happy memories
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2560
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
29 กรกฏาคม 2560
 
All Blogs
 
นิทรรศการ “เครื่องต้นวังหลวง สู่ครัวนอกวัง"





ภาพจาก thaihrhub.com




พระบรมฉายาลักษณ์จาก daily.rabbit.co.th





พระบรมฉายาลักษณ์จาก กระทู้พันทิป





ช่วงนี้มีนิทรรศการที่น่าไปชมมาก ๆ โดยเฉพาะเพื่อน ๆ ที่ชอบทำอาหารหรือหลงรักอาหารไทยต้องชอบแน่ ๆ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กำลังจัดนิทรรศการ “เครื่องต้นวังหลวง สู่ครัวนอกวัง" ถ้าใครเคยผ่านไปแถวแยกผ่านฟ้าลีลาศ จะเห็นอาคารฝรั่งที่ออกแบบได้งดงามมาก เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๖-๗ นิทรรศการจัดที่นี่แหละค่ะ เราผ่านไปทีไรก็ต้องมอง อยากเข้าไปชมใกล้ ๆ มาสมใจก็คราวนี้ แล้วถูกใจมากก็ตรงที่งานเปิดวันอาทิตย์ด้วย แถมเข้าชมฟรี หาภาพและข้อมูลจากช่องข่าว TNN 24 อีกหลายเวบมาฝากก่อน ไว้ไปชมนิทรรศการแล้วจะเก็บภาพมาอัพบล็อกอีกรอบค่ะ









พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอเชิญประชาชนทั่วไปเข้าร่วมชมนิทรรศการ “เครื่องต้นวังหลวง สู่ครัวนอกวัง” "อาหาร" เป็นเรื่องที่ต้องพบเจอทุกวันและผู้คนทั่วไปให้ความสนใจอยู่เสมอ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงนำเสนอเรื่องราวของอาหารจากวังหลวงสู่ครัวนอกผ่านการจัดนิทรรศการหมุนเวียน “เครื่องต้นวังหลวง สู่ครัวนอกวัง”









นิทรรศการจัดแสดงโบราณวัตถุที่สำคัญและทรงคุณค่า อันได้แก่ เมนูพระกระยาหาร ชุดภาชนะเครื่องเสวย เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม มีด แก้ว เป็นต้น แบบร่างพวงมาลา พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เป็นต้น ผ่านสื่อเพื่อเสนอองค์ความรู้ และเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครื่องต้นวังหลวง เพื่อเติมเต็มความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องราว พระกระยาหารในตลอดช่วงพระชนม์ชีพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัว รวมถึงสืบเนื่องจากอาหารในวังสู่อาหารสามัญชน









"อาหารชาววัง" หรือ"กับข้าวเจ้านาย" โดยทั่วไปแล้วมีลักษณะใกล้เคียงกับอาหารของชาวบ้าน แต่สิ่งที่พิเศษของอาหารชาววังคือ ศิลปะที่ปรากฏอย่างโดดเด่นในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา และรสชาติ ความวิจิตร ประณีตของผู้ทำ ที่ถือได้ว่าเป็นศิลปะทั้งในแง่ของการเป็นอาหารปากและอาหารตา ซึ่งอาหารหลายอย่างที่เรารู้จักก็มีต้นตำรับมาจากอาหารในวัง อย่างหมี่กรอบ หรือข้าวแช่ นับเป็นอาหารที่มีหน้าตาสวยงาม และเป็นเมนูที่สร้างสรรค์ ได้เผยแพร่ออกไปยังประชาชนในวงกว้าง เรื่องราวอาหารชาววังยังมีอีกมากมาย หากใครที่มีความสนใจอาหารและครัวในวัง









นิทรรศการ "เครื่องต้นวังหลวง สู่ครัวนอกวัง" ที่กำลังจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า ก็ได้นำความรู้วัฒนธรรมด้านอาหารชาววังจากอดีตช่วงเวลา พ.ศ. ๒๔๒๖-๒๔๘๔ หรือช่วงตั้งแต่ปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับตั้งแต่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา พระราชสมภพ จนสิ้นรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจัดแสดงให้ได้ชม









เนื้อหานิทรรศการประกอบด้วยการนำเสนอเรื่องราวจาก "ห้องพระเครื่องต้น" ซึ่งก็คือเรื่องราวของห้องครัวในวังสมัยก่อน รวมถึงภาชนะใส่อาหาร "กับข้าวเจ้านาย" ที่แสดงอาหารคาวหวานที่เจ้านายทรงโปรด ไม่ว่าจะเป็นขนมเส้นจันท์ เกสรชมพู่ ฯลฯ "โต๊ะอาหารฝรั่งอย่างไทยทำ" นำเสนอการรับประทานอาหารแบบใหม่จากการใช้มือ "เปิบ" นั่งพื้น มาสู่การรับประทานบนโต๊ะโดยใช้ช้อนส้อม









จะมีการจัดแสดงจำลองโต๊ะอาหารในวังแบบตะวันตก ที่วางจาน ช้อนส้อม แก้วน้ำ โดยจำลองด้วยสื่อแอนิเมชั่นเคลื่อนไหวประกอบกับวัตถุที่วางบนโต๊ะอาหาร และ "อาหารชาววังนอกรั้ววัง" ที่นำเสนอต้นตำรับอาหารจากวังที่ออกไปสู่ครัวนอกวังโดยผู้คนที่เคยอยู่ในวังมาก่อน เนื่องจากเจ้านายหลายพระองค์ได้ขยับขยายออกไปประทับนอกวัง อาหารจึงมีการเผยแพร่ออกไปด้วย รวมถึงมีการแสดงเมนูพระกระยาหารในสมัยก่อน ในงานสำคัญของพระมหากษัตริย์หรือราชวงศ์









รศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ทางพิพิธภัณฑ์นอกจากจะนำเสนอพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี แล้ว ยังตระหนักถึงความสำคัญของวิถีชีวิตในช่วงรัชสมัยสถาน การร้อยเรียงด้วยเกร็ดประวัติศาสตร์ต่าง ๆ โดยนิทรรศการ "เครื่องต้นวังหลัง สู่ครัวนอกวัง" นั้น เป็นการเล่าเรื่องราวผ่านวัฒนธรรมด้านอาหารชาววัง ทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะสำคัญของอาหาร และอาหารที่พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ในช่วงรัชสมัยนั้นทรงโปรด รวมถึงในช่วงสิ้นรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนแปลงผสมผสานอาหารไทยกับอาหารตะวันตก จากการติดต่อสัมพันธ์กับนานาประเทศ จึงได้มีการจำลองวัตถุอย่างช้อน ส้อม แก้ว โต๊ะเสวยแบบตะวันตกให้ได้ชมด้วย









ในเรื่องอาหาร ราชสำนักฝ่ายในมีบทบาทสำคัญในการรังสรรค์เอกลักษณ์วัฒนธรรมอาหาร เจ้านายฝ่ายหญิงและบุตรหลานของข้าราชบริพารชั้นสูงที่ถวายตัวเป็นข้าราชการสำนักฝ่ายใน มีบทบาทสำคัญในการประดิษฐ์คิดค้นอาหารจนมาเป็น "อาหารชาววัง" อีกทั้งเจ้านายฝ่ายในหลายพระองค์ทำหน้าที่กำกับดูแลห้องพระเครื่องต้น สถานที่สำคัญในการประกอบพระกระยาหารสำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ด้วย









เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้ากล่าวต่อว่า เมื่อเจ้านายหลายพระองค์ขยับขยายออกไปประทับนอกวัง ได้นำทักษะที่ฝึกฝนจากวังหลวงมาสร้างสรรค์ตำรับอาหารของตนเองขึ้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะวังตน สูตรอาหารชาววังจึงเริ่มแพร่ขยายไปตามวงขุนนางข้าราชการที่ใกล้ชิด จนเกิดเป็นอาหารชาววังแบบประยุกต์ที่หลากหลาย และคงความพิถีพิถันอย่างชาววัง ต่อมาในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง น่าจะช่วง พ.ศ. ๒๔๗๕ เจ้านายผู้หญิงหลายพระองค์ได้ออกมาประกอบอาชีพค้าขายมากขึ้น โดยใช้ความรู้ที่ได้รับจากราชสำนักที่เป็นความรู้ประดับกายมาเป็นต้นทุนในการประกอบอาชีพ ตลอดจนแม่ครัวและลูกมือที่ออกมาจากวังต่าง ๆ บ้างยังคงประกอบอาหารตามตำรับชาววังในการหาเลี้ยงชีพสืบมา ทำให้ผู้คนนอกรั้ววังได้มีโอกาสลองลิ้มรสอาหารชาววังมากขึ้น ทางพิพิธภัณฑ์เห็นว่า "อาหาร" เป็นประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์จากรุ่นสู่รุ่น หลายยุคหลายสมัย จึงได้จัดนิทรรศการขึ้น









ด้าน หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์ หรือ "หมึกแดง" ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไทย และเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในครั้งสมัยยังเป็นเด็ก ได้เล่าถึงเสน่ห์ของอาหารในวังที่เป็นขนบธรรมเนียมแต่โบราณให้ฟังว่า อาหารในวังไม่ได้แตกต่างจากอาหารนอกวัง เพียงแต่ว่ามีความพิเศษ มีกฎเกณฑ์บางอย่าง ในเรื่องความประณีตทุกขั้นตอน เช่น อาหารจะต้องสะอาด ต้องใช้เครื่องปรุงที่ดีที่สุด สดที่สุด อร่อยที่สุด ส่วนเรื่องรสชาตินั้นสำคัญ จะต้องเป็นรสชาติที่เป็นกลาง แต่มีความกลมกล่อม ไม่เผ็ด ไม่หวาน ไม่เค็ม ไม่เปรี้ยวจนเกินไป









"มีคนเคยพูดว่าอาหารในวังต้องรสชาติหวาน ต้องบอกเลยว่าไม่ใช่ ทุกอย่างจะต้องมีความพอดี และทุกอย่างต้องสวยงามและดีที่สุด อย่างถั่วงอกที่นำมาผัด จะมีหัวมีหางไม่ได้ ต้องตัดออก ให้เหลือ แต่สีขาวสวยๆ เวลาผัดก็ห้ามทำให้เหี่ยว เอาให้พอดี ส่วนผัก-ผลไม้ต้องสด แล้วก็ต้องนำไปแกะสลักทุกอย่าง ผลไม้ก็ต้องทำเป็นริ้วให้สวยวางเรียงบนถาด อันที่มีเมล็ดก็คว้านออกให้หมด สับปะรดก็ต้องแกะเอาเนื้อมาทำให้มันเป็นรูปลูกสับปะรดเล็ก ๆ เอาแกนมาทำก้าน จะเห็นว่าทุกอย่างมีความพิถีพิถันหมด แล้วจำไว้เลยว่า สิ่งสำคัญอาหารในวังจะต้องไม่มีเมล็ด ไม่มีก้าง ไม่มีกระดูก คือเวลาจะกินเอาเข้าปากแล้วต้องเคี้ยวได้เลย กินได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องบ้วนหรือคายทิ้งอีก" คุณหมึกแดงกล่าว









นอกจากเรื่องอาหารแล้ว ในนิทรรศการยังได้จัดแสดงภาพประวัติศาสตร์สำคัญในช่วงรัชสมัยนั้น ทั้งยังมีแบบร่างพวงมาลาพระราชทาน พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เพื่อสนององค์ความรู้และเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครื่องต้นวังหลวง เพื่อเติมเต็มความรู้ ความเข้าใจในเรื่องราวพระกระยาหารในตลอดช่วงพระชนม์ชีพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมถึงสืบเนื่องจากอาหารในวังสู่อาหารสามัญชน ผู้สนใจร่วมศึกษาเรื่องราวของ "เครื่องต้น วังหลวง สู่ครัวนอกวัง" ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง ๓๐ พ.ย. ๒๕๖๐ นี้ (ยกเว้นวันจันทร์) ตั้งแต่ ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.









ข้อมูลจาก
ryt9.com
นสพ.แทบลอยด์ไทยโพสต์ ๙-๑๕ ก.ค. ๒๕๖o







บีจีจากคุณญามี่ กรอบจากคุณ KungHangGerman

Free TextEditor





Create Date : 29 กรกฎาคม 2560
Last Update : 29 กรกฎาคม 2560 22:53:07 น. 0 comments
Counter : 6279 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtoor36, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณClose To Heaven, คุณmambymam, คุณmariabamboo, คุณlovereason, คุณInsignia_Museum, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณเกศสุริยง, คุณที่เห็นและเป็นมา, คุณSweet_pills, คุณข้ามขอบฟ้า, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณkae+aoe, คุณสองแผ่นดิน, คุณหอมกร, คุณmoresaw, คุณผีเสื้อยิปซี, คุณRinsa Yoyolive, คุณก้นกะลา, คุณSai Eeuu, คุณnewyorknurse


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.