ไม่หวั่นไหวต่อโลกสมมติ




ธรรมประจำโลก 1st Edition

ในวันที่ชีวิตขาขึ้นลาภ ก็มี ยศ ก็มา สรรเสริญ ก็มาก สุข ก็ดูเหลือล้น แต่พอถึงคราววิบัติ ลาภ ก็หมด ยศ ก็สิ้น นินทาก็มา ทุกข์ ก็ถาโถม ข้อนี้เพราะเหตุใด เพราะสิ่งเหล่านี้ ไม่จีรัง ไม่เที่ยง ไม่เป็นไปตามปราถนาของใคร ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย มีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา และ มีอยู่ประจำในชีวิตของเราทุกคน เมื่อพิจารนาเช่นนี้ บ่อย ๆ ย่อมปล่อยวาง มีจิตใจอยู่เหนือและเป็นอิสระจากอิทธิพลของโลกธรรมเหล่านี้ มีชีวิตเป็นสุขบนความจริงของชีวิต

โดยเฉพาะเราๆ ท่าน ๆ เมื่ออารมณ์สุดขั้วนี้ มันกำลังย่ำยีจิตใจเราอยู่ อะไร หรือ ใคร จะเป็นที่พึ่งได้ สำหรับให้เราเข้าไปผ่อนพัก ในขณะปัจจุบันทันด่วนแต่ละคราว มีการปฏิบัติหนึ่งที่พอจะฝึกฝนกันได้ ได้แก่ การเฝ้าดูลมหายใจ ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า สติปัฏฐาน ๔ หรือ กายคตาสติ คือ มีสติตามระลึกถึงสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในกาย ที่มีลมหายใจ ฯลฯ ความรู้สึก ความนึกคิด และ สิ่งอื่น ๆ ที่ผ่านเข้ามาในจิตใจ ทั้งภายในและ ภายนอก ประกอบการพิจารณาและเฝ้าดูเฝ้ารู้อยู่ ตามเห็นการเกิด -ดับ ในกายในใจนี้เอง โดยไม่ยีดมั่นถือมั่นว่าเป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ไม่เป็นชีวะ เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ

เมื่อรวมการเฝ้าดูลมหายใจเข้า– ออก กับ หลักโลกธรรม ๘ เข้าด้วยกันก็จะตามกำหนดรู้โลกธรรมทั้ง ๘ หายใจเข้า ตามเฝ้าดูเฝ้ารู้กำหนดความจริงของโลกธรรม๘ หายใจออก โดยไม่ปรุงแต่งคิดนึก ทุกขณะจิตจนกว่าความสงบเกิดขึ้น เมื่อความสงบเกิดขึ้น ก็ตามดูความสงบเช่นนั้นต่อไป จนได้ความสงบที่ละเอียด ๆ ขึ้นโดยลำดับ

หลักอยู่ที่มีสติกำหนดทุกสิ่งด้วยลมหายใจเข้า – ออก ไม่ว่า บุญ หรือบาป หรือ ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป ในปัจจุบันขณะ จนสามารถมีใจเป็นกลาง สงบศานติอยู่ภายในอย่างแท้จริง สมดังพุทธดำรัสที่ว่า “สุขอื่น ยื่งกว่าความสงบไม่มี” เมื่อฝึกฝนจนชำนาญดีแล้ว จะทิ้งลมหายใจเสียก็ได้ มากำหนดที่โลกธรรม๘ อย่างเดียว และมีสติเปลี่ยนมาเพ่งเฉยอยู่ต่อไปคุณภาพชีวิตของเราก็จะมีมากขึ้นโดยลำดับ ดังพุทธดำรัสว่า “จิตที่ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมทั้งปวง เป็นอุดมมงคลของชีวิต”

กล่าวโดยย่อเมื่อฝึกฝนอบรมจิตได้ดีแล้ว ไม่อ่อนไหว ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ปล่อยวางความเป็นไปประจำโลกได้ ก็จะพบความสุขสงบที่แท้จริง

การใคร่ครวญธรรมในพระพุทธศาสนามีสองแบบคือ โดยภาพรวม ๑ และ โดยแยกส่วน ๑ การเพ่งโลกธรรม ๘ ก็เช่นกัน ท่านให้ใช้จิตจดจ่อธรรมประจำโลกทั้ง ๘ นี้โดยรวมพร้อม ๆ กันทั้ง ๘ เลยก็ได้ หรือ จะถนัดแยกส่วนก็ได้ แต่ข้อสำคัญจะเพ่งนิ่ง ๆ ไว้ไม่คิดอะไร หรือใช้สติไตร่ตรองธรรมโดยรวมก็ดี โดยแยกส่วนก็ได้ เป้าหมายที่ต้องการคือความวางเฉยไม่ยินดียินร้ายปล่อยวางธรรมดาทั้ง ๘ จนเป็นอัตโนมัติ โดยไม่ทิ้งมิติทางศีลธรรม คือ อยู่ในโลกสมมติได้ โลกไม่หลงสมมติ และไม่ทิ้งภาระหน้าที่ทางโลก ทั้งนี้ ก็เพราะศีลสมาธิปัญญา รวมกันเข้าก็เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ด้วยกันทั้งสิ้น




Create Date : 06 กรกฎาคม 2560
Last Update : 6 กรกฎาคม 2560 15:34:43 น.
Counter : 1098 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฆราวาสมุนี
Location :
นครปฐม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2560

 
 
 
 
 
 
1
3
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog