space
space
space
 
มกราคม 2560
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
9 มกราคม 2560
space
space
space

ระบบปฏิบัติการ Windows



ระบบปฏิบัติการ WINDOWS NT

MICROSOFT WINDOWS NEW TECHNOLOGY

NT_31

เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถในการจัดการเครือข่าย ในระยะใกล้   (LAN : Local Area Network)   โดยจัดการด้านการติดต่อสื่อสาร  ระหว่างคอมพิวเตอร์  และการรักษาความปลอดภัยในเครือข่าย ได้เป็นอย่างดี ในระบบเครือข่ายจะมีผู้ใช้งานหลายคน วินโดวส์ NT จะทำการจัดทรัพยากรของระบบ ให้มีการใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด    รวมถึงการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน และรองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ WINDOWS NT

NT2

 Windows NT ใช้ระบบไฟล์แบบ NT ( NTFS ) ซึ่งเป็นระบบไฟล์ที่รองรับการตั้งชื่อไฟล์ได้ยาวถึง 256 อักขระ และมีความสามารถในการติดตามการทำงาน ซึ่งหมายความว่าเมื่อระบบทำงานผิดพลาด Windows NT จะสามารถคืนค่าเดิมในสภาวะก่อนทำงานผิดพลาดกลับลงไปได้

การเชื่อมโยงข้อมูลของ Windows NT สนับสนุนตามข้อกำหนดระดับชั้นการเชื่อมโยงข้อมูลของมาตรฐาน IEEE 802.2 สำหรับระบบเครือข่ายทั้งแบบโทเคนริงและอีเธอร์เน็ต รวมทั้งข้อกำหนดโปรโตคอล SDLC ,โปรโตคอล X.25 / QLLC และ DFT (distributed function terminal)

นอกเหนือจากนี้ Windows NT รุ่น Advanced Server ยังมีคุณลักษณ์เด่นอื่นๆ อีกหลายประการ รวมถึงความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการเครือข่ายอื่นๆ

ประสิทธิภาพของ WINDOWS NT

Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายแบบ 32 บิตที่สามารถทำงานหลายๆงานควบคู่กันไปได้ และยังสนับสนุนระบบหลายโปรเซสเซอร์ รวมทั้งการประมวลผลแบบสมมาตรที่เป็นการกระจายงานออกไปยังโปรเซสเซอร์ทั้งหลายให้ช่วยกันทำการประมวลผลอย่างได้สมดุล ซึ่งด้วยคุณลักษณ์ดังกล่าวนี้ทำให้บริษัททั้งหลายที่ต้องการระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถจัดซื้อซูเปอร์เซิร์ฟเวอร์ที่มีไมโครโปรเซสเซอร์หลายๆตัวมาใช้งานร่วมกับ Windows NT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ 6 ตัวก็จะมีความเร็วสูงกว่าเครื่องที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ตัวเดียวขึ้นไปอีก 6 เท่าเป็นต้น

ภายใน Windows NT มีความสามารถในการทำระบบเครือข่ายแบบเท่าเทียมมาให้ด้วย กล่าวคือผู้ใช้ Windows NT สามารถแบ่งปันร่วมใช้ทรัพยากรอื่นๆกับผู้ใช้อื่นที่ใช้ Windows NT , Windows , DOS และ OS/2 ได้ด้วยนั่นเอง นอกเหนือจากนี้ใน Windows NT ยังใช้เทคนิคในการจัดการกับหน่วยความจำเป็นแบบแฟลต (flat) แทนที่จะใช้วิธีการแบ่งเพจ (page) อันทำให้การทำงานของ Windows NT มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้งานกับโปรแกรมกราฟิกซึ่งจะทำงานได้เร็วขึ้นมาก

ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นของ Windows NT ในความเป็นจริงแล้วเป็นผลพวงมาจากความต้องการทรัพยากรของตัว Windows NT เองที่ระบุเอาไว้ว่าต้องเป็นเครื่องที่ใช้หน่วยประมวลผลกลางเบอร์ 80486DX ของ Intel ขึ้นไป และต้องมีหน่วยความจำแรมอย่างต่ำ 12 เมกะไบต์และมีพื้นที่ว่างในการติดตั้งบนฮาร์ดดิสก์อีก 100 เมกะไบต์ โดยนอกเหนือจากเครื่องที่ใช้ชิปของ Intel แล้ว Microsoft ยังได้ร่วมมือกับอีกหลายๆบริษัท ซึ่งรวมทั้ง Digital Equipment Corporation และ MIPS Computer Systems เพื่อให้สามารถนำ Windows NT ไปใช้งานบนเครื่องที่มีฮาร์ดแวร์แพล็ตฟอร์มต่างๆได้หลายแบบ

การรักษาความปลอดภัยภายใต้ WINDOWS NT

ในการเข้าใช้งาน Windows NT นั้น ผู้ใช้จะต้องป้อนรหัสผ่านเพื่อแสดงการขอเข้าใช้ มิฉะนั้น Windows NT จะไม่อนุญาตให้เข้าใช้เซิร์ฟเวอร์ได้ โดยใน Windows NT จะมีโปรแกรม User Manager ที่ใช้ในการจัดการเกี่ยวกับบัญชีผู้ใช้ โดยสามารถแบ่งระดับความสามารถในการเข้าถึงระบบเครือข่ายของผู้ใช้ต่างๆออกเป็นหลายๆระดับได้ด้วย นอกเหนือจากนี้ยังสามารถสร้างกลุ่มผู้ใช้และกำหนดสิทธิให้กลุ่มได้ กล่าวคือผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่มผู้ใช้เดียวกันก็จะมีสิทธิในการใช้ระบบเครือข่ายเท่าเทียมกัน

อีกคุณลักษณ์เด่นหนึ่งของ Windows NT คือโปรแกรม Event Viewer ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ผู้บริหารระบบเครือข่ายใช้ในการตรวจดูสิ่งผิดปกติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย รวมทั้งการฝ่าฝืนต่างๆ ซึ่งจะมีข้อมูลแสดงวันที่ เวลา และรูปแบบการฝ่าฝืน รวมทั้งสถานที่ที่ผู้ฝ่าฝืนดำเนินการและชื่อของผู้ฝ่าฝืน ทุกครั้งที่จะเริ่มใช้งาน Windows NT ผู้ใช้จะต้องป้อนรหัสผ่านก่อนทุกครั้งด้วยการกดแป้น Ctrl-Alt-Del เหมือนการบูตเครื่องใหม่ เพื่อทำการป้อนชื่อและรหัสผ่านของตน

การรักษาความปลอดภัยภายใน Windows NT เป็นไปตามมาตรฐานการรักษาระดับ C2 ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นอกเหนือจากนี้ทาง Microsoft ยังได้แจ้งด้วยว่าจะเพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยใน Windows NT ให้สูงกว่านี้ขึ้นไปอีกในอนาคต

การรัน WINDOWS NT กับระบบปฏิบัติการเครือข่ายอื่น

Windows NT มีคุณสมบัติของการเชื่อมต่อโปรแกรมใช้งานหรือ API (application programming interface) อันเอื้ออำนวยให้ผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการเครือข่ายอื่นๆ สามารถพัฒนาโปรแกรมไคลเอ็นต์บนผลิตภัณฑ์ของตนติดต่อกับ Windows NT ได้ง่ายขึ้น โดยทาง Novll ได้แจ้งว่าตนจะสามารถปล่อยซอฟต์แวร์ไคลเอ็นต์สำหรับ Windows NT ของตนตามออกมาได้อย่างทันทีทันใดที่ Windows NT ออกวางจำหน่าย

โปรโตคอลสแต็ก TCP/IP และโปรแกรมใช้งานเป็นไคลเอ็นต์ของ TCP/IP อย่างเช่น Telnet และ FTP มีให้มาด้วยแล้วใน Windows NT นอกจากนี้ยังสนับสนุนการเราต์ TCP/IP อีกด้วย แต่เนื่องจาก Microsoft มิได้ให้โปรแกรมเซิร์ฟเวอร์สำหรับ Telnet และ FTP มาด้วย ดังนั้นสถานีงานของ UNIX จึงยังไม่สามารถเข้ามาใช้ Windows NT โดยตรงได้ในตอนนี้ แต่ทาง Microsoft ได้แถลงว่าจะเพิ่มลงไปด้วยใน Windows NT เวอร์ชันต่อไป นอกเหนือจากที่กล่าวมา Windows NT ยังสนับสนุนโปรโตคอลการจัดการระบบเครือข่ายอย่างง่ายที่เรียกว่า SNMP (simple network management protocol) อีกด้วย อันทำให้สามารถจัดการการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ Windows NT ด้วยโปรแกรมการจัดการระบบเครือข่าย SNMP ได้

Windows NT สามารถโต้ตอบและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ NetWare , Vines และ Sun NFS ได้ ทั้งที่แรกเริ่มที่ออกแบบขึ้นมานั้น ตั้งใจจะให้รองรับเฉพาะ LAN Manager แต่ก็ปรากฏว่าสามารถรับรองระบบเครือข่ายอื่นๆได้ด้วย ขึ้นอยู่กับว่าระบบเครือข่ายนั้นๆรองรับการ์ดเชื่อมต่อระบบเครือข่ายตามข้อกำหนดการเชื่อมต่อส่วนขับเครือข่าย NDIS (network driver interface specification) ของ Microsoft หรือไม่

นอกเหนือจากที่กล่าวมา Windows NT ยังรองรับไคลเอ็นต์ที่เป็นเครื่องแมคอินทอชอีกด้วย ซึ่งนั่นรวมถึงการรองรับ ApplpTalk File Protocol v2.1 และการรักษาความปลอดภัย AF ไว้ภายในด้วย โดยเครื่อง PC สามารถสร้างไฟล์ขึ้นมาแล้วเปลี่ยนเป็นไอคอนเฉพาะ และใส่รายละเอียดเพิ่มลงไป ผู้ใช้เครื่องแมคอินทอชจะสามารถดับเบิลคลิกไฟล์เหล่านี้ เปิดไฟล์ขึ้นด้วยโปรแกรมใช้งานที่เหมาะสมได้

ระบบการพิมพ์ของ Windows NT สามารถรองรับงานพิมพ์แบบโพสต์สคริปต์ทั้งหมดของเครื่องแมคอินทอชให้พิมพ์ไปยังเครื่องพิมพ์ของ Windows NT ได้ และสามารถส่งงานพิมพ์จากเครื่อง CP ไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ที่เชื่อมต่ออยู่กับ AppleTalk ได้

การเชื่อมต่อ WINDOWS NT เข้ากับโลกภายนอก

Windows NT มีส่วนบริการการทำเซิร์ฟเวอร์การเข้าใช้ในระยะไกลที่เรียกว่า Remote Access Server มาให้ด้วย ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าวจะมีความสามารถในการให้ไคลเอ็นต์ระยะไกลที่ใช้อยู่บน DOS , Windows หรือ Windows NT สามารถหมุนโทรศัพท์เข้าติดต่อกับระบบเครือข่าย Windows NT และทำการลงบันทึกเข้า ( log in) ใช้งานระบบเครือข่ายได้ประหนึ่งเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายโดยตรง จะต่างอยู่บ้างก็ตรงความเร็วซึ่งค่อนข้างช้ามาก โดยเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าวนี้สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้มากถึง 64 การเชื่อมต่อ และมีการรักษาความปลอดภัยตามพื้นฐานการรักษาความปลอดภัยของ Windows NT เอง ซึ่งรวมถึงการใส่รหัสผ่านที่มีการเข้ารหัสข้อมูลตามมาตรฐาน DES (data encryption standard) และความสามารถในการเรียกกลับ (call – back) เพื่อป้องกันบุคคลไม่พึงประสงค์แอบแฝงเข้า โดยในการติดต่อสื่อสารระยะไกลนี้ Windows NT รองรับทั้งการใช้โปรโตคอล X.25 และ ISDN (integrated service digital network)

ข้อดี และ ข้อเสียของ WINDOWS NT

ข้อดี

1. มีความเชื่อถือได้สูง (Reliability) คือมีการป้องกันแก่นของระบบปฎิบัติการจากแอพพลิเคชั่นต่างๆที่จะเข้ามารบกวนการทำงานของ Windows NT

2. มีความปลอดภัยสูง (Security) NT Server นั้นมีระดับความปลอดภัยถึง ระดับ C2 คือให้รับรู้เฉพาะที่จำเป็น

3. ความยืดหยุ่นสำหรับการขยายตัว (Scalability) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบตามจำนวนโพรเซสเซอร์ที่เพิ่มขึ้นโดยรองรับสถาปัตยกรรม SMP

4. ความสามาถในการขยายตัว (Extensibility) เป็นแนวคิดของ Client/Server ที่มาจากระบบ UNIX เมื่อจะต้องนำมาประยุกต์ใช้กับงานเครื่อข่าย

และ แอพลิเคชั่นที่ใช้งานกับระบบฐานข้อมูล

5. ความเข้ากันได้ (Compatibility) สามารถทำงานได้ทั้งแอพลิเคชั่นชนิด 16 bit และ 32 bit

ข้อเสีย

1. ขาดความเข้ากันได้กับ อุปกรณ์ต่างๆ ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้กับอุปกร์ณ์ที่นอกเหนือจากที่ NT Server

2. ถ้าระบบขณะที่ทำงานเกิดเสียขึ้นมาการแก้ไขทำได้ยาก




 

Create Date : 09 มกราคม 2560
0 comments
Last Update : 9 มกราคม 2560 21:50:56 น.
Counter : 485 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

สมาชิกหมายเลข 2720535
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2720535's blog to your web]
space
space
space
space
space