ตุลาคม 2555

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
Timeline "เครือข่าย" โทรศัพท์มือถือในประเทศไทย
บทความของคุณ fantasea  



(รูปภาพประกอบโดย คุณ Mr. Coffee)



2529
..........ทศท.(TOT) ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบอนาล๊อก NMT 470 MHz

2530
..........กสท. (CAT) เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบอนาล๊อก AMP 800 Band A

2531

2532

2533
..........AIS ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบอนาล๊อก NMT 900 MHz (1 ต.ค. 33)  ในนาม Cellular 900 โดยได้สัปทานจากทศท. 20 ปี
..........CP Telecomunication - (13พ.ย.33) CP ก่อตั้งบ. ซีพี เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด 

2534
..........TAC (บริษัทลูกของ UCOM)ได้สัมปทาน 15 ปี จาก กสท. (2534-2549) ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบอนาลอก AMP 800 MHz (Band B) ในนาม World Phone 800 มีเงื่อนไขสัมปทานTACไม่ให้กสท.ให้บริการลูกค้าเกิน 45,000 หมายเลขได้

2535

2536
..........TAC ขอแก้สัญญาสัมปทานกับ กสท. จาก 15 ปี เป็น 22 ปี (2534 – 2556) จึงทำให้ กสท. ขอเพิ่มเงื่อนไขโดยให้ กสท. สามารถให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบอนาลอกแข่งขันกับ TAC ได้ โดย TAC ได้คลื่น 1800 MHz มีความยาวช่วงคลื่น 75 MHz ภายหลังได้ กสท.และ TAC ได้ขาย ช่วงคลื่น 12.5 MHz ไปให้ สามารถ และ อีก 12.5 MHz ไปให้ ไออีซีทำระบบ Digital IQ , โดยทั้งสามารถ และ IEC ต่างก็ติดตั้งเสาสัญญาณของตัวเอง และ ใช้เครือข่ายร่วมกับ Worldphone 1800 เมื่อไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ กลุ่ม IEC ก็ขายคลื่นคืนให้ UCOM แต่กลุ่มสามารถเลือกที่จะขายกิจการให้กลับกลุ่มชินแทน ตรงนี้ทำให้ UCOM ไม่พอใจเป็นอย่างมาก เมื่อ UCOM ได้คลื่นคืนกลับมาแล้วก็ไม่ได้ใช้งาน จนสุดท้ายคลื่นดังกล่าวก็ไปอยู่ในกลุ่มเทเลคอมเอเซีย (TA)
..........CP Telecomunication ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท มหาชน และเปลี่ยนจาก บ. ซีพี เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็น TA (Telecom Asia) บ. เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินธุรกิจทางด้านโทรคมนาคม โดยได้รับสัมปทานจาก“ทศท.” ให้เป็นผู้ลงทุน จัดหา ติดตั้ง และควบคุม ตลอดจนบำรุงรักษาอุปกรณ์ในระบบในการขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐานจำนวน 2.6 ล้านเลขหมายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ และ ปทุมธานี) เป็นระยะเวลา 25 ปี 

2537
..........TAC เปิดใช้บริการดิจิตอลเซลลูลาร์ 1800 MHz ในนามของ WorldPhone 1800
..........AIS ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอล 1  ตุลาคม พ.ศ. 2537  ในนาม GSM 900 MHz ระยะเวลาสัมปทานจาก 20  ปีเป็น 25  ปี (2533 – 2558) จากทศท. เพื่อจะได้คุ้มทุนในการลงทุนระบบดิจิตอล

2538
..........(ช่วงนี้จะมีโทรศัพท์มือถือตั้งโต๊ะเยอะมากๆ)
..........TAC เป็นบริษัทลูกของบริษัท UCOM และ UCOM ถือหุ้นใน TAC มากกว่าร้อยละ 50 จึงทำให้ TAC ต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสิงคโปร์ (SES) เมื่อวันที่ 29 ส.ค.38 ด้วยทุนจดทะเบียน 6.3 ล้านหุ้น และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพฯอนุญาตให้หุ้นของ TAC สามารถซื้อขายในประเทศไทยได้

2539
..........ตะวัน โมบาย+กสท. (14 ส.ค.39)หรือ บ. ตะวัน โมบาย เทเลคอม จำกัด ร่วมทุนกับ กสท. ทำสัญญาทางการตลาดเตรียมให้บริการมือถือแบบ digital CDMA ความถี่ AMP 800 MHz
..........DPC ได้สัมปทานจาก กสท. 16 ปี พ.ศ. (2539-2555) มีบ. สามารถ คอร์ปอเรชั่น เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และได้เช่าโครงข่ายของ TAC เพื่อให้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในนาม Hello 1800
..........TAC (14พ.ย.39)ขอแก้สัมปทานกับ กสท. จาก 22 ปี เป็น 27 ปี (พ.ศ. 2534 – 2562) 

2540

2541
..........ตะวัน โมบาย+กสท. (22 เม.ย.41) เปิดให้บริการ มือถือแบบ digital CDMA ความถี่ AMP 800 MHz จำนวนสถานีฐานเริ่มต้น   69  สถานีฐานครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและภาคกลาง ก่อนขยายเพิ่มเป็นกว่า 100 สถานีฐานภายในสิ้น 41

2542

2543
..........TAC (พ.ค. 43) ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับ เทเลนอร์ เอเชีย พีทีอี ลิมิเต็ด บริษัทประเทศนอร์เวย์  ทำให้(ในขณะนั้น)เทเลนอร์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทแทคในสัดส่วนร้อยละ 28.77 ขณะที่บริษัทยูคอมลดสัดส่วนการถือครองในบริษัทแทคลงเหลือร้อยละ 41.64
..........WCS (ส.ค. 43) CP ร่วมทุนกับฟรานซ์เทเลคอม จากประเทศฝรั่งเศส ตั้งบริษัท WCS ขึ้น และได้สัมปทานจาก กสท. คลื่น 1800 MHz 
..........DPC มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็น - บ. Telekom Malaysia International ถือหุ้นร้อยละ 49.99 ,  บมจ. SHIN ร้อยละ 47.55 ,  TAC ร้อยละ 2.29
..........HUTCH - บ. ฮัทชิสัน วัมเปา จากฮ่องกงได้เข้าซื้อกิจการของบริษัทตะวันโมบาย ในรูปของการร่วมลงทุนกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย ภายใต้ชื่อบริษัทใหม่ว่า บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวล์เลส มัลติมีเดีย บริษัทฯ จึงได้เริ่มเปิดแบรนด์ HUTCH

2544
..........TAC (ก.พ. 44) เป็นชื่อเป็น DTAC
..........WCS (เม.ย. 44) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น CP Orange แล้ว TA ก็เข้ามาถือหุ้น 41%, Orange SA 49%, CP 10%
..........DPC (10 ก.ย. 44) เปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหม่ โดย SHIN(บ.ลูกชื่อชิน ดิจิตอล) ซื้อหุ้นจาก Telekom Malaysia International ทั้งหมด จึงทำให้ SHIN เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ถือหุ้นร้อยละ 95)   และ AIS ได้ซื้อหุ้นบ. ชิน ดิจิตอล จำกัด จึงได้เปลี่ยนการเช่าโครงข่ายของ TAC มาใช้โครงข่ายของ AIS และ เปลี่ยนชื่อในการให้บริการเป็น DCS1800 ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น GSM1800
..........CP Orange (ต.ค. 44) Orange เปิดให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1800 MHz ที่ WCS ได้สัมปทานมาจาก กสท. ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อบริษัทจาก CP Orange เป็น TA Orange

2545
..........THAI Mobile (พ.ย.) รัฐบาลสมัยนั้นที่ต้องการให้รัฐให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แข่งกับเอกชนเพื่อลดราคา จึงได้ให้รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) โดย ทีโอที กสท และ บจก. วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จัดตั้งบ. เอซีที โมบาย จำกัด ชื่อบริษัทมาจากอักษรตัวแรกของทั้ง 3 หน่วยงาน ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน ระบบ GSM1900 ภายใต้ชื่อ THAImobile ต่อมา บจก. วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ได้ถอนหุ้นไปในปัจจุบัน คงเหลือเพียง ทีโอที : กสท ที่ยังคงดำรงหุ้นในอัตราส่วน 58: 42
..........DTAC ได้ใช้กลยุทธ์การปลดล็อคเครื่องโทรศัพท์ (ปลดล็อค IMIE) ซึ่งทำให้สามารถนำเครื่องโทรศัพท์จากผู้ให้บริการรายอื่นมาใช้ในระบบของ DTAC ได้ หลังจากนั้น Orange ใช้ กลยุทธ์โดยการขายเครื่องโทรศัพท์ในราคาต่ำกว่าที่ซื้อขายในตลาดทั่วไป แต่มีเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้บริโภคจะต้องจดทะเบียนใช้บริการกับ Orange เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน

2546
..........HUTCH  เริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี 2546

2547
..........TA (Telecom Asia) (เม.ย. 47) บ. เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนชื่อเป็น บ. ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  TRUE และ 
..........TA Orange ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Truemove ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 1800 MHz

2548

2549
..........กทช. ประกาศขยายเลขหมายโทรศัทพ์เคลื่อนที่ จาก 01 เป็น 081 แต่โทรศัพท์พื้นฐานไม่เปลี่ยนแปลง

2550

2551
..........THAI Mobile (30 ก.ย. 51) TOT ซื้อหุ้นคืนจาก กสท. เพื่อมาบริหารทั้งหมด พร้อมทั้งได้สิทธิ์การให้บริการ 3G และสิทธิ์การใช้คลื่นความถี่วิทยุ 1900 MHz แต่เพียงผู้เดียว

2552
..........TOT (ธ.ค 52) ให้บริการระบบ 3G บนโครงข่าย HSPA บนความถี่ 1900MHz(ความถี่ ThaiMobile เดิม) และความถี่ 2100MHz(ความถี่ทดลอง) ในชื่อ TOT3G ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ

2553
..........กทช. (16 ก.ย. 53) ศาลปกครองกลางสั่งระงับการประมูล 3 จีที่ทั้งหมดชั่วคราว (23 ก.ย.53) ศาลปกครองสูงสุดยังคงยืนคำสั่งเดิมของศาลปกครองกลาง  หลังจากนั้น รัฐบาลก็ได้นำเอา พรบ.การจัดสรรคลื่นความถี่ฉบับใหม่ขึ้นมาพิจารณา เพื่อเร่งการจัดตั้ง กสทช.
..........กทช. (15ธ.ค.) เปิดบริการ ย้ายค่ายมือถือ ใช้เบอร์เดิม (Mobile Number Portability)
..........HUTCH (30 ธ.ค.) บ. เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัท ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้งส์ จำกัด , หุ้นของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด, หุ้นของ Rosy Legend Limited และ หุ้นของ Prospect Gain Limited เพื่อจะเปิดใช้บริการในนาม Truemove H

2554
..........Truemove H (30 ส.ค.) เปิดตัวอย่างเป็นทางการ 3G  ความถี่ 850MHz(ความถี่เดิมของ HUTCH)  ครอบคลุม กรุงเทพ และในตัวเมืองอีก 16 จังหวัด
..........AIS เปลี่ยน Logo ใหม่ จากดาวเสาร์ สีน้ำเงิน มาเป็น รูปรอยยิ้มสีเขียว
..........กสทช (7 ต.ค) จัดตั้ง กสทช เสร็จตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
..........DTAC ระบบล่มครั้งแรก (21 ธ.ค.54) มีลูกค้าได้รับผลกระทบกว่า 20 ล้านราย บริษัทต้องเสียค่าชดเชยเป็นมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท

2555
..........DTAC ระบบล่มครั้งที่ 2 (5 ม.ค.55) มีลูกค้าได้รับผลกระทบกว่า 1.8 ล้านราย บริษัทต้องเสียค่าชดเชยคิดเป็นมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท
..........DTAC ระบบล่มครั้งที่ 3 (8 ม.ค.55) มีลูกค้าได้รับผลกระทบกว่า 2 ล้านราย บริษัทต้องเสียค่าชดเชยคิดเป็นมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท
..........AIS (31 ม.ค.55) ทดสอบ 4G LTE โดยได้รับอนุญาตจากทาง กสทช. เบื้องต้นเป็นเวลา 90 วัน ซึ่งความเร็วตามทฤษฏีของ 4G LTE จะอยู่ที่ 100 Mbps 
..........DTAC ระบบล่มครั้งที่ 4 (28 ส.ค.55) ทำให้ผู้ใช้ ไม่สามารถโทรเข้า-ออกได้ตามปกติ รวมถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ต เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก
..........กสทช (15 ต.ต. 55) ศาลปกครองกลางมีคำสั่งแล้ว ยกคำฟ้องคดี "นักวิชาการ" ยื่นฟ้องล้มประมูล 3จี พร้อมสั่งจำหน่ายคดีทันที รองยกส่วนคดี "สุริยะใส" ไม่รับไต่สวนฉุกเฉิน
..........กสทช กำหนดการประมูลคลื่น 3G ความถี่ 2100MHz (2.1GHz) ในวันอังคารที่ 16 ตุลาคม 2555

2556
..........Truemove หมดสัมปทานความถี่ 1800 MHz
..........DPC หมดสัมปทานความถี่ 1800 MHz

2557

2558
..........AIS (ก.ย. 58) AIS หมดสัมปทาน ความถี่ 900 MHz

2559

2560

2561

2562
..........DTAC หมดสัมปทานความถี่ 1800 MHz



**************************************************

เพิ่มเติม

ขอเพิ่มเติมนะครับ

UCOM(DTAC ในปัจจุบัน) ได้รับสัมปทานคลื่น 1800 75MHz 

และได้คืนคลื่นให้ กสท แต่เบื้องลึกๆ เป็นการขายคลื่นต่อให้กับกลุ่มสามารถ และ ไออีซี
โดยแบ่ง 12.5MHz ให้กับกลุ่มสามารถทำระบบ Hello 1800
และ  12.5MHz ให้กับกลุ่มไออีซีทำระบบ Digital IQ 

แลกกับการขยายอายุสัมปทานครับ


โดยทั้งสามารถ และ ไออีซี ต่างก็ติดตั้งเสาสัญญาณของตัวเอง และ ใช้เครือข่ายร่วมกับ Worldphone 1800

เมื่อไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ กลุ่มไออีซีก็ขายคลื่นคืนให้ UCOM แต่กลุ่มสามารถเลือกที่จะขายกิจการให้กลับกลุ่มชินแทน ตรงนี้ทำให้ UCOM ไม่พอใจเป็นอย่างมาก 

เมื่อ UCOM ได้คลื่นคืนกลับมาแล้วก็ไม่ได้ใช้งาน จนสุดท้ายคลื่นดังกล่าวก็ไปอยู่ในกลุ่มเทเลคอมเอเซีย (TA) ครับ

ช่วงแรกเริ่ม คลื่น Digital 1800  จะเรียกว่าเป็นระบบ DCS 1800 แทน GSM1800 ครับ

จากคุณ หัวหมอ


**************************************************

แก้ไข เพิ่มเติม

2545
..........THAI Mobile (พ.ย.) รัฐบาลสมัยนั้นที่ต้องการให้รัฐให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แข่งกับเอกชนเพื่อลดราคา จึงได้ให้รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) โดย ทีโอที กสท และ บจก. วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จัดตั้งบ. เอซีที โมบาย จำกัด ชื่อบริษัทมาจากอักษรตัวแรกของทั้ง 3 หน่วยงาน ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน ระบบ GSM1900 ภายใต้ชื่อ THAImobile ต่อมา บจก. วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ได้ถอนหุ้นไปในปัจจุบัน คงเหลือเพียง ทีโอที : กสท ที่ยังคงดำรงหุ้นในอัตราส่วน 58: 42
..........DTAC ได้ใช้กลยุทธ์การปลดล็อคเครื่องโทรศัพท์ (ปลดล็อค IMIE) ซึ่งทำให้สามารถนำเครื่องโทรศัพท์ไปใช้งานกับระบบของผู้ให้บริการรายอื่นได้ หลังจากนั้น Orange ใช้ กลยุทธ์โดยการขายเครื่องโทรศัพท์ในราคาต่ำกว่าที่ซื้อขายในตลาดทั่วไป แต่มีเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้บริโภคจะต้องจดทะเบียนใช้บริการกับ Orange เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน

การปลดบล็แก IMEI มันไม่ได้ทำที่ตัวมือถือ แต่ทำที่ชุมสาย ดังนั้นมันต้องเป็นแบบนี้ครับ

"DTAC ได้ใช้กลยุทธ์การปลดล็อคเครื่องโทรศัพท์ (ปลดล็อค IMIE) ซึ่งทำให้สามารถนำเครื่องโทรศัพท์จากผู้ให้บริการรายอื่นมาใช้ในระบบของ DTAC ได้"

จากคุณ fairry15




**************************************************

บทความของคุณ fantasea  



Create Date : 20 ตุลาคม 2555
Last Update : 20 ตุลาคม 2555 21:09:05 น.
Counter : 1973 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

replay
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





free website hit counter
New Comments
  •  Bloggang.com