ที่ใดมีธรรมะ...ที่นั่นจะพบกับทางออกของชีวิต ^_^
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2560
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
6 กุมภาพันธ์ 2560
 
All Blogs
 
1. บทนำ (กรรมสนองกรรม)



 

“ใจเป็นผู้นำทุกสิ่งทุกอย่าง

 

ใจเป็นใหญ่

 

ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ

 

ถ้าคนเรามีใจบริสุทธิ์

 

การพูด  การกระทำ

 

ก็พลอยบริสุทธิ์ไปด้วย

 

เพราะการพูดการกระทำ

 

อันบริสุทธิ์นั้น

 

ความสุขย่อมตามสนองเขา

 

เหมือนเงาติดตามตน”

 

                พาราณสี  ---

 

                  แผ่นดินชมพูทวีป  อันได้ชื่อว่าเป็นเมืองแม่ของ

 

ศาสนาและอารยธรรมในครั้งกระโน้นมีความมั่งคั่งมาก  อุดม

 

ไปด้วยทรัพย์ในดินสินในน้ำ  บ้านเมืองใหญ่ๆ  เช่น  สาวัตถี

 

โกสัมพี  และ  พาราณสี  เป็นต้น  เป็นเมืองที่มากด้วยผู้คน

 

พลเมืองและการค้าขาย  ประชาชนมีการเป็นอยู่อย่างสงบสุข

 

การเดินทางไปมาค้าขายระหว่างแคว้นต่างๆ  ก็ปราศจากนานาภัย

 

ที่เป็นเช่นนี้เพราะประชาชนส่วนมากเคารพหนักแน่น

 

ในศาสนา  มีศาสนาเป็นแนวทางดำเนินชีวิต  เขาถือเรื่อง

 

ทางใจเป็นสิ่งสำคัญกว่าทางกาย

 

                ในสมัยใดชาวโลกสนใจเรื่องของกายมากกว่าเรื่องของใจแล้ว

 

สมัยนั้นมีความยุ่งยากมาก  สมัยใดคนสนใจเรื่องใจมาก

 

สมัยนั้นย่อมสงบสุข  ใจจึงสำคัญกว่ากาย  ศาสนาเป็นเหมือน

 

อาภรณ์ประดับใจ  ทำให้ใจสูงพ้นจากระดับของความชั่ว

 

ความเศร้าหมอง  ทุกคนจึงต้องมีศาสนาเป็นหัวใจ  ถ้าใจดีแล้ว

 

กายก็ดีด้วย  ถ้าใจชั่วแล้วกายย่อมชั่วด้วย  นี่เป็นความจริงแท้

 

ความทุกข์  สุข  ชั่ว  ดี  อยู่ที่ใจของเราเอง

 

                ในขณะใดความชั่วเข้าสิงใจเรา  ก็รู้สึกเป็นทุกข์ร้อนใจ

 

เพราะความชั่วเปรียบเหมือนผีร้าย  ขณะใดความดีอยู่ที่ใจก็สงบ

 

เพราะความดีเป็นพระ  พระนำความดีมาให้  ผีนำความร้ายมาให้

 

คนชั่วเป็นลูกศิษย์ของผี  คนดีเป็นลูกศิษย์ของพระ  เลือกเอาเถิด

 

                เมืองพาราณสี  นอกจากจะเป็นศูนย์กลางของการค้าแล้ว

 

ยังเป็นเสมือนศูนย์กลางของชมพูทวีปด้วย  ตัวเมืองนี้ตั้งอยู่บน

 

ฝั่งขวาของแม่น้ำคงคา  ซึ่งชาวอินเดียว่าหลั่งไหลมาจาก

 

สรวงสวรรค์  พาราณสีจึงเป็นปูชนียสถานของพราหมณ์

 

ในเมืองมีเทวสถานมากหลายรายสะพรั่งสองฟากฝั่งคงคา

 

                ในยามเย็นจะเห็นประชาชนทุกเพศทุกวัยเดินลงสู่ท่าน้ำ

 

เพื่อนมัสการแม่คงคาบ้าง  เพื่อเอาน้ำรดหัวลูบหน้า

 

อาบดื่ม  ชำระบาปบ้าง  นักบวชที่ผมยาวร่างกายแปดเปื้อนด้วย

 

ฝุ่นละออง  นั่งหลับตาชักลูกประคำ  ปากก็พร่ำภาวนาเสียงพึมพำ

 

พราหมณ์เฒ่านั่งใต้ร่มคันใหญ่  อ่านคัมภีร์พระเวทจนคอเป็นเอ็น

 

มีนางพรามหณีนั่งฟังอยู่ข้างๆ  ด้วยความตั้งใจ  พอจบบทจบตอนหนึ่ง

 

เขาก็มีสีหน้าท่าทีอิ่มเอิบสบายใจ

 

                  ริมฝั่งแม่น้ำคงคานี้  แทบทุกวันเราจักเห็นมีคนช่วยกัน

 

กองฟืนกองใหญ่  แล้วสักครู่ก็พากันหามเตียงนอนซึ่งมีซากศพ

 

คลุมผ้าอยู่บนนั้น  พอมาถึงกองฟืนก็วางลงไปทั้งเตียง  แล้วญาติ

 

ของผู้ตายก็พากันลงสู่แม่น้ำคงคาสระสนานล้างบาปมลทิน

 

ขึ้นจากน้ำครอบผ้าขาวใหม่เอี่ยม  แล้วเดินรอบเชิงตะกอนสามรอบ

 

ทุบหม้อน้ำที่ถือมาให้แตกและจุดไฟเผาสรีระ  ครั้นเผาแล้วก็ช่วยกัน

 

กวาดเถ้าถ่านทิ้งลงไปในสายน้ำคงคา  เป็นอันเสร็จกิจ

 

พิธีเผาศพ  เป็นการเผาศพที่ลงทุนน้อย  แต่ได้ผลไหม้เป็นขี้เถ้า

 

เหมือนกัน

 

                เมืองไทยเรา  เวลามีคนตายนิยมเก็บศพไว้หลายๆ  วัน

 

จนเน่า  มีการเลี้ยงเหล้าเลี้ยงข้าวเป็นการใหญ่  มีการเล่นการพนัน,

 

มหรสพ,  รำวง  รำเวียน  เฮฮากันราวกับว่าคนที่ตายนั้น

 

เป็นคนที่ชั่วร้ายขนาดหนัก  ตายเสียดีนัก  พวกที่อยู่ข้างหลัง

 

จึงแสดงความยินดีรื่นเริงกันใหญ่  ทั้งนี้เป็นการเปลืองเงิน

 

เปลืองทองเปลืองเวลา  และเท่ากับปลูกความเลวร้ายให้แก่

 

คนใจร้ายด้วย  เป็นเรื่องที่ควรแก้ไขกันได้แล้ว  บางทีศพนั้นเป็นศพพระ

 

ซึ่งควรเผาอย่างง่ายๆ  ให้สมกับเป็นศพของผู้สละโลกแล้ว

 

เยี่ยงแบบในพุทธกาล  พวกเราก็กลับเผายศกัน  ลงทุน

 

เอาเงินเผาทิ้งเสียเป็นจำนวนมาก  พอที่จะเลี้ยงคนจนๆ  ได้สักร้อย

 

ครอบครัวเป็นเวลาหนึ่งเดือน

 

                นอกจากพาราณสีจักเป็นบุญจาริกภูมิแห่ง

 

พราหมณ์แล้ว  ยังเป็นบุญสถานของชาวพุทธด้วย

 

เพราะสถานที่อันไกลไปจากตัวเมืองด้านเหนือ  ราวๆ  6  ไมล์

 

เป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ได้แสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก

 

ตรงนั้นเรียกว่า  “อิสิปตนมฤคทายวัน”  เป็นป่าร่มรื่นน่าอภิรมย์

 

ซึ่งพระองค์ได้พำนักจำพรรษาอยู่ตลอดกาลฤดูฝน

 

และทรงได้สานุศิษย์อันเป็นผู้มั่งคั่งของพาราณสี  ถึง  60  คน

 

คนเหล่านี้แม้เขาจะเป็นคนหนุ่มที่อุดมทรัพย์ศฤงคาร  แต่ก็ได้

 

เห็นภัยแห่งชีวิตในสังสารวัฏฏ์  จึงได้สละออกจากกามเสีย

 

แล้วไปบวชเจริญรอยตามสมเด็จพระสมณโคดม  ครองชีวิตตามทาง

 

ของพระอรหันต์  ออกพรรษาแล้วก็พากันเดินทางไปทำงาน

 

อันเป็นประโยชน์แก่ชีวิตต่อไป  พาราณสีจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่

 

ธรรมจักรได้เริ่มหมุนเป็นครั้งแรก  เป็นเมืองสำคัญของชาวพุทธ

 

เช่นเดียวกับของชาวฮินดู

 

                พื้นภูมิประเทศ  ห่างจากตัวเมืองออกไปเป็นที่ราบ

 

เหมาะแก่การเพาะปลูก  หน้าฝนชาวนาก็ปลูกข้าวเจ้าเต็มไปหมด

 

ทั้งทุ่ง  พอหน้าหนาวก็เก็บเกี่ยวข้าวเจ้าแล้วก็ปลูกข้าวสาลี,

 

ข้าวโพด,  ถั่ว,  งา  และพืชผัก  ชาวพาราณสีขยันทำกิน  มิได้

 

ปล่อยชีวิตให้ตกหลุมอบายมุข  การดื่มเหล้า,  เล่นการพนัน,

 

เที่ยวหาหญิงบำเรอกาม  ตลอดจนการสำรวยฟุ้งเฟ้อ  เป็นสิ่ง

 

ที่หาได้ยากในเมืองพาราณสี  พาราณสีจึงเป็นเมืองที่สงบสุข

 

แห่งหนึ่งในโลก

 

                พระราชาผู้ครองประเทศ  เป็นพระราชาแห่งประชาธิปไตย

 

เป็นระบบประชาธิปไตยที่เป็นไปตามความต้องการของมหาชน

 

กล่าวได้ว่า  เป็นประชาธิปไตยจริงๆ  ที่มีราชาเป็นประมุข

 

มีขุนพลสัตยานันท์เป็นผู้ว่าราชการแผ่นดินแทน

 

ท่านขุนพลเป็นคนดีแท้  มีวัตรมั่นคงอยู่ในศีลห้าจริงๆ  เป็นนักเสพผัก

 

และไม่แตะต้องของมึนเมาอย่างเด็ดขาด  มีภรรยาเพียง

 

คนเดียวและไม่เคยยุ่งกับผู้หญิงอื่น  ครองชีพอย่างง่ายๆ

 

แม้ตนเป็นขุนพลของแคว้นผู้มีอำนาจมากจักทำอะไรก็ได้  แต่ก็ไม่เคย

 

ใช้อำนาจของตนทำให้ใครเดือดร้อนเลย  เป็นผู้บูชา

 

ความบริสุทธิ์ด้วย  ตั้งแต่เป็นขุนพลมา  ฐานะทางครอบครัวไม่ร่ำรวย

 

สมบัติ  แต่ต้องการความดี  เพราะท่านคิดว่า  “เราเป็นหัวหน้าแถว

 

ถ้าเราคดแล้ว  แม้จักบอกให้คนอื่นตรง  มันก็ตรงไม่ได้

 

ถ้าเราไม่ถือธรรมะแล้ว  จักไปบอกให้คนอื่นถือธรรมะ  ใครเขา

 

จักเลื่อมใส”

 

                เมื่อประชาชนดี  ผู้ปกครองดี  ประมุขนำดี  บ้านเมืองก็

 

สงบเรียบร้อยเป็นปกติสุขเสมอมา

 

                แต่ในสังคมมนุษย์นี้ไม่ว่าสมัยไหน  ถึงแม้จะได้ชื่อว่า

 

เป็นสังคมที่มีแต่ความสงบสุข  เต็มไปด้วยคนดีก็ตาม  ที่จะไม่มี

 

ความยากจนคับแค้น  ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบกันอย่าง

 

ยุติธรรมเลยนั้น  เป็นไปไม่ได้  เพราะในโลกนี้ทุกข์-สุข,

 

ชั่ว-ดี  เป็นของคู่กัน  เมืองพาราณสีที่กล่าวถึงนั้นก็เช่นเดียวกัน

 

                มีเรื่องตัวอย่าง  ที่ควรจักเล่าสู่กันฟังเรื่องหนึ่ง  ดังท่าน

 

จักได้สดับตอนต่อไป...........................

 

จากหนังสือกรรมสนองกรรม

 

ผู้แต่ง  พระธรรมโกศาจารย์  (ปัญญานันทภิกขุ)

 

เรียบเรียง  :  พ.ศ. 2499

 

จัดพิมพ์โดย  กองทุนปัญญานันทธรรม  ศูนย์สืบอายุพระพุทธศาสนา

 

                     วัดชลประทานรังสฤษฏ์

 




Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2560
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2560 16:41:13 น. 0 comments
Counter : 232 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นาคสีส้ม
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




วัตถุประสงค์ของ blog นี้ :

เนื่องจากส่วนตัวเป็นคนชอบได้หนังสือธรรมะมาจาก
ที่ต่างๆ และมักชอบซื้อมาอ่านเป็นประจำเสมอ
เลยทำให้หนังสือกองเต็มบ้านมากมาย
เวลาจะนำไปบริจาค ก็มักจะเสียดาย เพราะ
บางครั้ง บางที ก็หยิบเล่มเก่าๆมาอ่านอีกรอบ
เวลาใครมาขอรับบริจาคอะไรต่างๆ
มักจะหวงไว้ ไม่ค่อยส่งต่อหนังสือให้ใคร

จนมาคิดว่า ไม่ควรจะหวงไว้
เพราะเนื้อหาค่อนข้างมีประโยชน์
นำมาปรับใช้ในชีวิตได้เป็นอย่างดี
เลยอยากจะแบ่งปันความสุขให้คนอื่นๆ

เลยจัดทำ blog นี้ขึ้นมาค่ะ
ไว้เก็บรวบรวมเนื้อหาที่ได้อ่านแล้ว
มาเก็บไว้ที่นี่ ส่วนหนังสือก็จะนำไปบริจาค
ให้คนอื่น ได้ใช้ประโยชน์ต่อไปค่ะ

สำหรับเล่มไหนที่เพื่อนๆคิดว่าสนุก
ก็สามารถแนะนำได้นะคะ ^__^
Friends' blogs
[Add นาคสีส้ม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.