มกราคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
25 มกราคม 2551
 

อนาคตอุตสาหกรรมไทย

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2551 สำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จัดสัมมนาเรื่อง “อนาคตอุตสาหกรรมไทย” ที่ไบเทค บางนา ผู้เขียนมีโอกาสเข้าไปนั่งรับฟังการสัมมนาตลอดทั้งวัน เนื่องจากมีประเด็นที่น่าสนใจมากมายเกี่ยวกับอนาคตอุตสาหกรรมไทยไม่ว่าจะเป็น การปาฐกถาพิเศษเรื่อง “อนาคตอุตสาหกรรมไทย” โดย ฯพณฯ ท่าน โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม การบรรยายเรื่อง “ทิศทางเศรษฐกิจไทย” โดย นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการนำเสนอวิสัยทัศน์และแผนยุทธศาสตร์รายสาขาและโครงการในปี 2552-2555 ของ 5 สาขาอุตสาหกรรมหลัก ซึ่งประกอบด้วย 1) ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ 2) ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3) สิ่งทอและเครื่อนุ่งห่ม 4) อาหาร และ 5) พลาสติก โดยผู้อำนวยการแต่ละสถาบัน ทั้งนี้ ผู้เขียนได้รับฟังการปาฐกถาพิเศษเรื่อง “อนาคตอุตสาหกรรมไทย” โดย ฯพณฯ ท่าน โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เห็นว่ารายละเอียดเนื้อหาเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านที่เป็นนักอุตสาหกรรม เพื่อจะได้นำแนวคิดดังกล่าว ไปประเมินอนาคตอุตสาหกรรมไทยตามแนวคิดของ ฯพณฯ ท่าน โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมตรีกระทรวงอุตสาหกรรม สรุปคำกล่าวปาฐกถาพิเศษ ดังนี้

ปัญหาที่ภาคอุตสาหกรรมประสบในอนาคตคือ ปัญหาโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งโลกาภิวัฒน์ทำให้เกิดปัญหา 2 ประการหลัก ประกอบด้วย
1.ปัญหาทางด้านปัจจัยพื้นฐาน (Process) ได้แก่ ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน,ระบบโลจิสติกส์, ความสามารถของแรงงานฯลฯ ที่จะเป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและบั่นทอนขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม สำหรับประเทศไทยมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี แต่อนาคตประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาตนเองตลอดเวลา จะหยุดนิ่งไม่ได้ ประเทศไทยต้องเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เพิ่ม Productivity และ Efficiency ของตนเองเพื่อการพัฒนาหนีคู่แข่ง และการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน
2.ปัญหาปัจจัยทางด้านตัวแปร (Event) ได้แก่ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น, ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น, ปัญหา Sub prime ของสหรัฐ ฯลฯ เป็นตัวแปรที่ผันผวน และภาครัฐไม่สามารถกำหนดได้ และเป็นสิ่งที่ทุกประเทศต่างประสบด้วยกันทั้งนั้น ที่ผ่านมาภาคเอกชนให้ความสำคัญเรื่องปัจจัยทางด้านตัวแปรเป็นอันดับแรกและมักเรียกร้องให้แก้ไขปัญหานี้ แต่เป็นการยากเพราะปัจจัยเหล่านี้ เป็นไปตามโลกาภิวัฒน์ ประเทศไทยเป็นผู้เล่น โลกาภิวัฒน์คือ ผู้กำหนดโจทย์

การแก้ไขปัญหาโลกาภิวัฒน์ต้องทำงานร่วมกันระหว่าง 3 หุ้นส่วนหลัก คือ
1.ภาครัฐ (เป็นหุ้นส่วนผู้สนับสนุน)
2. ภาคเอกชน (เป็นหุ้นส่วนรายใหญ่ต้องลงมือทำเอง)
3.ปัญญาผู้รู้ (เป็นหุ้นส่วนผู้ให้ความรู้ ได้แก่ สถาบันการศึกษา ฯลฯ)

ทั้ง 3 หุ้นส่วนต้องทำงานสอดประสานกัน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน, และวางแผนยุทธศาสตร์โดยมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน

สำหรับปัญหาที่เราควรแก้ไขและประเทศไทยจะลืมไม่ได้ คือ “ปัญหาทางด้านพื้นฐาน” เพราะหากสนใจเพียงปัญหาปัจจัยด้านตัวแปร เช่น ค่าเงิน, ราคาน้ำมัน คงไม่สามารถกระทำได้ เพราะเป็นปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงและผันแปรได้ตลอดเวลามีทั้งขึ้นและลงตามวัฎจักร การพัฒนาอย่างยั่งยืน ควรให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาด้านปัจจัยพื้นฐานเป็นอันดับแรก แม้ว่าจะเป็นเรื่องนามธรรมที่น่าเบื่อ แต่หากหุ้นส่วนทั้ง 3 ไม่ให้ความสำคัญ เป็นการยากที่จะยืนหยัดอยู่ภายใต้โลกาภิวัฒน์ที่มีการเคลื่อนไหวแบบพลวัตรแบบไม่มีที่สิ้นสุดได้

ผู้เขียนเห็นว่า คำกล่าวปาฐกถาพิเศษของ ฯพณฯ ท่าน โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็นแนวคิดที่ลึกซึ้ง และเหมาะสมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ การร่วมคิดร่วมทำ (Collaboration) ระหว่าง 3 หุ้นส่วนหลักได้แก่ ภาคเอกชน ภาครัฐ และผู้รู้ จะเป็นตัวขับเคลื่อน และกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน




 

Create Date : 25 มกราคม 2551
0 comments
Last Update : 25 มกราคม 2551 10:06:49 น.
Counter : 1394 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

How Much
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add How Much's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com