กลุ่มผู้รักร่วมเพศกับยุคสื่อมวลชนไทยเบ่งบาน
6. กลุ่มผู้รักร่วมเพศกับยุคสื่อมวลชนไทยเบ่งบาน


การสื่อสารความเป็นเกย์ในสังคม ไทยในยุคเริ่มต้นพบว่า เป็นการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ เป็นช่องทางการสื่อสารสำคัญที่ทำให้บุคคลทั่วไปได้มีความรู้ ความเข้าใจต่อกลุ่มผู้รักร่วมเพศที่ดีขึ้น แม้ในระยะแรกจะเป็นภาพลักษณ์เชิงลบบ้าง ต่อมาเมื่อมีนิตยสารเกย์ช่วยทำให้กลุ่มผู้รักร่วมเพศได้มีโอกาสสื่อสารกับกลุ่มผู้รักร่วมเพศอื่นๆ และสังคมยิ่งขึ้น นอกจากนี้สื่อมวลชนแขนงอื่นๆ ได้เปิดกว้างขึ้น นำเสนอเรื่องราวของกลุ่มผู้รักร่วมเพศในแง่มุมที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น จึงทำให้สภาพการณ์ของกลุ่มผู้รักร่วม เพศในสังคมไทยดีขึ้นตามลำดับ


สื่อภาพยนตร์ที่มีการนำเสนอหรือถ่ายทอดเรื่องราวของเกย์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2519 ชื่อเรื่อง "เกมส์" เป็นการเสนอแง่มุมหรือตีแผ่ภาพของเกย์ แต่เป็นเชิงลบ เพราะเป็นการเสนอเพียงด้านเดียวของผู้หญิงที่ได้รับความ เสียใจที่มีความสัมพันธ์กับผู้ชายที่เป็นเกย์ อันเป็นความเชื่อที่สังคมไทยมองเกย์ในลักษณะดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์เกย์ ในยุคแรกของไทย ต่อมา พิศาล อัครเศรณี ได้นำเรื่องราวของสาวประเภทสองคณะโชว์คาบาเร่ต์แห่งเมืองพัทยา มาสร้างเป็นภาพยนตร์ ในเรื่อง "เพลงสุดท้าย" ภาคที่ 1 และภาคที่ 2 ในปี พ.ศ.2528 และปี พ.ศ.2529 ตามลำดับ ดร.เสรี วงษ์มณฑา ซึ่งโด่งดังจากการทำละครเวทีเรื่อง "ฉันผู้ชายนะยะ" ที่เปิดรอบ การแสดงได้มากที่สุดแห่งยุค เป็นเรื่องราวของเกย์กลุ่มหนึ่งที่มาอยู่ร่วมกัน เป็นพวกปากจัด ชอบวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมือง ได้มีการดัดแปลงจากละคร เวทีมาเป็นภาพยนตร์ในชื่อเรื่องเดียวกันในปี พ.ศ.2531 และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างล้นหลามเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ดร.เสรี วงษ์มณฑา ก็มีคู่ ปรับอย่าง ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม เป็นผู้พยายามคัดค้านหรือต่อต้านการเป็นเกย์ในสังคมไทยตั้งแต่ยุคดังกล่าวมาจนถึง ปัจจุบัน


การสร้างภาพยนตร์ไทยที่สะท้อนชีวิตและเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มผู้รักร่วมเพศที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า สังคมไทยมีความกล้าพอที่จะตีแผ่เรื่องราวของผู้รักร่วมเพศมากขึ้น ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นสังคมไทยมีสภาพการยอมรับในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย อีกทั้งขัดต่อความ คิดและความเชื่อกระแสหลักของบุคคลในสังคมก็ตาม แม้ว่าภาพลักษณ์และภาพสะท้อนของผู้รักร่วมเพศในภาพยนตร์เหล่านั้นจะเป็นเชิงลบ และนำพฤติกรรม รักร่วมเพศไปล้อเลียนในเชิงขบขันและเย้ยหยันก็ตามที่ถือได้ว่า เป็นการทำให้เรื่องราวของพฤติกรรมรักร่วมเพศได้ถ่ายทอดสู่สังคมไทยได้มากขึ้น


สื่อโทรทัศน์มีส่วนในการนำภาพของผู้รักร่วมเพศมาเสนอทางรายการโทรทัศน์ ซึ่งเกิดขึ้นมานานแล้ว นับตั้งแต่ "เทิง สติเฟื่อง" ที่เป็นทั้งพิธีกรและนักแสดงปรากฏในจอโทรทัศน์ในยุคแรกของโทรทัศน์ไทย นอกจากนี้นักแสดงอื่นๆ ที่เป็นลักษณะของชายไม่ จริง หญิงไม่แท้ ทำให้สังคมไทยได้รู้จักและคุ้นเคยกับผู้รักร่วมเพศมากยิ่งขึ้น สื่อโทรทัศน์พบว่าสะท้อนภาพของความเป็นเกย์ในคุณลักษณะต่างๆ ได้ชัดเจน กว่าสื่อมวลชนแขนงอื่นๆ เนื่องจากเป็นสื่อที่ทำให้มองเห็นทั้งรูปร่าง หน้าตา น้ำเสียง บุคลิกลักษณะ กริยาอาการ และเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวละครที่เป็นเกย์ ซึ่งก็มักเป็นเรื่องราวที่เป็นจริงใกล้เคียงกับกลุ่มผู้รักร่วมเพศในสังคมนั่นเอง


ละครโทรทัศน์ที่เสนอเรื่องราวของ เกย์และเป็นที่นิยมของประชาชนในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่เรื่อง น้ำตาลไหม้ ชายไม่จริงหญิงไม่แท้ รักไร้อันดับ ซอยปรารถนา 2500 ท่านชายกำมะลอ ปัญญาชนก้นครัว รักเล่ห์เพทุบาย ไม้แปลกป่า เมืองมายา สะพานดาว กามเทพเล่นกล รัก 8009 เป็นต้น นักแสดงที่มารับบทบาทการแสดงเป็นเกย์บางส่วนก็ เป็นผู้รักร่วมเพศด้วย ส่วนนักแสดงที่ไม่ได้เป็นผู้รักร่วมเพศสามารถสวมบทบาทและถ่ายทอดและสื่อสารในความเป็นผู้รักร่วมเพศได้ดีเกือบทุกคน ดังนั้น เห็น ได้ว่าความเข้าใจและการยอมรับกลุ่มผู้รักร่วมเพศในสังคมไทยมีมากขึ้นตามลำดับ



Create Date : 07 มิถุนายน 2554
Last Update : 7 มิถุนายน 2554 0:04:41 น.
Counter : 652 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Bel_Lu
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



偶然という名の運命 そんな出逢いだからこそ๐ 何気ない瞬間を 今日からは かけがえのない瞬間に๐ 永遠にともに いつの日も どんなときも๐
มิถุนายน 2554

 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30