HR Management and Self Leadership
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
26 ธันวาคม 2552

Feedback กับการบริหารงาน


มีผู้อ่านถามมาอีก ว่า ในการบริหารผลงานนั้น การให้ Feedback กับพนักงานมีความสำคัญแค่ไหน และถ้าสำคัญจะทำอย่างไรให้หัวหน้างานให้ Feedback กับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ


คำถามนี้เป็นคำถามที่สนใจมากนะครับ โดยปกติแล้วหน้าที่ของหัวหน้าก็คือกำกับดูแล และบริหารงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยผ่านคน หรือลูกน้องตนเอง ดังนั้นการให้ Feedback น่าจะเป็นสิ่งปกติที่หัวหน้าจะต้องทำอยู่แล้วด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ว่าจะทำก็ต่อเมื่อบริษัทเรานำเอาระบบบริหารผลงานเข้ามาใช้


มีบางคนเข้าใจว่าการที่เราไม่มีระบบบริหารผลงานที่ชัดเจนนั้นอาจจะเป็น เหตุให้หัวหน้าไม่รู้จะให้ Feedback อะไรกับลูกน้อง แต่มานั่งคิดอีกที มันก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะการที่มีลูกน้องเข้ามาทำงาน เราก็ต้องมีการมอบหมายงานให้ลูกน้อง และมีการกำหนดเป้าหมายของการทำงานอยู่แล้ว และที่สำคัญก็คือถ้าตำแหน่งงานไหนที่เราไม่สามารถจะบอกได้ว่า เราคาดหวังความสำเร็จอะไรจากตำแหน่งงานนั้นๆ แล้ว ผมว่า ตำแหน่งงานนั้นก็ไม่จำเป็นจะต้องมีในองค์กรเลย เพราะไม่รู้มีไปทำไม จริงมั้ยครับ


ดังนั้นในการบริหารงาน ไม่ว่าจะเป็นงานอะไรก็ตาม เมื่อไรที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง หรือแม้กระทั่งการทำงานเป็นทีมก็ตาม ผมคิดว่าการที่หัวหน้าให้ Feedback กับลูกน้องหรือลูกทีมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ในการที่จะทำให้งานของเราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้แบบไม่คลาดเคลื่อนมากนัก


แต่ทำไมหัวหน้าจึงไม่ค่อยอยากให้ Feedback ลูกน้องตัวเอง จากประสบการณ์ที่ผมเจอมากับบริษัทลูกค้าที่ไปวางระบบบริหารผลงานให้ ส่วนใหญ่ก็คือ เขาไม่เคยทำมาก่อน แล้วก็ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มอย่างไร และต้องพูดอะไรบ้าง ส่วนพนักงานเองก็ไม่เคยที่จะได้ Feedback จากหัวหน้ามาก่อนเลย พอรู้ว่าต้องมาทำแบบนี้ ก็เลยรู้สึกแปลกๆ บอกไม่ถูก และไม่ค่อยอยากคุยกับหัวหน้า หรือบางคนก็เข้าใจว่า เป็นการตำหนิจากหัวหน้า ก็ไม่อยากจะได้ Feedback


การที่เราจะเริ่มต้นให้มีการพูดคุยกันเรื่องของผลงานนั้น ถ้าองค์กรของเรายังไม่เคยทำมาก่อนเลย สิ่งที่ต้องเริ่มต้นก็คือ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหัวหน้างานทุกระดับ โดยการแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และส่งเสริมให้ผู้บริหารและหัวหน้างานทุกระดับทำมันอย่างต่อเนื่อง


แรกๆ อาจจะมีปัญหาว่าไม่รู้จะพูดอะไรดี หัวหน้างานบางคนก็ตรงไปตรงมาจนน่ากลัว บางคนก็ยังไม่กล้าที่จะพูดกับลูกน้องเรื่องผลงานที่แย่ๆ ของเขา กลัวเขารู้สึกไม่ดี เกรงใจ กลัวว่าเดี๋ยวเขาจะหาว่าหัวหน้าเคี่ยว และหมดกำลังใจในการทำงานไป


จริงๆ การที่ไม่ให้ Feedback นี่สิครับ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะลูกน้องของเราจะไม่รู้เรื่องเลยว่างานที่เขาทำออกมานั้น ดี หรือ ไม่ดีอย่างไร ต้องปรับปรุงอะไรบ้าง และทำแล้วมันบรรลุเป้าหมายที่เรากำหนดไว้หรือไม่ วิธีเดียวที่จะทำให้ลูกน้องของตนทราบก็คือ หัวหน้าเป็นคนบอก ในการให้ Feedback นี้ เราถือว่าเป็นการพัฒนา ไม่ใช่การตำหนิ หรือจับผิด (ซึ่งพนักงานหลายคนมองว่าอย่างนั้น) ผมกลับมองว่า เป็นการจับถูกมากกว่าจับผิด เพราะทำให้เราได้พัฒนา และปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ พนักงานจะเก่งขึ้น และทำงานผิดพลาดน้อยลง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากบริษัทลูกค้าที่ผมเข้าไปให้คำปรึกษามาแล้ว


แรกๆ อาจจะยากสำหรับองค์กรที่ไม่มีวัฒนธรรมแบบนี้ แต่จริงๆ แล้วเราอาจจะลืมวิธีการบริหารที่เราเรียนมาแล้วก็ได้ จนไม่เห็นว่า Feedback มีความสำคัญอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นวงจร PDCA (Plan Do Check Act) หรือ หลักการบริหารงาน POSDCoRB (คิดว่าจะน่าผ่านหูผ่านตามาบ้างนะครับ) วิธีการบริหารเหล่านี้ล้วนมีเรื่องของการให้ Feedback ทั้งสิ้นครับ


การที่เราบริหารงานโดยไม่พูดคุยอะไรกับทีมงานเลยมันก็ไม่ต่างกับการทำงานคนเดียวนะครับ




 

Create Date : 26 ธันวาคม 2552
2 comments
Last Update : 26 ธันวาคม 2552 9:57:56 น.
Counter : 1223 Pageviews.

 

ไม่ว่าจะปีไหน
เรายังมีไฟในใจให้สร้างสรรค์
กาลเวลาหมุนไปล่วงเลยวัน
ยังเก็บฝันไห้ไปไม่รอรี

ขอให้ชีวิตมีแต่ความสุข
ปราศจากโรคภัยด้วยหลีกลี้
หายทุกข์โศกโรคภ้ยมีแต่สิ่งดี
ทุกโมงยามราตรีปีใหม่เอย

 

โดย: chabori 26 ธันวาคม 2552 11:04:07 น.  

 

เพราะเขาจะช่วยให้เรามองในมุมที่ต่างออกไปนะคะ

บางเรื่องเราอาจไม่เคยมองมาตลอดเลย ก็ชักมองเห็น

 

โดย: tuk-tuk@korat 26 ธันวาคม 2552 16:55:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]