พฤศจิกายน 2554

 
 
1
7
8
9
11
12
14
16
18
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
Amsterdam: live on water เมืองที่เอาชนะน้ำได้อย่างสวยงาม


ในความทรงจำของชาวดัตช์ ความสัมพันธ์แบบทั้งรักทั้งเกลียดกับน้ำ ก่อร่างให้เกิดเป็นประเทศเนเธอร์แลนด์ดังเช่นทุกวันนี้ เพราะเมื่อหนึ่งในสามของแผ่นดินต้องอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ชาวดัตช์ก็ไม่มีอะไรจะเสีย นอกจากยืนหยัดอย่างชาญฉลาดเพื่อโต้ตอบและกอดเก็บอานุภาพจากพลังน้ำ และอัมสเตอร์ดัมคือตัวอย่างอันสุดโต่งของความสัมพันธ์อันลึกซึ้งที่ว่านั้น



จากหนองน้ำสู่มหาสมุทร
ที่พิพิธภัณฑ์การเดินเรือในอัมสเตอร์ดัมได้จัดแสดงแบบจำลองของเรือโบราณนานา ชนิดที่เคยแล่นอยู่ตามเส้นทางเครื่องเทศอ้อมแหลมกู๊ดโฮป หนึ่งในเรือประวัติศาสตร์ที่จัดแสดงมีชื่ออย่างเหมาะสมว่า “อัมสเตอร์ดัม” ซึ่งเป็นเรือของบริษัทอีสต์อินเดียที่เคยฝ่าลมมรสุมและ อิทธิพลทางน่านน้ำของโปรตุเกสและสเปนไปช่วงชิงเอาความมั่งคั่งทางการค้า อย่างเครื่องเทศมาเป็นบำเหน็จให้แก่อาณาจักรดัตช์

อัมสเตอร์ดัม รุ่งโรจน์หลังความเสื่อมถอยของลิสบอน ว่ากันว่าในศตวรรษที่ 16 กองเรือของอัมสเตอร์ดัมมีมากถึง 14,000 ลำ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จึงให้ความเห็นว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมต่อเรือ จิตใจอันอดทน และนิสัยส่วนตัวที่ดื้อรั้นมุทะลุของเหล่ากะลาสีชาวดัตช์ ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้อัมสเตอร์ดัมก้าวข้ามความชื้นแฉะของพื้นดิน สู่อาณาจักรที่ครอบครองอาณานิคมอีสต์อินเดียไว้ได้ ขณะเดียวกันก็ต้องขอบคุณสัญชาตญาณความเป็นพ่อค้าของชาวดัตช์ ที่เห็นการณ์ไกลและลงขันออกทุนสนับสนุนกองเรือเพื่อแสวงหาดินแดนแห่งเครื่อง เทศ ตลอดจนเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนจากการกดขี่ของสเปน จนในที่สุดการรวมตัวของกลุ่มพ่อค้าเครื่องเทศก็เกิดขึ้นเป็นบริษัทอีสต์ อินเดียในปี 1602 ที่นับเป็นบริษัทสมัยใหม่บริษัทแรกของโลก โดยมีคณะกรรมการบริหารที่มาจากอัมสเตอร์ดัมและเมืองโดยรอบ มีกฎบัตรรับรองสิทธิการบริหาร พร้อมทั้งยังเปิดโอกาสในนักลงทุนรายย่อยเข้ามาร่วมลงทุนในการค้าเครื่องเทศ จากดินแดนอันไกลโพ้นได้อีกด้วย

มองอย่างผิวเผิน กฎบัตรนี้จะระบุถึงอำนาจในการลงทุนและการเงิน แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือ การมอบอำนาจตัดสินใจในเรื่องการพัฒนาอัมสเตอร์ดัมและเมืองใกล้เคียง เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าและขนส่งของบริษัทอีสต์อินเดียให้เป็นไปอย่าง คล่องตัว ด้วยเหตุนี้เอง ช่วงกลางศตวรรษที่ 16 ถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 17 ป้อมปราการหลายแห่งจึงถูกพัฒนาและสร้างให้แข็งแกร่งขึ้น พร้อมทั้งโครงการท่าเรือและการขุดคลองเส้นทางใหม่จากศตวรรษที่ 13 โดยได้เพิ่มประโยชน์จากเพียงใช้เพื่อป้องกันน้ำท่วมให้สามารถใช้ในการจอด เรือสินค้าและเชื่อมโยงการขนส่งจากเมืองต่างๆ มายังอัมสเตอร์ดัม โดยรวมเป็นคลองรอบล้อมเมือง 4 ชั้นรวมระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร พร้อมกับประตูกั้นน้ำอีก 16 แห่ง ซึ่งระบบคลองใหม่นี้รู้จักในชื่อ The Singelgrachtหรือคลองวงแหวน ซึ่งได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทางนวัตกรรมการวางผังเมืองและสถาปัตยกรรมของโลกใน เวลาต่อมาลกในเวลาต่อมา

อัจฉริยภาพเหนือผืนน้ำ
เมื่อแผ่นดินอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล โดยจุดต่ำสุดนั้นต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 6.76 เมตร ขณะที่จุดสูงสุดอยู่เหนือน้ำทะเลเพียง 323 เมตร ความต่างของพื้นดินกับพื้นน้ำสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และน้ำท่วมคือฝันร้ายที่เป็นจริงในชีวิต พวกเขาผ่านมันมาได้อย่างไร?

...นี่คือมรดกทางความคิดที่เอาเดิมพันของชีวิตสู้กับแรงปะทะจากพลังน้ำ

ชอคลันด์ เกาะกลางน้ำและการเอาชนะผืนน้ำของชาวดัชต์ (Scho kland and Surroundings)

ที่มา thaiwhic.go.th

ชอคลันด์ (Scho kland) คาบสมุทรที่กลายเป็นเกาะในศตวรรษที่ 15 นี้เคยมีมนุษย์ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่ก็ต้องอพยพผู้คนออกในปี 1859 ก่อนจะถูกทิ้งร้างเพราะน้ำทะเลท่วมถึง แต่หลังการระบายน้ำออกจากบริเวณซุยเดอร์ ซี (Zuider Zee) ช่วงปี 1940 พื้นที่นี้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดิน ชอ คลันด์มีร่องรอยของชุมชนมนุษย์ที่เก่าแก่ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้อย่างกล้าหาญและยาวนานของชาวดัตช์ที่จะ เอาชนะการโอบล้อมของผืนน้ำ

แนวปราการของอัมสเตอร์ดัม (Defence Line of Amsterdam)

แนวปราการของอัมสเตอร์ดัมสร้างขึ้นระหว่างปี 1883-1920 ทอดยาวเป็นระยะทาง 135 กิโลเมตร และเป็นตัวอย่างเพียงหนึ่งเดียวของปราการที่สร้างอยู่บนหลักการของการควบคุม น้ำ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ชาวดัตช์ได้ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมระบบไฮดรอลิกในการป้องกันเมือง ศูนย์กลางของประเทศได้รับการปกป้องโดยโครงข่ายของป้อมติดอาวุธ 45 ป้อม ที่ทำงานร่วมกับการปล่อยน้ำท่วมชั่วคราวจากพื้นที่ถมทะเล และระบบที่ซับซ้อนของคลองและประตูน้ำ

แนวกังหันลมที่คินเดอร์ไดค์-เอลชเฮาท์ (Mill Network at Kinderdijk-Elshout)

ผลงานของชาวดัตช์ในด้านเทคโนโลยีการจัดการน้ำแสดงออกอย่างน่าชื่นชมในอุปกรณ์ ที่เขตคินเดอร์ไดค์-เอลชเฮาท์ (Kinderdijk-Elshout) การก่อสร้างเครื่องจักรระบบไฮดรอลิกเพื่อการระบายน้ำสำหรับเกษตรกรรมและการ ตั้งถิ่นฐานชุมชนได้เริ่มขึ้นในยุคกลางและดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน แหล่งมรดกโลกแห่งนี้แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดังกล่าว ได้แก่ คันกั้นน้ำ อ่างเก็บน้ำ สถานีสูบน้ำ อาคารบริหาร และแนวกังหันลมที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างงดงาม

วิศวกร ดี. เอฟ. วูดาเคอมาล: สถานีสูบน้ำด้วยเครื่องจักรไอน้ำ ดี. เอฟ. วูดา (Ir.D.F. Woudagemaal - D.F. Wouda Steam Pumping Station)

สถานีสูบน้ำวูดา (Wouda Pumping Station) ที่เลมเมอร์ (Lemmer) ในจังหวัดฟรีสแลนด์ (Friesland) เปิดทำการในปี 1920 สถานีแห่งนี้เป็นสถานีสูบน้ำด้วยเครื่องจักรไอน้ำที่ใหญ่ที่สุดและยังคง ดำเนินการอยู่จนปัจจุบัน เป็นตัวแทนของสุดยอดผลงานของวิศวกรและสถาปนิกชาวเนเธอร์แลนด์เพื่อปกป้อง ประชาชนและดินแดนไว้จากพลังธรรมชาติของน้ำ

ดรูกมาเกร เดอ บีมสเตอร์ - บีมสเตอร์ โพลเดอร์ (Droogmakerij de Beemster - Beemster Polder)

บี มสเตอร์ โพลเดอร์ (บีมสเตอร์ คือพื้นที่ซึ่งได้มาจากการถมทะเล) มีอายุสมัยต้นศตวรรษที่ 17 เป็นตัวอย่างที่พิเศษของการถมพื้นที่ทะเลในเนเธอร์แลนด์ที่ยังคงอนุรักษ์ ภูมิทัศน์อันเป็นระเบียบของทุ่งนา ถนน คลอง คันกั้นน้ำ และชุมชนไว้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยมีการวางผังตามหลักการวางผังในยุคคลาสสิกและเรอเนสซองส์

 คลองวง แหวนแห่งศตวรรษที่ 17 ในเมืองซิงเกลแกรช นครอัมสเตอร์ดัม (Seventeenth-century canal ring area of Amsterdam inside the Singelgracht)
กลุ่ม เมืองคลองประวัติศาสตร์แห่งอัมสเตอร์ดัม เป็นโครงการสร้างเมืองท่าแห่งใหม่ในปลายศตวรรษที่16 และเริ่มดำเนินการในต้นศตวรรษที่ 17 ประกอบด้วยโครงข่ายคลองที่ขุดไปทางตะวันตกและใต้ของเมืองเก่าและเมืองท่า เดิมในยุคกลาง โดยล้อมรอบเมืองเก่าซิงเกลแกรชไว้ ซิงเกลแกรชเป็นแผนงานระยะยาวเพื่อการขยายตัวของเมือง โดยการปล่อยน้ำออกจากพื้นที่ชุ่มน้ำ ใช้ระบบคลองโค้งรูปวงแหวน และคั่นสลับด้วยการถมพื้นระหว่างพื้นที่ชุ่มน้ำให้เป็นที่ดอนสำหรับสร้าง ชุมชน การขยายตัวของเมืองนี้มีลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ในด้านรูปแบบมาตรฐานของพื้นที่ และขนาดใหญ่ที่สุดในเวลานั้น ทั้งหมดนี้ แสดงถึงการวางผังเมืองขนาดใหญ่และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงด้านการผังเมืองใน ทั่วโลกกระทั่งศตวรรษที่ 19  โดยคลองวงแหวนแห่งอัมสเตอร์ดัมนี้ ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกจากยูเนสโกในปี 2010

ควันหลงจากเมืองท่า
เมื่อ มนต์เสน่ห์จากกลิ่นเครื่องเทศจางลง อัมสเตอร์ดัมก็ร่วงหล่นจากการเป็นเจ้าอาณานิคม อำนาจทางมหาสมุทรเปลี่ยนมือไปสู่อังกฤษทึ่คึกคักและมีชีวิตชีวา แต่ความมั่งคั่งทางความคิดของชาวอัมสเตอร์ดัมนั้นตกผลึกและแน่นอนกว่าผล ประกอบการของบริ  ษัทอีสต์อินเดียหลายเท่าตัว เพราะในช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์ พวกเขาได้ซึมซับเอาวัฒนธรรม ภาษา อาหารการกิน การแพทย์ รวมทั้งการรับเอาแรงงานและเหล่าช่างฝีมือต่างถิ่น โดยเฉพาะกุล่มชาวยิวที่มีทักษะอันเยี่ยมยอดในการเจียระไนเพชร หรือศิลปินตกยากจากภาคพื้นยุโรปมาไว้กับตน และแม้จะสูญเสียตำแหน่งเมืองท่าที่รุ่งเรืองให้แก่เมืองรอตเทอร์ดามไป แต่การเปิดกว้างทางความคิดของชาวอัมสเตอร์ดัมก็ได้กลายเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ มีใครอาจช่วงชิงไปได้เลย

ทุกวันนี้ อัมสเตอร์ดัมได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีจิตใจเสรีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มีผู้คนต่างชาติต่างภาษาหลั่งไหลเข้ามาใช้ชีวิตถึง 174 สัญชาติ ขณะที่ความพยายามเก็บเกี่ยวทักษะ ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถของอัมสเตอร์ดัมก็ยังปรากฏให้เห็นจนปัจจุบัน เมื่อปี 2008 นายกเทศมนตรี จ๊อบ โคเฮน (Job Cohen) ได้เล็งเห็นโอกาสในการสร้างรายได้จากกลุ่มเอ็กซ์แพท จึงร่วมกับรัฐบาลเปิด เอ็กซ์แพทเซ็นเตอร์ ศูนย์บริการชาวต่างชาติเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ย้ายมาทำงานและตั้ง ถิ่นฐานในเมือง พร้อมด้วยมาตรการภาษีที่จูงใจ ทั้งด้านภาษีนิติบุคคล ภาษีการขายสิทธิ์ (Patent Tax) ที่เก็บเพียงร้อยละ 10 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่ากลุ่มประเทศภาคพื้นยุโรปทั้งหมด รวมถึงยังมีมาตรการลดภาษีซ้ำซ้อนต่างๆ ของชาวต่างชาติในการส่งรายได้กลับถิ่นฐานด้วย พร้อมกันนี้ ก็ยังอำนวยความสะดวกด้านความเป็นอยู่ด้วยกิจกรรมทางสังคมมากมาย อาทิ การจัดตั้งชมรม สมาคม และสโมสรของชาวต่างชาติกว่า 160 กลุ่มที่ครอบคลุมตั้งแต่งานศิลปะ ไวน์และอาหาร ไปจนถึงกลุ่มเกย์ทางการเมือง

มา ร์เซล วันเดอร์ นักออกแบบชาวอัมสเตอร์ดัม กล่าวถึงเมืองที่เขาหลงรักว่า “ผลงานอันสวยงามและวิเศษจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากเราไม่สามารถหาคนทำงานที่วิเศษได้ และอัมสเตอร์ดัมเป็นสถานที่ที่ดีสำหรับอยู่อาศัย ใช้ชีวิต และทำงาน แน่นอนว่าคุณอาจจะหาที่ที่ดี่เยี่ยมมากกว่านี้ได้ แต่ที่นี้มันช่างดึงดูดใจ และผู้คนก็เต็มไปด้วยพลัง”ผลงานการออกแบบของมาร์เซล วันเดอร์ นั้นน่าตื่นเต้นและเป็นสีสันของเมือง แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ราวร้อยละ 95 กลับอยู่นอกเนเธอร์แลนด์ ซึ่งภายใต้การตกหลุมรักอัมสเตอร์ดัมเข้าอย่างจัง ในปี 2010 เขาจึงได้ร่วมมือกับAedes Real EstateจัดทำโครงการWesterhuis Amsterdamเพื่อเป็นศูนย์รวมในเชิงธุรกิจออกแบบและงานสร้างสรรค์บนพื้นที่ 5,500 ตารางเมตร ที่เกิดจากการดัดแปลงและบูรณะโรงเรียนเก่าให้เป็นสถานที่จัดแสดงผลงาน แหล่งพบปะ แลกเปลี่ยน และเจรจาทางธุรกิจ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะสร้างให้เป็นศูนย์กลางของความคิดสร้างสรรค์ของชาว อัมสเตอร์ดัม

ในปี 2028 อัมสเตอร์ดัมจะเปิดเมืองท่าแห่งนี้ให้ยิ่งใหญ่อีกครั้ง ด้วยการเสนอชื่อเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งส่งผลให้เมืองต้องทำการบ้านอย่างหนักเพื่อแสดงความพร้อมต่อชาวโลก ทั้งด้านการคมนาคมขนส่งและภูมิสถาปัตยกรรมของเมือง ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ เทศบาลเมืองก็เพิ่งออกกฎหมายเปลี่ยนเรือท่องเที่ยวที่สัญจรไปมาในคลองให้ เป็นเรือที่ใช้พลังงานสะอาดทั้งหมด นอกจากนี้ บริษัทสถาปนิกอย่าง NL Architectsก็เริ่มนำเสนอแนวคิดการออกแบบเพื่อพลังงานในอนาคตที่เชื่อมต่อกับ กังหันลมรุ่นใหม่อย่าง Power Flowers ที่ติดตั้งง่าย สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดระดับความดังของกังหันให้เทียบเท่าเสียงตู้เย็นในบ้านเท่านั้นมาใช้งาน อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงแนวคิดหนึ่งของบริษัทสถาปนิกเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่แนวคิดในการสร้างนวัตกรรมของเมืองเพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกยัง ต้องถูกทดสอบและขับเคี่ยวกับอีก 500 บริษัทสถาปนิกในอัมสเตอร์ดัมที่กระตือรือร้นอยากได้งานนี้เช่นกัน อีกไม่นานเกินรอ โลกคงจะได้เห็นผลงานที่สื่อถึงจิตวิญญาณของเมืองจากนักสร้างสรรค์เหล่านี้

มหานครแห่งน้ำ

ทักษะ การจัดการน้ำอันเยี่ยมยอดของชาวอัมสเตอร์ดัมได้ถูกถ่ายทอดออกมาในปี 2010 เมื่ออัมสเตอร์ดัมประกาศให้เป็นปี Water Sensation ของเมือง ตลอดทั้งปีเมืองแห่งนี้เต็มไปด้วยกิจกรรมที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง เมืองกับน้ำในแง่มุมต่างๆ ใน 4 มิติ ได้แก่ เรื่องราวของการนันทนาการผ่านกิจกรรมแล่นเรือในทะเลและคูคลองวงแหวนรอบเมือง เรื่องราวของวัฒนธรรมและการออกแบบผ่านงานสถาปัตยกรรมตามแนวคลอง การแสดงดนตรี และงานศิลปะในพิพิธภัณฑ์เล็กใหญ่ทั่วเมือง ขณะที่ประเด็นเทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นการแสดงผลงานที่เกี่ยวข้องกับการเอาชนะและต่อสู้กับระดับน้ำทะล และสุดท้ายคือการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างเมืองกับน้ำ ที่พูดถึงการพัฒนาพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน ระบบภัตตาคารสีเขียว รวมถึงระบบการจัดการน้ำประปาสำหรับพลเมืองและชาวโลก

ศาสตร์ความรู้ เรื่องการจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์นั้นกว้างไกลและลึกซึ้ง ระบบประปาสำหรับน้ำดื่มน้ำใช้ที่จะป้อนให้ชาวโลกนั้นไม่ใช่เรื่องล้อเล่น และเนเธอร์แลนด์ก็เป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่มีกระทรวงบริหารจัดการน้ำโดย ตรง (Ministry of Transport, Public Works and Water Management) ยิ่งกว่านั้นมกุฏราชกุมารเจ้าชายวิลเลี่ยม อเล็กซานเดอร์ รัชทายาทแห่งเนเธอร์แลนด์ ก็ทรงสำเร็จการศึกษาสาขาบริหารจัดการน้ำและเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้โดย เฉพาะด้วย อุตสาหกรรมน้ำและการจัดการน้ำของประเทศนี้จึงมีมูลค่าสูงถึง 60,000 ล้านยูโร มีบริษัทมืออาชีพจำนวนมากที่ขายเทคโนโลยีให้แก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น VanOord,Lokinkiike Boskalis Westminter,Ballast Nedam และล่าสุดบริษัทสัญชาติอเมริกันอย่าง IBM Global Center of Excellence for Water Management ก็ได้เข้าร่วมแบ่งชิ้นเค้กโดยการเข้าไปตั้งบริษัทในอัมสเตอร์ดัมเพื่อหวัง ใช้ประสบการณ์อันเชี่ยวกรากของชาวดัตช์ให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ

ด้วย เหตุของการแข่งขันภาคเอกชนที่กำลังไหลเชี่ยว ยิ่งเป็นตัวผลักดันให้การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ด้านทรัพยากรน้ำของประเทศนี้เดินหน้าไกลออกไปเรื่อยๆ อย่างที่ไม่มีสิ่งใดอาจขวางกั้น

บันทึกใหม่ของเหล่ากะลาสี
ใน บันทึกประวัติศาสตร์ของนักเขียนชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 17 ได้เขียนบรรยายถึงชาวเมืองอัมสเตอร์ดัมไว้อย่างน่าชิงชังว่า “พวกเขามีชีวิตเหมือนกบ ครึ่งบกครึ่งน้ำ และเป็นได้ก็แต่เพียงพวกกะลาสีเรือ”บางทีลูกหลานของเหล่ากะลาสีเรือเหล่านี้ อาจกำลังทำให้โลกเห็นว่า พวกเขาสามารถเอาชนะคำสบประมาทเมื่อครั้งนั้น และพวกเขายังพิสูจน์ได้ว่า การเอาชนะธรรมชาติและอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขนั้น ไม่เกินศักยภาพของเหล่ากะลาสีเรือแต่อย่างใด

Did you know

· ปี 2007- 2008 กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สร้างรายได้ให้แก่เมืองอัมสเตอร์ดัมถึง 5.5 พันล้านยูโร จากแรงงาน 40,000 คน นอกจากนี้ยังมีการจ้างงานใหม่เพิ่มอีก 1,322 ตำแหน่ง คิดเป็นร้อยละ 4.2 ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า
·  มีบริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งสำนักงานในอัมสเตอร์ดัมกว่า 1,400 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นบริษัทระดับสำนักงานใหญ่ของกลุ่มประเทศยุโรปมากกว่า 150 แห่ง
· บริษัทต่างชาติมีอัตราการจ้างงานร้อยละ 15 ของการจ้างงานทั้งหมดในอัมสเตอร์ดัม โดยสร้างรายได้มากกว่าร้อยละ 25 ให้แก่เมือง ขณะที่ลูกจ้างของบริษัทต่างชาติเหล่านี้มีผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าลูกจ้างใน บริษัทดัตช์ (บริษัทต่างชาติ 111,200 ยูโร บริษัทดัตช์ 96,800 ยูโร) และบริษัทต่างชาติในอัมสเตอร์ดัม สร้างผลกำไรได้สูงกว่าที่อื่นๆ ในภูมิภาคยุโรปถึงร้อยละ 9
· ทุกๆ ปีจะมีนักศึกษาจบใหม่จากโรงเรียนศิลปะสาขาต่างๆ ทั้งการละคร การออกแบบ ภาพยนตร์ จิตรกรรม ฯลฯ ในอัมสเตอร์ดัมถึง 200 คน โดยนักสร้างสรรค์ในแขนงต่างๆ นี้ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐอย่างสำนักงาน Broedplaatsenที่สนับสนุนและช่วยเหลือด้านต่างๆ ตั้งแต่พื้นที่แสดงงาน การบริหารจัดการ คำแนะนำทางการเงิน โดยร่วมมือกับนักออกแบบและนักสร้างสรรค์มืออาชีพ เช่น Kauwgomballenfabriek Art Factory, NDSM DOCKS: A Cultural Incubator ฯลฯ เพื่อให้พวกเขาก้าวไปสู่การเป็นเจ้าของสตูดิโอของตนเอง

ที่มา creativethailand.org



Create Date : 10 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2554 21:27:08 น.
Counter : 1054 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

konglha7
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]