เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (Museum of Contemporary Art : MOCA)




วันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมาเรามีโอกาสไปเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (Museum of Contemporary Art : MOCA) มาค่ะ หลังจากเล็งมานานค่ะ พิพิธภัณฑ์เป็นของคุณบุญชัย เบญจรงคกุล โดยเหตุผลหลักที่ทำให้คุณบุญชัยเปิดพิพิธภัณฑ์ฯ คือเพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเพื่อเชิดชูเกียรติของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี “บิดาแห่งศิลปะไทยร่วมสมัย”ค่ะ และเราขออนุญาตเก็บภาพบางส่วนโดยเน้นบรรยากาศของสองสาวในการเข้าชม ซึ่งรูปภาพอาจไม่ชัดเจน หากทำให้เสียอรรถรสของการชมงานศิลป์ ต้องขออภัยมาไว้ ณ ที่นี้ค่ะ

(พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมวันอังคาร – วันศุกร์ เวลา 10.00-17.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 11.00-18.00 น. ปิดวันจันทร์ค่ะ ท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ฯ สถานที่ตั้ง และอัตราการเข้าชมได้ที่เวป mocabangkok)








ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยได้แนวความคิดมาจากการนำหินทั้งก้อนมาแกะสลักอย่างประณีตบรรจงเป็นลายก้านมะลิ อันแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ในขณะเดียวกันลายฉลุเหล่านี้ นอกจากจะทำให้แสงธรรมชาติสามารถส่องลงมาในอาคารได้แล้ว แสงที่ส่องลงมาในช่วงเวลาและฤดูกาลที่แตกต่างกันยังให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไปด้วย ภายในแบ่งออกเป็น 5 ชั้น ด้วยกัน

(คัดลอกข้อมูลจากเวป //www.tpa.or.th/ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ)









สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555











รูปหล่ออาจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย






เริ่มกันที่ชั้น G ค่ะ



ชั้น G ประกอบด้วยห้องแสดง นิทรรศการ 4 ห้อง ซึ่งจัดเป็นห้องสำหรับนิทรรศการหมุนเวียน 2 ห้อง และอีก 2 ห้องเป็นนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) 2 ท่าน คือ อาจารย์ไพฑรูย์ เมืองสมบูรณ์ และศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ







ห้องจัดแสดงผลงานประติมากรรมของอาจารย์ไพฑรูย์ เมืองสมบูรณ์ ซึ่งผลงานของท่านได้เปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของงานประติมากรรมไทยครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์จากแนวอุดมคติสู่รูปแบบสากล โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นเบ้าหลอมสำคัญ ความโดดเด่นอยู่ที่ความงดงามและสัมพันธ์กันของส่วนประกอบ ทำให้ผลงานมีความบริสุทธิ์ นุ่มนวล เสมือนมีชีวิตจริง










ห้องจัดแสดงผลงานของศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอทั้งงานประติมากรรมชิ้นเอก และงานจิตรกรรมซึ่งแสดงอัตลักษณ์ของศิลปะไทยร่วมสมัย อันมีรากฐานจากอารยธรรมมากว่า 1,000 ปี เนื้อหาสำคัญในผลงานของท่านมีความหมายเชิงสัญลักษณื ในแนวพระพุทธศาสนารวมถึงวิถีชีวิตไทยท่านบอกว่างานศิลปะที่ท่านทำนั้นมีแนวโน้มไปในทางที่ดีงาม สงบ อบอุ่น และบริสุทธิ์









ห้องนิทรรศการหมุนเวียน จัดแสดงนิทรรศการ "Thai Neotraditional Art " ถึงวันที่ 26 เมษายน ศกนี้



ผลงานภาพวาดฝีมืออาจารย์ 'เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์' ตั้งแต่ปี 2524 ที่แม้ใช้เทคนิคต่างกันทั้งดินสอ สีน้ำ สีฝุ่น และสีอะคริลิก แต่ยังคงเอกลักษณ์ศิลปะไทยร่วมสมัยได้อย่างงดงาม โดยอาจารย์เฉลิมชัยเป็นหนึ่งในศิลปินรุ่นใหม่ที่อาสาไปสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังที่วัดพุทธปทีป ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตั้งแต่ปี 2527 ซึ่งศิลปินเกือบ 30 ชีวิตได้สั่งสมประสบการณ์กว่า 3 ปี และนำมาพัฒนาศิลปะไทยให้สากล จนเกิดเป็นศิลปะแนวใหม่ 'ไทยประเพณีร่วมสมัย' โดยล่าสุดได้มีการรวบรวมผลงานของ 6 ศิลปินที่ร่วมไปพุทธปทีปทั้งเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ปัญญา วิจินธนสาร เริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล สมภพ บุตราช ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ และอลงกรณ์ หล่อวัฒนา มาจัดแสดงในนิทรรศการ ‘Thai Neotraditional Art"

(คัดลอกข้อมูลจากหน้าเพจเฟซบุ๊ค MOCA Museum of Contemporary Art ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ)






ชุด "นางสงกรานต์" ภาพเขียนของ สมภพ บุตราช










ร้านกาแฟ เบเกอรี่ และร้านจำหน่ายหนังสือศิลปะและของที่ระลึกค่ะ







ขึ้นบันไดเลื่อนไปชั้น 2 กันต่อค่ะ





ป็นการจัดแสดงความหลากหลายในปัจเจกภาพทางความคิดของศิลปะไทยร่วมสมัย อาทิ ผลงานสื่อผสมของ กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรมและสื่อผสม) และผลงานประติมากรรม ซึ่งนำเสนอเรื่องราววิถีชีวิตแบบมีสุนทรียภาพของคนไทย โดย เขียน ยิ้มศิริ ในส่วนของห้องนิทรรศการผลงานส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับความเชื่อของคนไทย ค่านิยมในสังคมด้วยบริบทของความร่วมสมัย อาทิผลงานของศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ ปรีชา ปั้นกล่ำ ทวี รัชนีกร รวมถึงงานจิตรกรรมเชิงพุทธปรัชญา โดยพิชัย นิรันดร์ ปรีชา เถาทอง เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เป็นต้น















ขอคั่นด้วยม้านั่งเก๋ ๆ ที่มีอยู่ในห้องแสดงทุกชั้นค่ะ






ขึ้นบันไดเลื่อนไปชั้น 3 กันต่อค่ะ


ชั้นนี้เน้นศิลปะเชิงความคิดฝันและจินตนาการภายใต้คติความเชื่อของคนไทย โดย สมภพ บุตราช ช่วงมูลพินิจ ผ่านภาพเรือนร่างของผู้หญิงในอุดมคติ ภาพ“ตํานานวังหน้า” เป็นภาพการแต่งกายเพื่อเตรียมร่ายรำด้วยชุดที่วิจิตรตระการตาของหญิงสาว โดยเริงศักดิ์ บุณยวาณิชย์กุล และภาพ“นางผมหอม” นางในวรรณคดีจากศิลปินไทยคนสำคัญ สุภร พรินทรากุล ส่วนเรื่องการแสดงออกด้านสัญชาตญาณนั้นถูกถ่ายทอดออกมาอย่างไร้ขีดจำกัด โดย สมพง อดุลย์สารพันธ์ และ ประทีป คชบัว นอกจากนี้ยังมีเรือนไทยไม้สักซึ่งจัดแสดงงานจิตรกรรมสองยุคสมัยที่เล่าเรื่องราวของนางพิมพิลาไลย สตรีจากวรรณกรรมไทย ที่ถูกกล่าวขานใน 2 บริบท ผ่านเรื่อง “ขุนช้าง-ขุนแผน” ใน 2 รูปแบบ ที่แตกต่างกัน โดย เหม เวชกร และสุขี สมเงิน








นางผมหอม ลูกพญาช้างสารค่ะ









เรือนนางพิม














ขึ้นบันไดเลื่อนไปชั้น 4 กันต่อค่ะ



เป็นชั้นที่แสดงผลงานที่ถือว่าเป็นสุดยอดแห่งมหากาพย์ของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ของศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) อีกท่านหนึ่ง คือ ถวัลย์ ดัชนี ปราชญ์ผู้เป็นตำนานแห่งวงการศิลปะไทยร่วมสมัย ทั้งสุดยอดผลงานวาดเส้น และผลงานที่แสดงออกถึงพลังการเคลื่อนไหวของอารมณ์ นอกจากนี้ยังมีผลงานของศิลปินแห่งชาติ ที่หาชมได้ยากยิ่ง อาทิ ทวี นันทขว้าง เฟื้อ หริพิทักษ์ จักรพันธุ์ โปษยกฤต เป็นต้น และเมื่อเดินทะลุสะพานข้ามจักรวาล จะได้ผลกับ 3 ภาพในชุด ไตรภูมิ ซึ่งบอกเล่าการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ในสังสารวัฏตามคติความเชื่อในทางพุทธศาสนา โดย สมภพ บุตราช ปัญญา วิจินธนสาร และประทีป คชบัว










ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน































ชีวิตและผลงานทรงพลังของ ถวัลย์ ดัชนี










เดินทางข้ามจักรวาลกันค่ะ











ไตรภูมิ








ขึ้นบันไดเลื่อนไปชั้น 5 กันต่อค่ะ


ชั้นนี้ได้รวบรวมงานศิลปะร่วมสมัยจากหลายประเทศ เช่น จีน เวียดนาม มาเลเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ออสเตรเลีย นอร์เวย์ และห้องที่โดดเด่นที่สุด คือ ห้อง Richard Green ซึ่งจำลองห้องนิทรรศการจากพิพิธภัณฑ์ในแถบยุโรป ที่มีหลังคากระจกโค้งรับแสงธรรมชาติ โดยจัดแสดงผลงานจิตรกรรมจากศิลปินยุโรปฝีมืออันดับต้น ๆ ในยุคพระนางเจ้าวิคตอเรียซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 เช่น Sir Lawrence alma Tedema และ John William Godward ผลงานทุกชิ้นถูกดูแลรักษาอย่างดี ผลงานบางชิ้นมีอายุเกือบ 300 ปี จึงห้ามถ่ายรูปในห้องนี้ค่ะ



(คัดลอกข้อมูลจากเวป //www.tpa.or.th/ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ)









ผลงานภาพพิมพ์ของอาจารย์ประหยัด คงดำ









ภาพความรักของแม่ (Maternal love,1885, oil on canvas, Emile Munier)

ในห้อง Richard Green



(คัดลอกภาพจากหน้าเพจเฟซบุ๊ค MOCA Museum of Contemporary Art และข้อมูลจากเพจรักบ้านเกิด ขอขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ)









ขอจบด้วยภาพนี้ค่ะ
เป็นความบังเอิญไม่ได้จัดฉากเลยค่ะ



ต้องขอขอบคุณเจ้าสัวบุญชัยที่เห็นคุณค่าและสนับสนุนศิลปะไทย ทำให้ประชาชนและเยาวชนไทยมีโอกาสได้ชื่นชมการสร้างสรรค์งานศิลปะ พร้อมทั้งได้เรียนรู้จากแรงบันดาลใจและผลงานของศิลปินแต่ละท่านที่ล้วนแต่เยี่ยมยอด


ขอขอบคุณ bg สวย ๆ จากคุณยายกุ๊กไก่ค่ะ



Create Date : 15 เมษายน 2558
Last Update : 15 เมษายน 2558 0:37:05 น. 4 comments
Counter : 3160 Pageviews.

 
2สาวได้ชมงานศิลปะ เพลินเลยคะ ไว้ขอตามรอยไปบ้างนะคะ


โดย: 3K-guy วันที่: 15 เมษายน 2558 เวลา:19:20:27 น.  

 
ค่ะเพลินจริง ๆ ค่ะ เหนื่อยก็มีที่นั่งพักสวย ๆ หิวก็มีร่านเครื่องดื่มและเบเกอรี่


โดย: chinging วันที่: 15 เมษายน 2558 เวลา:20:42:20 น.  

 
ภาพสุดท้ายชื่อภาพอะไรอ่ะคะ


โดย: Ap IP: 58.8.74.12 วันที่: 25 มีนาคม 2559 เวลา:9:33:39 น.  

 
พี่กับน้อง ค่ะ


โดย: chinging วันที่: 28 มีนาคม 2559 เวลา:11:33:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

chinging
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]








INVITING THE BELL TO SOUND


Body, speech, and mind in perfect oneness-
I send my heart along with the sound of the bell,
May the hearers awaken from forgetfulness
and transcend all anxiety and sorrow.


HEARING THE BELL


Listen, listen,
this wonderful sound
bring me back
to my true self.


THICH NHAT HANH






9 Latest Blogs
ขอขอบคุณ คุณSevenDaffodils
ในคำแนะนำวิธีการทำ Latest Blogs ค่ะ



New Comments
Group Blog
 
<<
เมษายน 2558
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
15 เมษายน 2558
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add chinging's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.