HR Management and Self Leadership
 
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
30 กันยายน 2552

่ค่าจ้างเงินเดือนจ่ายอย่างไรจึงเหมาะสม 2

เมื่อวานได้กล่าวถึงแนวทางในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนโดยจ่ายตามอาวุโสไปแล้ว วันนี้จะมาดูการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนในแนวคิดถัดไปก็คือ “จ่ายตามคุณค่าของงาน” (Job Value Based Pay)

การจ่ายค่าจ้างเงินเดือนตามคุณค่าของงานนั้น เป็นการจ่ายโดยอาศัยตัวเนื้องานเป็นเกณฑ์ ก็คือ พิจารณาจากหน้าที่และความรับผิดชอบของงานที่กำหนดไว้ในแต่ละตำแหน่งที่มี อยู่ในองค์กร ในการพิจารณาจ่ายตามค่างานนั้น วิธีนี้เป็นวิธีที่น่าจะเป็นธรรมมากที่สุดในการกำหนดอัตราการจ่ายค่าจ้าง เงินเดือนของแต่ละตำแหน่ง พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นการกำหนดราคาของตำแหน่งงานแต่ละตำแหน่งก่อนที่จะรับคนเข้ามาทำงาน โดยราคาที่จ่ายนั้น กำหนดมาจากความยากง่ายของงานแต่ละงาน ซึ่งก็ต้องนำมาเปรียบเทียบความยากง่ายนั้นกับราคาตลาดอีกทีว่า งานแบบนี้ในตลาดเขาจ่ายกันอยู่ที่เท่าไร แล้วจึงนำราคานั้นมากำหนดเป็นอัตราค่าจ้างมาตรฐานของบริษัท หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “โครงสร้างเงินเดือน”

การกำหนดอัตราการจ่ายโดยวิธีการดูจากคุณค่าของงานนี้ จึงเป็นวิธีที่ดูแล้วน่าจะเป็นธรรมมากที่สุด เพราะไม่ได้นำเอาตัวคนที่ดำรงตำแหน่งมาประเมินเลย เราประเมินจากตัวเนื้องานเป็นเกณฑ์ ลองประเมินง่ายๆ จากความรู้สึกก่อนก็ได้ครับว่า ตำแหน่ง วิศวกรที่ควบคุมงานก่อสร้าง กับ ตำแหน่งช่างไฟฟ้าที่คอยซ่อมระบบไฟในสำนักงานนั้น สองตำแหน่งนี้ค่างานตำแหน่งานไหนมากกว่ากัน แน่นอนครับ คำตอบก็คือ วิศวกรคุมงานฯ ถามว่าทำไมค่างานจึงมากกว่า คำตอบก็เพราะว่า ต้องใช้ความรู้ในการทำงานมากกว่า ลึกกว่า และมีความรับผิดชอบต่อผลงานที่ได้รับมอบหมายมากกว่านั่นเอง นี่ก็คือตัวอย่างของการประเมินค่างานแบบง่ายๆ

บริษัทที่มีการจ่ายเงินเดือนตามคุณค่าของงานนั้น มักจะมีการจัดทำระบบประเมินค่างานกันอย่างเป็นทางการ เพราะจะทำให้ฝ่ายบุคคลสามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุมีผลว่า ปัจจัยใดที่ทำให้ตำแหน่งานหนึ่งมีค่างานมากกว่า หรือน้อยกว่าอีกตำแหน่งงานหนึ่ง และจะทำให้ระบบการจ่ายเงินเดือนของบริษัทเป็นไปด้วยความเป็นธรรมตามคุณค่า ของงานที่ได้รับมอบหมาย บริษัทที่ใช้ระบบค่างานอย่างจริงจัง จะไม่เกิดเหตุการณ์ที่ว่า ตำแหน่งพนักงานขับรถ ได้เงินเดือนมากกว่าตำแหน่งวิศวกร (ยังคงเกิดขึ้นจริงๆ ในหลายองค์กรนะครับ)

สำหรับบริษัทที่ไม่มีระบบค่างาน เขาจ่ายเงินเดือนกันอย่างไร จริงๆ แล้วถ้าพิจารณากันดีๆ ก็จะเห็นเรื่องของค่างานซ่อนอยู่ในการจ่ายเงินเดือนของบริษัทนั้นอยู่ แม้ว่าจะไม่มีการประเมินค่างานอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่เงินเดือนที่จ่ายนั้น ตำแหน่งงานผู้จัดการฝ่าย ก็มักจะมีเงินเดือนที่สูงกว่า ผู้จัดการแผนก ตำแหน่งวิศวกรเอง ก็ยังมีเงินเดือนที่สูงกว่าช่าง หรือแม่บ้าน สิ่งเหล่านี้ยังคงแสดงให้เห็นถึงพื้นฐานในการจ่ายเงินเดือนของบริษัทของไทยๆ ว่า ยังคงยึดการจ่ายเงินเดือนตามคุณค่าของงานอยู่ แม้ว่าจะไม่มีระบบประเมินค่างานอย่างเป็นทางการก็ตาม

สำหรับบริษัทที่ต้องการจะทำเรื่องการประเมินค่างานอย่างเป็นทางการ ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีนะครับ เพราะจะได้ทำให้ชัดเจนเป็นระบบระเบียบ มีหลักการที่เป็นสากล และสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนมากขึ้นกว่าการใช้ความรู้สึกแต่เพียงอย่าง เดียว

ในการประเมินค่างานนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องมีก็คือ ระบบประเมินค่างาน ซึ่งการออกแบบระบบประเมินค่างานเองอาจจยากสักหน่อยสำหรับบริษัท โดยทั่วไปก็มักจะอาศัยการให้บริการของบริษัทที่ปรึกษาทางด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคลที่มีระบบประเมินค่างาน มาช่วยในการประเมินค่างานทุกตำแหน่งงานของบริษัท

กล่าวโดยสรุปก็คือ การกำหนดวิธีการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนให้กับตำแหน่งงานต่างๆ ในองค์กรนั้น หลักพื้นฐานที่เลี่ยงไม่พ้นก็คือ หลักการจ่ายตามคุณค่าของงาน โดยพิจารณาจากความยากง่ายของงานแต่ละงาน งานที่ยากกว่า ก็จ่ายมากกว่างานที่ง่ายกว่า เป็นต้น และหลังจากที่เริ่มมีพนักงานเข้ามาทำงานในตำแหน่งงานต่างๆ แล้ว สิ่งที่บริษัทจะต้องคิดต่อไป ก็คือ การจ่ายค่าจ้างเงินเดือนบนพื้นฐานของผลงานและความสามารถของคนที่เข้ามาทำงาน ซึ่งผมจะขอยกไปเขียนในวันต่อไปนะครับ




 

Create Date : 30 กันยายน 2552
0 comments
Last Update : 30 กันยายน 2552 21:05:49 น.
Counter : 1639 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]