happy memories
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2558
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
16 พฤษภาคม 2558
 
All Blogs
 
เสพงานศิลป์ ๒o๙





ภาพจากเวบ deviantart.com





"ฉันได้จากโลกนี้ไปแล้วโดยไม่เสียใจ

เพราะฉันได้อุทิศชีวิตของฉันให้กับ

บางสิ่งที่เป็นประโยชน์

ในฐานะเป็นผู้รับใช้ที่ต่ำต้อย

ในงานศิลปของฉัน

ชีวิตนั้นสั้น....แต่ศิลปะยืนยาว


ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี





Romance - Yuhki Kuramoto










นิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ ๔



นิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ ๔ หัวข้อ สมเด็จพระเทพฯ ของชาวไทย จัดแสดงผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากการประกวดศิลปกรรมช้างเผือก รวมทั้งสิ้น ๖๑ ชิ้น


การประกวดศิลปกรรมช้างเผือก เป็นเวทีให้เหล่าศิลปินได้แสดงออกถึงศักยภาพในการสร้างสรรค์ศิลปะแบบเหมือนจริง (Realistic) และศิลปะรูปลักษณ์ (Figurative Art) ซึ่งยึดถือความเหมือนจริงเป็นแก่นสำคัญ ในปีนี้ ซึ่งนับเป็นการจัดแสดงนิทรรศการ ครั้งที่ ๔ ในหัวข้อ “สมเด็จพระเทพฯ ของชาวไทย” เพื่อให้ศิลปินและผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ชื่นชมในพระอัจฉริยภาพและพระจริยาวัตรอันงดงาม เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖o พรรษา


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ FB The White Elephant Award







ภาพและข้อมูลจาก
bacc.or.th














ประกวด "เครื่องเบญจรงค์ไทย" ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ



ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เชิญชวนประชาชน นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการหัตถศิลป์ทรงคุณค่า วิจิตรเลิศล้ำเครื่องเบญจรงค์ไทย ในหัวข้อ “เลอค่าภูมิปัญญาไทย” เพื่อชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ถ้วยและโล่รางวัล ฯพณฯองคมนตรี และเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า ๔oo,ooo บาท แบ่งการประกวดเป็น ๕ ประเภท ๑. ภูมิปัญญาดั้งเดิม ๒. ประยุกต์ร่วมสมัย ๓. สร้างสรรค์และต่อยอด ๔. ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ และประเพณีไทย ๕. ถ่ายทอดธรรมชาติ และทัศนียภาพอันงดงามของประเทศไทย


เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
ผู้สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดสามารถดูรายละเอียดหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ //www.facebook.com/benjarongbangsai โทรศัพท์ o-๒๕๕๙-๓๒๗๑ ต่อ ๒๔๑ โทรสาร o-๒๕๕๙-๒๙๕๗-๘ อีเมล์ benjarongbangsai@gmail.com


สุดยอดงานหัตถศิลป์เครื่องเบญจรงค์ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้ร่วมจัดแสดงผลงาน ในวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน



ภาพและข้อมูลจาก
FB Art Eye View














งานเปิดตัว หนังสือลลนาฉบับลลน้า



HOF ART ขอเชิญชวนร่วมงานปาร์ตี้ส่งมอบหนังสือ "ลลนา ๒๕๕๘ ฉบับ ศิริสวัสดิ์ พันธุสุต"
มารับ มาจอง ซื้อหนังสือเล่มพิเศษนี้ เชิญพบปะ พูดคุยกับนักเขียนในเล่ม และชมนิทรรศการ 3 น้า ภาพเขียนจาก ๓ ศิลปินผู้ร่วมก่อตั้งลลนา

น้าออด สุจินต์ ตรีณรงค์
น้านน นนทิชัย รัตนคุปต์
น้าเซียน นภดล โชตะสิริ


รักและคิดถึงน้าแพ็ท ขอชวนแวะมารับหนังสือ ลาละน้า ฉบับพิเศษสุดๆ พร้อมพบปะพูดคุยกับ ๓ น้า (น้าออด น้านน น้าเซียน) ในโอกาสแสดงนิทรรศการศิลปะร่วมกันครั้งแรก ในวันปาร์ตี้ส่งมอบหนังสือ คืนวันศุกร์ที่ ๒๒ พ.ค. นี้ ๖ โมงเย็นเป็นต้นไป ผลงานแสดงจะติดตั้ง ๒ แห่ง ทั้งที่ชั้น ๑ เรซิเดนซี่ และ ชั้น ๑ ณ HOF ART Residency Bangkok ตั้งแต่ ๒๒-๓๑ พ.ค. ๒๕๕๘
สนใจผลงานชิ้นไหน จับจองเป็นเจ้าของกันได้นะครับ เปิดจำหน่ายทุกชิ้น















ภาพและข้อมูลจาก
FB HOF ART Residency Bangkok














ชาติชาย ปุยเปีย พื้นที่แห่งความโดดเดี่ยว



ชาติชาย ปุยเปีย พื้นที่แห่งความโดดเดี่ยว
ภาพนิ่ง ภาพเหมือนตัวเองของศิลปิน บันทึกชีวิตและผลงานที่ยังคงเคลื่อนไหว
๙ เมษายน ๒๕๕๘ – ๓ มกราคม ๒๕๕๙ 100 ต้นสนแกลเลอรี่ กรุงเทพมหานคร


ด้วยความร่วมมือของศิลปิน/ชมรมคนไม่เอาไหนและ Thai Art Archives™ แห่งกรุงเทพมหานคร นิทรรศการที่มีระยะเวลาเก้าเดือน โดยแบ่งเป็นสองช่วง ประกอบด้วยภาพเหมือนชิ้นสาคัญชองตัวเองโดยศิลปินจากภาพเขียนชุดใหม่ของปี ๒๕๕๗-๒๕๕๘ งานจิตรกรรมและประติมากรรมที่หาชมได้ยาก ภาพวาดและภาพสเก็ตช์ที่ไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน อีกทั้งภาพถ่าย วิดีโอสารคดีจากศิลปินรับเชิญ และพิเศษกับ nstallation โดยชาติชาย ปุยเปีย


การเปิดตัวบันทึกชีวิตและผลงานของชาติชาย ปุยเปีย ซึ่งเป็นการนาประวัติชีวิตและผลงานของศิลปินมาเรียบเรียงตามลาดับเวลาไว้ในฐานข้อมูลแห่งใหม่ //www.100ArtistArchives.com ที่มี 100 ต้นสนแกลเลอรี่เป็นผู้ให้การสนับสนุน โดยร่วมมือกับ Thai Art Archives™ แห่งกรุงเทพมหานคร


การเสวนาวิชาการและกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นิทรรศการและบันทึกดังกล่าวคัดเลือกโดย Gregory Gulligan, Ph.D ผู้อานวยการและผู้ร่วมก่อตั้ง Thai Art Archives™


พิธีเปิดจะมีในวันพฤหัสบดีที่ ๙ เมษายน เวลา ๑๙.oo-๒๑.oo น.


ชาติชาย ปุยเปีย (เกิดพ.ศ. ๒๕o๗) ได้สร้างชื่อให้ตัวเองในฐานะจิตรกรผู้มากฝีมือและประสบการณ์ที่สุดคน หนึ่งในบรรดาศิลปินรุ่นเดียวกันมาเป็นเวลานานกว่าสองทศวรรษแล้ว นับตั้งแต่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันศิลปะชั้นนาของไทยในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ หลังลองจับงานผสมผเส (assemblage) แนวนามธรรมเป็นช่วงสั้นๆ ชาติชายก็หันมาสร้างสรรค์งานจิตรกรรมชั้นยอดตลอดเวลากว่ายี่สิบปี ด้วยลีลาที่อาจเรียกคร่าว ๆ ได้ว่าเป็น “สัจนิยมแนว
มายาแบบไทย” (Thai Magic Realism) โดยการเลือกใช้มโนภาพจากชีวิตประจาวันและจินตนาการ ทั้งภาพเหมือนตัวเองของศิลปิน ภาพนิ่ง และการจัดฉากเล่าเรื่อง (mise-en-scène) แฝงคติธรรม ทาให้ภาพเขียน (และงานประติมากรรมที่เริ่มมีในช่วงหลัง) ของชาติชายเป็นพื้นที่แห่งการพิจารณาตนเอง การปลีกวิเวกเพื่อทางานสร้างสรรค์ และการวิพากษ์วิจารณ์สังคมที่ทรงพลัง ซึ่งไม่เพียงแต่จะถ่ายทอดการเสาะแสวงหาอัตลักษณ์ของศิลปินผู้หนึ่งออกมาใน
รูปลักษณ์อันคงทนเท่านั้น แต่ยังอ้างอิงถึงการดิ้นรนของสังคมท่ามกลางสภาพการณ์แวดล้อม ณ ช่วงเวลาสาคัญทางประวัติศาสตร์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ในขณะที่ประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่เน้นความถ่อมตัว ความพอเพียง และการบ่มเพาะจิตวิญญาณ ต้องยอมจานนให้กับลัทธิบริโภคนิยมของศตวรรษที่ ๒๑ และวัฒนธรรมมวลชน (pop culture) จากอีกซีกโลกลงไปทุกที (สิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่แพร่ไปทั่วโลกผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีการเปิดตัวและพัฒนาขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกับ
การเติบโตทางศิลปะของชาติชายเอง)


งานของชาติชาย ปุยเปีย จึงเป็นการนาวัตถุดิบที่คุ้นเคยกันดีและสิ่งไกลตัวมาผสมผสานกันอย่างซับซ้อน ทั้งประวัติศาสตร์ ความเป็นชาติ บรรพบุรุษ และอาชีพทางศิลปะ งานของเขายังทาหน้าที่เป็นเกณฑ์สาคัญในการพิจารณาว่า ตัวตนของศิลปินร่วมสมัยจะสามารถเคลื่อนไหวในฐานะบุคคล “ไร้สังกัด” ได้มากน้อยเพียงใดภายใต้สภาวะ “โลกาภิวัตน์แบบสุดโต่ง” และบางส่วนของตัวตนที่ว่านี้เป็นผลมาจากการไหลมาบรรจบกันของกระแสพลังงานจากต่างวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่กว่ามาก ซึ่งเกิดโดยแทบไม่มีการคาดการณ์หรือวางแผนล่วงหน้าอย่างไรบ้าง


ภาพเหมือนตัวเองของชาติชายในปลายทศวรรษ ๑๙๙o เป็นภาพ “ยิ้มสยาม” ดังที่เขาใช้เรียกในนิทรรศการเดี่ยวครั้งสาคัญเมื่อปี ๒๕๓๘ รอยยิ้มที่เย้ายวนใจทว่าก็ชวนให้อึดอัด รวมทั้งภาพกึ่งเล่าเรื่อง (quasi-narrative) อีกนับไม่ถ้วน ซึ่งเป็นรูป “ตัวตลก” แบบตลกปนเศร้า (tragic-comic) ที่แสดงท่าทางโง่เง่า (ชาติชายมักวาดภาพตัวเองหันหลัง และก้มลงมองลอดหว่างขามายังผู้ชมอย่างร่าเริง) เป็นการบอกใบ้ว่าโลกที่มองกลับหัวอาจเข้าใจได้ง่ายกว่าเมื่อมองผ่านมุมมองปกติ สาหรับผู้ที่เฝ้าสังเกตการณ์หลาย ๆ คนแล้ว กลวิธีที่ยกมาใช้บ่อย ๆ เหล่านี้บอกเล่าความเป็นไปของช่วงเวลาที่จะกาหนดหน้าประวัติศาสตร์ของวงการศิลปะไทย เมื่อการที่ศิลปินท้องถิ่นรับอิทธิพลจากปรมาจารย์ยุคเก่าแห่ง “โลกตะวันตก” และการพาดพิงถึงธรรมเนียมร่วมสมัยของไทยในเชิงเสียดสี แสดงให้เห็นวัฒนธรรมในวงกว้างซึ่งกาลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตทางจิตวิญญาณและทางสังคม


หลังจากที่มีการตีพิมพ์หนังสือ Chatchai is dead. If not, he should be (ปี ๒๕๕๓) ของชาติชาย ปุยเปีย 100 ต้นสนแกลเลอรี่ โดยความร่วมมือจากตัวศิลปินและ Thai Art Archives™ จะเฉลิมฉลองความสาเร็จ มรดก และพัฒนาการอันต่อเนื่องยาวนานของชาติชายด้วยการติดตั้ง “บันทึกชีวิตและผลงานที่ยังคงเคลื่อนไหว” ในแกลเลอรี่เป็นเวลาเก้าเดือน โดยประกอบด้วยผลงานที่คัดมาจากภาพเหมือนตัวเองชิ้นสาคัญ ๆ ในยุคหลังของศิลปิน ภาพวาดลายเส้น ภาพเขียน และงานประติมากรรมที่หาชมได้ยาก รวมไปถึงภาพถ่ายและวิดีโอสารคดีที่ทาขึ้นใหม่โดยช่างภาพแฟชั่น-ศิลปะ Lee Wei Swee และการเปิดตัว “บันทึกชีวิตและผลงานของชาติชาย ปุยเปีย” ซึ่งเป็นการจัดเก็บประวัติชีวิตและผลงานโดยละเอียดของศิลปินในรูปแบบดิจิตอลใน //www.100ArtistArchives.com ที่แกลเลอรี่เป็นผู้ให้การสนับสนุนตัวนิทรรศการและบันทึกประวัติแบบดิจิตอลนี้พูดถึงชีวิตและผลงานของชาติชาย ปุยเปีย ในฐานะปรากฏการณ์ที่ยังคงมีวิวัฒนาการต่อเนื่อง แม้แต่ระหว่างการปลีกวิเวกในช่วงปีหลัง ๆ (ปี ๒๕๕๓-๒๕๕๗) ตลอดระยะเวลาดังกล่าวเขาก็ไม่เคยหยุดสร้างงาน นิทรรศการและบันทึกประวัติบอกใบ้ว่าเป็นเพราะ “พื้นที่” จากผลงานจานวนมากทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ทาให้ธรรมชาติการเป็น “บันทึก” ที่มีชีวิตของชาติชาย (เช่นการมี “บุคลิกซับซ้อน”) คงอยู่ในฐานะกลุ่มก้อนของพลังที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา บ้างก็คาดเดาไม่ได้ บ้างก็มีทิศทางเป็นของตัวเอง กระนั้น เฉกเช่นในหลายๆปีที่ผ่านมา ทั้งหมดสะท้อนภาพของประเทศไทยซึ่งเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าอยู่ตลอดแม้จะขัดแย้งในตัวเองเป็นบางครั้งก็ตาม


นิทรรศการประกอบด้วย นิทรรศการจัดวางแบบ “ผลัดเปลี่ยน” นานเก้าเดือนซึ่งแบ่งเป็นสองช่วง จุดเด่นคือภาพเหมือนตัวเองของศิลปิน ภาพหุ่นนิ่ง ภาพวาดและงานค้นคว้าที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มในวันที่ ๙ เมษายน และจะมีการนำงานชิ้นใหม่เข้ามาแทนที่ชิ้นงานบางส่วนในเดือนกันยายน ๒๕๕๘ จากนั้นจะจัดแสดงไปจนถึงสิ้นปี


ตัวนิทรรศการและบันทึกประวัติทาการคัดเลือกโดย Gregory Galligan, Ph.D. ผู้อานวยการและผู้ร่วมก่อตั้ง Thai Art Archives™ โดยมีแคตาล็อกนาเสนองานวิจัยชิ้นใหม่และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลงานของศิลปิน การเปิดตัว “บันทึกชีวิตและผลงานของชาติชาย ปุยเปีย” ใน //www.100ArtistArchives.com (จัดทำร่วมกับ Thai Art Archives™)

ภาพถ่ายและวิดีโอชุดใหม่โดย Lee Wei Swee ซึ่งทาขึ้นเมื่อต้นปี ๒๕๕๘ ร่วมกับชาติชายตามคำเชิญ การอภิปรายโต๊ะกลม/การเสวนาวิชาการเกี่ยวกับประวัติชีวิตและผลงานของชาติชาย (จะมีการแจ้งรายละเอียดในภายหลัง)


กิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ซึ่งจะมีการแจ้งให้ทราบตลอดปี ๒๕๕๘ จัดโดย 100 Tonson Gallery และร่วมมือกับ Thai Art Archives™, ศิลปิน/ชมรมคนไม่เอาไหน


นิทรรศการ ชาติชาย ปุยเปีย พื้นที่แห่งความโดดเดี่ยว ภาพนิ่ง ภาพเหมือนตัวเองของศิลปิน บันทึกชีวิตและผลงานที่ยังคงเคลื่อนไหว CHATCHAI PUIPIA: SITES OF SOLITUDE, Still-Life, Self-Portraiture, and the Living Archive
ศิลปิน: ชาติชาย ปุยเปีย
ภัณฑารักษ์ : Gregory Galligan, ผู้อำนวยกำร Thai Art Archives
ระยะเวลาในการแสดงนิทรรศการ : ๙ เมษายน ๒๕๕๘ – ๓ มกราคม ๒๕๕๙
วันเปิดนิทรรศการ : วันพฤหัสบดีที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๙.oo น. เป็นต้นไป
แกลเลอรี่ เปิดท้าให้เข้าชม ทุกวันพฤหัสบดี – วันอาทิตย์ เวลา ๑๑.oo - ๑๙.oo น.
ไม่เสียค่าเข้าชม


สอบถามข้อมุลเพิ่มเติมได้ที่
Tel. +66 (0)2-6841527: +66 (0)86-884-6254 : +66 (0)81-910-9440 Fax +66 (0)2 254-7227
e-mail: info@100tonsongallery.com, harmish@100tonsongallery.com , q@100tonsongallery.com
or thaiartarchives@gmail.com



ภาพและข้อมูลจาก
fineart-magazine.com














ทำนาบนหลังคาเมือง



พบ Bangkok Sketcher ที่ “ทำนาบนหลังคาเมือง” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมเปิด สยามกรีนสกาย (Siam Green Sky) สวนลอยฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเปิดให้ทุกคนเข้าชมฟรี ตั้งแต่ วันที่ ๒๒ พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป


โดยการจัดงานใหญ่ "ทำนาบนหลังคาเมือง" ๓ วัน ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑o.oo-๒๑.oo น. อัดแน่นด้วยกิจกรรมด้านเกษตรกรรมสำหรับคนเมือง บริเวณพื้นที่ทางเชื่อมรถไฟฟ้า BTS กับสยามแสควร์ วัน และชั้น ๗ สยามสแควร์


ขณะที่คนรักศิลปะในวันอาทิตย์ที่ ๒๔ พฤษภาคม อย่าลืมไปสนุกสนานกับการวาดภาพกับกลุ่ม Bangkok Sketcher ฟังการแสดงดนตรีสร้างสรรค์จากกลุ่ม Artfield และ วงสวนพลู



ภาพและข้อมูลจาก
FB Art Eye View














ของฝากจาก “เซียร์ร่า ลีโอน” และ “นิวยอร์ค” ของ “อาคม ด้วงชาวนา”



“ผมอยากจะให้ศิลปินไทยได้มีโอกาสได้เดินทาง ไปเรียนรู้หาประสบการณ์ในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเก็บมาเป็นข้อมูลของการสร้างสรรค์งานศิลป์ที่มีคุณภาพให้กับวงการศิลปะ และให้กับคนในโลกนี้ได้ชื่นชมอย่างเช่นคุณอาคม ด้วงชาวนา ที่ได้สร้างสรรค์งานชุดนี้ขึ้นมา ขณะที่เดินทางไปอยู่ในแอฟริกา ตะวันตก “เซียร์ร่า ลีโอน” ที่เต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น ขาดแคลนไปเสียทุกอย่าง ขณะที่ในเวลาต่อมาต้องเดินทางตามภรรยาที่ทำงานกับ“ยูเอ็น” (UN) ไปอยู่มหานคร “นิวยอร์ค” ที่เจริญสุดขีดเพื่อรังสรรค์ผลงานขึ้นมาอีกชุดหนึ่งเพื่อฝากไว้ให้คนอเมริกันได้ชื่นชม”


ศาสตรเมธี นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ศิลปินแห่งชาติ บอกเล่าถึง อาคม ด้วงชาวนา ศิลปินอาวุโสผู้กำลังจะมีผลงานจัดแสดงให้ชม ในนิทรรรศการ “ศิลปะ กับการเดินทางชีวิต” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป


ขณะที่อาคม ได้บอกเล่าถึงความยากลำบากในการสร้างงานศิลปะระหว่างเดินทางไปยัง ประเทศเซียร์ร่า ลีโอน(Sierra Leone) ประเทศในแถบ แอฟริกา ตะวันตก ได้ใช้ชีวิต และซึมซับ ความงดงาม ชีวิต สังคมวัฒนธรรมประเพณี ของประเทศดังกล่าว โดยผลงาน บางส่วนจะถูกนำมาจัดแสดงในนิทรรศการในครั้งนี้ว่า


"นับเป็นความยากลำบากอยู่ไม่น้อย เนื่องจากขาดแคลนอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการทำงานศิลปะค่อนข้างจะหาได้ยากมาก อีกทั้งเครื่องมือที่นำไปจากประเทศไทยก็ใช้ไปจนหมด"


นอกจากนี้ชีวิตความเป็นอยู่ ที่เซียร์รา ลีโอน ค่อนข้างลำบาก เพราะเป็นประเทศที่ยากจน เพิ่งจะผ่านพ้นจากสภาวะสงครามกลางเมือง สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า น้ำประปา ก๊าซหุงต้ม น้ำมัน เป็นของหายาก การทำงานต้องจุดตะเกียงหรือเทียนนับเป็นเดือน ๆ ในยามค่ำคืน


แต่ท่ามกลางความยากลำบาก ก็ยังโชคดีที่เราได้มีโอกาสเห็นธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่งดงาม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างงาน และความโชคดีอีกประการก็คือ รัฐบาลเยอรมันได้สนับสนุนเงินให้ปรับปรุงซ่อมแซม หอศิลป์แห่งชาติเซียร์ร่า ลิโอน ที่เสียหายจากไฟสงคราม ให้ฟื้นคืนชีวิต และตนเองได้มีโอกาสจัดแสดงผลงานจำนวน ๕o-๖o ผลงานที่นั่น ซึ่งถือเป็นการแสดงศิลปะครั้งแรกในรอบหลายสิบปีของประเทศนี้ มีผู้เข้าชมบางรายเกิดความสะเทือนใจที่ได้เห็นผลงานศิลปะจนถึงกับหลั่งน้ำตาออกมาโดยไม่รู้ตัว


“ผลงานหลายชิ้นที่จัดแสดงในครั้งนั้น ส่วนใหญ่ถูกซื้อไป มีผลงานที่เหลือจากการแสดงจำนวนหนึ่ง ผมได้นำติดตัวกลับมาแสดงให้ครั้งนี้ด้วย” อาคมบอกเล่า หลังจากการจัดแสดงที่เซียร์ร่า ลีโอนเสร็จสิ้นลง อาคมต้องเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าเพื่อเดินทางย้ายตามภรรยาไปสู่มหานคร “นิวยอร์ค” เมืองศิวิไลท์ที่เปิดโอกาสให้ได้พัฒนาตนเอง และจากเดิมที่เคยสร้างผลงานในแนว Realistic (เสมือนจริง) พัฒนาสู่การสร้างผลงานในแนว Abstract (นามธรรม)


“สำหรับการใช้ชีวิตในมหานครนิวยอร์คนั้น เป็นจุดหักเหในการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด และวิธีการสร้างสรรค์ผลงานครั้งสำคัญ เนื่องจากความหลากหลายของผู้คน ภาษา และศาสนา รวมถึงการได้ชื่นชมงานศิลปะชั้นนำของโลกทั้งเก่าและใหม่ ทำให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ และมีโอกาสแสดงงานนิทรรศการทั้งเดี่ยว และกลุ่มที่นั่น”


ด้วยเหตุนี้การแสดงผลงานศิลปะประมาณ ๘o ชิ้น ที่เมืองไทยในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นโอกาสที่ดีที่ได้กลับมาถิ่นเกิด ยังเป็นโอกาสในการนำเสนอเรื่องราวความรู้สึกของตนเอง ผ่านมุมมองของศิลปะ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้สึก และความงดงามของชีวิตเพื่อนมนุษย์ กับทุก ๆ คนที่สนใจ


นิทรรศการ “ศิลปะกับการเดินทางชีวิต” วันที่ ๘ -๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๙.oo-๑๖.oo น. ณ ห้องแสดงนิทรรศการ ๑-๔ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หยุดในวันจันทร์ และอังคาร)



































ภาพและข้อมูลจาก
manager.co.th














เชียงรายบ้านฉัน



“ฉัน” ในที่นี้หมายถึง ๓o ศิลปินรุ่นใหม่ในจังหวัดเชียงราย ที่สร้างสรรค์งานศิลปะ ด้วยความรักและศรัทธา และปรารถนาที่จะเดินทางในเส้นทางศิลปิน รวมตัวกันขึ้นเพื่อสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยน แบ่งปันข่าวสารด้านศิลปะ รวมถึงสร้างโอกาสในเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์


และล่าสุดพวกได้แก่ กอบพงษ์ ขันทพันธ์, กอล์ฟ บุญมา, กิตติพงษ์ พงศ์โชคดีเลิศ, ชาลินี กาวิลาวัน, ชินดนัย ปวนคำ, ณัฐพล เจียงจรัสนนท์, ณัฐพันธ์ ยอดรักษ์ ,ดิษณ์กร สุทธสม, ทนง มั่นเหมาะ, นฤมล อุ่นเรือน, นักปราชญ์ อุทธโยธา, นิพนธ์ ใจนนท์ถี, บุญเกิด ทาบุญ, ปรัชญ์ พิณสาร, ผกามาส พุทธรินทร์, พงศ์ธร กิจพิทักษ์, พุทธรักษ์ ดาษดา ,รุ่งโรจน์ แสนลือม, วิจิตรา กาหะ, วิษณุ ธรรมสอน, วีรยุทธ นางแล, ศิริชัย เชียงแรง, ศุภชัย ยี่สุ่นศรี, สุทธิเกียรติ ใสสะอาด, อภิสิทธิ์ มณีธร, อรัญ ปัญญาทิพย์, อร่าม ถานันดร์, อำนาจ ก้านขุนทด, อิศรา กาวิลาวัน และเอกพงษ์ ใจบุญ


สร้างสรรค์ผลงานศิลปะขึ้นภายใต้หัวข้อ “เชียงรายบ้านฉัน” เพื่อถ่ายทอดความคิด มุมมอง ความรู้สึกต่อจังหวัดเชียงราย ออกมาด้วยงานศิลปะเทคนิคที่หลากหลาย


นิทรรศการ เชียงรายบ้านฉัน วันนี้- ๓o พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ ขัวศิลปะ เชียงราย เลขที่ ๕๕๑ หมู่ ๑ ถ.พหลโยธิน ต.บ้านดู่ อ. เมือง จ. เชียงราย (ก่อนถึงแยกสนามบิน แม่ฟ้าหลวง ติดกับวัดขัวแคร่ )โทร. o๕๓-๑๖๖-๖๒๓ มือถือ o๘๘-๔๑๘-๕๔๓๑



















ภาพและข้อมูลจาก
manager.co.th














ภาพเท่ๆ จาก “ยีนส์มือสอง” ของลูกชายช่างตัดเย็บเสื้อผ้า “พงษ์สกุล ชาเหลา”



เรื่องของ “ผ้า” และ “จักรเย็บผ้า” ศิลปินหนุ่มวัย ๒๗ ปี ชาวจังหวัดเลย ศิษย์เก่าสาขาจิตรกรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ คุ้นเคยดีอยู่แล้ว เพราะเติบโตมาในครอบครัวที่เป็นช่างตัดเย็บเสื้อผ้า และสมัยเรียน แรงบันดาลใจที่ได้รับจากครอบครัว ทำให้เขาสร้างงานศิลปะเทคนิคสื่อผสมสื่อเรื่องของ "สมาธิ" ชุดหนึ่ง ที่นอกจากจะมี "เหล็ก" ยังมี “ผ้า” เป็นส่วนประกอบ และแน่นอนว่าต้องใช้ “จักรเย็บผ้า” เป็นตัวช่วย


“อยากทำเรื่องใกล้ ๆ ตัว ที่บ้านมีอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่แล้วด้วย ก็เลยมีครอบครัวเป็นแรงบันดาลใจ”


ในเวลาต่อมาจากที่เคยใช้ผ้าหลาย ๆ ชนิดทำงาน ผลงานศิลปะของเขาพัฒนามาสู่การเลือกใช้แต่ผ้าสี Blue ที่ได้มาจากเครื่องนุ่งห่มที่บรรดาคนทุกชาติทุกภาษา และไม่จำกัดชนชั้นต่างนิยม....ภาพเท่ ๆ จึงบังเกิด










จุดเริ่มต้นจาก “กางเกงยีนส์ตัวเก่า”



หลายปีก่อน บาส - พงษ์สกุล ชาเหลา ตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่ทำอยู่ได้เพียง ๓ เดือน เนื่องจากไม่ถนัดกับงานที่ทำและเงินเดือนไม่พอใช้ แม้การลาออกมาทำงานศิลปะอย่างเดียว จะมีความเสี่ยงเช่นกัน แต่อย่าง ๆ น้อยการได้มีเวลาทำสิ่งที่รักและถนัดมากขึ้น เขาคิดว่าน่าจะมีความสุขมากกว่า อย่างไรก็ตาม นอกจาก จะต้องหางานอื่น ๆ ทำเสริมในช่วงกลางคืนและใช้เวลาทำงานศิลปะในช่วงกลางวัน เขายังต้องพยายามคิดหาแนวทางที่นำเสนองานศิลปะของเขาให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว


ขณะที่ยังเช่าพื้นที่ของ V64 Art Studio อาณาจักรขนาดใหญ่ ซึ่งเคยเป็นทั้งสตูดิโอและสถานที่จำหน่ายผลงานศิลปะของศิลปินจำนวนมากย่านวิภาวดีรังสิต (ขณะนี้ปิดตัวไปแล้ว)


กางเกงยีนส์ตัวเก่า ๒- ๓ ตัว ซึ่งไม่ได้ใช้งานมานาน ถูกนำมาตัดเป็นเศษผ้า แล้วปะติดด้วยกาว และเย็บด้วยจักร ลงบนผ้ายีนส์ผืนซึ่งถูกขึงเป็นเฟรม แทนผืนผ้าใบทั่ว ๆ ไป ให้เกิดเป็นภาพบ้านและแม่น้ำในมุมมองแบบ Bird's Eye View ขนาดเล็ก ๆ มันคืองานชิ้นแรกที่บาสทดลองทำ จนกลายเป็นความสนุกที่ส่งผลให้ทำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


เพราะต้องออกไปแสวงหายีนส์มือสองตามแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้งาน ขณะที่ยีนส์แต่ละตัวต่างมีสภาพซีดจางและมีเฉดสีที่แตกต่างกันไป ฉะนั้น จึงต้องพยายามเลือกใช้ให้เหมาะสม และขณะที่ลงมือทำงานก็ทำให้นึกการเดินทางของยีนส์แต่ละตัวกว่าจะตกมาถึงมือเขาว่า เจ้าของคนแรกคือใคร มีบุคคลิกเช่นใด และทำอาชีพอะไร ทำไมยีนส์ถึงมีสภาพแบบนั้นแบบนี้


“คาดเดาไม่ได้ว่าเราจะเจอวัสดุแบบไหน หรือได้ตามที่ต้องการหรือเปล่า ส่วนใหญ่ยีนส์มือสองที่นำมาทำงาน ไปหาซื้อตามตลาดมือสอง หรือซื้อข้างทางบ้าน เจอที่ไหนเห็นว่าสามารถนำมาใช้กับงานเราได้ ก็จะซื้อมาเก็บไว้ และมีคนที่รู้จักกัน ถ้าเขามียีนส์ที่ไม่ใช้แล้ว เขาก็จะเอามาให้ผมทำงาน”














ผู้บริโภคสินค้ามือสอง และวัฒนธรรรมสำเร็จรูป



บาสจัดแสดงเดี่ยวผลงานของตัวเองครั้งแรกที่ V64 ภาพแต่ละภาพในนิทรรศการครั้งนั้น ฉายให้เห็น บ้านไม้ริมคลอง ที่มีสภาพโย้เย้ จะพังแหล่มิพังแหล่ ตามย่านชุมชนที่เสื่อมโทรมในเวลาที่สัญจรผ่าน ไม่มีใครให้ความสนใจหันไปมอง แต่เมื่อมาปรากฎในงานศิลปะของเขา ทุกคนย่อมถูกดึงดูดให้หันมามอง


“เวลาเราขับรถผ่าน เห็นมันเสื่อมโทรม เราเบือนหน้าหนี แต่ผมสนใจ เขาอยู่กันยังไง พอมาอยู่ในงานศิลปะ ภาพเหล่านี้กับสามารถทำให้คนหันมามองได้”


นอกจากนี้บาสยังเห็นว่ายีนส์มือสองเหมาะสมที่จะนำมาถ่ายทอดเรื่องราวลักษณะนี้ เพราะวิถีชีวิตของชาวชุมชนก็คงอยู่ในฐานะที่ต้องหาซื้อยีนส์มือสองมาสวมใส่ อีกทั้งผ้ายีนส์ที่หลายมองว่ามันคงทน แต่ในความเป็นผ้าที่เขาสัมผัส มันคือผ้าที่ไม่ได้คงทนเสมอไป เปรียบเทียบได้กับการมองเข้าไปยังชุมชนของภายนอก ที่อาจตั้งคำถามพวกเขาอยู่ได้อย่างไร กับสภาพแบบนั้น ทั้งที่ผุ้อาศัยอาจไม่รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจอะไร


“พอผมได้เข้าไปคุยกับคนที่เขาอาศัย เขาบอกว่าเขาอยู่ได้ ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับเขา มองภายนอกมันดูไม่มั่นคง แต่สำหรับคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในนั้นเขารู้สึกมั่นคงในแบบของเขา ซ่อมแซมไปเรื่อยๆตามสมควรเปรียบได้กับยีนส์ ที่เรามองว่ามันแข็งแรงทนทาน แต่จริง ๆ แล้วเนื้อแท้ของมันก็คือผ้าที่มีสองร่างในตัว”


ในเวลาต่อมาบาสจัดแสดงเดี่ยวผลงานครั้งที่ ๒ ที่บราวน์สโตน สตูดิโอ ในนิทรรรศการชื่อ SUB-SUKHUMWIT (ซึ่งหมายถึงแยกย่อยต่าง ๆ บนถนนสุขุมวิท) ครั้งนั้นภาพจากผ้ายีนส์ของเขาฉายให้เห็นภาพถนนสุขุมวิทยามค่ำคืน ก่อนจะลงมือทำงาน เขาเดินสำรวจถนนสุขุมวิทตั้งซอยแรก ๆ ไปจนถึงซอยสุขุมวิท ๗๗ หรือซอยอ่อนนุช อันเป็นที่ตั้งของสตูดิโอ


ระหว่างเส้นทางเขาได้พบกับผู้คนหลากหลายอาชีพ หลากหลายเชื้อชาติ บ้างก็มีที่ตั้งคำถามว่าเขามาจากประเทศไหน ถ้ายีนส์เป็นวัฒนธรรมสำเร็จรูปที่เราทุกคนต่างรับมาโดยไม่ปฏิเสธ บาสบอกว่า ทุกอย่างที่เคลื่อนไหวอยู่บนถนนสุขุมวิทก็เช่นเดียวกัน














ความยุ่งเหยิงสีฟ้า



จนมาสู่นิทรรรศการครั้งล่าสุดที่ S gallery บาสนำภาพบ้านริมคลอง อย่างในนิทรรศการครั้งแรกมาจัดแสดงร่วมกับภาพถนนสุขุมวิทยามค่ำคืน ขณะที่ชื่อนิทรรศการ Tangled in Blue เป็นชื่อเดียวกับเพลงๆหนึ่งของ Bob Dylan หนึ่งในนักร้องที่บาสชื่นชอบ และบ่อยครั้งที่ชอบจะเปิดฟังในขณะที่ทำงาน แม้ในเพลงจะไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับยีนส์ แต่คำว่า Blue ของชื่อเพลง ทำให้รู้สึกเชื่อมโยงกับสีฟ้าของผ้ายีนส์ในงานศิลปะของบาส


ทั้งภาพไฮไลท์ซึ่งมีขนาดใหญ่ เป็นภาพบ้านริมคลอง และชิ้นที่เล็กลงมาอีกหลายชิ้น ทั้งหมดล้วนต้องการจะสื่อว่า มันคือทางเลือกในการนำเสนองานศิลปะอีกรูปแบบหนึ่งของศิลปินคนหนึ่งที่พยายามหนีไปจากรูปแบบเดิม ๆ และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ของอย่างหนึ่งมีคุณค่าขึ้นมา ด้วยการนำมาทำเป็นงานศิลปะ


บางคนเคยแอบสงสัยว่าในเมื่อผลงานของเขาใช้ผ้ายีนส์มาปะติด แล้วในรายละเอียดอื่น ๆ ของภาพ ที่เป็นจุดเล็กจุดน้อยที่เป็นสีอื่นที่ไม่ใช่สีฟ้า เขาใช้อะไรมาทำงาน จึงทำให้เราผู้ชมซึ่งมองจากไกล ๆ รู้สึกร่วมได้ว่า นั่นคือ สีแดงของจานรับญาณโทรทัศน์บนหลังบ้าน หรือสีของป้ายโฆษณาต่าง ๆ เดินเข้าไปชมภาพในระยะประชิดจึงพบว่าเป็น โลโก้หรือตรายี่ห้อที่เจ้าตัวตัดมาจากกางเกงยีนส์มือสองหลาย ๆ ตัวนั่นเอง


“ผมต้องการสื่อถึงเรื่องบริโภคนิยม ยีนส์ที่ได้มา เราก็ไม่รู้อันไหนของจริงหรือปลอม มันถูกผลิตขึ้นมาจำนวนเยอะ ๆ เส้นทางของยีนส์มือสอง เป็นของที่ประเทศเจริญแล้วบริจาคมาให้ประเทศที่กำลังพัฒนา โดยไปรับบริจาคมาตามบ้าน แล้วส่งใส่ตู้คอนเทนเนอร์มาให้ประเทศโลกที่สาม พอถึงฝั่งเราจะมีพวกพ่อค้าไปดักรออยู่ ไปตัดตอนเอาของดีๆไปขายเอากำไรอีกที ของที่เหลือมาถึงเราก็จะเป็นของไม่ค่อยดี”


ชมผลงานศิลปะที่ “ผ้ายีนส์” ถูกใช้แทนที่ “สี” ขณะที่ “จักรเย็บผ้า” ถูกใช้แทนที่ “พู่กัน” ในนิทรรศการ Tangled in Blue โดย พงสกุล ชาเหลา วันนี้ - ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ณ S gallery ของโรงแรมโซฟีเทล กรุงเทพ สุขุมวิท ถนนสุขุมวิท ๑๓-๑๕



















ภาพและข้อมูลจาก
manager.co.th














ภาพพิมพ์เทคนิคสกรีน พริ้นติ้ง ของ 12 ศิลปินอิสระ, นักวาดภาพประกอบ และกราฟิกดีไซเนอร์



เดอะ แจม แฟคตอรี่ ร่วมกับ The Archivist ซึ่งเป็นสตูดิโอด้านงานภาพพิมพ์ เชิญ ๑๒ ศิลปินอิสระ, นักวาดภาพประกอบ และกราฟิกดีไซเนอร์


ได้แก่ สันติ ลอรัชวี ผู้เป็นทั้งคิวเรเตอร์และกราฟิกดีไซเนอร์ จาก Practical Design Studio, ธีรนพ หวังศิลปคุณ จากTNOP Design, จิรายุ คูอมรพัฒนะ ศิลปินและนักวาดภาพประกอบ, จักรกฤษณ์ อนันตกุล ศิลปินสตรีตอาร์ทและกราฟิกดีไซเนอร์, คณิตา มีชูบท ศิลปินประติมากรรม กระดาษและนักวาดภาพประกอบ, สุทธิภา คำแย้ม ศิลปินนักวาดภาพประกอบและนักเดินทาง, มิญชญา ชโยสัมฤทธิ์ ผู้ก่อตั้ง The Archivist, เมย์ ไวกิตติพงษ์ จาก Pianissimo Press, เดือน จงมั่นคง ศิลปินถ่ายภาพและนักดนตรี, พิม จงเจริญ จาก Teaspoon Studio, วุฒิพงษ์ มหาสมุทร จากFreetypewriterและจารุตม์ จันทร์ประภานนท์ กราฟิกดีไซเนอร์รุ่นใหม่ มาทดลองสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ด้วยเทคนิคสกรีน พริ้นติ้ง เพื่อนำมาจัดแสดงให้ชมใน นิทรรศการภาพพิมพ์ร่วมสมัย An Original by the Originals จำนวน ๒๔ ผลงาน


มิญชญา ชโยสัมฤทธิ์ ผู้ก่อตั้ง The Archivist กล่าวถึงแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานสำหรับนิทรรศการครั้งนี้ที่มีให้กับศิลปินแต่ละคนว่า ศิลปินทั้ง ๑๒ คน จะสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์โดยได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะที่เป็นงานต้นฉบับของศิลปินท่านอื่นๆ จากนั้นจะนำผลงานชิ้นดังกล่าวไปต่อยอดเป็นผลงานชิ้นที่ ๒ โดยไม่จำกัดเทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน แล้วนำผลงานทั้ง ๒ ชิ้น มาจัดแสดงคู่กัน จึงกลายเป็นที่มาของชื่อนิทรรศการ An Original by the Originals ในครั้งนี้


ตัวอย่างเช่นผลงานของคิวเรเตอร์ สันติ ลอรัชวี ผลงานชื่อ Memorandum of Understanding 052015001 เป็นการนำเอาภาพถ่ายเกี่ยวกับแม่น้ำที่สะสมไว้มาอธิบายความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่โดยใช้ภาพพิมพ์เป็นสื่อ เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปในเชิงกายภาพและองค์ประกอบศิลป์ สะท้อนทางความคิดและการเดินทางส่วนบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่ง ๆ


สันตินำเสนอภาพแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใช้เทคนิคความเหลื่อมของชั้นสีในกระบวนการพิมพ์ มาอุปมาถึงความเคลื่อนไหวของภาพขณะที่มองแม่น้ำ


“งานศิลปะภาพพิมพ์ช่วยให้เกิด movement ที่น่าสนใจ เพราะฉะนั้นเวลาที่ทำภาพนี้ก่อให้เกิดการตั้งคำถามกับความเป็นออริจินอล เพราะกว่าจะได้ภาพที่สมบูรณ์ตามแบบที่เราต้องการ เราต้องพิมพ์จำนวนเยอะมาก ผลงานชิ้นนี้เสียไปถึง ๑๒o แผ่น กว่าจะได้ที่พอใจเพียง ๘ ชิ้น ผมจึงได้นำมารวบรวมเข้าเล่มให้กลายมาเป็นผลงานชิ้นที่ ๒ เพื่อสื่อให้ผู้ชมเห็นถึงคุณค่าราวกับสะพานที่ทอดนำไปสู่ความสมบูรณ์ จุดเด่นของงานภาพพิมพ์คือการควบคุมที่ค่อนข้างยาก ส่วนมากเรามักจะคุ้นเคยในรูปแบบของงานอุตสาหกรรมที่มีความสมบูรณ์เหมือนกันทุกชิ้น ในแง่สื่อศิลปะ ผมคิดว่าสื่อทุกสื่อมีคุณค่าเท่า ๆ กัน ขึ้นอยู่กับศิลปิน ที่จะให้คุณค่าของสื่อนั้น ๆ อย่างไร ขึ้นอยู่กับมุมมองของเขาว่าจะทำให้น่าสนใจได้อย่างไร”


นอกจากนี้นิทรรศการยังจัดให้มี เวิร์คชอปภาพพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีใจรักในศิลปะภาพพิมพ์ได้ทดลองสร้างสรรค์ผลงานด้วยตัวเอง โดยศิลปินที่มีผลงานมาจัดแสดงในนิทรรศการทำหน้าที่วิทยากรทุกวันเสาร์ ตลอดเดือนพฤษภาคม ณ เดอะ แจม แฟคตอรี่ ย่านคลองสาน


ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งสำหรับกิจกรรมเวิร์คช็อปได้ที่ โทร o๘๔-o๖๖-๔๙๖o หรือ email : workshop@thearchivist.co หรือติดตามรายละเอียดได้ทางเวบไซต์ //www.thearchivist.co และช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค Facebook: archivistproject หรือ instagram @thearchivistproject





สันติ ลอรัชวี คิวเรเตอร์ของนิทรรศการครั้งนี้





ทีมผู้บริหารและผู้จัดการแกลเลอรี่ของ เดอะ แจม แฟคตอรี่















































ภาพและข้อมูลจาก
manager.co.th














“เงาปริศนา” (Riddle shadows)



นิทรรศการ : “เงาปริศนา” (Riddle shadows)
ศิลปิน : กรดล กุลจารุสิริ (Koradol Kuljarusiri)
ลักษณะงาน : สีอะคลีลิคบนผ้าใบ
ระยะเวลาที่จัดแสดง : ๒๓ พฤษภาคม -๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
พิธีเปิดนิทรรศการ : ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๘.oo น.
สถานที่จัดแสดง : หอศิลป์จามจุรี ห้องนิทรรศการชั้น ๑ ห้อง ๑
ติดต่อศิลปิน : o๘๔-๕๕๗-๕๔๙๕


แนวความคิด

ข้าพเจ้าได้แรงบันดาลใจจาก หนังตะลุง หนังใหญ่ ภาพจิตรกรรมไทย ภาพปริศนาธรรม นำมาสร้างสรรค์โดยใช้การจัดวางของรูปทรง จังหวะการทับซ้อน ความเคลื่อนไหวของ จุด เส้น สี น้ำหนัก แสง และ เงา ประกอบกันเป็นภาพ เรื่องราวทางพุทธศาสนาร่วมกับทัศนคติส่วนตน เพื่อแสดงความลี้ลับของจิตวิญญาณ ซึ่งมีปริศนาบางอย่างซ่อนเอาไว้ให้คิดให้แก้ ทำให้เกิดจินตนาการ และเห็นแง่คิดมุมมองของชีวิตด้านจิตวิญญาณ



ภาพและข้อมูลจาก
artbangkok.com










8



เศษเสี้ยวของการเดินทาง (Fragments of Our Journeys)



นิทรรศการ : เศษเสี้ยวของการเดินทาง (Fragments of Our Journeys)
ศิลปิน : วิเชษฐ จันทร์นิยม (WICHET CHANTANIYOM)
ลักษณะงาน : จิตรกรรม
ระยะเวลาที่จัดแสดง : ๒๖ เมษายน – ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
พิธีเปิดนิทรรศการ : วันอาทิตย์ ๒๖ เมษายน เวลา ๑๘.๓o น.
คุณสันติ วิลาสศักดานนท์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ
สถานที่ : หอศิลป์จามจุรี ห้องนิทรรศการชั้น ๑ ห้อง ๒
ติดต่อศิลปิน : o๘๑-๘๒๗-๕๕๕๒


แนวความคิด

การดำรงชีวิตของผู้คนในยุคนี้แทบจะเรียกได้ว่ามีการเดินทางเกิดขึ้นทุกวินาทีก็ว่าได้ ทั้งการเดินทางจริง ๆ ในการสัญจรไปไหนต่อไหนในการดำรงชีวิตประจำวัน


การเดินทางอีกอย่างหนึ่งคือการเสพสื่อต่าง ๆ ทั้งจากการดู การฟัง และการอ่าน ทำให้ผู้คนในยุคนี้มีการเดินทางที่กว้างไกลกว่าในอดีต


ผมในฐานะของผู้ทำงานศิลปะ ซึ่งก็เป็นคนหนึ่งในสังคม และมีการเดินทางเหมือนกับผู้คนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการเดินทางบางเสี้ยวของชีวิต มาทำงานศิลปะในชุดนี้ จึงทำให้งานมีความหลากหลาย ตามความประทับในที่ได้พบเห็นและการจินตนาการในสิ่งที่เคยพบเห็นมา


คิดว่างานชุดนี้คงเป็นแรงบันดาลในให้ผู้ที่ได้ชม จะคิดต่อในสิ่งที่ผมได้คิดและทำ เพื่อเสพความสุขและหวนคิดถึงสิ่งที่ได้พบเห็นมา



ภาพและข้อมูลจาก
artbangkok.com














TRADITIONAL JAPANESE PAINTING



ผลงานภาพวาดบอกเล่าความงดงามของธรรมชาติ ทิวทัศน์ที่สวยงามของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ถ่ายทอดผ่านความประทับใจและปลายพู่กันของ ๓ ศิลปินชาวญี่ปุ่น Sirofumi Takehara, Kimimochi Tauchi และ Rei Hayase ด้วยเทคนิคการผสมสีโดยใช้แร่จากธรรมชาติ
หิน และเปลือกหอย นำมาสกัดเป็นผงสี ซึ่งเป็นเทคนิคการเขียนภาพสไตล์ญี่ปุ่น สืบทอดมากว่า ๑,๕oo ปีที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน


เวลาจัดแสดง ๑๖ พฤษภาคม - ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ ที่ มิตรไนซ์ แกลลอรี่
ขอเชิญร่วมงานเปิดในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ตั้งแต่เวลา ๑๙.oo น. เป็นต้นไป


รายละเอียดเพิ่มเติม FB Midnice Gallery


คลิกชมแผนที่ร้าน here.com



ภาพและข้อมูลจาก
wikalenda.com














Double O Seth



‘Double O Seth’ เศรษฐพงศ์ โพวาทอง ศิลปินคอลลาจชาวไทยซึ่งเป็นที่รู้จักในระดับสากล ผลงานของเขาคือบริบทอันบ้าระห่ำในการตีความวัฒนธรรมป๊อบ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศาสนา การเมือง - ไม่มีเรื่องใดที่จะไม่ถูกละเว้น โดยใช้ภาพจากคลังหนังสือเก่าชนิดต่าง ๆ ที่รวบรวมมานานนับทศวรรษสร้างขึ้นเป็นงานคอลลาจแบบดั้งเดิมด้วยวิธีการตัดปะแบบแฮนด์เมด


คลุกคลีอยู่กับวัฒนธรรมป๊อบในไทย ด้วยการทำหน้าที่บรรณาธิการนิตยสารชั้นนำหลายเล่ม ผู้กำกับศิลป์ และอาจารย์พิเศษของหลายมหาวิทยาลัย ปัจจุบัน เขายังทำงานภาพประกอบ งานออกแบบ และผู้บรรยาย อีกทั้งงานคอลลาจอย่างสม่ำเสมอ


พบกับนิทรรศการคอลลาจที่รวบรวมผลงานของเขาระหว่างช่วงปี ๒o๑๑-๒o๑๕ ได้ที่ Jam Cafe'
ตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤษภาคม -๑๒ มิถุนายนนี้


วันงานเปิดนิทรรศการ
วันเสาร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม
ตั้งแต่เวลา ๑ ทุ่ม - เที่ยงคืน
พบกับ DJ Somarange (Goodcat/Club Soma), DJ Dookie (Go Grrrls/Club Soma), warmup playlist by Double O Seth.
ฟรีบาร์ตั้งแต่เวลา ๑ ทุ่ม - ๓ ทุ่ม























ภาพและข้อมูลจาก
wikalenda.com




บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะ



บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ Hawaii_Havaii

Free TextEditor





Create Date : 16 พฤษภาคม 2558
Last Update : 16 พฤษภาคม 2558 22:26:59 น. 0 comments
Counter : 4083 Pageviews.

haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.