happy memories
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
14 มิถุนายน 2558
 
All Blogs
 
เสพงานศิลป์ ๒๑๕





ภาพจากเวบ deviantart.com





"ฉันได้จากโลกนี้ไปแล้วโดยไม่เสียใจ

เพราะฉันได้อุทิศชีวิตของฉันให้กับ

บางสิ่งที่เป็นประโยชน์

ในฐานะเป็นผู้รับใช้ที่ต่ำต้อย

ในงานศิลปของฉัน

ชีวิตนั้นสั้น....แต่ศิลปะยืนยาว


ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี





Romance - Yuhki Kuramoto










นิทรรศการภาพเขียนสีน้ำมัน ฉลอง ๔o ปีไทย-จีน



วันที่ ๙ มิ.ย. ๒๕๕๘ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป กรมศิลปากร ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และ สมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน ร่วมแถลงข่าวการจัดนิทรรศการภาพเขียนสีน้ำมัน ”เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 โดย เฝิง เส้า เสีย” ซึ่ง น.ส.อัจฉรา แข็งสาริกิจ ผอ.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป กล่าวว่า การจัดนิทรรศการดังกล่าว จะมีขึ้นระหว่างวันที่ ๔-๓๑ ก.ค. ๒๕๕๘ ณ ห้องนิทรรศการ ๑-๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ ๔o ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน


โดยผลงานภาพเขียนสีน้ำมัน ของเฝิง เส้า เสีย ที่นำมาแสดงในครั้งนี้เป็นภาพขนาดใหญ่ จำนวน ๔o ชิ้น บอกเล่าเรื่องราวของการเดินทางค้าขายในเส้นทางสายไหมทางทะเล ซึ่งเป็นส้นทางที่เชื่อมโยงโลกตะวันออกและโลกตะวันตกเข้าด้วยกัน เป็นเส้นทางแห่งการเผยแพร่และส่งต่อทางวัฒนธรรมที่สำคัญของโลก สะท้องความรุ่งโรจน์ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผลงานดังกล่าวได้ถูกนำออกจัดแสดงครั้งแรกที่หอศิลป์แห่งชาติ เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเดือนพ.ค. ๒๕๕๘ และมีแผนการจัดแสดงในประเทศต่างๆทั่วโลก โดยเริ่มจากประเทศไทยเป็นแห่งแรก จากนั้นจะไปจัดแสดงต่อที่หอศิลป์เมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ลำดับต่อไป


"ผลงานที่นำมาจัดแสดงในประเทศไทยนี้ เฝิง เส้า เสีย ยังได้สร้างสรรค์ผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความเป็นไทยขึ้น จำนวน ๓ ภาพ และจะมอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปะ จำนวน ๑ ภาพ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าศิลปะ จะเป็นตัวส่งเสริมมิตรภาพการติดต่อสัมพันธ์และการไปมาหาสู่ระหว่างสองประเทศเป็นอย่างดี ตลอดจนเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม เพื่อมิตรภาพที่ยั่งยืนต่อไป” น.ส.อัจฉรา กล่าว


ด้านนาย เฉิน เจียง อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย กล่าวว่า "ที่ผ่านมาผลงานที่มีชื่อเสียงของจิตรกรจีนที่นำมาจัดแสดงในไทยกว่า ๙o% มักจะเป็นภาพเขียนจากพู่กันจีน แต่ในครั้งนี้จะเป็นภาพเขียนสีน้ำมัน จึงนับเป็นโอกาสที่หายากของผู้ชมชาวไทยที่จะได้รู้จักอีกมุมหนึ่งของศิลปินจีน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินจีนอีกด้วย.







ภาพและข้อมูลจาก
artbangkok.com














ศิลปะของ โกศล พิณกุล



งานแสดงเดี่ยว ครั้งที่ ๙ จากอดีต ถึง ปัจจุบัน ( สีน้ำ สีอะคริลิค สีนำมัน ) โดย โกศล พิณกุล เปิดนิทรรศการ วันพฤหัสบดี ที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๘.๓o น.นิทรรศการจัดแสดงระหว่างวันที่ ๙ – ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ หอศิลป์เซเว่นรังสรรค์


ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ อ.โกศล พิณกุล o๘๑-๗o๑๑-o๒๘



























ภาพและข้อมูลจาก
artbangkok.com














REAL ESTATE/LANDSCAPE



โครงการ “Hotel Asia Project” ได้นำเสนอ REAL ESTATE / LANDSCAPE หรือ “อสังหาริมทรัพย์ – ภูมิทัศน์” ซึ่งเป็นโครงการนิทรรศการสัญจร โดยร่วมมือกับศิลปินและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่อยู่ในเมืองคิตะเคียวชู (ประเทศญี่ปุ่น), เมืองฉงชิ่ง (ประเทศจีน) และกรุงเทพฯ (ประเทศไทย)โดยใช้เรื่องของอสังหาริมทรัพย์เป็นวิสัยทัศน์หลักที่สำคัญของโครงการนี้ ซึ่งจุดมุ่งหมายนั้นคือเพื่อปรับโครงสร้างของภูมิทัศน์ที่แวดล้อมพวกเรา โครงการใหม่จะตีความหมายของช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตประจำวันและภูมิทัศน์ที่บิดเบี้ยวของเศรษฐกิจโลกและการเมืองเป็นชิ้นงานศิลปะ นิทรรศการนี้จะเริ่มต้นในเมืองคิตะเคียวชู ประเทศญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕ และย้ายไปจัดที่เมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน และกรุงเทพฯ


Hotel Asia Project โครงการศิลปะนานาชาติซึ่งเปิดตัวในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โดย คุณเคอิชิ มิยากาวา ผู้อำนวยการของ Gallery Soap, คุณโยชิทากะ โมอูริ นักสังคมวิทยาและศาสตราจารย์ของ Tokyo University of Fine Arts และคุณเก็น ซาซากิ ศิลปินชาวญี่ปุ่น พวกเขายังได้จัดงานแสดงศิลปะชื่อ Kitakyushu Biennial ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕o


ในปีค.ศ. ๒o๑๑ โครงการแรกประกอบด้วยการสัมมนาสองวันและนิทรรศการที่ถูกจัดขึ้นในศูนย์แสดงศิลปะชื่อ Gallery Soap ในเมืองคิตะเคียวชู (Kitakyushu) เหล่าศิลปิน นักวิจัย ภัณฑารักษ์ และสถาปนิก จากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ได้รับเชิญร่วมงาน ส่วนโครงการที่สองในปีค.ศ. ๒o๑๑ เช่นเดียวกัน โดยได้จัดขึ้นในศูนย์แสดงศิลปะชื่อ Kitakyushu Biennial ในเมืองคิตะเคียวชู (Kitakyushu) เช่นเดียวกัน สำหรับโครงการที่สามมีชื่อว่า “The Theme Park” จัดขึ้น ณ ศูนย์แสดงศิลปะ Organhaus ในเมืองฉงชิ่ง ประเทศจีนในปีค.ศ. ๒o๑๒ นิทรรศการประกอบไปด้วยการผสมผสานสิ่งละอันพันละน้อยของข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่นรายการโทรทัศน์, หนังสือพิมพ์, อินเทอร์เน็ตและอื่น ๆ


ผลงานนี้ได้รับการพัฒนาร่วมกับศิลปินและภัณฑารักษ์จากประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น นอร์เวย์ นอกจากนั้น Hotel Asia Project ยังได้จัดโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับภัณฑารักษ์ นิทรรศการ การฉายภาพยนตร์และการแสดงดนตรีและได้มีส่วนร่วมในงานนานาชาติต่าง ๆ อีกด้วย


REAL ESTATE / LANDSCAPE

แนวคิดด้านอสังหาริมทรัพย์นั้น เกิดได้จากการก่อตัวทางสังคมและประเทศชาติจะต้องมีประวัติศาสตร์ที่แข็งแกร่งยาวนานต่อเนื่อง ซึ่งก็ต้องอาศัยทั้งตรรกะของอำนาจการปกครอง สัมมาชีพ และการควบคุมอีกทั้งยังรวมถึงกลียุคต่าง ๆ เช่น การตกเป็นเมืองขึ้น การเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ และการเข้าสู่โลกาภิวัตน์ ซึ่งชนชาติที่แกร่งกล้าและองค์กรยักษ์ใหญ่ระดับโลกก็ยังคงกระเสือกกระสนเสาะหาที่ดินแห่งทรัพยากรทางธรรมชาติ


นอกจากนี้เราสามารถเห็นรูปโครงสร้างของการพัฒนาของบ้านเรือนตามชานเมืองและแนวทางการพัฒนาของตัวเมืองด้วยเหล่าตึกระฟ้ามากมาย ในขณะอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ยังรวมถึงตัวผืนที่ดิน บ้านหรืออาคารที่ปลูกอยู่บนที่ดินนั้น ๆ และแม้กระทั่งทรัพยากรใด ๆ ภายใต้ที่ดิน ก็ล้วนถูกแลกเปลี่ยนซื้อขายไปในฐานะตัวหลักของการเงินในตลาดโลก


เราได้รับข้อมูลมากมายผ่านสื่อต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะย้อนกลับมาจากการดูทีวี อ่านนิตยสาร อินเทอร์เน็ตและอื่นๆ ซึ่งข้อมูลมากมายเหล่านั้นส่วนใหญ่จะย้อนกลับมาหาเราด้วยข้อความที่น่าสนใจที่เย้ายวนให้เรานั้นโอนอ่อนหรือปฏิบัติไปกระบวนการ การงานอาชีพและการควบคุม


การเผยแพร่ของงานภูมิทัศน์ที่เรารับรู้กัน โดยที่เราเองนั้นไม่ต้องใช้วิจารณญาณเลยด้วยซ้ำ เรารับรู้โดยมุมมองของคนอื่น ๆ หรือ ข้อมูลข่าวสารที่บริษัทโฆษณานำเสนอ หรือ การโฆษณาชวนเชื่อของรัฐชาติหรือรัฐใด ๆ ซึ่งล้วนแต่เสนองานภูมิทัศน์ที่แตกต่างตามความประสงค์ดั้งเดิมของกลุ่มองค์กรเหล่านั้น อย่างเช่นผลงานภาพยนตร์เรื่อง โอลิมเปีย (Olympia) เมื่อปีค.ศ. ๑๙๓๘ คือโฆษณาชวนเชื่อของลัทธินาซี อาจเป็นภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อที่ต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์โดยการนำแนวคิดเรื่องอื่นมานำเสนอแทน


การร่วมมือระหว่างศิลปินและเหล่าบรรดามืออาชีพในด้านต่าง ๆ เพื่อที่จะร่วมกันค้นคว้าประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันกับอสังหาริมทรัพย์ ทั้งจากทางอินเทอร์เน็ตหรือสื่อมวลชนแขนงอื่น ๆ และนำสิ่งที่ค้นพบนั้นมาผสมผสานตัดต่อและร้อยเรียงใหม่เพื่อที่จะนำเสนอถึงงานภูมิทัศน์ของโลกปัจจุบันของเรา


นิทรรศการจัดแสดง ณ หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท











ภาพและข้อมูลจาก
artbangkok.com














JEREMYVILLE



“สำหรับผม “ศิลปะ” เป็นงานอะไรก็ได้ที่ศิลปินต้องการสื่ออะไรบางอย่าง มันไม่จำเป็นต้องเท่ห์ หรือต้องมีสไตล์ แต่ความหมายจริง ๆ คืองานอะไรก็ได้ จะเป็นภาพวาด ข้อความ ประติมากรรมที่สามารถไปกระตุ้นต่อมความคิดและความรู้สึกที่อยู่ลึกลงไปของมนุษย์เรา เป็นการเปลี่ยนมุมมองที่คุณมีต่อโลก รวมถึงการเชื่อมต่อคุณกับผู้อื่น นั่นคือสิ่งที่ศิลปะสามารถทำได้ และผมก็หวังว่าคุณ ๆ ที่มาชมงานศิลปะของผมจะสามารถเชื่อมต่อความคิดมุมมองด้านใดด้านหนึ่งกับผมได้เช่นกัน” (JEREMYVILLE)


“มร. เจเรมีวิลล์” (JEREMYVILLE) ศิลปินชื่อก้องโลกจากนิวยอร์ก เจ้าของผลงานยิ่งใหญ่ที่เคยจัดแสดงผลงานตามเมืองใหญ่ เช่นที่ ANDY WARHOL MUSEUM, CAPPELLINI ณ กรุงนิวยอร์ก, 798 DISTRICT ในปักกิ่งและในพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวอีกหลายแห่งทั่วโลก ทั้งยังร่วมดีไซน์สินค้าร่วมกับแบรนด์ดังอย่างรองเท้าคอนเวิร์ส, รถยนต์เมอร์เซเดส เบนซ์, กระเป๋าเลอสปอร์ตแซค, คีล’ส์ และ เสื้อผ้ายูนิโคล ทำให้เขามีแฟนคลับนับล้าน ๆ คนทั่วโลก


เชิญชวนท่านที่สนใจเข้าชมผลงานศิลปะระดับโลกในชุด “A TRIP TO JEREMYVILLE ART&SCULPTURE EXHIBITION” โดย “JEREMYVILLE” ได้รับคัดเลือกจากนิตยสาร “NEW YORK TIMES” ให้เป็นหนึ่งในศิลปินวาดภาพที่ติดอันดับ “100 BEST ILLUSTRATORS” ในหนังสือรวบรวมผลงาน ๑oo นักวาดภาพประกอบที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณ กรู๊ฟแอทเซ็นทรัลเวิลด์ แฮงเอ้าท์เดสติเชั่นระดับเวิลด์คลาสของกรุงเทพฯ งานแสดงเริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ ๒๒ พฤษภาคมนี้เป็นต้นไปตลอดปี ๒๕๕๘


สอบถามเพิ่มเติมโทร : o๒-๖๔o-๗ooo
ผู้สนใจสามารถติดตามผลงานของ JEREMYVILLE ได้ทางอินสตาแกรม @JEREMYVILLE
https://www.facebook.com/JeremyvilleDaily
//www.JEREMYVILLE.COM











ภาพและข้อมูลจาก
artbangkok.com














บ้านเพื่อน=เพื่อนบ้าน



เป็นการจัดแสดงผลงานสร้างสรรค์และงานออกแบบร่วมกันระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาจากคณะวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งได้ร่วมลงพื้นที่ทำงานกับผู้คนในหมู่บ้านศาลาแดงเหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ภายใต้โครงการนิทรรศการแสดงผลงานสร้างสรรค์เพื่อชุมชนมาเป็นปีที่ ๕ แล้ว ด้วยมุ่งนำเสนอกระบวนการทางความคิด กระบวนการสร้างสรรค์และผลลัพธ์จากการบริการทางวิชาการแก่ชุมชน และแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากห้องเรียนและหลักสูตรกับบริบททางสังคมอย่างมีศักยภาพ ทำให้นักศึกษาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ และแบ่งปันซึ่งความรู้ให้แก่ชุมชนเพื่อนบ้านที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง


ผลงานสร้างสรรค์แต่ละชิ้นเป็นตัวแทนความรู้สึกนึกคิดที่นักสร้างสรรค์แต่ละคนมีต่อหมู่บ้านศาลาแดงเหนือในแง่มุมที่ได้สัมผัสมา เป็นเหมือนการนำชมบ้านเพื่อนของเรา โดยจัดกลุ่มตามแรงบันดาลใจหรือจุดกำเนิดในการสร้างสรรค์ผลงานออกเป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้


กลุ่มแรก “ไปวัดเข้าวา″ แสดงพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน ความเชื่อร่วมกันเกี่ยวข้องกับที่มาและตัวตนของชาวมอญศาลาแดงเหนือในเชิงวัฒนธรรมและประเพณี ไปจนถึงการสืบทอดความเป็นตัวตนของชาวมอญศาลาแดงเหนือสู่ลูกหลาน


กลุ่มที่สอง “ตามน้ำ″ แสดงวิถีชีวิตแต่ดั้งเดิม ที่จะแตกต่างจากชาวมอญพื้นที่อื่น คือ เป็นชาวมอญที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำเจ้าพระยามาแต่อดีต มีการทำมาหากิน เดินทางค้าขายทางน้ำ


กลุ่มที่สาม “ตีท้ายครัว” แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับบ้าน การอยู่ การกิน ที่มีเอกลักษณ์ และสอดแทรกด้วยภูมิปัญญา


กลุ่มที่สี่ “ติดไม้ติดมือ” แสดงผลงานสร้างสรรค์ที่ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของที่ระลึกจากชุมชน เป็นสิ่งที่แสดงถึงอัตลักษณ์สำหรับผู้มาเยือน


ผลงานสร้างสรรค์แต่ละชิ้นจะนำให้ผู้ชมนิทรรศการค่อย ๆ ปะติดปะต่อภาพของหมู่บ้านในความนึกคิด ผ่านมุมมองของนักสร้างสรรค์ โดยผู้ร่วมแสดงผลงานทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การถ่ายทอดความประทับใจ มุมมองที่ต่างคนต่างมีต่อหมู่บ้านนี้ ออกไปให้กับผู้คนภายนอกได้รับรู้ นิทรรศการ “บ้านเพื่อน = เพื่อนบ้าน” อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทุกท่านอยากทำความรู้จักกับหมู่บ้านศาลาแดงเหนือ หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่สงบร่มรื่นริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้ให้มากขึ้นก็ได้


นิทรรศการ : “บ้านเพื่อน = เพื่อนบ้าน”
วันที่จัดแสดง : ๒๖ พฤษภาคม – ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
สถานที่ : หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต (อาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ชั้น ๒)
รายละเอียดเพิ่มเติม : o๒-๓๕o-๓๖๒๖
อีเมล : bugallery@bu.ac.th or https://www.facebook.com/bangkokuniversitygallery
ติดตามข้อมูลข่าวสารโครงการได้ที่ :























ภาพและข้อมูลจาก
artbangkok.com














Missing Links : นิทรรศการงานภาพเคลื่อนไหวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน เปิดพื้นที่ให้กับงานศิลปะประเภท งานภาพเคลื่อนไหว หรือ Video Art โดยมีผลงานของศิลปินจากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาจัดแสดงให้ชมยาวนานกว่า ๕ เดือน


กฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการหอศิลป์ฯและภัณฑารักษ์ของนิทรรศการในครั้งนี้ กล่าวว่า Missing Links ชื่อของนิทรรศการ เปรียบเหมือนพื้นที่ในการสืบค้น และการย้อนกลับมามองอดีตอีกครั้งถึงเรื่องราว การรับรู้ของผู้คนในระหว่างช่วงการก้าวเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาเข้าสู่สังคมเมือง รวมถึงการอพยพย้ายถิ่นฐานในพื้นที่บริเวณนี้


ศิลปินที่มีผลงานมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ มีความสนใจและทำงานเกี่ยวกับช่วงเวลาของการก้าวเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ ผ่านบริบทของตัวศิลปินทั้งที่เกิดจากแรงขับของการล่าอาณานิคม หรือจากตัวศิลปินเอง รวมถึงผลสืบเนื่องสู่ปัจจุบัน


นิทรรศการนี้ไม่ได้ต้องการที่จะแสดงให้เห็นภาพรวมของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ แต่มุ่งหวังที่จะหยิบยกบางประเด็นหลักที่ยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน เช่น ความเป็นสมัยใหม่ สภาพสังคมเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสังคมเมืองและสังคมชนบท การอพยพย้ายถิ่นฐาน การพลัดถิ่น และเศรษฐกิจข้ามภูมิภาค









กฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน



นิทรรศการแบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๒ ภาค หรือ ๒ ช่วงเวลา ด้วยกัน โดยแต่ละช่วงเวลา( ระยะเวลาประมาณ ๓ เดือน) จะประกอบไปด้วยผลงานภาพเคลื่อนไหวของ ศิลปิน ๔- ๕ ท่าน ซึ่งการแบ่งนิทรรศการออกเป็นสองช่วงเวลานั้น เพื่อหวังให้ผู้ชมได้มีโอกาสกลับมาดูนิทรรศการอีกครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการพิจารณาใคร่ครวญถึงประเด็นต่าง ๆ


ภาคที่ ๑ Modernization and Urban Conditions (ความเป็นสมัยใหม่และสภาวะความเป็นเมือง) ระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม - ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘


จัดแสดงผลงานภาพเคลื่อนไหวของ จอมเปท คุสวิดานันโต (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย), มาเรีย ทานิคูชิ (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์), อูดัม ทราน เหงียน (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม/สหรัฐอเมริกา), เทะ หม่อ นาย (สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า) และ สุริยะ ภูมิวงศ์ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)


ผลงานภาพเคลื่อนไหวชื่อ War of Java, Do you Remember?*2 ของ จอมเปท คุสวิดานันโต (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย) เป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะจัดวางที่พูดถึงประวัติศาสตร์และสถานะของหมู่เกาะชวาในช่วงระหว่างและหลังการตกเป็นอาณานิคม ผ่านภาพบุคคลที่ดูโดดเดี่ยว (BahrulUlum) แต่งกายในชุดชาวนา กำลังแสดงการร่ายรำในพื้นที่โรงงานฟอกน้ำตาลเก่า ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งพิธีกรรมที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึง คือพิธีกรรมที่มีชื่อว่า Cembengan ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมกระบวนการทำงานด้วยเครื่องจักรในการเปลี่ยนอ้อยให้กลายเป็นน้ำตาลบริสุทธิ์ และทำให้แรงงานคนทำงานสอดประสานกับอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี


โดยมีเสียงบรรยายที่เล่าถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างชาวชวาและชาวยุโรปในการค้าขายแลกเปลี่ยนวัตถุดิบต่าง ๆ ประกอบกับเสียงเพลงประสานของบทสวดทางศาสนา ความรู้สึกครึ่ง ๆ กลาง ๆ ของการ เทียบเคียงกันของภาษาพื้นเมืองกับการทำการเกษตรแบบสมัยใหม่ คนกับเครื่องจักร ตะวันออกกับตะวันตก สะท้อนให้เราเห็นประวัติศาสตร์ของหมู่เกาะชวา และเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น










ผลงานภาพเคลื่อนไหวชื่อ Untitled (Celestial Motors) ของ มาเรีย ทานิคูชิ (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์)


ศิลปินหญิงผู้นี้ทำงานโดยใช้สื่อและวิธีการที่หลากหลาย สนใจศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม สำหรับผลงานชิ้นนี้ มาเรียมุ่งความสนใจไปที่ Jeepney ยานพาหนะที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งถือเป็นระบบขนส่งมวลชนหลักในย่านชุมชนเมืองของกรุงมะนิลา


ผลงานภาพเคลื่อนไหวชื่อ Waltz of the Machine Equestrians ของ อูดัม ทราน เหงียน (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม/สหรัฐอเมริกา) อูดัมใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเป็นระยะเวลา ๑๓ ปี หลังจากกลับมาที่ประเทศเวียดนาม อูดัมได้เห็นเมือง การจราจร การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมเมืองซึ่งเปรียบได้กับการเคลื่อนตัวของเหล่ารถจักรยานยนต์ที่ซับซ้อนและงดงาม


สำหรับเมืองไซ่ง่อนแล้ว “จักรยานยนต์” ถือเป็นยานพาหนะหลักสำหรับคนไซ่ง่อนในการไปมาหาสู่และ เชื่อมพื้นที่เมืองกับชนบท อูดัมจินตนาการถึงการขี่จักรยานยนต์ว่าเป็นเหมือนเครื่องจักรกลหรือม้าเหล็ก ซึ่งเหมือนกับการขี่ม้าแบบสมัยใหม่


ผลงานชิ้นนี้คือการเปรียบเปรยของศิลปินระหว่างจักรยานยนต์กับม้าเหล็ก และสัญลักษณ์แทนการพัฒนา และโลกาภิวัตน์ แสดงให้เราเห็นกลุ่มนักบิดจำนวน ๒๘ คน ที่ถูกออกแบบท่าทางให้แสดงกับพื้นหลังที่เป็นเส้นขอบฟ้าของนครโฮจิมินห์ ประกอบกับเสียงดนตรี Waltz no.2 ที่อัดจากการแสดงสดของนักแต่งเพลงชาวรัสเซีย Dmitri Shostakovich งานภาพเคลื่อนไหวชิ้นนี้ถ่ายทำที่ย่านถูเถียม แถบแม่น้ำไซ่ง่อน ซึ่งกั้นแบ่งย่านพัฒนาเก่าและใหม่ กลุ่มนักบิดจักรยานยนต์ ต่างใส่เสื้อกันฝนสีสันสดใส ซึ่งเชื่อมแต่ละคนเข้าไว้ด้วยกันด้วยเชือกและเข็มกลัด


การเคลื่อนตัวที่น่าทึ่งของเหล่านักบิดเป็นเหมือนการปลดปล่อยชีวิตของชาวเวียดนาม เหล่าบรรดาจักรยานยนต์ที่เห็นก็เหมือนการเปลี่ยนแปลงของสังคมเวียดนามที่ความดั้งเดิมกับความเป็นสมัยใหม่ การเกษตรกับอุตสาหกรรม และความเป็นเอกเทศกับความเป็นชุมชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกซ้อนทับกันอยู่


ผลงานภาพเคลื่อนไหวชื่อ Again and Again ของ เทะ หม่อ นาย (สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า)


เป็นงานที่เล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงจากบทกวี ถ่ายทำที่โรงงานแก้วแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง ศิลปินพูดถึงงานชิ้นนี้ซึ่งมีที่มาจากบทกวีที่แต่งขึ้นเอง โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับวัฏจักรของชีวิตมนุษย์ว่า


“ชีวิตดำเนินเป็นวงจร ครั้นเมื่อเราตาย ชีวิตก็กลับ เกิดขึ้นใหม่ บ้างเป็นมนุษย์ บ้างก็เป็นสัตว์ ชีวิตของเราไม่มีวันหยุดนิ่ง เปรียบเทียบได้กับการทำแก้วที่มีการหมุนเวียน และก่อร่างขึ้นใหม่อยู่เสมอ”


ผลงานภาพเคลื่อนไหวชื่อ Time Never Comes Back ของ สุริยะ ภูมิวงศ์ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)


สุริยะ ศิลปินชาวลาวรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษาจาก School of Fine Arts peruses the city of Vientiane ที่กำลังครุ่นคิด เกี่ยวกับอนาคตของตัวเองข้างหน้า ผู้ที่ความไม่แน่นอนและความหวังถูกหลอมรวมเข้าไว้ด้วยกัน


“เวลาไม่อาจหวนคืน” สัจธรรมความจริงของโลกนี้ คือแนวคิดเบื้องหลังสำหรับผลงานของสุริยะ สะท้อนให้เห็นถึงความคิดและจิตใจของผู้คนบางคนที่ไม่เคยคิดก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป และได้แต่เสียใจเมื่อต้องเผชิญกับผลที่ตามมา


บางคนอยากที่จะย้อนเวลากลับไปเพื่อแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาดทั้งที่รู้ว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ท้ายที่สุดก็ไม่มีใครที่สามารถย้อนเวลากลับไปเพื่อแก้ไขในสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว










ต่อจากนั้นนิทรรศการ Missing Links ภาคที่ 2 Diaspora and Identity (การย้ายถิ่นฐานและอัตลักษณ์) จะจัดแสดง ระหว่างวันที่ ๑ สิงหาคม - ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จัดแสดงผลงานภาพเคลื่อนไหวของ คริส ชอง ชาน ฟุย (ประเทศมาเลเซีย/แคนาดา) ,นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ (ประเทศไทย), ไบรอัน โกถอง ทาน (สาธารณรัฐสิงคโปร์), อะนีดา โยเอ อาร์ลี และ แขมร์ อาร์ต & สตูดิโอ รีโวลต์ (ราชอาณาจักรกัมพูชา/ สหรัฐอเมริกา)


ซึ่งศิลปินแต่ละคนจะหยิบเรื่องราวใดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ตัวเองสนใจมานำเสนอผ่านผลงานภาพเคลื่อนไหว โปรดติดตามในลำดับต่อไปจากนิทรรศการในภาคแรก


Missing Links : นิทรรศการงานภาพเคลื่อนไหวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันนี้ - ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๙.oo - ๒o.oo น. ณ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน ซ.เกษมสันต์ ๒ กรุงเทพฯ (ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ) ไม่เสียค่าเข้าชม



ภาพและข้อมูลจาก
manager.co.th














ภาพวาดของผู้หญิง “ไม่สมบูรณ์แบบ” อรอนงค์ แก้วสมบูรณ์



คุณ, เขา และฉัน เราต่าง “ไม่สมบูรณ์แบบ” คือคำจำกัดความสั้น ๆ ที่สื่อผ่านภาพวาดเทคนิคหมึกดำบนกระดาษและสีอะคริลิคบนผ้าใบ ของศิลปินหญิง อรอนงค์ แก้วสมบูรณ์ ผู้ที่บอกว่าตัวเธอเองก็เหมือนกับทุก ๆ คน ที่ไม่ได้มีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ


“เราเกิดมามีความเป็นมนุษย์เท่ากันก็จริง แต่ในความเป็นจริงเราไม่มีสิ่งต่าง ๆ เท่ากัน และพยายามตามหาความสมบูรณ์แบบ”


แต่เธอก็รักในความไม่สมบูรณ์แบบ เพราะหากมองในแง่ดีมันคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์แต่ละคนมีรายละเอียดในชีวิตที่แตกต่างกันไป อรอนงค์บันทึกความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเองไว้ในภาพวาดแต่ละภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพผู้หญิงและภาพนู้ดผู้หญิง เพราะสมาชิกในครอบครัวมีแต่ผู้หญิง


“มันจึงทำให้เราผูกพันกับผู้หญิง งานต่อไปเราก็คงวาดผู้หญิงเหมือนเดิม ไม่วาดผู้ชายแน่นอน อาจจะเหมือนเป็นคนปิดกั้นตัวเอง แต่เรามีความสุขกับการวาดรูปผู้หญิง (หัวเราะ)”


ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ในภาพ เป็นภาพของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเธอเอง รวมถึงสิ่งที่เคยอยู่ในความทรงจำเมื่อครั้งเป็นเด็ก


“เวลาวาดดอกไม้ มันคือดอกไม้ที่อยู่ในหัวเรา เช่น ดอกบานชื่น เราวาดเยอะเพราะว่าตอนที่เราเป็นเด็ก เราเห็นมันบ่อย บานชื่น บานไม่รู้โรย ดอกรัก และดอกกุหลาบ รวมถึงของเล่นตอนเด็ก เพราะบางทีเราอยากจะบันทึกความทรงจำตอนเด็กเอาไว้ในภาพด้วย ตุ๊กตาที่ไร้แขนไร้ขา สื่อถึงความไม่สมบูรณ์”


อรอนงค์เรียนจบมาทางด้านออกแบบนิเทศศิลป์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม เคยทำงานประจำด้านออกแบบสิ่งพิมพ์มาหลายปี กระทั่งเมื่อปีที่แล้วลาออกมาเพื่อทำงานศิลปะ


“อยากจะลองต่อสู้บนเส้นทางศิลปะดู แต่ที่เลือกเรียนออกแบบบนิเทศศิลป์ ไม่เรียนศิลปะมาตั้งแต่แรก เพราะว่าอยากให้ครอบครัวซึ่งไม่ได้เป็นครอบครัวที่มั่งมีสบายใจกับเรา ทำงานประจำตั้งแต่ปี ๔๙ -๕๗ พอจะมีเงินเก็บก็เลยลาออกมา แต่ขณะที่วาดรูปก็ยังรับงานออกแบบสิ่งพิมพ์”


ผลงานเทคนิคหมึกดำบนกระดาษ ที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นนิทรรศการแสดงเดี่ยวครั้งแรกในชีวิตของอรอนงค์ วาดเมื่อครั้งที่ยังทำงานประจำ ขณะที่ภาพวาดเทคนิคสีอะคริลิคบนผ้าใบวาดขึ้นหลังจากที่ลาออกจากงานประจำ


“เอาเวลาว่างมาทำ ด้วยความที่เราอยากระบายออก อยากวาดรูป และด้วยความที่เราอยากเห็นงานของเราเร็ว ๆ ในเมื่อเรามีหมึก มีพู่กัน มีกระดาษพร้อมอยู่แล้ว เราก็วาดมันขึ้นมา วาดโดยที่ไม่ได้ร่างหรือคิดอะไรเยอะ วาดสิ่งของรอบตัวเรา บางทีก็วาดลูกกะตาคน ใหญ่บ้างเล็กบ้าง ไม่เป็นไร เพราะคนเราลูกกะตาไม่ได้เท่ากันทั้งสองข้างอยู่แล้ว ก็เลยเป็นที่มาของชื่อนิทรรศการด้วย พอลาออกจากงานประจำ จึงลองส่งงานมาให้ที่นี่ (หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร) พิจารณา พอได้สถานที่ ก็เลยทำงานชิ้นใหญ่ขึ้นมา ด้วยความที่อยากจะขยายสเกลของงานให้ใหญ่ขึ้นด้วย เพราะบางคนอาจจะมองว่างานชิ้นเล็กๆของเราเป็นภาพวาดการ์ตูน”


นอกจากภาพวาดของเธอแต่ละภาพ โดยเฉพาะภาพวาดเทคนิคหมึกบนกระดาษ จะสื่อว่า ขณะที่ลงมือทำเจ้าของผลงานมีความสุขมาก ๆ อย่างที่บอก เธอวาดมันขึ้นเพราะความรู้สึกที่อยากวาด และเพื่อผ่อนคลายตัวเองจากงานประจำ เมื่อถึงเวลาที่ผลงานถูกนำมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการ เธอยังสนุกกับการที่จะได้พูดคุยกับผู้ชมและบอกเล่าถึงเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตและผลงานของตนเองให้ทุกคนได้รับรู้


บางภาพอรนงค์วาดล้อเลียนตัวเอง ซึ่งเป็นคน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผ่านภาพ “มิสหัวหิน” บางภาพล้อเลียนแฟนหนุ่ม ที่ตอนเด็ก ๆ เรียบร้อยจนคุณครูประจำชั้นต้องเรียกนำหน้าชื่อว่า “เด็กหญิง” แต่เขาก็ยังอยู่ในลุคของผู้หญิงในแบบที่เธอชอบวาดอยู่ดี บางภาพเป็นชีวิตของอรอนงค์ที่ได้อยู่ร่วมกับเหตุการณ์สำคัญๆ เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี ๕๔ ฯลฯ


“ไม่ได้คาดหวังว่าเราจะประสบความสำเร็จ เพราะไม่ว่าเราจะพาตัวเองไปอยู่จุดไหน ทำอาชีพอะไร เราก็คงต้องทำงานศิลปะอยู่ดี เพราะว่าเราชอบวาดรูป เรามีความสุข แต่เพื่อความปลอดภัย เราก็ต้องวาดรูปไปด้วย หาอาชีพอื่นเสริมไปด้วย”


อรอนงค์บอกเล่าด้วยน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความสุขและเชิญชวนให้ทุกคนไปชมและให้กำลังใจนิทรรศการแสดงเดี่ยวศิลปะครั้งแรกของตัวเอง ซึ่งนิทรรศการครั้งนี้เธอมีโปสการ์ดซึ่งพิมพ์ผลงานภาพวาดในนิทรรศการมาจำหน่ายให้กับผู้ที่ชื่นชอบด้วย


นิทรรศการศิลปะ ความไม่สมบูรณ์แบบ (Imperfection) โดย อรอนงค์ แก้วสมบูรณ์ วันนี้ - ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ People Gallery ชั้น ๒ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน











































ภาพและข้อมูลจาก
artbangkok.com














ศิลปินโชว์ศิลปะจากสีกาแฟ


เหมือนบายศรีมีงานท่านถนอม
เจิมแป้งหอมน้ำมันจันทร์ให้หรรษา
พอเสร็จงานท่านเอาลงทิ้งคงคา
ต้องลอยมาลอยไปเป็นใบตอง

จาก "รำพันพิลาป" ของสุนทรภู่


สกุลแนะ... ครูอ๋ายชวน... ปักผ้าอีกบรรยากาศแบบไทย ๆ

งานที่คุมธีมด้วย วัฒนธรรมดอกไม้ไทย ชิ้นที่ ๘ นี้

หยิบเอาบายศรีมาประยุกต์ให้ออกแนว graphic

ที่สวยงามเด่นสะดุดตา

โดยมีแรงบันดาลใจจากหนังสือ Dok Mai Thai/ Sakul Intakul

Class เดียว วันเดียวเท่านั้น

วันเสาร์ที่ ๒๐ มิ.ย. ๒๕๕๘ / ๑๐.๐๐-๑๗.๐๐ น.

ที่พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ / สามเสน ๒๘

สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์ ๐๒ ๖๖๙ ๓๖๓๓



ภาพและข้อมูลจาก
FB พิพิธภัณฑ์














เสี้ยน



นิทรรศการแสดงผลงานศิลปะ “เสี้ยน”
๖ มิถุนายน - ๒๑ กรกฏาคม ๒๕๕๘
Grand Opening วันเสาร์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตั้งเเต่เวลา ๑๙.oo เป็นต้นไป
(อภินันทนาการเครื่องดื่มจาก Pistonhead brewery)


“เสี้ยน” รวบรวมศิลปินดัง ๒o ท่าน ที่มาพร้อมความคิดและความมุ่งมั่น ผ่านไม้ที่เป็นวัสดุหลักในการสรรค์สร้างผลงาน โดยชื่อโครงการหรือคำว่า”เสี้ยน” นั้นแปลได้สองความหมาย ได้แก่ เสี้ยนไม้และความเสี้ยน ซึ่งสะท้อนถึงจุดกำเนิดของความคิดสร้างสรรค์


ทั้งนี้ผู้จัดทำให้คอนเส็ปของงาน พร้อมทั้งไม้ขนาดมาตราฐานแก่ศิลปินทุกท่าน หลังจากนั้นถือเป็นอิสระของศิลปินทุกคนในการเปลี่ยนวัสดุให้กลายเป็นผลงานศิลปะที่เปี่ยมไปด้วยพลังความคิด อีกทั้งจะมีการแลกบทสนทนาของ “ความคิดนอกกรอบ” ในวันเเสดงงานอีกด้วย โดยพื้นฐานการมอบวัสดุและคอนเส็ปของงานให้ศิลปินที่ถูกคัดเลือก เราหวังอย่างยิ่งที่จะพัฒนาลักษณะเฉพาะตัวและจินตนาการของศิลปินทุกท่านในอยู่ภายใต้แนวคิดเดียวกัน


สุดท้ายนี้ นิทรรศการเสี้ยนจะถูกจัดขึ้นจนถึงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ซึ่งจะเป็นเกียรติอย่างยิ่งต่อทีมงานหากท่านสามารถเข้าร่วมงานเปิดเเสดงนิทรรศการ ณ วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ โดยมีผู้สนับสนุนเครื่องดื่มโดย Pistonhead!


ศิลปินทั้งหมด
๑. วรวิช รุ่งนันทพร
๒. Rebeccka Vickers
๓. เอกวัฒน์ วิมลแก้ว
๔. MyrtilleTibayrenc
๕. ปริฉัตร ธนาภิวัฒนกูร
๖. DeeSweet Drug
๗. Myriam Rueda
๘. โศจิวรรณอินธาระ
๙. Tim Cooper
๑o. Carra Cooper
๑๑. ณัชชา สุขเพสน์
๑๒. ธันวิน คำแย้ม
๑๓. อำนาจ คงวารี
๑๔. ชัยบูรณ์ บรรลือ
๑๕. ฉัตรชนก วงศ์วัชรา
๑๖. ณัฐพล สุริยวรกุล
๑๗. มงคลธัช สิทธิธนากร
๑๘. ครองชวัญ บุญอำพล
๑๙. ภูวดล ทองนวม
๒o. อารักษ์ อ่อนวิลัย



ภาพและข้อมูลจาก
wikalenda.com














The Touch of Nature (The Gift) 2015



นิทรรศการ The Touch of Nature (The Gift) 2015 ผลงานโดยศิลปินหญิงชาวเกาหลี Yeon Soon Choi จัดแสดงระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม 2558 และจะมีพิธีเปิดในวันอังคารที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๘.oo น. ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : CMU Art Center


หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดแสดงนิทรรศการ The Touch of Nature (The Gift) 2015 ณ ห้องแสดงงานชั้น ๑ ด้านหลัง หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นิทรรศการจัดแสดงให้ชมระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ - ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘


The Touch of Nature (The Gift) 2015 นิทรรศการโดย YEON SOON CHOI ศิลปินหญิงชาวเกาหลี ผู้สร้างสรรค์ผลงาน อักล่าวถึงความงดงาม จากธรรมชาติสภาพแวดล้อมรอบกายโดยผสมผสานสีสันที่สดใสเข้ากับวัสดุจากธรรมชาติ ด้วยบรรยากาศทีแสดงออกถึงพื้นที่การหายใจ และความสมูรณ์ของพืชพันธ์



ภาพและข้อมูลจาก
wikalenda.com














CHAPTER25



นิทรรศการภาพถ่าย "CHAPTER25"

ณ หอศิลปกรุงไทย ถนนเยาวราช เริ่มวันที่ ๑o - ๒๙ มิ.ย. ๒๕๕๘

พิธีเปิดวันที่ ๑๙ เดือนเดียวกันพร้อมงานแสดง หนังสือภาพถ่ายควบคู่กับนิทรรศการ



ภาพและข้อมูลจาก
wikalenda.com




บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะ













Happiness Land



ดินแดนแห่งความผาสุก นำเสนอผลงานจิตรกรรมสีอะคริลิกบนผ้าใบที่งดงามไปด้วยเส้นสายและสีสันอันอ่อนหวาน ภาพลักษณ์ของวัดวาอาราม โบสถ์วิหารอันอ่อนช้อย ท่ามกลางทิวทัศน์เทือกเขา ภูผา แม่น้ำลำธารและพุ่มพันธุ์พฤกษา


แสดงให้เห็นถึงความสุขสงบของจิตใจที่ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ด้วยจิตวิญญาณ คตินิยม และความเชื่ออันเรียบง่ายในวัฒนธรรมแบบพื้นถิ่นของพุทธศาสนิกชน สื่อแสดงสู่ความสุขสงบของจิตใจที่อิ่มเอิบจากกิจกรรมเรียบง่าย เช่น การเข้าวัดทำบุญ ฟังเทศน์ฟังธรรม อันเป็นเสมือนประเพณีวัฒนธรรมที่นำไปสู่ความปีติ เสมือนหนึ่งได้พานพบกับทิพยวิมานแห่งความสุข ท่ามกลางมิติแห่งสรวงสวรรค์ในจินตนาการ



















ภาพและข้อมูลจาก
wikalenda.com














อัตตะ ลังเล



นิทรรศการภาพถ่าย "อัตตะ ลังเล : Detour of The Ego" ผลงานโดย เล็ก เกียรติศิริขจร (Lek Kiatsirikajorn) จัดแสดงระหว่างวันที่ ๑๒ มิถุนายน – ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ณ หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท


อัตตะ ลังเล โดย เล็ก เกียรติศิริขจร
จัดแสดง ณ หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
ระหว่างวันที่ ๑๒ มิถุนายน – ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘


นิทรรศการ อัตตะ ลังเล เป็นนิทรรศการภาพถ่ายเชิงทดลองในลักษณะจัดวางกับพื้นที่ เล็ก เกียรติศิริขจร พยายามหาความเป็นไปได้ในการส่งผ่านความคิดของเขาสู่ผู้รับสาร ซึ่งในกรณีนี้นั้นเล็กคิดว่ามันค่อนข้างซับซ้อนเกินกว่าที่เขาจะถ่ายทอดผ่านภาพถ่ายในระนาบสองมิติเพียงอย่างเดียว เขาจึงพยายามจัดวางและจัดการงานภาพถ่ายของเขาในรูปแบบที่สามารถจะส่งผ่านความคิดของเขาสู่ผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่ารูปแบบที่เขาเคยนำเสนอมา


ในนิทรรศการเชิงทดลองนี้ เล็กไม่ต้องการจะพูดถึงเรื่องราวในผลงานภาพถ่ายที่เขาสร้างขึ้นในระหว่างการพำนักในเมืองปารีสเพียงอย่างเดียวแต่เล็กต้องการพูดถึงประสบการ์ณของเขาที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา ๓ เดือนของการได้รับทุนสนับสนุนการทำงาน ซึ่งประสบการ์ณเหล่านี้ไม่ได้มีส่วนที่สัมพันธ์กันทางกายภาพ แต่มันเกิดขึ้นต่อเนื่องกันและเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เล็กคิดทบทวนเกี่ยวกับวิธีคิดในการใช้ชีวิตและการทำงานของเขา เล็กจึงต้องการบันทึกประสบการ์ณทางกายภาพที่ส่งผลกระทบทางความคิดของเขาในครั้งนี้ไว้ในรูปแบบของนิทรรศการ เพื่อเป็นเครื่องเตือนความจำ ในการเปลี่ยนผ่านทางความคิดของตัวเขาเอง


เล็ก เกียรติศิริขจร
"เล็ก" ได้รับทุนสนับสนุนโครงการพำนักศิลปินนานาชาติแห่งกรุงปารีส เป็นระยะเวลา ๓ เดือน จากสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยและ Institut français ในปี ๒๕๕๗



ภาพและข้อมูลจาก
artbangkok.com




บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะ



บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ Hawaii_Havaii

Free TextEditor





Create Date : 14 มิถุนายน 2558
Last Update : 14 มิถุนายน 2558 23:45:03 น. 0 comments
Counter : 4203 Pageviews.

haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.