ธรรมะและสมาธิ
ขอให้มีจิตเบิกบาน ในการอ่านธรรมะบันเทิง และวางมันลง เพราะเป็นเรื่องที่รู้เฉพาะตน
สมุดทักทาย นิยายธรรมะ ถามมา-ตอบไป บทสวดมนต์ คำนำก่อนอ่าน
ความศักดิ์ของพระคาถาชินบัญชร คัมภีร์หมื่นโลกธาตุ
Group Blog
 
<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
7 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
ถามมา-ตอบไป หน้า 3




มีคำถาม หรือข้อคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องธรรมะ
คุยกับ อ้อง (ชัชวาล) โดยตรงได้ที่นี่นะครับ

หน้านี้ ถามมา-ตอบไป หน้าที่ 3


คลิก!ดู ถามมา-ตอบไป ย้อนหลัง หน้าที่ 1
คลิก!ดู ถามมา-ตอบไป ย้อนหลัง หน้าที่ 2






Create Date : 07 กันยายน 2551
Last Update : 7 กันยายน 2551 18:19:09 น. 24 comments
Counter : 1022 Pageviews.

 
ขึ้นชื่อว่าลมแล้วยังเป็นสิ่งคับแคบของใจอยู่

ผู้ที่เข้าณานเป็นผู้ตื่นอยู่เหมือนคนนอนหลับ
แต่ตื่นอยู่ในความจริงด้วยสติอยู่ภายใน

ในขณะจะเข้าจตุตถณานนั้น ลมเป็นสิ่งคับแคบมากเพราะมักจะมาคอยกวนใจให้เกิดอารมณ์สุขและทุกข์เกิดขึ้น

เพราะลมเป็นพาหะนำสุขและทุกข์โสมนัสมากวนจิต

เวลาที่ทำสมาธิกายย่อมสงบระงับ ลมหายใจจึงแผ่วเบา ละเอียดและเหมือนกับลมหายไป แต่พอนานซักพักก็จะมาปรากฏให้เห็น

ทุกข์เพราะกายต้องอาศัยสูบลมหายใจเข้า สุขเพราะอาศัยระบายลมออก จึงปรากฏว่า
ลมจึงยังไม่เรียกว่าว่างเปล่าที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง

เหมือนเวลาที่เราตื่นอยู่ระหว่างวัน ลมกับเสมือนเป็นหนึ่งตามสภาวะกายและจิตคือถ้าไม่ใส่ใจจะมองไม่เห็นลมเลย
บางคนหายใจเข้าออกทั้งวัน ยังไม่เห็นลมมีเยอะแยะ

ดังนั้นลมไม่มีนั่นละดีที่สุด ฮิๆ ทำอย่างไรจึงไม่มีลมเหมือนมันเป็นหนึ่งระหว่างวันที่เราตื่นอยู่

หนามแหลมคมของณานนั้นมทั้งีเสียงและลมสำคัญที่สุด แต่เสียงถามว่ามีไม๊คือมี แต่ใจไม่เอาทิ้งเลย เหมือนระหว่างที่เรานั่งอยู่หน้าคอม
มีเสียงมากมายเกิดขึ้นแต่ใจมันจดจ่ออยู่กับงานหน้าคอม เสียงมีแต่จิตไม่ยกอารมณ์ขึ้นมา เสียงจึงไม่มี

คราวนี้คือเจ้าลมนี่ละสำคัญ ในขณะที่นิ่งอยู่จิตมันไปสัมปยุตต์กับลมเข้า ในขณะที่จะเข้าจตุตถณานนั้น ลมเหมือนจะหายไปแล้ว
หายไปนานพอควรแต่พอปรากฏ ปุ๊บ จิตมันยกอารมณ์สุขทุกข์ขึ้นมาทันที ระลอกคลื่นของจิตสั่นไหวกระเพื่อมขึ้นมาทันที

สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือ ไม่หวั่นไหว ไม่เกาะกุม ไปกับระลอกคลื่น จิตและสติรู้จะควบคุมกันเองโดยการวางเฉย นิ่งเสีย

ลมที่เป็นสิ่งสัมพาธ คับแคบ เมื่อถูกจิตและสติประคองรักษา ไม่เกาะกุมเสียแล้ว วางเฉยเสียแล้ว

ลมก็จะเป็นลมละเอียดแบบนิ่งเต็มตัว ไม่มีคำว่าเคลื่อนไหวไปมา ลมจึงหาย ลมจึงไม่มี เพราะจิตไม่รับรู้ลมอีก

จึงมีความรู้สึกว่า ลมเป็นส่วนหนึ่งเหมือนคนตื่นระหว่างวันที่มองไม่เห็นลมเพราะไม่ได้ใส่ใจลม

เพียงแต่ต่างกันตรงที่ คนนึงตื่นแต่หลง อีกคนนึงตื่นแบบมีสติ

การดูลมจึงต้องดูจนมันละเอียดและระงับไปที่สุดจึงจะพบความจริงของจิตคือ พบใจ

ระงับสุขทุกข์คือระงับลมนี่เอง ณาน4จึงปรากฏ มีแต่ความเป็นกลางเที่ยงธรรม ไม่สุข ไม่ทุกข์

มีสติและความบริสุทธิ์กำกับใจอยู่ภายใน ปราศจากความมัวหมอง แม้เวทนาก็จืดชืดไม่น่ายินดีและไม่ทำให้หวั่นไหวได้

เราทำสมาธิประกอบด้วยสัมมาสมาธิ สัมมาสติตลอดเส้นทางก็เพื่อพบใจที่เป็นกลางเที่ยงธรรม

สติพละ สติสัมโพชณงค์ สัมมาสติ ส่งกำลังต่อเนื่องในองค์แห่งมรรค จิตและสติควบคุมกันเอง

อารมณ์ใดที่ปรากฏขึ้นจึงมองเห็นความจริงแบบไม่เอนเอียง ด้วยใจที่เป็นกลางอย่างแท้จริง

อทุกขสุขมเวทนา อุเบกขา สติ ปาริสุทธิ เอกัคคตา

ไม่สุขทุกข์ ใจเที่ยงธรรม สติมีกำลังควบคุม จิตใจบริสุทธิ์ สงบนิ่งเป็นหนึ่ง

หลวงปู่เทสก์สอนว่า ทำสมาธิเพื่อพบใจ ใจที่เป็นกลางเที่ยงธรรมเป็นสัมมาสมาธิในณาน4
ท่านสอนให้ทิ้งหนังสือมาทำสมาธิให้พบเอกัคคตารมณ์
เสียก่อนแล้วจะเข้าใจเอง

ลมหายใจที่ว่างเปล่าก็คือลมที่รวมเป็นหนึ่งกับจิต
ปราศจากการเคลื่อนไหวนิ่งแบบเต็มตัวจนทำให้จิตไม่รับรู้ลมอีก
ตรงนี้จะรู้สึกเหมือนเป็นอากาศใสๆตัวเบาโปร่งโล่งกายไม่ปรากฏเหลือแต่จิตเด่นดวง

ถ้าทำลึกต่อเข้าไปก็จะเข้าณานที่ลึกของฤาษีต่อไป คือ รูปพรหม และอรูปพรหม

ลมหายใจที่ว่างเปล่าอ้องว่าน่าจะเป็นแบบนี้นะครับ ถ้าผิดพลาดขออภัยด้วยนะกั๊บ


โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.183.51 วันที่: 14 กันยายน 2551 เวลา:16:44:52 น.  

 
คุณอ้องคะ ดิฉันได้นั่งสมาธิมาได้ระยะหนึงแล้ว แต่ก็ยังคิดฟุ่งไปเลยแต่ก็กำหนดจิตตลอดให้รู้เท่าทันจิตที่ฟุ่งไปนะค่ะ
ดิฉันอยากทราบว่าใช้เวลานานไหมคะ กว่าจะทำให้จติสงบ และไม่คิดอะไร ดิฉันตั้งใจและพยายามมาก ๆๆๆ คะ แล้วก็สามารถที่จะล่วงรู้อนาคตได้อันนี้จริงหรือเปล่าคะสงสัยคะ
ขออนุโมธนา ตอบเป็นทานด้วยนะคะ
สาธุ สาธุ สาธุ


โดย: Pam IP: 124.180.28.145 วันที่: 3 ตุลาคม 2551 เวลา:10:33:10 น.  

 
คุณPam

ปล่อยกายและใจให้อิสร ปลดปล่อยตัวเองแบบสบายๆ อย่าอยากนำ
ดีก็ดี ไม่ดีก็ช่างมัน

กำหนดจุดตำแหน่งอย่าให้คลาดสายตา ถ้าเผลอหรือหลง หรือฟุ้ง ก็ให้มีสติและจดจ่องานที่ดูอยู่แบบไม่คลาดเคลื่อน

เวลาเราเลื่อยไม้ ใจเราก็ต้องพอใจในงานเลื่อยไม้ จดจ่อ ตั้งใจ เราจะเห็นจุด ตำแหน่ง ในจุดที่เลื่อย จะเห็นมันหยาบ มันละเอียด มันยาวมันสั้น มันสะดุด

สมาธิคืองานชนิดหนึ่งอาศัยคุณแห่งอิทธิบาท4
สมาธิจึงก้าวหน้า ขอให้จำจุด ตำแหน่งของใจ จับให้มั่นคง อย่าเผลอนาน อย่าฟุ้งนาน จิตก็จะไม่รวม

ส่วนการรู้อนาคต เป็นได้เสมอ ทุกๆคน
บงครั้งจะมีความรู้สึกว่า จะมีอะไรเกิดขึ้น ใครจะมา เพลงนี้จะดัง หรือจะมีอะไรเกิดขึ้น เป็นลางสังหรณ์บ้าง

หรือแม้กระทั่งเวลาใจเรามันว่างๆ จิตมันรวมแวบนึง มันก็จะไปรับรู้อะไรแบบแปลกๆได้เสมอ

ต้องเข้าใจว่าเราทำสมาธิเพื่อเอากำลังมาพิจารณาวิปัสสนา
อย่าไปติดดี ติดสุข หรืออยากเห็น อยากได้ สมาธิที่มีกิเลสนำจะทำให้จิตไม่รวม

ยิ่งปล่อยกายใจอิสร ไม่สนใจ ไม่อยากได้อะไร ให้มีสุขเป็นฐาน สมาธิคือการรวมจิต ที่ซัดส่ายไปทวารทั้ง5

ให้มารวมที่จุดเดียวคือ ทำสมาธิเพื่อพบใจ ที่เป็นกลาง เที่ยงธรรม นอกนั้นไม่ใช่

เมื่อจับอะไรยิ่งแน่นมากขึ้น มั่นคงมากขึ้น ไม่หล่น ไม่ตก สิ่งที่เราจับเอาไว้จะมั่นคง ประคองรักษาได้และรู้สึกตัว แบบมีสติ

ขออนุโมทนาครับ


โดย: อ้องเขาค้อ (อ้องเขาค้อ ) วันที่: 3 ตุลาคม 2551 เวลา:16:04:24 น.  

 
ผลของการแผ่เมตตา (อ่านด้วยการพิจาณา)

สมาธิในทางโลก มีดีและก็แบบแย่สุดๆ สาเหตุเพราะมาจาก บางวัน กามคุณ5มีกำลังมากเพราะติดโลก
ฟุ้งเยอะนั่งอย่างไร จิตก็ไม่รวม นอนดูสมาธิ ก็เผลอแวบหลับกรนคร๊อกฟี๊ ซัก5นาทีพอรู้ตัวว่ามันทิ้งคิด จิตตกภวังค์
ก็เข้ามาจดจ่อคิดและพิจารณาต่อในอารมณ์ ดีบ้าง ล้มบ้าง มี ปีติ สุขบ้าง แต่หาสาระและกำลังที่เด่นชัด เด่นดวง

ใจเป็นกลางเที่ยงธรรมเกิดได้น้อย แค่แวบแล้วก็ออก ไม่สามารถรักษาจิตที่ผ่องใสได้นานเท่าไหร่ เดี๋ยวก็เผลอและก็หลง

สมาธิที่ได้ลึกๆจึงมีน้อย ได้กำลังของสมาธิมาปานกลางและเอามาเจริญสติ
แต่มีสมาธิที่นานๆจะเกิดมาทีเพราะเหตุจากการอบรมสติ
คือดูลมเป็นวิหารธรรม เมื่อวันพระอาทิตย์ที่แล้วมีอะไรที่แปลกๆดีก็อดมาเล่าให้ฟังไม่ได้ครับ

ช่วงเวลาเที่ยงคืนกว่า อ้องก็นอนดูลมไปจนหลับไปแล้ว แต่พอตีสองกายที่ขยับมันเห็นว่า มีทุกข์ปรากฏก่อนกายขยับ
เป็นอาการของกายที่เมื่อย แน่น ตึง กายที่มีผลต่อจิตมันเห็นรูปนามชนิดนี้และมันสั่งงานทันทีคือ สูดลมหายใจ

ลมที่ละเอียดในขณะที่กายสงบเพราะนอนอยู่ พอจะขยับมันจะสูดลมหยาบปรากฏขึ้นเพื่อไปสร้างแรงผลักดัน
กายหยาบให้เคลื่อนไหว พออ้องขยับและมีสติรู้เกิดขึ้นมาก็เลยนอนดูลมออกสุดและเข้าสุดที่จุดรู้สึกของผัสสะกระทบที่ปลายจมูก

เหมือนเราเลื่อยไม้มีจุดตำแหน่งที่ใส่ใจคืองาน แต่งานที่ดูอยู่ก็เห็นว่า ลมหยาบค่อยๆเบาบางลงไป ไม่ต่างกับเราเลื่อยไม้
ที่เห็นว่าเลื่อยยาวเลื่อยสั้น หยาบหรือละเอียด อ้องตามดูในขณะที่กายมันหลับไปแต่สติกลับตื่นขึ้นมา

ลมหายใจเริ่มแผ่วเบาแต่ไม่ปรากฏเผลอสติขึ้นและภวังค์จิตก็ไม่ได้เกิดถี่จนคุมตนเองไม่ได้

อ้องเฝ้าตามดูลมเช่นนี้ไปเกือบชั่วโมง เสียงต่างๆที่เกิดอยู่ภายนอก ไม่ว่าเสียงแมลง เสียงฝน มีอยู่แต่จิตไม่ใส่ใจ
มีความรู้สึกว่ามันหนัก จิตเหมือนน้ำใสที่ไม่ต้องการตระกอน ไม่กระเพื่อม ไม่หวั่นไหว เสียงจึงไม่สามารถมาเป็นหนามมา
ทำให้เสียสมาธิออกไปได้ เปรียบเหมือนเรานั่งอยู่หน้าจอคอม ใจเราใส่ในงานหน้าจอ

เสียงมีมากมายที่มากระทบแต่ใจไม่หวั่นไหว ใจไม่ใส่ใจ ไม่ยกอารมณ์ อยู่แต่ในงานชนิดนั้น
ด้วยกำลังคุณแห่งอิทธิบาท4 สติพละกำกับใจเอาไว้ ไม่จมแช่เหมือนคนนอนหลับลึก มีสติกำกับใจ เห็นแต่งานตรงหน้าอยู่ตลอด

ลมหายใจที่ออกและเข้านั้น มันเริ่มมาๆหายๆ แผ่วเบาแทบจับไม่ไหวในผัสสะของลม แต่ลมมันยังไม่หายไปจริงๆ
5ถึง10นาที มันยังปรากฏให้เห็นอยู่ เพราะกายมันทุกข์ต้องการสุข จึงต้องสูดลมหายใจเข้าไปดับทุกข์และผ่อนลมหายใจสุขออกมา

ปีติเกิดมาแทรกเอาไว้ที่เห็นความสงบและจิตที่ปราศจากอกุศล เมื่อไม่ใส่ใจเหมือนเสียง ปีติก็จางหายไปเหลือสุขทุกข์

คือลมที่ยังมาๆหายๆ ชั่วโมงกว่าแล้วที่นอนดูลมอยู่ อ้องกำหนดอารมณ์ในตำแหน่งที่จิตมันชิน เราเรียกว่ากำหนดปัญจเวกขณวสี
ในตำแหน่งที่จิตมันจะจดจำได้ เสร็จแล้วอ้องก็ค่อยๆลุกมานั่งสมาธิในท่านั่งตรงต่อ

ในขณะที่ลุกนั้น ลมหายใจหยาบจะปรากฏเกิดขึ้นและจิตก็เหมือนกับการถดถอยออกมาทีละน้อย แต่ชั่วระยะเวลาจากท่านอน มาท่านั่ง อ้องใช้เวลาไม่กี่วินาที พอกำหนดอารมณ์เดิมซักพักจิตก็รวมเข้าหาในฐานเดิมของมันเองต่อไป

ความต่อเนื่องที่ยังไม่จางหาย เหมือนเราดูหนังและแอบมากินน้ำพักนึง และหันไปดูหนังต่อ เพียงแต่หนังมีกิเลสนำ
แต่สมาธิหามีกิเลสนำหรืออยากนำไม่ ลมหายใจที่ยังขยับเคลื่อนไหวอยู่ อ้องเริ่มไม่ใส่ใจ ไม่หวั่นไหว
ลมมันจะไม่หายก็เรื่องของมัน แต่เพราะใจไม่ติดอารมณ์ ลมกลับหายไปโดยปราศจากการเคลื่อนไหวของลมเรียกว่า

ไม่ต้องดู ไม่ต้องควานหา มันรวมเป็นหนึ่งเหมือนระหว่างวันที่เราสูดลมหายใจทั้งวันแต่มองไม่เห็นลม
อ้องเรียกว่าลมนิ่ง
เต็มอยู่ ไม่เคลื่อนไหว ตรงนี้คือลมหาย ละสุขทุกข์เสียได้ จึงพบเอกัคคตาจิต

สิ่งที่หลวงปู่เทสก์สอนอยู่เสมอคือ ให้วางตำราทิ้งเสียก่อนแต่ให้หา เอกัคคตารมณ์ให้เจอเสียก่อน พบใจ
จึงจะเห็นความจริงแท้ปรากฏ

สภาวะละเอียดก็เป็นสภาวะแสดงตัวออกมา ความเป็นกลางเด่นดวงของใจ และความว่องไว อ่อนโยน นิ่มนวล
ในขณะที่จิตมีกำลังนั้น หาได้ยากเพราะนานๆทีจะมีกำลังต่อเนื่องเช่นนี้

ในขณะที่จิตเกิดกำลัง อ้องเจริญพรหมวิหารของอ้องเองต่อ เพราะรู้ว่าจิตที่แผ่ออกไปจะทำได้ดี และช่วยคนที่เรารักและ
คนที่เดือดร้อนได้เป็นจำนวนมาก อ้องแวบเข้ามาดูใจและไปกำหนดความรู้สึกที่อ่อนโยน ความรู้สึกที่ปรากฏคือ

ความมุ่งหวังแห่งการหวังดี รู้สึกว่าใจมันฟู มันผ่อง มันขยายตัว
ครับ อ้องกำลังสร้างเมตตาอารมณ์ให้เกิดขึ้นด้วยความรู้สึก ที่ไม่ใช้คำพูดที่เค้าพูดกันเวลาแผ่เมตตา ใช้ความรู้สึกเข้าไปดูใจให้ทัน เบิกบาน ผ่องใสและหวังดี เมตตาก็เริ่มรวมกำลังของเค้าเพราะจิตที่มีกำลัง

นิ่มนวลเช่นนี้นี่เอง เมตตาจึงเกิดมาจากความรู้สึกล้วนๆที่หวังดี เป็นความรักแท้ที่เรียกว่าบริสุทธิ์อย่างแท้จริง
เพราะไม่ได้หวังในผล ปราศจากราคะ ความกำหนัด ปราศจากความโลภะ คืออยากอันเป็นอกุศลปรากฏเกิดขึ้น

ใจมันหมุนวนคลึงเคล้ากับอารมณ์แห่งความปรารถนาดีเช่นว่านี้อยู่หลายนาทีจนมันรู้สึกเองว่าเต็มกำลัง มันก็จะถ่ายเทมาอีกอารมณ์นึงคือ ความต้องการที่จะช่วยเหลือ ความเอ็นดู การเกื้อกูลเพื่อให้สรรพสัตว์ที่ต้องทุกข์ให้พ้นภัย

ไม่หวังในผลแห่งความดี ไม่หวังสิ่งตอบแทน ความดีชนิดนี้เป็นความดีที่บริสุทธิ์ ก็คือกรุณาที่กำลังคลึงเคล้า
ระหว่างเมตตากับกรุณา ผสมหากันหมุนวนเป็นกำลัง และแล้ว

จิตก็เหมือนเปล่งประกายกระจายออกไปเป็นคลื่น เป็นวง เหมือนระลอกคลื่นตามกำลัง วงแรกออกไปแบบเหมือน
วาบออกไปอย่างเร็ว สว่างและกระจายออก มีแสงและรัศมีแห่งคุณธรรมผสมออกไปด้วย มีจิตที่สัมปยุตกับสมาธิแผ่ออกไปด้วย วงแต่ละวง สีไม่เหมือนกัน มีทั้งสีน้ำเงิน หลือง ขาวอ่อน ชมพูอ่อน ที่ปราศจากสีขุ่นมัว จิตที่เป็นวงก็มีแสงที่เป็นกระจายเป็นเม็ดแสงเล็กๆก็มี เห็นแบบเหมือนดูหนังดีๆที่มหัศจรรย์และปีติก็ตามไปอีก สุขก็ปรากฏ จนต้องระงับอาการด้วยการไม่ใส่ใจ

จิตที่แผ่ออกไปที่ไม่ใช้คำพูด อ้องว่าดีกว่านะ ใช้ความรู้สึกเหมือนแม่ที่รักลูก มองลูกด้วยความรู้สึกรักและผูกพัน
กระแสจิตก็ต้องย่อมส่งถึงกัน ลุกก็จะรับรู้และมองแม่ด้วยความอบอุ่น อ้องว่าเมตตา กรุณาที่แผ่ออก
น่าจะเป็นเช่นนี้นะครับ

ความรู้สึกที่จิตแผ่ออกไปนั้น จะเต็มไปด้วยความชื่นใจ มันเหมือนเราตื่นมาตอนเช้าและเกิดความรู้สึกสดชื่นเหมือนยืนอยู่บนเนินเขา เพราะมันเห็นว่า อ้องเห็นเขาค้ออ้องทั้งผืน และเห็นจังหวัดเหมือนมันดูทีวีจากมุมสูงๆ และเห็นภาพของโลกเด่นดวง และเลยเถิดส่งออกซะกระจายไปทั่วเลย

ใจมันจะว่ามีตัณหาคืออยากก็ไม่รู้จะพูดวาอย่างไร มันเป็นอยากที่บริสุทธิ์ที่ปราศจากอกุศล ต้องการให้คนรับมีความสุข ได้ดี หรือดีกว่าตนเอง ต้องการให้เค้าพ้นทุกข์ จิตมันก็เพลินกับอารมณ์ชนิดนี้ส่งกำลังออกไปจนสุดของมุทิตา

แล้วกำลังทั้งสามก็มารวมกันที่อุเบกขา ใจก็จะเป็นกลางเที่ยงธรรม มีความรู้สึกถึงความหนักแน่น ไม่หวั่นไหว ปรับใจ
ตนเองให้สมดุล

สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ได้รับจะมีกำลังของกรุณาเข้าไปกระตุ้นเตือนสติให้เค้าคลายออกเสียจากทุกข์ที่เค้าไปยึดรูปนามสภาวะ
ด้วยกำลังของบาปที่เค้าไปจดจ่อ และ หาความดีไม่พบ มีแต่ฝันร้ายอยู่ร่ำไป เหมือนเราไปกระตุ้นเตือนเค้าว่า

ตื่นเถิดสหาย ตื่นเถิดเพื่อนร่วมทุกข์ อย่าจมแช่กับความทุกข์ทางกายเลย เรามาปลุกจากฝันร้ายของท่าน
กำลังของกรุณาจะเข้าไปกำจัด ความทุกข์ ความทารุณ ถ้าหากเค้ายอมรับ สภาพของวิญญาณที่รับทุกข์จะหายไป

และเค้าก็จะตื่นจากความจริงที่โหดร้ายเหมือนโดนปลุกด้วยความร่มเย็น กำลังของมุทิตาจะส่งผลให้เค้าหมดความทุกข์โศรก

ความเศร้าหมอง และกำลังของเมตตาจะไปกระตุ้นให้เค้าเห็นผลแห่งความดี ความอ่อนโยน จิตวิญญาณจะ
อยู่ในสภาพเหมือนคนที่ตื่นมาจากความจริงที่โหดร้าย เพลินกับความจริงชนิดใหม่ที่เต็มไปด้วยกองบุญ

เค้าจะเห็นเช่นนี้เป็นคตินิมิตเป็นกรรมอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และก็จะไปตามกรรมตามผล บางท่านก็เป็นเทวดา
เป็นพรหม บางท่านก็มาเกิดเป็นมนุษย์ต่อได้ นี่ก็เพราะจิตวิญญาณทั้งหลายเหล่านั้น ก็ล้วนแล้วแต่ ใจยังไม่มืดบอดจนเกินไป

เมื่อแผ่เมตตาเสร็จแล้วก็ทำสมาธิต่อซักพัก เมื่อจิตถอนกลังออกมาก็จะเห็นสภาวธรรมจากละเอียดไปหาหยาบ

มันจะเห็นความจริงจนจิตไม่ตั้งมั่น และอกุศลก็จะมาปรากฏอีกต่อไป เรามาเรียนรู้ดี และไม่ดี ที่มาๆไปๆ

เสร็จแล้วอ้องก็นอน สิ่งที่แปลกๆตามอ้องมาหาที่รีสอรท์อ้องช่วงตี3กว่าแล้ว

ในขณะที่นอนเพลินอยู่ อ้องเห็นจิตวิญญาณมากันเต็มไปหมด คงจะเรียกว่าอัดกันเข้ามาในรีสอรท์ของอ้องนะ มีเป็นหมื่นๆเลย และยังทะลักเข้ามาในบ้านอ้อง จนอ้องตื่นขึ้นมาในฝันว่า โอยโหย๊วโหย่ มาทามไมละครับ เต็มไปหมดเลย
เข้ามาบ้านอ้องแน่นทั้งเด็กและผุ้ใหญ่ และทั้งคนไทยทั้งต่างชาติ โหคนเราช่วงนี้หลงตายกันเยอะขนาดนี้เลยเหรอครับเนี่ย

เรื่องผีๆจึงเป็นเรื่องธรรมดานะ แต่อย่ามาตอนอ้องตื่นแล้วมาให้เห็นนะ เผ่นจริงๆนะ อสูรกายบางตนเวลามาหานะ

อ้องบอกได้เลยว่ากลิ่นสาปสางของอสูรกาย ผีต่างๆ อ้องไปต้องไปดมที่เก็บศพหรอกครับ เพราะบางทีมานอนข้างๆบ้าง
มานั่งข้างๆบ้าง กลิ่นนี่ฟุ้งจนรู้เลยคำกลิ่นสาปสาง เหม็นอย่างไร แต่ดีนะมาตอนตื่นในฝัน เพราะมีสติรักษาอยู่

ถ้ามาจริงๆก็ตัวใครตัวมานหล่ะครับ ผีไม่เข้าใครออกใคร สมาธิ เราจึงมาเรียนรู้กำลังนะ อย่าไปติด มันจะมี จะเป็น
อ้องไม่ได้ปรารถนามันเลย มันยิ่งมี ยิ่งเป็นให้เห็น ตลอดชีวิตอ้องจึงคิดว่า การอบรมสติดีที่สุด เพราะพ้นทุกข์แน่นอน

ก็ขอเล่าให้ฟังแบบอ่านสนุกๆนะครับ


โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.243.248 วันที่: 14 ตุลาคม 2551 เวลา:11:13:34 น.  

 
คุณอ้องคะ ดิฉันได้กลิ่นเหม็นบ้าง กลิ่นเน่าบ้าง กลิ่นสาปบ้าง ตอนตื่นแล้วนี้แหละคะ กลิ่นธูปก็มีนะคะ ช่วยอธิบายหน่อยคะว่าเขาต้องการอะไร ถ้าดิฉันได้กลิ่นที่ไม่ดีก็จะนั่งสมาธิและแผ่ส่วนกุศลไปให้นะคะ แต่ก็ยังได้กลิ่นอยู่ไม่ดีอยู่บ้าง ตอนนี้พยายามนั่งสมาธิทุกวันแต่มองไม่เห็นอะไรเลยคะแต่สัมผัสได้ ก็ตอนขนลุกเป็นช่วง ๆ หรือมือเท้าเย็นมาก ๆ ตอนแผ่เมตตาขนลุกทั้งตัว อย่างนี้เป็นอาการที่ว่าท่านทั้งหลายที่เราแผ่เมตตาให้นั้นเขามารับหรือเปล่าคะ
ช่วยตอบเป็นท่านหน่อยคะ
อนุโมธนา สาธุ


โดย: Pam IP: 121.219.97.102 วันที่: 19 ตุลาคม 2551 เวลา:6:37:24 น.  

 
สื่อสัมผัส

อ้องเรียกว่าสื่อสัมผัส จะมีในเวลาที่ใจว่างๆ
ชั่วแวบนึง อาจจะมีกลิ่น หรือมีเสียง มีทั้งกลิ่นหอม หลิ่นเหม็น เสียงเบา เสียงดังจนสดุ้งก็มี

เวลาที่มีกลิ่นเหม็นให้หลับตาแผ่เมตตาให้เค้าหน่อยนะครับ
เวลาแผ่ออกไปถ้าขนลุก ขนพอง ก็แสดงว่าเค้าตอบรับ เป็นปีติกลับมาของเค้า

ถ้าเป็นกลิ่นธูปหอม เป็นพวกเทวดาอารักษ์ครับ จิตจะร่มเย็น
ตรงนี้ก็ส่งใจอนุโมทนาให้ท่านเสียหน่อย

ที่มาคอยดูแล มาคอยรักษา คุ้มครอง

การทำสมาธิจะมีอะไรแปลกๆอยู่เสมอ อย่าใส่ใจในอาการ แต่ให้รู้สึกตัว แบบมีสติ

ไม่หวั่นไหว ไม่กระเพื่อม ในสิ่งต่างๆ เพราะเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง มาๆไปๆอยู่เสมอครับ

ขอโทษนะครับที่ตอบช้า อนุโมทนาครับ


โดย: อ้องเขาค้อ (อ้องเขาค้อ ) วันที่: 22 ตุลาคม 2551 เวลา:15:55:49 น.  

 
ญาณ 16 ขั้นแต่ละขั้นมีอะไรบ้างคะ
ขอให้คุณอ้องช่วยอธิบาย ญาณ16 ขั้น เป็นธรรมะทานให้กับผู้ที่เริ่มปฎิบัติธรรมด้วยนะคะ
ขออนุโมทนา คะ


โดย: แพม IP: 124.180.145.140 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2551 เวลา:6:09:48 น.  

 
ญานทั้ง16นั้น เป็นปัญญาที่เข้าไปเห็นความจริงของพระไตรลักษณ์

คนที่สติ สมาธิน้อยอาจะเห็นแวบเดียว
ส่วนคนที่เจริญณาน4เข้าสู่สัมมาสมาธิได้นั้น จิตเป็นเอกัคคตารมณ์

จิตจะเป็นกลางเที่ยงธรรม มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิเป็นองค์ประกอบร่วมนะครับ

จิตที่ตั้งมั่นสามารถที่จะเห็นการต่อเนื่องเหมือนสายน้ำไหล

จริงๆแล้ว เราเข้าไปรู้เพื่อเห็นมันซ้ำๆ ในความจริงจนจิตผู้รู้มันเบื่อหน่าย มันก็เรียกออกมาเป็นลำดับของขั้นตอนนะครับตามคำภีร์วิสุทธิ์มรรค7



ญาน 16 ก็คือ ความรู้สึกด้วยปัญญาที่ได้มาจากการเจริญวิปัสสนาหรือเจริญสติปัฏฐาน ระดับของปัญญาแบ่งเป็นลำดับขั้น ดังนี้ (วิสุทธิ อ. ภาค 3/205)

1. นาม-รูปปริจเฉทญาณ คือ ปัญญารู้ว่านามและรูปเป็นคนละส่วน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เค้าเรา คืออ้องดูบางครั้งมันเห็นเป็นอะไรก็ไม่รู้ เรียกไม่ถูก อ้องเปรียบเหมือนดวงไฟที่เราเห็นเป็นดวงเดียว
เช่นหลอดไฟนะ จริงๆมันกระพิบถี่ยิบถึง 45ครั้งต่อวินาที แต่เราเห็นเป็นดวงเดียว

นี่ไอ้เจ้าตรงนี้ถ้าเราอบรมสภาวะธรรมเห็นมันต่อเนื่องนะ มันจะเข้าใจเลยว่า

รูปนามเนี่ยมันไม่ใช่ตัวเรา กายก็ไม่ใช่ เป็นเพียงแต่สภาวะธาตุเปลี่ยนแปลงไปมา

แม้แต่จิตก็ไม่ใช่มันรับรู้อารมณ์ทีละอารมณ์แล้วก็ดับเมื่อหมดเหตุ

ความจริงคือ ไม่มีสิ่งอมตะ มีแต่สิ่งสมมุตินะครับ คือทุกๆขณะเราสมมุติอิริยาบทแม้แต่จิตที่เข้าไปรู้ของรูปนามครับ



2. ปัจจยปริคหญาณ คือ ปัญญารู้ปัจจัยที่ทำให้เกิดนาม-รูป คือปัญญาตัวนี้มันจะเห็นในขณะที่มีสติรู้ว่า
ว่าจิตมันไหลไปที่ช่องใด วิญญานที่ช่องนั้นเกิดเพราะเกิดผัสสะที่ช่องทวารนั้น
แล้วสัญญาก็ปรากฏเพราะมีอดีตกรรมเป็นเชื้อสะสมเอาไว้ที่จิต

ยากไม๊แหะๆ เป็นไปตามปฎิจสมุบบาทของพระพุทธองค์ทั้งนั้นเลย



3. สัมมสนญาณ คือ ปัญญารู้ความไม่เที่ยงของนาม-รูป ส่วนตรงนี้เราเห็นความไม่เที่ยงของรูปนามเพราะจิตเราวางใจเป็นกลาง ไม่หวั่นไหว ไม่กระเพื่อม ไม่แทรกแทรง ไม่กดข่ม รู้ตามความจริง เหมือนเราเห็นวงน้ำที่กระเพื่อมอยู่ตรงหน้าแล้วเราไม่เข้าไปปรุงแต่งสังขารยินดี ยินร้าย มีสติรู้อยู่ เราจะเห็นความไม่เที่ยงดับไปต่อหน้าของเราด้วยเพราะไม่ใส่ใจสักแต่รู้อารมณ์ก็เพียงนั้น

ยากไม๊แหะๆ ก็เล่มถามของยากนะ ที่สำคัญ คือเราอบรมสติ มันจะเห็นเองทั้งนั้นหล่ะ


4. อุทยัพพยญาณ คือ ปัญญารู้ความเกิดขึ้นและดับไปของนาม-รูป

5. ภังคญาณ คือ ปัญญารู้ความดับไปของนาม-รูป

6. ภยญาณ คือ ปัญญารู้ว่านาม-รูปเป็นภัยที่น่ากลัว ในส่วนตรงนี้คือเราจะเกิดความกลัวว่ารูปนามนี้มันทำให้เราจมในทะเลทุกข์ แต่กลัวก็ให้รู้ว่ากลัว มันจะหายไปเองเป็นลักษณะของญานที่เห็นภัยอันน่ากลัวของรูปนามที่ทำให้ยึดติดมัน


7. อาทีนวญาณ คือ ปัญญารู้โทษของนาม-รูป ตรงนี้เราจะเห็นว่า รูปนามนี้มีแต่โทษ เพราะมีทุกข์ตลอดส่วนสุขก็วิปราสไม่เที่ยงแท้

8. นิพพิทาญาณ คือ ปัญญารู้สึกเบื่อหน่ายนาม-รูป เพราะเห็นบ่อยๆ เห็นซ้ำๆจนมันจืดชืด มันน่าเบื่อ มันไร้สาระ รูปนามที่เรารูจริงๆแล้วมันสร้างแต่ทุกข์และเภทภัย


9. มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ ปัญญารู้สึกอยากพ้นจากนาม-รูป

10. ปฏิสังขาญาณ คือ ปัญญารู้ธรรมอันเป็นเครื่องพ้นจากนาม-รูป

11. สังขารุเปกขาญาณ คือ ปัญญารู้การทำลายความยินดี ยินร้าย ในนาม-รูป แล้ววางเฉยได้

12. อนุโลมญาณ คือ ปัญญารู้ธรรมที่จะอนุโลมให้เห็นอริยสัจจธรรมทั้ง 4

13. โคตรภูญาณ คือ ปัญญารู้นิพพานเป็นอารมณ์ แต่จิตเป็นโลกีย์

14. มัคคญาณ คือ ปัญญารู้นิพพานเป็นอารมณ์ แต่จิตเป็นโลกุตตระ

15. ผลญาณ คือ ปัญญารู้นิพพานเป็นอารมณ์ แต่จิตเป็นโลกุตตระ

16. ปัจจเวกขณญาณ คือ ปัญญารู้มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลือ

ในส่วนที่อ้องไม่ได้แจกแจงเป็นส่วนที่อ้องยังต้องพรากเพียรอยู่
จึงขออธิบายในส่วนที่พอรู้อยู่บ้างแม้จะไม่แจ่มชัดมากนักแต่ก็พอเป็นแนวทางให้ได้บ้าง

กรุณาอ่านด้วยการพิจารณาเพราะเรื่องญาน16นั้น
เป็นเรื่องละเอียดพอสมควรครับ

อนุโมทนา


โดย: อ้องเขาค้อ IP: 125.25.196.51 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:17:27:45 น.  

 
ต้องขอขอบคุณ คุณอ้องเป็นอย่างมากเลยนะคะ
ที่ช่วยชี้แจงขอสงสัยให้กะจ่างแจง
ขออนุโมทนา สาธุ คะ


โดย: แพม IP: 124.180.145.140 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:03:44 น.  

 
อนุโมทนาบุญกับคุณอ้อง และอยากเรียนถามว่า
นั่งสมาธิพิจารณาร่างกายว่าไม่ใช่ตัวตนและแยกชิ้นส่วนของร่างกายออกมาที่ละชิ้น
จนจิตรวมลงไปลึกมาก ดวงจิตไปในที่ไกลมาก ไม่ทราบว่าที่ไหน
ที่นั้นมีแต่ความเงียบสงบ ไม่มีสิ่งใดเลย มีสุขมากๆ
และที่นั่นทำให้ดวงจิตเกิดเมตตา กรุณา
สงสารคนที่เวียนว่ายตายเกิด
และยังไม่เคยไปที่นั่น อยากพาจะทุกคนไป
ได้กำหนดจิตกลับคืนมา รับรู้ลมหายใจเป็นอันดับแรก
และค่อยรู้สึกตัว แต่ขาแข็งไปเลยขยับไม่ได้ ต้องใช้เวลานานพอสมควร
จึงอยากเรียนถามว่าสิ่งที่ประสบนั้นคือสิ่งใด (เริ่มฝึกสมาธิประมาณ 1 เดือน )


โดย: ณฤทัย IP: 61.19.144.194 วันที่: 3 มีนาคม 2552 เวลา:11:27:02 น.  

 
ธาตุวัฎฐาน

เป็นกรรมฐานในกอง๔0 การพิจารณาแยกธาตุ ต้องมีปัญญาเข้าไปพิจารณา
แยกองค์ประกอบคือสิ่งที่ทำอยู่ โดยให้เห็นกายเป็นส่วนๆ
แต่มีเหนือกว่านี้อีกขั้นคือ แยกลำดับชั้น
เหนือขึ้นไปกว่านั้นคือแยกปฏิกริยาระหว่างธาตุ
แยกธาตุ รวมธาตุ คุมธาตุ

จริงๆก็สรุปแค่ ตรงรู้ในปฏิกริยา ตามรู้ในรู้ จิตในจิต มีสติรู้ มีสมาธิชอบ
เพราะธาตุก็คือขันธ์ มีสภาพของรูปนามปรากฏเช่นกัน
ขึ้นชื่อว่าวิญญาณธาตุ มีความสะอาด สว่างในตัว ที่เรียกว่าจิตประภัสสร คือใจแท้ที่มีสภาพ ไม่คิดนึกปรุงแต่ง เฉยๆ เป็นกลางเที่ยงธรรม

การพิจารณาธาตุวักฐานต้องใช้ปัญญามาก แต่ก็ทำให้เข้าสมาธิได้ดี
ใขณะที่จิตรวมมีสภาพเหมือนวูบเข้า
วูบเข้าไปเรื่อยๆ ตรงวูบคือช่องว่างระหว่างภพ มีภวังค์ตัวกีดกั้น

เมื่อจิตรวมจึงอาจจะมีอาการดิ่งเข้า วูบเข้า เหลื่อมเข้า ตกวูบลง หล่นวาบลง
สิ่งที่ตามมาคือปัสสัทธิ กายสงบระงับ
ลมหายใจแผ่วเบามากขึ้น

ในขณะที่เข้าสมาธิสำคัญที่สติ ถ้าเคลิ้มลืมตนอาจจะมีนิมิต หรือจิตออกไปท่องเที่ยวในภพภูมิอื่นด้วยเพราะเผลอหลงไป

อาจจะเกิดสภาพของจิตร่มรื่น จิตมีพรหมวิหารเพราะมีนิมิตปรากฏ

สิ่งที่ทำมาดีอยู่แต่เคลิ้มไป สติน้อยไป
การทำสมาธิเราไม่ติดนิมิต ติดดี ติดสุข
ติดอภิญญาแต่เอา สิ่งต่างๆเหล่านี้

มาพิจารณาในสิ่งละเอียด ปิติให้รู้ สุขให้รู้
จิตมีเมตตาให้รู้ จิตเคลิ้มให้รู้ จิตเข้าภวังค์ให้รู้
รู้เพื่อตื่น ตื่นเพื่อเห็นความจริงของขันธ์
ที่มีสภาพไม่เที่ยงแท้

คุณพลาดนาทีทองของคูณช่วงที่จิตถอนกำลัง ให้พิจารณาในโอกาสต่อไป ว่าตอนถอน จิตที่ละเอียด เข้ามาหาจิตหยาบ
ให้พิจารณาโดยถ้วนถี่

เพราะนาทีทองก็คือ จิตที่ถอนออกมาจากสมาธิจะมีกำลังของจิตที่ตั้งมั่น เมื่อพิจารณาอันใด ย่อมสว่างกระจ่างแจ้งในธรรม เพราะรู้ถูกรู้ชัด คิดชอบ เพียรชอบ งานชอบ สติชอบ สมาธิชอบ วาจาชอบ

ถ้าพิจารณาหยั่งลงสู่ขันธ์ ไม่ทอดทิ้งธุระแห่งสมาธิ วิปัสสนาแท้จะเกิดปัญญาเข้าใจความจริงของพระไตรลักษณ์ในชั่ว
ขณะจิตหนึ่ง

ทำดีแล้วทำต่อไป แต่ให้เพิ่มสติ
ส่วนที่จะช่วยสรรพสัตว์ ต้องเจริญพรหมวิหารโดยตรงแผ่ไป และอุทิศกุศล

เสร็จแล้วให้ตั้งจิตอุเบกขาเสียด้วย
เราอบรมสติ ไม่เอาดี ไม่เอาชั่ว แต่มารู้ดี รู้ชั่ว เข้าสู่สภาพ ไม่เอาบวก ไม่เอาลบ
รู้ดี รู้ชั่ว เพื่อตื่น ตื่นเพื่อให้เห็นความจริง

สมาธิทำเพื่อพบใจที่เอกัคคตาจิต นอกนั้น ถ้าไม่พิจารณาหยั่งลงสู่ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์

ก็จะไม่รู้แจ้งอริยสัจ รู้ทุกข์จึงละเหตุแห่งทุกข์
สมาธิคือกำลังเพื่อให้จิตตั้งมั่นแบบรู้ชัด
เมื่อรู้ชัดให้พิจารณาหยั่งลงสู่ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ คือกายและใจมันทุกข์
พิจารณา รูปนามที่ปรากฏตามความจริง
ย่อมทำลายอุปทาน ทำลายความยึดมั่นถือมั่น ทำลายอาสวะที่ห่อหุ้ม ทำลายภพ
จบกิจแห่งตนที่มีมาอย่างยาวนาน
สร้างจิตให้ฉลาด ด้วยปัญญานะครับ

อนุโมทนาครับ


โดย: อ้องเขาค้อ (อ้องเขาค้อ ) วันที่: 3 มีนาคม 2552 เวลา:22:09:41 น.  

 
อนุโมทนาบุญ และขอบคุณคุณอ้องมากเจ้า
ตอนนี้ยังปฏิบัติธรรมที่บ้านพร้อมกับทำงานรับใช้ราชการตามสมมุติหน้าที่ของมนุษย์
ปฏบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 ิมาครบ 2 ปีเป็นลูกศิษย์วัดร่ำเปิงตโปธาราม เชียงใหม่ การปฏิบัติธรรมเป็นส่วนหนึ่งของชิวิตไปแล้ว เปรียบได้กับลมหายใจ


โดย: ณฤทัย IP: 61.19.144.194 วันที่: 4 มีนาคม 2552 เวลา:9:29:07 น.  

 
อนุโมทนาคุณ ณฤทัย

แค่รู้สึกตัวตื่น ไม่ต้องแยกแยะ ไม่ต้องพิจารณา สติ สมาธิ จิต อารมณ์ เสมอภาค ความชินสภาวะ

มันจะหยั่งลงสู้ขันธ์โดยอัตโนมัติ
เมื่อควบคุมจิต เห็นจิตไหลไปหาเหตุ
ก็ไม่ต้องตระเวณหาครูอีก

เริ่มพึ่งตนเองได้
เพียรชอบในปทาน๔
แค่รู้สึกตัวตื่น ด้วยความสำรวมระวังอินทรีย์ จะเห็นว่า ทุกสิ่งละลายหาย
เงาจับต้องไม่มี สายลมพัดผ่านจับต้องไม่ได้ มีแต่ปฏิกริยา

ตรงที่รู้ชัด ตรงปฏิกริยาผัสสะกระทบ
ไม่กระเพื่อม ไม่สั่นไหว อารมณ์
หยุดกริยาจิต เหลือแต่จิตหนึ่ง มีแต่จิตหนึ่ง กายไม่ปรากฏ จิตที่รวมกันเป็นรูป
เป็นจิตทั้งหลาย ขาดหมดสิ้นอุปทาน

ที่เห็นว่ามีไฟ เพราะมีเชื้อ
ที่เห็นว่ามีลมเพราะมีอุปทานในรูป
ที่เห็นเงาเพราะมันกระพริบสั่นไหว
ไฟ ลม เงา ดูเหมือนมี แต่จริงๆ
สิ่งที่มีคือธรรมชาติของสรรพสิ่ง
แต่ใจแท้ๆ ไม่มีมัน ที่เห็นว่ามีเพราะ
ยึดอุปทาน ที่เห็นว่า สุข ทุกข์ เพราะยึดอารมณ์

จิตแท้ไม่สุข ไม่ทุกข์ จิตแท้ไม่มีตัวตน
แต่เพราะจิตมันถูกอวิชชาครองงำ หลงโลก ยึดมั่นถือมั่นจึงทุกข์
ทุกข์เพราะไปกอดอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นกับจิต ว่าเป็นมัน

อนุโมทนาขอให้เจริญในธรรม


โดย: อ้องเขาค้อ (อ้องเขาค้อ ) วันที่: 4 มีนาคม 2552 เวลา:13:39:46 น.  

 
อนุโมทนาบุญกับคุณอ้องและทุกท่านที่ปฏิบัติธรรมด้วยนะคะ

อ้อมนั่งสมาธิแบบทำๆ หยุดๆ ยังไม่ไปถึงไหนเลยแต่ก็จะพยายามต่อไปค่ะ ช่วงนี้ก็นั่งอยู่ทุกวัน ฝึกปฏิบัติทุกวัน หวังว่าความเพียรจะทำให้พบความสุขสงบที่แท้จริง ไว้อาจจะเข้ามาขอคำแนะนำจากคุณอ้องนะคะ ถ้าอ้อมติดขัดอะไรตรงไหน ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ


โดย: absoluteaommy วันที่: 17 มีนาคม 2552 เวลา:1:49:57 น.  

 
ขอเพิ่มเติมอีกนิดค่ะ บางครั้งอ้อมก็ได้พบกับสื่อสัมผัสอย่างที่คุณอ้องเรียกเหมือกัน ในขณะที่นั่งสมาธิบางครั้งที่ได้กลิ่นก็จะสะดุ้งจากสมาธิทุกทีแต่ก็พยายามรวบรวมสติแล้วนั่งต่อ แล้วก็มีหลายๆ ครั้งที่ได้กลิ่นแรงๆ ในขณะที่ไม่ได้นั่งสมาธิค่ะเป็นกลิ่นธุปก็มีหลายครั้ง แต่กลิ่นแบบน่ากลัวๆ ก็เจออยุ่หลายครั้งเช่น กันอยากรบกวนถามคุณอ้องว่า ทำใมถึงแม้ไม่ได้อยู่ในสมาธิ ก็ยังได้กลิ่นค่ะเป็นเพราะจิตเราไปสื่อถึงเขาได้หรือเปล่าคะ


โดย: absoluteaommy วันที่: 17 มีนาคม 2552 เวลา:1:57:29 น.  

 
ช่วงที่ว่างๆ บางครั้งการที่เรามีใจว่างๆสบายๆ อาจจะมีสื่อที่เข้ามาได้ ครับ ถูกต้องครับ


โดย: คุณอ้อม (อ้องเขาค้อ ) วันที่: 20 มีนาคม 2552 เวลา:19:53:28 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะคุณอ้อง


โดย: absoluteaommy วันที่: 23 มีนาคม 2552 เวลา:22:59:33 น.  

 
เพิ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิ มีข้อข้องใจจะรบกวนขอคำแนะนำด้วยค่ะคือเริ่มฝึกนั่งสมาธิตามวิธีที่ให้ดูยุบ-พองที่ท้องพอมาอ่านเจอวิธีการดูลม บางครั้งได้ฟังพระท่านบอกว่าตอนจะเข้าสมาธิลมหายใจจะเป็นสาย ละเอียด ประมาณนี้ก็เริ่มสับสนว่าจะเป็นวิธีเดียวกันได้อย่างไร ตอนนั่งดูยุบพองที่ท้องพอนิ่ง ก็รู้สึกว่าการภาวนา ยุบพองเป็นสิ่งกั้นให้ต้องคอยพิจารณาว่ายุบพอง แล้วเราจะกลับไปพิจารณาที่ลมเข้าออกหรืออย่างไรคะ ขอบคุณค่ะ


โดย: นิ IP: 202.155.237.100 วันที่: 24 มีนาคม 2552 เวลา:17:29:46 น.  

 
คุณนิ

จะดูลมหรือดูท้องพองยุบละครับ
ถ้าดูท้องพองยุบก็ตามรู้ไปจะบริกรรมด้วยก็ได้ ท้ายสุดเมื่อกายสงบระงับ
จังหวะของท้องจะเริ่มเปลี่ยนจากที่เราดูมันเข้า มันจะไม่ยอมเข้าดูมันออกมันไม่อมออก

แข็งๆ ตึงๆ บริกรรมก็ทิ้งลง นี่คือดูท้องนะครับ
ดูลมก็คล้ายๆกัน
คงต้องถามว่าจริตชอบดูลมหรือดูท้องครับจะได้ตอบง่ายหน่อยครับ

เพราะจิตมันต้องจดจ่อในจุดตำแหน่งเดียวเพื่อล่อหลอกจิตให้มารวม
คราวนี้ลมก็จะเอา ท้องก็จะดูตายเลยนะครับ มันจะลังเล สงสัย เดี๋ยวก็ย้ายฐานไปๆมาๆ สับสนนะ


โดย: อ้อง (อ้องเขาค้อ ) วันที่: 25 มีนาคม 2552 เวลา:21:07:27 น.  

 
ในช่วงเริ่มนั่งใหม่ๆ จะดูลมค่ะรู้สึกว่านิ่งได้เร็ว พอมีโอกาสไปฝึกสมาธิที่วัด ท่านสอนมาให้ดูพองยุบที่ท้องเพระเราฝึกใหม่จะไม่อันตราย (ผู้สอน ท่านสอนมาน่ะค่ะ) เลยเปลี่ยนมาตามวิธีนี้แต่ก็จะนิ่งได้ไม่เร็วเหมือนตอนดูลม จุดที่สับสนและไม่ทราบจะไปต่อยังไรก็คือตอนจะทิ้งบริกรรมนี้แหละค่ะ ก็ไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่า เกิดอาการดังที่คุณบอกมาเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ ที่ช่วยชี้แนะค่ะ จะฝึกต่อไปค่ะ


โดย: นิ IP: 202.155.237.100 วันที่: 25 มีนาคม 2552 เวลา:21:54:53 น.  

 
โสดาปัตติผล นั้นมีองค์ประกอบอะไรเป็นเบื้องต้นครับ
จำเป็นต้องได้ ฌาน ก่อน หรือ ไม่ ครับ



โดย: อัสติสะ วันที่: 24 เมษายน 2552 เวลา:7:59:49 น.  

 
ละสังกายทิฎฐิในเบื้องต้นทั้ง3
การที่เราฝึกอบรมดูรูปลักษณะมากเข้าย่อมทำให้จิตจดจำสภาวะธรรมได้มากขึ้น

สติย่อมมีกำลังเกิดพร้อมกับจิตและอารมณ์
มีอดีตกรรม อารมณ์ เจตสิก วัตถุรูปปรากฏเป็นเหตุใกล้ ถิรสัญญาการจดจำที่ชิสภาวะ

ทำให้สติรู้สึกระลึกได้ในการจดจำได้หมายรู้รูปลักษณะ เมื่อสติมีกำลังมากย่อมปรากฏสัมปชัญญะ รู้ชัด ตามรู้รูปลักษณะที่เป็นกลุ่มๆก้อนๆ
มารวมเป็นกายและจิต

ย่อมทำลายวิปราสสัญญาว่ากายและจิตเป็นเราคือเห็นว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่คน สัตว์ มีแต่ธรรมชาติที่รู้อารมณ์แวบเดียวก็ดับ ที่เห็นมารวมๆกันก็เพราะจิตเร็วมาก ดังนั้นเมื่อจิตมารวมเป็นใจ มีสภาวะเที่ยงธรรม เป็นหนึ่ง จิตที่เห็นจิตมากเข้าย่อมคลายอุปทานออกเพราะพบความจริง

ส่วนณานนั้นปรากฏในชั่วแค่ไม่กี่ขณะ2-3ขณะแล้วแต่ปัญญา ก็สามารถพ้นสภาพจากอาสวะห่อหุ้มทำลายสังโยชน์เสียได้ ความลังเลสงสัยจะไม่ปรากฏอีก
ความเคารพในพระรัตนตรัยจะมั่นคง

ส่วนณานของสมถยานิกนั้น มีกำลังมาก
ย่อมทำลายอาสวะได้สัมมาสมาธิ โดยใจที่เป็นอุเบกขาจิตปรากฏอยู่ภายใน

ส่วนท่านที่เป็นวิปัสสนายานิก คือการตามรู้จิต ขณิกสมาธิย่อมรวมเข้าสู่อุปจารสมาธิได้ในทุกอิริยาบท และการตามรู้จิต เมื่ออินทรีย์แก่รอบ จิตจะรวมกำลังเหนือโลก เหนือธรรม ปราศจากโลกเข้าสู่สภาพของณานอันปราณีต สุขุม เป็นกลาง ชั่วแวบเดียว2-3ขณะก็ทำลายอาสวะและบรรลุคุณธรรมในเบื้องต้นได้


โดย: อ้อง (อ้องเขาค้อ ) วันที่: 26 เมษายน 2552 เวลา:19:57:59 น.  

 
สวัสดีครับคุณอ้อง ผมได้เริ่มฝึกทำทำสมาธิมาได้เกือบเดือนแล้วครับ ผมมีเรื่องสงสัยที่ว่า

ข้อที่1. ตอนที่ผมนั่งสมาธิผมเห็น เป็นดวงแสงสว่างครับบางครั้งสว่างมาก นึกว่าใครเปิดไฟจนบางครั้งต้องลืมตามาดู แต่ปรากฎว่าทุกอย่างปกติ และในบางครั้ง ตัวผมจะเริ่มโยกครับ โยกไปด้านหน้าบ้างหลังบ้าง โยกสักพักมันก้อหยุดครับ และบ้างครั้งตัวผมก็โยกแบบหมุน ๆ ครับ ผมอยากจะถามว่าผมจะต้องทำไงต่อดีครับ

ข้อที่ 2. ทำไมเราต้องเดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิ นั่งเลยได้หรือว่าครับ แล้วการเดินจงกรมก่อนมันดีกว่ายังไงครับ

ขอบคุณครับ


โดย: ดร IP: 223.205.26.151 วันที่: 1 พฤษภาคม 2554 เวลา:17:12:56 น.  

 
เวลานั้งสมาธิที่มีการมือสั่นหัวเราะได้ร้องไห้ได้ตอนนั่งสมาธิเกิดจากอะไร


โดย: mali IP: 118.172.254.107 วันที่: 23 ธันวาคม 2554 เวลา:7:08:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อ้องเขาค้อ
Location :
เพชรบูรณ์ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คนโง่ที่หลงสิ่งแปรปรวนมานาน
Friends' blogs
[Add อ้องเขาค้อ's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.