space
space
space
 
พฤศจิกายน 2559
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
space
space
23 พฤศจิกายน 2559
space
space
space

มาดูเมล็ดพันธุ์กะหล่ำปลียักษ์และการปลูกกะหล่ำปลียักษ์



 วันนี้มาแนะนำเพื่อนๆปลูกกะหล่ำปลียักษ์สายพันธุ์ต่างประเทศและมีเมล็ดพันธุ์กะหล่ำปลียักษ์จำหน่ายด้วยค่ะ

การเตรียมปลูกกะหล่ำปลี


กะหล่ำปลีชอบดินร่วนมากที่สุด อุณหภูมิที่ใช้ในการปลูกควรอยู่ที่ประมาน 15-20 องศาเซลเซียส สภาพดินต้องมีความเป็นกรดด่างประมาณ 6-6.5 และสามารถทนสภาพดินเค็มที่จะเกิดขึ้นได้ดี นอกจากนี้จะต้องปลูกในฤดูฝนเท่านั้นเพราะต้องการความชื้นในดินสูงตลอดระยะเวลาในการปลูก ได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ส่วนวิธีการปลูกนั้นสามารถปลูกได้โดยการหยอดเมล็ดและย้ายกล้า

การเตรียมดินสำหรับปลูกนั้นต้องเตรียมดินให้มีหน้าดินที่ดี มีความลึกไม่ต่ำกว่า 1 ฟุต หลังจากพลิกตากดินครั้งแรกแล้ว หลังจากนั้นควรย่อยดินพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเก่า คลุกปุ๋ยกับดินให้ทั่วและทำให้ดินแตกละเอียดเป็นก้อนเล็กที่สุดสำหรับทำแปลงเพาะกล้า ส่วนแปลงปลูกอาจย่อยดินให้หยาบกว่าแปลงเพาะกล้าก็ได้ และหากดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับกรดในดิน

การปลูกและการดูแลกะหล่ำปลี

โดยทั่วไปมักนิยมปลูกโดยการเพาะกล้า เนื่องจากเมล็ดพันธุ์มีขนาดเล็ก ดังนั้นแปลงกล้าจึงต้องย่อยดินให้ละเอียด เพื่อมิให้เมล็ดแทรกลงไปในดินลึกมากนัก เพราะอาจทำให้เน่าตายและไม่งอกพ้นดิน ประกอบกับเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ต้องสั่งจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง แปลงเพาะกล้าควรกว้างไม่เกิน 1 เมตร ยาวประมาณ 4 เมตร หากจะใช้กระบะเพาะควรมีขนาด 30 × 50 เซนติเมตร หน้าดินสำหรับกล้าต้องลึกไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร อาจโรยเมล็ดเป็นแถวๆ ระยะแถวห่างกัน 5 เซนติเมตร หรือหว่านไปทั่วแปลงโดยให้กล้าแต่ละต้นห่างกัน 2-4 เซนติเมตร เมื่อหว่านแล้วควรใช้ดินร่วนหรือปุ๋ยคอกเก่ากลบให้หนา 1 เซนติเมตร และใช้เศษฟางคลุม เมื่อกล้างอกมีใบ 2 ใบ เลือกต้นอ่อนแอทิ้งไป การรดน้ำต้องรดเช้าเย็น โดยใช้ระบบน้ำเป็นฝอยและต้องใช้การพลางแสงบ้างหากแดดแรงจัดเกินไป อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ในแปลงกล้า ใช้ 40 กรัมต่อพื้นที่ 2-2.5 ตารางเมตร

ในแปลงกล้าควรตรวจดูสภาพโรคและแมลง และฉีดยาป้องกันกำจัดตามความจำเป็น การใช้ปุ๋ยหากต้องการเร่งให้กล้าเจริญเติบโตแข็งแรงดี ควรให้ปุ๋ยผสมละลายน้ำที่มีฟอสฟอรัสสูง เมื่อกล้ามีอายุ 30-45 วัน จะสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร เป็นระยะที่ควรย้ายกล้าได้ แต่ต้องไม่ลืมทำการ hardening กล้าก่อนที่จะทำการย้ายกล้า 1 สัปดาห์ และควรตัดปลายใบทิ้งบ้างในขณะย้ายกล้าเพื่อลดการเหี่ยวเฉา ในกรณีที่ต้องขนย้ายกล้าไปปลูกไกลๆ ควรย้ายกล้าจากแปลงลงในถุงพลาสติกถุงละต้น หรือย้ายลงในกระบะชำเพื่อสะดวกในการขนย้าย การนำกล้าลงแปลงควรทำตอนที่แสงแดดอ่อนและต้องรดน้ำทันทีหลังจากนำกล้าลงแปลงปลูกแล้ว และสำหรับระยะห่างระหว่างกล้า ถ้าเป็นกะหล่ำปลีพันธุ์หนักหัวจะมีขนาดใหญ่ ให้เว้นระยะห่างประมาณ 80-90 เซนติเมตร ถ้าเป็นพันธุ์เบาหัวจะเล็กกว่า ให้เว้นระยะห่างประมาณ 40-50 เซนติเมตร

สำหรับการให้น้ำ ต้องรดน้ำให้เพียงพอโดยสังเกตว่าต้องให้ดินชื้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะกะหล่ำปลีมีรากตื้น ดังนั้นน้ำที่ผิวดินก็มักระเหยไปได้เร็ว จึงควรระวังในการพรวนดิน กำจัดวัชพืช ต้องไม่ให้กระทบกระเทือนราก การป้องกัน การระเหยน้ำจากผิวดิน อาจทำได้โดยการใช้วัสดุ เช่น ฟางคลุมดินด้านหน้า

สำหรับการให้ปุ๋ย เนื่องจากกะหล่ำปลีเป็นผักที่ใช้ใบนำมาเป็นอาหาร ใบที่มีคุณภาพดีต้องกรอบและอ่อน ไม่มีเสี้ยน คุณสมบัติเหล่านี้จะมีได้ต่อเมื่อกะหล่ำปลีได้รับธาตุอาหารเพียงพอโดยเฉพาะไนโตรเจน นอกจากนี้ยังต้องการฟอสฟอรัสที่พอเพียงเพื่อทำให้ตั้งตัวดีในการปลูกระยะแรก ซึ่งจะทำให้แข็งแรงและมีรสชาติดีขึ้นด้วย ปุ๋ยโปแตสเซียมจำเป็นสำหรับกะหล่ำปลีเท่าๆ กับปุ๋ยไนโตรเจน เพราะทำให้หัวห่อแน่น น้ำหนักของหัวมาก ผิวใบเป็นมันและรสอร่อย โดยทั่วไปในการเตรียมแปลงปลูกจึงมักใช้ปุ๋ยคอกผสมดินลงไปครึ่งหนึ่งก่อน แล้วจากนั้นจึงค่อยเติมปุ๋ยต่างๆ ลงไปดังต่อไปนี้

  • ให้ปุ๋ยไนโตรเจนประมาณ 19-33 กิโลกรัม / ไร่
  • ให้ปุ๋ยฟอสฟอรัสประมาณ 14-20 กิโลกรัม / ไร่
  • ให้ปุ๋ยโปแตสเซียมประมาณ 23-50 กิโลกรัม / ไร่

สัดส่วนของปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้ คือ แคลเซียมแอมโมเนียมไนเตรด (10%) แอมโมเนียมซัลเฟตไนเตรท (26%) ยูเรีย (45%) แอมโมเนียมซัลเฟต (20%) นอกจากนี้ อาจใช้ปุ๋ยสูตรผสมควบคู่ไปด้วย เช่น สูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 ในอัตรา 100-150 กิโลกรัม / ไร่ ซึ่งขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน หากดินไม่ดีควรแบ่งใส่ครึ่งหนึ่งก่อนในตอนเตรียมแปลงปลูก และอีกครึ่งหนึ่งให้ใส่เมื่อย้ายกล้าปลูกได้ 2 สัปดาห์ สำหรับปุ๋ยไนโตรเจน ควรใส่อีกครั้งหลังจากย้ายกล้าได้ 45 วัน

การเก็บเกี่ยวกะหล่ำปลี

การเก็บเกี่ยวนั้นจะต้องพิจารณาจากอายุและห่อหัวของกะหล่ำในระยะที่กะหล่ำปลีห่อหัวแน่นที่สุด จะเป็นระยะที่ให้น้ำหนักดีที่สุด แต่ถ้าเลยระยะนี้ไปหัวกะหล่ำจะปริแตกซึ่งเสี่ยงต่อการเสียหายและโรคแมลงจะเข้าทำลายได้ง่ายมาก โดยทั่วไปพันธุ์หนักจะใช้เวลาปลูกประมาณ 100-140 วัน พันธุ์กลาง 73-83 วัน และพันธุ์เบาประมาณ 63-73 วัน แต่บางครั้งการเก็บเกี่ยวต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดด้วย เช่น ตลาดต้องการกะหล่ำปลีที่มีน้ำหนักหัวเบา ก็ต้องเก็บเกี่ยวตอนหอหัว ยังไม่แน่นเต็มที่

วิธีการเก็บนั้นให้ใช้มีดตัดตรงโคนให้มีใบนอกๆ ซึ่งเผยออกเล็กน้อยหุ้มหัวมาด้วย เพื่อป้องกันความชอกช้ำในการขนส่ง ในกรณีที่กะหล่ำห่อหัวไม่สม่ำเสมอ ต้องทยอยกันตัด ผลผลิตเฉลี่ยสำหรับพันธุ์เบาที่ปลูกกันทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ประมาณ 5-6 ตัน / ไร่

นอกจากนี้เกษตรกรบางรายตัดหัวกะหล่ำปลีโดยให้เหลือส่วนของต้นและใบล่างๆ ไว้ในแปลงหลังจากนั้นก็ปลูกและบำรุงรักษาแปลงปลูกนั้นต่อไป โดยการให้น้ำต้นกะหล่ำปลีนั้นก็จะแตกตาแขนงและแขนงเหล่านี้สามารถเก็บไปขายตลาดได้ราคาดี แต่ต้นทุนค่าแรงในการเก็บค่อนข้างสูงมาก


จะเห็นว่าไม่ยากนะค่ะในการปลูกกะหล่ำปลี

แหล่งจำหน่ายเมล็ดพันธุ์กะหล่ำปลียักษ์

//facebook.com/thailandseedshop




 

Create Date : 23 พฤศจิกายน 2559
0 comments
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2559 17:52:04 น.
Counter : 1642 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 3538665
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 3538665's blog to your web]
space
space
space
space
space