คุ้มสมุนไพร "ภูมิปัญญาไทย เพื่อสุขภาพและความงามคุณ" บริการ อยู่ไฟ หลังคลอด ถึงบ้าน และจำหน่ายชุด อยู่ไฟ ด้วยตนเอง
<<
กุมภาพันธ์ 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
9 กุมภาพันธ์ 2551
 
 
โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์




แม่ทุกคนปรารถนาอยากให้ลูกที่เกิดมา มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่ก็มีแม่จำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจว่าจะต้องมีการปฏิบัติตัวในด้านอาหารการกินอย่างไรในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้กินอาหารไม่สมดุลกับความต้องการของร่างกาย และมีผลกระทบต่อทั้งแม่และลูก


แม่ที่กินอาหารที่มีคุณค่า ให้สารอาหารครบในปริมาณเพียงพอ ลูกที่เกิดมาจะเจริญเติบโตและแข็งแรงดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าแม่กินอาหารที่ด้อยคุณภาพ ให้สารอาหารไม่ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการสำหรับการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ ลูกก็จะนำอาหารที่แม่สะสมไว้ในร่างกายมาใช้ ซึ่งอาจจะเพียงพอหรือไม่ก็ได้ เป็นเหตุให้แม่อ่อนแอ ลูกที่เกิดมาก็จะอยู่ในสภาพที่ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร สามวันดีสี่วันไข้ กลายเป็นเด็กขี้โรค และเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร


หญิงตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ คือ หมู่ข้าว แป้งและธัญพืช หมู่ผัก หมู่ผักผลไม้ หมู่เนื้อสัตว์ และหมู่ไขมัน ในปริมาณที่จะให้ได้รับสารอาหาร คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่และน้ำ อย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในขณะนั้น สารอาหารในอาหารทั้ง 5 หมู่นี้ มีปริมาณมากน้อยแตกต่างกันออกไป บางหมู่ต้องรับประทานเพิ่มขึ้น บางหมู่น้อยลง จึงต้องกินอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารบางชนิดเพิ่มขึ้นดังนี้

โปรตีน หญิงตั้งครรภ์ต้องการโปรตีนเพิ่มมากกว่าปกติทั่วไป เพื่อนำไปสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ลูก ปริมาณโปรตีนเพิ่มจากปกติประมาณวันละ 20-30 กรัม ถ้าคิดเป็นเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1 ขีด หรือถ้าเป็นนมสดประมาณ 2-3 แก้ว อาหารที่ให้โปรตีนที่ดี มีคุณภาพสูงเป็นอาหารที่มาจากหมู่เนื้อสัตว์ ซึ่งรวมถึงนม ไข่ และถั่วเมล็ดแห้ง


แคลเซียม เด็กในครรภ์ต้องการแคลเซียมเพื่อสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งเป็นโครงสร้างของร่างกาย แม่จึงต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ถ้าแม่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ลูกจะดึงเอาแคลเซียมที่สะสมในตัวแม่ออกมาใช้ ทำให้แม่มีปัญหาเกี่ยวกับฟันระหว่างตั้งครรภ์ และลูกที่เกิดมาอาจมีปัญหาเป็นโรคกระดูกอ่อนได้ อาหารที่มีแคลเซียมสูงคือ อาหารในหมู่เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะอาหารทะเล ปลาเล็กปลาน้อย หรือปลาทอดกรอบและสามารถกินได้ทั้งก้างด้วย นมและไข่ก็มีแคลเซียมสูง และยังให้โปรตีนสูงด้วย หมู่ผัก โดยเฉพาะผักใบเขียวเข้มให้แคลเซียมสูง เช่น คะน้า ชะพลู ยอดแค ผักกระเฉด


เหล็ก ร่างกายต้องการเหล็กเพื่อนำไปสร้างเม็ดเลือดของแม่และลูก ประกอบกับแม่ต้องเสียเลือดมากขณะที่คลอด จึงจำเป็นที่แม่ต้องได้รับเหล็กอย่างเพียงพอมิฉะนั้นแม่อาจมีปัญหาโลหิตจางได้ อาหารที่มีเหล็กสูงเป็นอาหารในหมู่เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะตับ เลือดหมู เลือดไก่ กุ้งฝอยหรือกุ้งตัวเล็ก หมู่ข้าว แป้งและธัญพืช มีมากในถั่วเมล็ดแห้ง ส่วนหมู่ผัก มีมากในผักที่มีสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ผักโขม ตำลึง เป็นต้น แพทย์อาจจะเสริมในรูปของยาเม็ดเมื่อไปฝากครรภ์ เพื่อให้ได้รับเหล็กอย่างเพียงพอ


ไอโอดีน ระหว่างตั้งครรภ์ แม่ต้องการไอโอดีนสูงขึ้น ถ้าได้รับไม่เพียงพออาจเป็นโรคคอพอกเพราะขาดไอโอดีนได้ง่าย อาหารที่มีไอโอดีนสูง ได้แก่ อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู และปลาทะเล ควรใช้เกลือที่เติมไอโอดีนในการประกอบอาหารเพื่อเสริมให้ได้รับไอโอดีนเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสในการสร้างกระดูกและฟัน แสงแดดสามารถเปลี่ยนสารที่อยู่ใต้ผิวหนังของคนให้เป็นวิตามิน ดี ได้ หญิงตั้งครรภ์จึงควรได้รับแสงแดดอ่อนๆ ในตอนเช้า-เย็นบ้าง ปัญหาการขาดวิตามิน ดี ในบ้านเราไม่ค่อยพบ เพราะมีแสงแดดมากเกินพอ แต่พบมากในประเทศที่มีแสงแดดน้อย และรับประทานอาหารที่มีวิตามิน ดี ไม่เพียงพอ ส่วนวิตามินชนิดอื่นๆ นั้น จะได้รับอย่าง เหมาะสมถ้ารับประทานอาหารให้ถูกต้องครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอ




นอกจากหญิงตั้งครรภ์จะต้องเลือกรับประทานอาหาร เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบตามที่ร่างกายต้องการแล้ว ยังต้องระวังเกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นด้วย หญิงตั้งครรภ์บางคนมีความอยากรับประทานอาหารมากขึ้น ประกอบกับรู้สึกว่าจะต้องรับประทานสำหรับสองคน จึงเพิ่มทั้งปริมาณและจำนวนครั้งให้มากกว่าปกติ ทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาก น้ำหนักของแม่ที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่แรกตั้งครรภ์จนถึงก่อนคลอดไม่ควรเกิน 9-10 กิโลกรัม


ระยะ 1-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ น้ำหนักแม่ไม่ควรเพิ่มมาก และอาหารก็ไม่ควรรับประทานมากกว่าปกติ เพราะในระยะนี้เด็กเพิ่งจะเริ่มก่อตัว ความเจริญยังมีไม่มาก ถ้าแม่มีน้ำหนักเพิ่มมากในระยะนี้ จะเป็นน้ำหนกัของแม่มากกว่าของลูก ซึ่งจะเป็นปัญหาแก่แม่หลังคลอดแล้ว คือ อ้วนและลดน้ำหนักลงได้ยาก จึงต้องระวังในการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง ขนมหวานและไขมัน เพราะจะทำให้อ้วนได้ง่าย


ระยะ 3 เดือนก่อนคลอด แม่ควรได้รับอาหารและบำรุงร่างกายเต็มที่ เพราะเป็นระยะที่เด็กกำลังเติบโต น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเร็วและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นก็มักจะเป็นน้ำหนักของลูกมากกว่าของแม่ การลดน้ำหนักหลังคลอดของแม่จึงทำได้ไม่ยากนัก


ในทางตรงกันข้าม แม่บางคนห่วงเรื่องรูปร่างมากเกินไป กลัวอ้วนจนลืมนึกถึงสุขภาพและความต้องการสารอาหารของตนเองและลูกในระยะนั้น จะเอาอะไรเข้าปากแต่ละครั้งก็คิดแล้วคิดอีก เพราะกลัวอ้วน และพยายามอดอาหาร ผลสุดท้ายลูกที่คลอดออกมาผอมแห้ง มีน้ำหนักน้อย และกลายเป็นเด็กที่ไม่แข็งแรง เป็นภาระแก่พ่อแม่ในภายหลัง


เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกที่เกิดมาผอมแห้งและแม่ไม่อ้วนมากเกินไป แม่อาจจะสำรวจปริมาณอาหารที่รับประทานแต่ละวันว่ามากหรือน้อยกว่านี้หรือไม่

น้ำนม 2-3 แก้ว/วัน

ไข่ 2-3 ฟอง/สัปดาห์

เนื้อสัตว์ 1-1 1/2 ขีด/วัน

ผักสด อย่างน้อย 1-11/2 ทัพพีทุกมื้อโดยเฉพาะผักใบเขียว

ผลไม้ 2-3 ครั้ง/วัน (ครั้งละ 8-10 คำ)

ข้าว รับประทานเท่าเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์ และควรเป็นข้าวซ้อมมือและถั่วเมล็ดแห้งบ้าง

ไขมัน น้ำมัน 2-3 ช้อนชา/วัน และควรเป็นน้ำมันพืช


ถ้าแม่รับประทานอาหารได้ในปริมาณนี้ ก็เชื่อแน่ว่าทั้งแม่และลูกจะสมบูรณ์แข็งแรงดี ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด ลูกที่เกิดมาจะเจริญเติบโต ไม่ขี้โรค แม่ก็สามารถลดน้ำหนักลงได้เข้าสู่สภาพเดิมก่อนการตั้งครรภ์ได้ง่าย จึงไม่ควรลังเลที่จะปฏิบัติตนและเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อทั้งแม่และลูกในภาวะตั้งครรภ์

ที่มา..หนังสือ นิตยสารใกล้หมอ




Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2551 16:45:24 น. 0 comments
Counter : 3048 Pageviews.
 

Healthy Service
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คุ้มสมุนไพรบริการอยู่ไฟ คุณแม่หลังคลอด
จำหน่าย ชุดอยู่ไฟ และสมุนไพร
สายด่วน 08-5426-7578 (24 ชม. ทุกวัน)http://www.KUMsamunpai.com/


จำนวนผู้เข้าเว็บ Best Free Hit Counters
Maternity Wear
Maternity Wear 234x60 70% off on over 3,000 designer fragrances SkinStore Special Offers Free Shipping
[Add Healthy Service's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com