คุ้มสมุนไพร "ภูมิปัญญาไทย เพื่อสุขภาพและความงามคุณ" บริการ อยู่ไฟ หลังคลอด ถึงบ้าน และจำหน่ายชุด อยู่ไฟ ด้วยตนเอง
<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
29 กรกฏาคม 2551
 
 
กินยาอย่างไร ขณะให้นม











โดย กองบรรณาธิการนิตยสารรักลูก



คุณแม่หลายท่านคงรู้สึกกังวลใจกับอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นขณะให้นม ยิ่งถ้าต้องกินยาก็กลัวว่าจะส่งผลต่อลูกด้วย ...แล้วจะทำอย่างไร
นมแม่...ระบบรักษาความปลอดภัย

อันที่จริงกระบวนการผลิตน้ำนมของแม่จะมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงมากค่ะ เพราะกว่าที่น้ำนมจะออกมาได้จะต้องผ่านการกลั่นกรองจากผนังถึง 2 ชั้น คือ ผนังหลอดเลือดฝอย และผนังต่อมน้ำนม ปริมาณยาที่จะผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้จึงน้อยกว่า 1% เท่านั้นค่ะ

นอกจากนี้ร่างกายของลูกเองก็จะมีกระบวนการป้องกันพื้นฐาน เช่น น้ำลาย น้ำย่อย หรือเนื้อเยื่อคัดกรองต่างๆ ที่คอยป้องกันไว้อีกระดับหนึ่ง

ดังนั้นถ้าคุณแม่เจ็บป่วยธรรมดา ก็สามารถกินยาได้อย่างปลอดภัย ยกเว้นหากมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง ที่ต้องได้รับยาเฉพาะทาง ก็อาจจะต้องหยุดให้นมลูกในขณะใช้ยาค่ะ

ข้อระวัง เมื่อต้องใช้ยา

แม้ว่ายาจะผ่านเข้าสู่ร่างกายทารกได้ในปริมาณน้อยมากก็จริง แต่หากคุณแม่ใช้ด้วยความระมัดระวัง ไม่ปล่อยให้ยาผ่านเข้าไปได้เลย จะยิ่งดีกว่า จริงไหมคะ

>> หากเป็นหวัด คัดจมูก ควรบรรเทาด้วยตัวเองก่อน เช่น กินอาหารที่มีวิตามินซีสูง ดื่มน้ำเยอะๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ

>>ถ้าต้องไปพบคุณหมอ แจ้งให้ทราบว่ากำลังให้นมลูกอยู่ คุณหมอจะได้เลือกยาที่มีผลต่อการให้นมน้อยที่สุด

>> ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เช่น ยาบางตัวต้องกินติดต่อกันจนหมด บางตัวต้องกินหลังอาหาร ขณะเดียวกันคุณแม่ก็ควรสังเกตอาการของลูกด้วย

>> ควรกินยาหลังจากให้ลูกกินนมเสร็จทันที หรือเลือกช่วงที่ลูกหลับนานที่สุด เพื่อช่วยลดโอกาสที่ยาจะผ่านน้ำนมไปสู่ลูก เพราะปกติยาจะมีปริมาณสูงสุดในกระแสเลือดหลังจากกินไปแล้วประมาณ 1-3 ชั่วโมง

>> ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อจะช่วยขับยาออกจากร่างกายได้ดีขึ้น

>> ถ้ามีอาการข้ออักเสบ เคล็ด ขัดยอก ควรใช้ยาทาภายนอกแทนยากิน

>> หากต้องใช้ยาที่ห้ามใช้ขณะให้นมลูก คุณแม่ควรบีบหรือปั้มน้ำนมแช่แข็งเก็บไว้ให้ลูกล่วงหน้า ให้พอดีกับช่วงเวลาที่รักษานะคะ และระหว่างการการรักษาตัวด้วยการกินยา (หยุดให้นมชั่วคราว) ก็ควรบีบหรือปั้มน้ำนมในขณะนั้นทิ้ง เพื่อให้เต้านมผลิตน้ำนมต่อไปได้อีก

>> ถ้าจำเป็นต้องรักษาระยะยาว พูดคุยกับคุณหมอในรายละเอียดว่าจะหยุดให้นมแม่ชั่วคราวก่อน เพื่อกลับมาให้นมลูกอีกครั้ง หรือเลื่อนการรักษาไปก่อนแล้วรอให้ลูกหย่านม (ในกรณีที่สามารถเลื่อนการรักษาได้) หรือต้องหยุดตลอดไป

ยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย

++ ยาแก้ปวด ลดไข้ พวก Paracetamol NSAID Ibuprofen Diclofenac

++ ยาแก้อักเสบธรรมดา ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก เช่น Antihistamine หรือ CPM

++ ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

++ ยาฉีดรักษาเบาหวาน (Insulin)

++ ยาขยายหลอดลม

++ ยาฉีดคุมกำเนิด DPMA หรือ Depo-Provera ยาคุมกำเนิดชนิด โปรเจสเตอโรน เช่น Minipill

++ ยาปฏิชีวนะ พวก Amoxicillin Pennicillin Erythromycin คุณหมอมักสั่งให้เวลามีการอักเสบติดเชื้อ เช่น เวลาเป็นปวดบวม ท้องร่วง

++ ยาใช้เฉพาะที่ เช่น Ketokonazole, Miconazole, Clotrimazole ซึ่งต้องกินตามขนาดที่แพทย์สั่ง

นอกจากเรื่องยาแล้ว การดูแลตัวเองเรื่องอาหารการกินขณะให้นมแม่ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลยค่ะ และที่จะลืมไม่ได้เลยก็คือถ้ารู้สึกไม่สบายอย่าลืมปรึกษาคุณหมอนะคะ.. เอาใจช่วยคุณแม่ทุกท่านให้มีสุขภาพแข็งแรง ไร้ซึ่งโรคภัย จะได้ไม่ต้องกินยาค่ะ

ข้อมูลจาก : นิตยสาร รักลูก ฉบับที่ 291 เดือนเมษายน พ.ศ. 2550




Create Date : 29 กรกฎาคม 2551
Last Update : 31 กรกฎาคม 2551 19:18:06 น. 0 comments
Counter : 7958 Pageviews.
 

Healthy Service
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คุ้มสมุนไพรบริการอยู่ไฟ คุณแม่หลังคลอด
จำหน่าย ชุดอยู่ไฟ และสมุนไพร
สายด่วน 08-5426-7578 (24 ชม. ทุกวัน)http://www.KUMsamunpai.com/


จำนวนผู้เข้าเว็บ Best Free Hit Counters
Maternity Wear
Maternity Wear 234x60 70% off on over 3,000 designer fragrances SkinStore Special Offers Free Shipping
[Add Healthy Service's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com