื้อยังมีสิทธิขอให้ลดราคาตามส่วนได้

กรณีที่ 2 ที่ดินที่ขาดหรือเกินนั้น หากผู้ซื้อทราบก่อน จะมิได้ทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งมิได้จำกัดว่าจะเกินกว่าร้อยละห้าหรือไม่ โดยถือเจตนาการใช้ประโยชน์ของผู้ซื้อเป็นสำคัญว่าถ้ารู้ก่อนจะไม่ซื้อ อายุความในกรณีที่ดินขาดหรือเกินนี้ 1 ปี นับแต่วันส่งมอบ

ซื้อบ้านแล้วได้บ้านแน่ หากนำหลักการทั้ง 8 ประการนี้ไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด





Create Date : 26 สิงหาคม 2551
Last Update : 26 สิงหาคม 2551 15:30:12 น. 0 comments
Counter : 651 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

inspection
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add inspection's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.