Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2560
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
16 พฤษภาคม 2560
 
All Blogs
 
แปรรูป ปตท สรุปข้อเท็จจริง ผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน




แปรรูปปตท ผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน การที่ ปตท.ได้เข้าไปถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมันเกือบทุกแห่งในประเทศทำให้ปตท.นั้นมีอำนาจในการควบคุมบริหารโรงงานกลั่นน้ำมันในประเทศเกือบทั้งหมดทำให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจการกลั่นน้ำมัน และการสั่งน้ำมันดิบจากต่างประเทศเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำมันในไทยมีราคาสูง และมีหลายฝ่ายออกมาเปิดโปงถึงเรื่องนี้และยังได้เข้าไปทำธุรกิจพลังงานในฐานะของตัวแทนรัฐบาล จึงได้รับสิทธิพิเศษต่างๆในฐานะบริษัทน้ำมันแห่งชาติ

แต่เมื่อมีการแปรรูป ปตท เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และได้ขายหุ้นบางส่วนให้กับเอกชนปตท. จึงเห็นว่าควรลดการผูกขาดลง โดยเฉพาะธุรกิจก๊าซธรรมชาติซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานก็กำลังพิจารณาที่จะมีการเปิดเสรีมากขึ้นโดยเริ่มในกิจการท่อก๊าซ และการนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศก่อนแต่ส่วนธุรกิจการกลั่นน้ำมันได้มีการกล่าวอ้างว่ามีการผูกขาดโดย ปตท. มากถึง 83% ของการกลั่นทั้งหมด (คิดง่ายๆปตท.ถือหุ้น 5 ใน 6 โรงกลั่น)นั่นอาจจะเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่มีเหตุผลรับรองอย่างเพียงพอ

จากการเข้าไปปรับปรุงกิจการของโรงกลั่น ทำให้ ปตท.ถือหุ้นโรงกลั่นต่างๆ ดังนี้

ไทยออยล์ 49.1%

PTTGC 48.9%

IRPC 38.5%

SPRC 36.0%

BCP 27.2%

จะเห็นว่าโดยนิตินัยไม่มีโรงกลั่นใดเลยที่ปตท.ถือหุ้นเกิน50% แต่แน่นอนว่าเราคงจะใช้จำนวนหุ้นเพียงอย่างเดียวมาเป็นตัววัดว่าปตท.มีอำนาจครอบงำการบริหารหรือไม่คงไม่ได้คงต้องพิจารณาด้วยว่าปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดในบริษัทหรือไม่และมีอำนาจในการบริหารจัดการในบริษัทเด็ดขาดหรือไม่โดยเฉพาะในการกำหนดตัวหรือแต่งตั้งผู้บริหารระดับกรรมการผู้จัดการหรือประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร(CEO)ซึ่งถ้าเราใช้เกณฑ์นี้มาวัดการครอบงำการบริหารของปตท.ในโรงกลั่นต่างๆห้าแห่งที่ปตท.ถือหุ้นอยู่เราจะพบว่าปตท.มีอำนาจในการบริหารโรงกลั่นจริงๆเพียงสามแห่งเท่านั้นคือไทยออยล์(TOP), PTTGC และ IRPC เพราะทั้งสามแห่งนี้ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึงแม้จะไม่ใช่เป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากแต่เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างแท้จริงสามารถส่งคนของตนเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด(CEO) ได้ส่วนอีกสองแห่งคือ SPRC และ BCPนั้นปตท.เป็นแต่เพียงผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อย

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการที่มีผู้ออกมาพูดว่าปตท.เข้าไปถือหุ้นในโรงกลั่นถึง5 ใน 6 แห่งแสดงว่ามีการผูกขาดธุรกิจและสามารถครอบงำกิจการโรงกลั่นน้ำมันของประเทศได้นั้นเป็นการตีความที่เกินจริงเพราะยังมีโรงกลั่นฯอีกสามแห่งที่ปตท.ไม่สามารถเข้าไปบริหารสั่งการอะไรได้นั่นคือโรงกลั่นEsso, SPRC และ BCP อีกทั้งที่ระบุว่าการที่ปตท.เข้าไปถือหุ้นโรงกลั่น5 ใน 6 แห่งทำให้ปตท.ผูกขาดการสั่งน้ำมันดิบเข้ามากลั่นในประเทศได้ทั้งหมดก็ไม่เป็นความจริงอีกเพราะโรงกลั่นทั้งสามแห่งที่ปตท.ไม่ได้เป็นผู้บริหารเขาก็สั่งน้ำมันดิบของเขาเองปตท.จะมีสิทธิ์นำน้ำมันดิบเข้ามากลั่นได้ก็เฉพาะในสัดส่วนที่ไม่เกินจำนวนหุ้นที่ตัวเองถืออยู่ตาม Supply and off take Agreement เท่านั้นอีกทั้งยังต้องมีการตรวจสอบราคาและหรือประมูลผ่านขั้นตอนการจัดซื้อตามระเบียบของโรงกลั่นนั้นๆอีกด้วยอนึ่งการที่ปตท.เข้าไปมีอำนาจในการบริหารจัดการโรงกลั่นน้ำมัน 3 ใน6 แห่งนั้นจะเป็นการผูกขาด ตัดตอนหรือทำให้น้ำมันมีราคาแพงเกินจริงหรือไม่คงต้องดูข้อมูลหรือพฤติกรรมอย่างอื่นประกอบด้วยจะเหมาเอาง่ายๆจากการถือหุ้นว่าถ้าถือหุ้นมากก็แสดงว่าครอบงำได้เมื่อครอบงำได้ย่อมมีพฤติกรรมผูกขาดตัดตอนเอาเปรียบประชาชน

อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ //www.รู้จริงพลังงานไทย.com/เปิดโปง-ปตทการผูกขาดธุร/




Create Date : 16 พฤษภาคม 2560
Last Update : 16 พฤษภาคม 2560 14:02:17 น. 0 comments
Counter : 937 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ouju_smile
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Friends' blogs
[Add Ouju_smile's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.