Group Blog
 
 
ตุลาคม 2548
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
13 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 

ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์

อันนี้เป็นบทความที่อยู่ในเว็บของผมนะครับ เอามาลงไว้ที่นี่ด้วย รูปภาพยังไม่ได้ใส่นะครับ แต่อีกเดี๋ยวจะใส่ให้ครับ


ประวัติย่อของภาพยนตร์ ช่วงก่อนปี 1920

คุณรู้หรือไม่ว่าภาพยนตร์ที่เราดูกันอยู่ทุกวันนี้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อราวหนึ่งร้อยปีกว่าๆเท่านั้นเอง แต่ก็ใช่ว่าภาพยนตร์จะผุดออกมาจากอากาศธาตุได้เองเสียเมื่อไหร่ เพราะก่อนที่ภาพยนตร์จะเป็นรูปเป็นร่างได้ก็ต้องผ่านการสั่งสมเทคโนโลยีในการที่จะก่อให้เกิดภาพเคลื่อนไหวได้เสียก่อน
 ในบทแรกของ ประวัติย่อของภาพยนตร์นี้เราจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยีเหล่านั้นกัน

ของเล่นที่ต้องใช้ตาส่องดูภาพภายใน (Optical toys), การเล่นเงา รวมถึง magic lanterns นั้นมีมานานเป็นพันๆปีแล้ว และเหล่านักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายก็ได้พยายามศึกษาถึงการนำภาพนิ่งต่อเนื่องหลายๆภาพมาเปลี่ยนให้เป็นภาพเคลื่อนไหวโดยใช้หลักการของ “ภาพติดตา” (Persistence of vision) ซึ่งบรรดาสิ่งประ ดิษฐ์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาพเคลื่อนไหวนั้นถูกพัฒนาขึ้นในราวต้นศตวรรษที่19 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอุตสาหกรรมภาพยนตร์นั่นเอง

และเหล่านี้คือสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกๆที่มีส่วนช่วยให้ภาพยนตร์ลืมตาขึ้นมาดูโลกได้

- Magic lanterns รุ่นแรกๆถูกประดิษฐ์ขึ้นที่กรุงโรมในช่วงศตวรรษที่ 17 โดย Athanasius Kircher โดยจะใช้เลนส์เป็นตัวนำภาพให้ปรากฏบนฉาก โดยใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบง่ายๆเช่นเทียน

- 1842 มีการประดิษฐ์ Thaumatrope ซึ่งเป็นการนำหลักการของภาพติดตามาใช้ โดย Dr. John Ayrton (จากภาพเมื่อทำการหมุนเหรียญเร็วๆกลับไปกลับมา จะเห็นเป็นภาพหมาวิ่งไล่นก)

- 1831 Michael Faraday นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นพบหลักการของไฟฟ้าแม่เหล็ก (law of electromagnetic induction) ซึ่งต่อมาถูกนำไปใช้สร้าง มอเตอร์ เครื่องจักรต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ถ่ายภาพยนตร์ด้วย

- 1832 มีการประดิษฐ์ Fantascope โดยนักประดิษฐ์นาม Joseph Plateau ซึ่งใช้หลักการจำลองการเคลื่อนไหวจากภาพนิ่งหลายๆภาพซึ่งแสดงภาพต่อเนื่องของกิจกรรมต่างๆ เช่นการวิ่ง หรือการเต้นรำ โดยจะนำรูปเหล่านี้มาติดไว้ใน perimeter หรือติดไว้กับขอบของ สล็อทดิสก์ จากนั้นก็จะนำดิสก์นั้นมาวางไว้หน้ากระจกและหมุนดิสก์ก็จะสามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะเคลื่อนไหวได้จากการมองผ่านช่องสล็อท

- 1834 มีการประดิษฐ์ Daedalum โดยนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ William George Horner (ต่อมาในปี 1867 ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Zoetrope โดย William Lincoln)

ด้านในของทรงกระบอกจะเป็นรูปนิ่งต่อเนื่องกันเมื่อหมุนทรงกระบอกและมองผ่านช่องก็จะเห็นภาพเคลื่อนไหวได้

- 1839 กำเนิดการถ่ายภาพ โดยใช้หลักการจับภาพนิ่งลงบนแผ่นเงินหรือทองแดง โดยนักประดิษฐ์และจิตกรชาวฝรั่งเศส Louis-Jacques-Mande Daguerre

- 1841 กรรมวิธีการพรินท์ภาพเน็กกาทีฟลงบนกระดาษคุณภาพสูง (calotype หรือ Talbotype) ถูกคิดค้นขึ้นโดยนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ William Henry Fox Talbot

- 1869 การพัฒนา celluloid โดย John Wesley Hyatt ซึ่งต่อมาเทคโนโลยีนี้ก็ได้เป็นพื้นฐานของการถ่ายภาพยนตร์

- 1877 มีการประดิษฐ์ Praxinoscope โดยนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส Charles Emile Reynaud ซึ่งเป็นการนำ Zoetrope มาทำการปรับปรุงพัฒนา

- 1879 Thomas Alva Edison คิดค้น incandescent light bulb ซึ่งต่อมาถูกใช้ในการสร้างเครื่องฉายภาพยนตร์

การทดลองและสิ่งประดิษฐ์ตอนปลายศตวรรษที่ 19 : Muybridge, Marey, and Eastman

 Eadweard Muybridge (1830-1904) นักประดิษฐ์และช่างภาพ ซึ่งโด่งดังจากการศึกษาทดลองถ่ายภาพการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต โดยในปี1870 ณ สนามม้า เมืองสคราเมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย เขาได้ใช้กล้อง 12 ตัวตั้งเรียงด้วยระยะห่างเท่ากันตามเส้นทางวิ่งของม้าเพื่อจับภาพขณะที่ม้ากำลังวิ่ง เพื่อพิสูจน์ว่ามีจังหวะหนึ่งของการวิ่งที่ขาของม้าลอยจากพื้นหมดทั้งสี่ข้าง และต่อมาในปี 1877-1878 เขาก็ได้ทำการทดลองซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยคราวนี้เขาใช้กล้องทั้งหมด 24 ตัวด้วยกัน
ภาพของ Muybridge นี้นิยมนำมาใช้ในเครื่อง Praxinoscope ซึ่งถือกันว่าเป็นเครื่องฉายภาพยนตร์เครื่องแรกที่สามารถฉายภาพเคลื่อนไหวลงบนฉากได้ ในปี 1879 Muybridge ได้ทำการประดิษฐ์เครื่อง Zoopraxiscope (zoogyroscope)

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น Etienne-Jules Marey ก็ได้ทำการศึกษาทดลองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย (สัตว์) ในปี 1882 Marey ได้ทำการประดิษฐ์กล้อง chronophotographs ซึ่งสามารถถ่ายภาพการเคลื่อนไหวของคนหรือสัตว์ได้ถึง 12 ภาพต่อวินาที

นอกจากนี้ผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อการถ่ายภาพเคลื่อนไหวในยุคแรกๆอีกคนหนึ่งก็คือ Louis Le Prince (1888) ชาวฝรั่งเศส (หนึ่งในสองผลงานของเขาที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันคือ Traffic Crossing Leeds Bridge) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันนาม George Eastman ได้ประดิษฐ์ฟิล์มแซลลูลอยซึ่งมีความเสถียรมากขึ้นในปี 1888 โดยเป็นฟิล์มในรูปแบบม้วน (roll film) แทนที่แบบเดิมซึ่งเป็นแบบ glass plates รวมถึง"Kodak" small box camera ซึ่งเป็นกล้องที่ใช้ roll film ในการถ่ายภาพและก็ได้ทำการพัฒนา roll film ต่อจนกลายมาเป็น celluloid roll-film

กำเนิดภาพยนตร์

ปลายทศวรรษที่ 1880 Thomas Alva Edison (1847-1931) (และเหล่าผู้ช่วยชาวอังกฤษของเขา William Kennedy Laurie Dickson) ได้ทำการทดลอง ณ ห้องแล็ปของเอดิสันที่ นิว เจอร์ซี โดยทำการศึกษาต่อยอดจากงานของ Muybridge, Marey, and Eastman โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างอุปกรณ์สำหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหวลงบนฟิล์ม และอุปกรณ์ในการฉายภาพเคลื่อนไหวจากฟิล์ม ซึ่งในงานนี้นั้นผู้ที่สมควรได้เครดิตที่สุดก็คือ Dickson (1860-1935) ส่วนเอดิสันนั้นเพียงแต่ช่วยสนับสนุนในด้านโปรแกรมการวิจัยและห้องแล็ปในการทำงานเท่านั้น

ผลิตผลแรกที่ได้จากการวิจัยก็คือ Kinetophonograph (หรือ Kinetophone) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ฉายภาพยนตร์แบบมีเสียง (ซึ่งออกมาจากหีบเสียง) ได้ โดยเครื่องฉายนั้นจะถูกเชื่อมอยู่กับหีบเสียงโดยใช้สายพาน แต่ผลที่ได้ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนักในด้านความแม่นยำถูกต้องของเสียงและภาพ และถึงแม้ว่าผู้ที่ได้เครดิตว่าเป็นผู้พัฒนากล้อง และเครื่องฉายภาพยนตร์ยุคแรก แต่ผู้ที่สร้างเครื่องถ่ายภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า Kinetograph ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นสำคัญต่อวงการภาพยนตร์ในทศวรรษที่ 1890s ก็คือ Dickson นั่นเอง

จุดเด่นของ Kinetograph คือเป็นกล้องที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการถ่ายภาพซึ่งจะเป็นการทำงานประสาน กันระหว่างชัตเตอร์และล้อเฟืองในการเลื่อนฟิล์มขนาด 35 mm เครื่องนี้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือน ตุลาคม 1892 นั้นเป็นการสร้างมาตรฐานของกล้องถ่ายภาพยนตร์ซึ่งยังคงใช้อยู่จนปัจจุบัน แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเท่าใดนักเนื่องจากความหนักและขนาดอันเทอะทะของเครื่อง

นอกจากนั้นในปี 1891 Dickson ยังได้ทำการออกแบบเครื่องฉายภาพยนตร์ Kinetoscope โดยปรับปรุงจากเครื่อง Zoetrope ดิคสันได้ทดลองฉายหนังเรื่องแรกของเขาคือเรื่อง Monkeyshines ซึ่งเป็นการถ่ายภาพการเคลื่อนไหวของผู้ช่วยในห้องแล็ปที่ชื่อ Sacco Albanese โดยฉาย ณ ห้องแล็ปของเอดิสันในช่วงกลางปี 1891 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในการฉายภาพยนตร์โดยใช้เครื่อง Kinetoscope

การจะดูภาพยนตร์จากเครื่อง Kinetoscope นี้นั้นจะต้องใช้การยืนดูและในแต่ละครั้งจะดูได้เพียงคนเดียว (ตามภาพ) เครื่องนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงตามงานมหรสพและงานแสดงโชว์ต่างๆ แต่ในเวลาต่อมาความนิยมของกล้อง Kinetographและเครื่องฉาย Kinetoscope ก็เริ่มลดลงไปเนื่องจากการเข้ามาแทนที่ของเทคโนโลยีใหม่ๆซึ่งสามารถฉายภาพยนตร์สำหรับดูได้ครั้งละหลายๆคน

ในปี 1893 สตูดิโอผลิตภาพยนตร์แห่งแรกก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในชื่อ Black Maria ซึ่งถูกสร้างขึ้นในบริเวณพื้นที่ของแล็ปทดลองของเอดิสันโดยมีจุดประสงค์เพื่อผลิตภาพยนตร์สำหรับฉายโดยเครื่อง Kinetoscope

ต้นเดือน พฤษภาคม ปี 1893 ณ สถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์เมืองบรู๊คลิน เอดิสันได้ทำการจัดฉายภาพยนตร์ซึ่งถ่ายโดยเครื่อง Kinetograph ของสตูดิโอ Black Maria โดยเครื่องฉาย Kinetoscope สู่สายตาชาวโลกเป็นครั้งแรก โดยภาพยนตร์เป็นเรื่องราวของชายสามคนแสดงเป็นช่างตีเหล็ก

 วันเสาร์ที่ 14 เมษายน 1894 เครื่อง Kinetoscope ก็ได้ย่างก้าวแรกเข้าสู่วงการธุรกิจ โดยเปิดฉายภาพยนตร์แบบเก็บเงิน ณ อาคารเลขที่ 155 บอร์ดเวย์ นิวยอร์ก โดยเก็บเงินผู้เข้าชมคนละ 25 เซ็น และมีผู้สนใจเข้าชมเกือบ 500 คน โดยภาพยนตร์ที่ฉาย ได้แก่ Barber Shop, Blacksmiths, Cock Fight, Wrestling และ Trapeze เป็นต้น เมื่อได้รับความนิยมจึงมีการเปิดฉาย ณ เมืองอื่นๆอีกเช่น ชิคาโก และซาน ฟรานซิสโก

ต่อมาในปี 1895 ดิกสันก็ได้แยกไปเปิดบริษัทของตนเองขึ้นโดยใช้ชื่อว่า American Mutoscope Company

พี่น้องลูมิแยร์ (The Lumiere Brothers)

พี่น้องลูมิแยร์ ออร์กัส และหลุย เป็นชาวฝรั่งเศส พวกเขาทำงานอยู่ ณ Lyons factory ซึ่งเป็นโรงงานผลิตอุปกรณ์ในการถ่ายภาพ พวกเขาได้สร้างอุปกรณ์ซึ่งเป็นการรวมกันของกล้องถ่ายภาพยนตร์และเครื่องฉายภาพยนตร์เข้าด้วยกัน โดยจุดเด่นคือมีน้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายได้สะดวดและสามารถถือด้วยมือได้และสามารถฉายภาพที่ถ่ายมานั้นได้ด้วย เครื่องนี้มีชื่อว่า Cinematographe และพวกเขาได้ทำการจดสิทธิบัตรในเดือนกุมภาพันธ์ 1895 ข้อดีของเครื่องนี้คือสามารถฉากภาพยนตร์ให้แก่ผู้ชมชมได้ครั้งละหลายคน (เครื่อง Kinetoscope ชมได้ครั้งละคนเท่านั้น) เครื่องนี้ใช้ฟิล์มขนาด 35 mm และฉายภาพด้วยอัตราเร็ว 16 เฟรมต่อวินาที

การทดลองฉายภาพยนตร์สู่สายตาสาธารณชนโดยเครื่อง Cinematographe นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในเดือนมีนาคม 1895 โดยภาพยนตร์ที่ฉายคือ Workers Leaving the Lumiere Factory (La Sortie des Ouviers de L'Usine Lumiere a Lyon) ถึงแม้ว่าเรื่องราวในภาพยนตร์จะเป็นการนำเสนอเหตุการณ์ปกติประจำวันของพนักงานในโรงงานเช่น พนักงานเดินออกจากประตูเพื่อกลับบ้าน หรือการหยุดพักเที่ยง แต่มันก็สร้างความตื่นเต้นให้แก่ผู้เข้าชมได้ไม่น้อยเลย

คำว่า Cinema (มาจากคำว่า Cinematographe) เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ปารีสเมื่อ 28 ธันวาคม 1895 (ส่วนคำแรกที่ใช้เรียกภาพยนตร์คือคำว่า "ไบโอสโคป" ส่วนภาษาอังกฤษสะกดอย่างไรนั้น เอาไว้จะไปค้นมาให้ครับ--ผู้เรียบเรียง) พี่น้องลูมิแยร์เปิดฉายภาพยนตร์แบบเก็บเงินค่าชมในโรงภาพยนตร์เป็นครั้งแรกที่ Salon Indien โรงภาพยนตร์ ณ Grand Cafe ใน Boulevard des Capucines โดยโปรแกรมการฉายประกอบด้วยภาพยนตร์สั้นสิบเรื่อง ความยาวรวม 20 นาที และจัดฉายวันละ 20 รอบ

Georges Melies: French Cinematic Magician

จอร์จ เมเลียส (ผมไม่แน่ใจว่าอ่านชื่อเขาถูกหรือไม่) นักสร้างภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส ได้พัฒนาแนวทางของภาพยนตร์สู่รูปแบบที่เป็นแฟนตาซี จอร์จได้ทำการพัฒนากล้องถ่ายภาพยนตร์ของตนเอง และก่อตั้งสตูดิโอภาพยนตร์ขึ้นเป็นแห่งแรกในทวีปยุโรปในปี 1897 ตลอดการทำงาน 15 ปีของเขา จอร์จสร้างภาพยนตร์กว่า 500 เรื่อง โดยทำการจัดฉายในโรงภาพยนตร์ของตนเอง จนกระทั่งปี 1911 จึงได้ทำสัญญากับบริษัทภาพยนตร์ในฝรั่งเศสเพื่อให้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ของเขา จอร์จออกจากธุรกิจภาพยนตร์ในปี 1913

รูปภาพข้างบนนี้เป็นฉากหนึ่งที่โด่งดังมากจากภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เรื่อง Le Voyage Dans la Lune - A Trip to the Moon (1902) ซึ่งมีการใช้สเปเชี่ยลเอฟเฟคในการสร้างภาพเหนือจริง ภาพยนตร์ของจอร์จ เมเลียสนั้นค่อนข้างเป็นการบุกเบิกสิ่งใหม่ๆในการสร้างภาพยนตร์ทั้งการเล่าเรื่อง การพัฒนาตัวละคร ความเป็นแฟนตาซี การใช้เทคนิคด้านภาพ , hand-tinting, dissolves, wipes ,trick sets, stop motion, slow-motion และ fade-outs/fade-ins แต่อย่างไรก็ตามลักษณะการถ่ายภาพของเขานั้นก็ยังเป็นแบบตั้งกล้องถ่ายอยู่เพียงตำแหน่งเดียว หรือไม่มีการเปลี่ยนมุมภาพนั่นเอง

อเมริกา (Further US Development)

ในอเมริการนั้นมีการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างมากในช่วงปลายศตวรรษ 1800 ถึงต้นศตวรรษ 1900 โดยมีบริษัทชั้นนำที่เป็นผู้ควบคุมทิศทางของอุตสาหกรรมผลิตภาพยนตร์อยู่ 3 บริษัทด้วยกันคือ

- Edison Company ซึ่งทำการสร้างภาพยนตร์ด้วยเครื่อง Kinetoscope ในปี 1981

- American Mutoscope Company ซึ่งก่อตั้งในปี 1985 ที่นิวยอร์ค โดย William K. L. Dickson , Herman Caster, Harry Marvin และ Elias Koopman โดยเริ่มต้นด้วยเครื่อง Mutoscope

- American Vitagraph Company  ก่อตั้งในปี 1896 โดย J. Stuart Blackton และ Albert E. Smith โดยสร้างภาพยนตร์เรื่องแรกชื่อ The Burglar on the Roof ออกฉายในปี 1897

เอ็ดวิน เอส พอเตอร์ (Edwin S. Porter) - the "Father of the Story Film"

"Moving pictures" (ในบทความต้นฉบับเขาใช้คำนี้ ผมเดาว่านี่อาจเป็นชื่อที่ใช้เรียกภาพยนตร์ในช่วงนั้นก็ได้ -แต่ไม่แน่ใจนะครับ) นั้นพัฒนาจนมีความยาวมากขึ้น มีการเล่าเรื่องที่ลื่นไหลต่อเนื่องมากขึ้น รวมถึงมีการตัดต่อ (edit) เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก

พอเตอร์นั้นทำงานอยู่ที่ เอดิสัน คอมพานี ในช่วงต้นศตวรรษ 1900 ซึ่งในช่วงนั้นเขาได้ทดลองทำหนังให้มีระยะเวลามากขึ้นกว่าที่นิยมกันอยู่ และได้รับมอบหมายให้กำกับสารคดี (หรือที่เรียกกันว่า realistic narrative film) เรื่องแรกของอเมริกาคือเรื่อง The Life of an American Fireman (1903) ซึ่งมีความยาว 6 นาที โดยใช้เทคนิคการตัดต่อภาพภายนอกและภายในของบ้านที่เกิดไฟไหม้ด้วย

ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่องและการตัดต่อ พอเตอร์จึงสร้างภาพยนตร์ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลเป็นอย่างมากในการนำเรื่องราวจากหนังสือขึ้นสู่แผ่นฟิล์ม นั่นคือภาพยนตร์ความยาว 10 นาที เรื่อง The Great Train Robbery (1903) ภาพยนตร์เรื่องนี้มีผลกระทบในด้านต่างๆดังนี้

- มันเป็นภาพยนตร์ตะวันตก (Western อาจแปลว่าหนังคาวบอยก็ได้แต่ในที่นี้ขอใช้คำว่าหนังตะวันตก) เรื่องแรกที่มีเรื่องราว และเป็นต้นแบบของ western cliches เช่นการชักปืนยิงกัน การปล้น การไล่ล่าบนหลังม้า ซึ่งต่อมาถูกนำมาใช้กันในหนังแนวนี้อย่างแพร่หลาย

- มีการตัดต่อที่ทันสมัย เช่นตัดสลับระหว่างเหตุการณ์สองเหตุการณ์ (parallel action) ไม่มีการใช้ fades หรือ dissolves ระหว่างฉาก (อันตัวข้าพเจ้าก็ไม่ถนัดด้านเทคนิคเท่าไหร่ ถ้าแปลหรือเข้าใจผิดพลาดก็ขออภัย เอาไว้มีเวลาจะเขียนเรื่องเทคนิคการถ่ายทำภาพยนตร์ให้อ่านกัน จะได้เป็นความรู้สู่ตัวข้าพเจ้าไม่ให้ต้องปล่อยไก่บ่อยเกินไปนัก)

- มันเป็นหนังตะวันตกแบบแท้ๆเรื่องแรก แต่ไม่ใช่หนังตะวันตกเรื่องแรก งงมะ ผมก็งง (หนังตะวันตกเรื่องแรกคือ Cripple Creek Bar-Room Scene (1899) ของเอดิสัน)

- มันเป็นหนังฮิตเรื่องแรก ซึ่งเป็นต้นเหตุในการชักจูงปีศาจที่มีนามว่า ธุรกิจ เข้ามาสิงสู่อยู่ในศิลปะที่ชื่อภาพยนตร์

- มันเป็นจุดกำเนิดของฮีโร่คนหนึ่ง ชื่อ Gilbert M. Anderson (aka "Broncho Billy")

  Nickelodeons: การขยายตัวของภาพยนตร์

ในช่วงต้นศตวรรษ 1900s ภาพยนตร์ก็ได้กลายมาเป็นสิ่งบันเทิงราคาถูกสำหรับคนส่วนใหญ่ ผู้ที่ต้องการดูภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงในตอนเย็นหลังเลิกงาน บรรดา Kinetoscope parlors , lecture halls, และ storefront บ่อยครั้งจะถูกปรับสภาพให้กลายมาเป็น Nickelodeons หรือโรงภาพยนตร์จริงๆ ที่มีการเก็บค่าเข้าดูเพียง nickel เดียว (ซึ่งนี่เป็นที่มาของคำว่า Nickelodeons) โดยทั่วไปจะมีการเปิดฉายตั้งแต่เช้าตรู่จนถึงเที่ยงคืน

Nickelodeons แห่งแรกอยู่ที่ Pittsburgh ก่อตั้งโดย Harry Davis ในเดือน มิถุนายน 1905 โดยการเปิดฉายภาพยนตร์เรื่อง The Great Train Robbery ผู้คนต่างชื่นชอบความบันเทิงราคาถูกนี้เป็นอย่างมาก การฉายภาพยนตร์นั้นเป็นการฉายประกอบเสียงดนตรี เช่น เปียโน , sing-along songs , การบรรยายประกอบ , 'magic lantern' slide shows ปริมาณความต้องการชมภาพยนตร์เพิ่มมากขึ้นทำให้ผู้สร้างต่างพากันสร้างภาพยนตร์ออกมาเป็นจำนวนมากและก็ได้กำไรกันอย่างมากมาย

ในช่วงนั้นก็ปรากฏว่ามีนักวิจารณ์ภาพยนตร์ที่เขียนลงในหนังสือพิมพ์ออกมาวิพากษ์ถึงผลกระทบของภาพยนตร์ต่อสังคม ทั้งความรุนแรง เรื่องผิดศีลธรรม อาชญากรรม ดังนั้น การเซ็นเซอร์ (censorship) จึงเกิดขึ้นมา จากนั้น Nickelodeons ก็ได้พัฒนากลายเป็น movie palaces คือดูหรูหรามากขึ้นมีสถานที่ตั้งอยู่บริเวณตัวเมือง โดยประมาณแล้วมี movie palaces อยู่ถึง 10,000 แห่ง

กำเนิดภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก : The First Feature Films

ในช่วงแรกๆนั้นทางผู้ผลิตมีความกังวลว่าผู้ชมอาจไม่สามารถทนดูภาพยนตร์ที่มีความยาวมากได้ ดังนั้นภาพยนตร์ขนาดยาว (60-90นาที) ในอเมริกาจึงเกิดขึ้นค่อนข้างช้า ตามข้อมูลที่มีอยู่ภาพยนตร์ขนาดยาวที่สร้างเพื่อการค้าเรื่องแรกคือ The Story of the Kelly Gang (1906, Australia) โดยมีความยาวอยู่ที่ 60-70 นาที (ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างใหม่หลายครั้ง ล่าสุดคือภาพยนตร์ในชื่อ Ned Kelly (2003) แสดงโดย Heath Ledger, Orlando Bloom, Geoffrey Rush และ Naomi Watts) ออสเตรเลียเป็นประเทศเดียวที่มีการสร้างภาพยนตร์ขนาดยาวอย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาก่อนปี 1911

ภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกนั้นเป็นการนำ The Unwritten Law (1907) ภาพยนตร์ขนาดสั้นของ Sigmund Lubin มาสร้างใหม่ เป็นเรื่องราวของฆาตกรที่มีตัวตนจริง ส่วนภาพยนตร์ขนาดยาวของยุโรปเรื่องแรกคือ L'Enfant prodigue (1907) ของ Michel Carre ซึ่งดัดแปลงเรื่องราวมาจากละครเวที ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของอเมริกาคือ Les Miserables (1909) โดยภาพยนตร์มีทั้งหมด 4 reel และแยกกันฉาย ส่วนเรื่องต่อมาคือ The Life of Moses (1909) ของ Charles Kent มีทั้งหมด 5 reel และแยกฉายเช่นกัน ส่วนภาพยนตร์ขนาดยาวในอเมริกาที่ฉายครบตั้งแต่ต้นจบจบในครั้งเดียวคือ Dante's Inferno (1911) ถึงแม้การเริ่มต้นของภาพยนตร์ขนาดยาวในอเมริกาจะเริ่มต้นช้ากว่าประเทศอื่นๆ แต่อัตราการเติบโตและพัฒนาก็เป็นไปอย่างรวดเร็วทีเดียว

D. W. Griffith


นักสร้างภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของอเมริกาคือ David Wark (D. W.) Griffith ผู้ได้รับฉายา "the master storyteller of film" นอกจากนั้นกริฟฟิทยังเป็นคนแรกที่ได้สมญา Auteur หรือ storyteller

แรกเริ่มนั้นเขาเป็นนักแสดงละครเวทีและนักเขียนที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก กริฟฟิทปรากฎตัวอยู่ในภาพยนตร์เรื่อง Rescued From the Eagle's Nest (1907) ของ Edwin S. Porter and Thomas Edison (ผลงานเก่าที่สุดที่ยังมีตัวภาพยนตร์เก็บรักษาไว้) และภาพยนตร์ขนาดสั้นอีกหลายเรื่อง เช่น Her First Adventure (1908), Caught by Wireless (1908), และ At the French Ball (1908)

เมื่อปีประสบการณ์มากขึ้นกริฟฟิทจึงได้เข้าร่วมกับ The American Mutoscope and Biograph Company ซึ่งตั้งอยู่ที่นิวยอร์ค ในตำแหน่งผู้กำกับภาพยนตร์ ในช่วงแรกกริฟฟิทมีหน้าที่ในการสร้างภาพยนตร์ขนาดสั้นสัปดาห์ละสองเรื่อง ซึ่งเป็นอัตราเร็วในการทำงานที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ภาพยนตร์เรื่องแรกในหน้าที่กำกับของกริฟฟิทคือ The Adventures of Dolly (1908) และตามมาด้วย The Red Man and Child (1908) ในปีนั้นเขากำกับหนังสั้นไปทั้งสิ้นมากกว่า 60 เรื่อง

ในช่วงสี่ปีแรกในการทำงานกริฟฟิททำหนังสั้น (15-30 นาที)รวมๆแล้วกว่า 400 เรื่อง แนวภาพยนตร์ที่เขาทำให้ช่วงแรกๆคือ western, romance, comedie, melodrama, historical epic, และ adventure กริฟฟิทปั้นนักแสดงหน้าใหม่ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นดาราดังหลายคนด้วยกัน เช่น Lillian Gish, Dorothy Gish, Mary Pickford, Blanche Sweet, Mae Marsh, Harry Carey, Henry B. Walthall, Mack Sennett, Florence Turner, Constance Talmadge, Donald Crisp และ Lionel Barrymore

ในหนังสั้นหลายๆเรื่อง กริฟฟิทได้ทดลองเทคนิคทางแสงและกล้อง (closeups, fade-outs, establishing shots, far shots และ medium shots, backlighting, naturalistic, low-key light sources, ใช้สถานที่ถ่ายหลายๆแห่ง ฯลฯ) ซึ่งเป็นแนวทางให้กับการสร้างภาพยนตร์ในเวลาต่อมา เรียกได้ว่ากริฟฟิทเป็นผู้บุกเบิกเทคนิคการถ่ายหนังรูปแบบใหม่ในอเมริกาเลยทีเดียว

การเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์

และแล้วนักธุรกิจทั้งหลายก็เริ่มหันมาจับตาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ รายนามนักธุรกิจชั้นนำที่หันมาลงทุนในธุรกิจนี้ก็เช่น Adolph Zukor, Marcus Loew , Jesse Lasky , Sam Goldwyn (Goldfish) , the Warner brothers , Carl Laemmle , William Fox , Louis B. Mayer พวกเขาตระหนักว่าการที่จะสร้างผลกำไรให้มากขึ้นนั้น ต้องมีการปรับปรุงระบบการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ (systems of distribution) และขยายฐานผู้ชมไปสู่คนชั้นกลาง ผู้หญิง และเด็ก ในช่วงเริ่มแรกนั้นการจัดจำหน่ายภาพยนตร์นั้นเป็นระบบที่โรงฉายต้อง ซื้อ (ไม่ใช่การเช่า) ภาพยนตร์จากผู้สร้างภาพยนตร์

 William Fox เป็นคนแรกที่จัดตั้งบริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์โดยการซื้อภาพยนตร์จากผู้สร้างมาให้ผู้ฉายเช่าในราคาถูก The Warner brothers (Harry , Albert , Sam , and Jack) สร้างโรงภาพยนตร์ขึ้นใน Pennsylvania ในปี 1903 และในปี 1904 ก็ได้ก่อตั้ง Duquesne Amusement & Supply Company (ซึ่งต่อมากลายเป็น Warner Bros. Pictures) เพื่อทำการจัดจำหน่ายภาพยนตร์

ธุรกิจการฉายภาพยนตร์สร้างกำไรได้เป็นอย่างดีบรรดาโรงภาพยนตร์จึงมีการพัฒนาโรงฉายให้ดียิ่งขึ้นเพื่อตอบแทนลูกค้าของตน เช่น ใช้เก้าอี้คุณภาพดีขึ้น มีการแสดงให้ดูก่อนฉายภาพยนตร์ มีถั่วและป็อปคอร์นขาย มีการบรรเลงเปียนโน หรือ ออเคสตร้า สำหรับหนังเงียบ


ที่มา: The History of Motion Pictures (www.filmsite.org)




 

Create Date : 13 ตุลาคม 2548
10 comments
Last Update : 18 ตุลาคม 2548 18:16:12 น.
Counter : 5196 Pageviews.

 

วิชาการสุดๆ

 

โดย: joblovenuk 14 ตุลาคม 2548 15:18:54 น.  

 

ประวัติ

 

โดย: 96355 IP: 203.107.196.174 1 กรกฎาคม 2549 15:48:34 น.  

 

ขอบคุณค่ะ ช่วยชีวิตจริงๆ

 

โดย: and_ann_ans IP: 124.120.13.97 12 ตุลาคม 2549 11:34:45 น.  

 

ช่วยหาละคร บอร์ดเวย์ให้หน่อยนะ
ภาพด้วย

 

โดย: วา-วา IP: 203.113.77.73 17 พฤศจิกายน 2549 21:02:42 น.  

 

เรื่องสีในการผลิตภาพยนตร์ ขาว-ดำ -สี หาหนังสือมาก็หลายเล่มแต่ก็ไม่เจอ กลับมาแก้รายงานส่งอาจารย์ตั้งหลายครั้ง ช่วยหน่อยนะ

 

โดย: ทำไมไม่เห็นจะมี IP: 203.156.4.20 27 มกราคม 2550 13:20:27 น.  

 

ขอบคุณแบบว่า dramatizedly giving a grateful Kraab "thank god you save me" เลยค่ะ

 

โดย: atihasita IP: 58.64.125.3 24 กรกฎาคม 2550 22:40:01 น.  

 

โห...สุดยอดเลยครับ ขอบพระคุณกับความรู้ทีได้รับอย่างสูงยิ่ง

 

โดย: คนที่เรียนถ่ายกล้อง IP: 125.24.44.214 13 กันยายน 2550 22:14:54 น.  

 

ดีมากค่ะ

 

โดย: เมล IP: 124.122.211.171 19 มกราคม 2551 22:18:00 น.  

 

นี่แหละคือการแบ่งปันปัญญาที่งดงาม....

 

โดย: พีรพงศ์ เสนไสย IP: 202.28.35.2 29 มิถุนายน 2552 9:46:27 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: นักศึกษาถาปัตย์ IP: unknown, 202.44.136.51 7 ตุลาคม 2553 1:57:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


norachat
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add norachat's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.