สามหนุ่ม สามมุม
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
24 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
คำถามข้องใจในการใช้ยา (2)

Photobucket


 


คำถามข้องใจในการใช้ยา (2)


 


ยาเข้าไปทำอะไรกับสมองของเด็ก?



       พ่อแม่ และครูหลายท่านมีความเข้าใจผิดคิดว่า ยาที่แพทย์ใช้ในการรักษาเด็กสมาธิสั้นออกฤทธิ์โดยการไป “บีบ” หรือ “กด” สมองเพื่อให้เด็กนิ่งขึ้น หรือซนน้อยลง ดังนั้นความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นกับพ่อแม่เมื่อแพทย์บอกว่าเด็กควรจะได้รับการรักษาด้วยยาคือ วิตกกังวล ลังเลไม่แน่ใจ ไม่อยากให้เด็กรับประทานยา แต่แท้จริงแล้วยาจะออกฤทธิ์โดยการไป “กระตุ้น” เซลล์สมองให้หลั่งสารเคมีธรรมชาติ (ตัวที่เด็กมีน้อยกว่าเด็กปกติ) ออกมามากขึ้นในระดับที่เด็กปกติควรจะมี สารเคมีตัวนี้เป็นตัวที่ช่วยให้เด็กสามารถควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น มีสมาธิยาวนานขึ้น เรียนหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


 


ผลข้างเคียงของยามีอะไรบ้าง?  



      ผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้ที่พบบ่อย ได้แก่ อาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปวดท้อง และอารมณ์ขึ้นลง หงุดหงิดง่าย ใจน้อย เจ้าน้ำตา อาการข้างเคียงเหล่านี้มักจะไม่รุนแรงและหายไปเองได้เมื่อเด็กรับประทานยาติดต่อกันไปสักระยะหนึ่ง


 


หากเด็กมีอาการเบื่ออาหารมากหลังจากรับประทานยาจะทำอย่างไร?



        เด็กบางรายอาจจะมีอาการเบื่ออาหารระหว่างที่ยากำลังออกฤทธิ์ ดังนั้นจึงควรให้เด็กรับประทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนให้รับประทานยา โดยปกติแล้วความอยากอาหารจะกลับเป็นปกติ (หรือมากกว่าปกติในบางราย) เมื่อยาหมดฤทธิ์ จึงไม่แปลกที่เด็กบางคนบ่นว่าหิว หรืออาจจะร้องขอรับประทานอาหารเมื่อใกล้เวลาจะเข้านอน พ่อแม่ควรอนุญาตให้เด็กรับประทานอาหารได้ทุกเวลาที่เขาต้องการแม้จะเป็นตอนค่ำ เพื่อชดเชยกับมื้อเช้าหรือมื้อเที่ยงที่เด็กอาจจะรับประทานอาหารไม่ได้มาก มีเด็กเพียงไม่กี่รายที่อาการเบื่ออาหารมีมากจนแพทย์ต้องลดขนาดยาให้น้อยลง หรือให้อาหารเสริม ในบางรายแพทย์อาจให้ยากระตุ้นให้อยากอาหารร่วมด้วย


 


มีคนบอกว่าเด็กกินยาแล้วจะ“ซึม”จริงหรือไม่?



       เด็กสมาธิสั้นที่ตอบสนองดีต่อการรักษาด้วยยาอาจจะดูนิ่ง สงบ เงียบ เรียบร้อยผิดจากเดิมไปมาก จึงมักทำให้พ่อแม่ หรือคุณครูที่คุ้นเคยกับอาการซน เสียงดัง และความวุ่นวายของเด็ก บังเกิดความประหลาดใจปนกับความกังวลว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเด็ก หลายคนเหมาเอาว่าเด็ก “ซึม” จากยา แต่ในความเป็นจริงเด็กเพียงแต่มีอาการ “สงบ” เหมือนพฤติกรรมของเด็กปกติทั่วไป เด็กจะมีอาการ  “ซึม” เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับยาในขนาดที่สูงเกินไปเท่านั้น
วิธีแยกระหว่างอาการ “ซึม” กับ “สงบ” อาศัยสมาธิและความสามารถในการคิดของเด็ก ระหว่างที่เด็กมีอาการ “ซึม” เด็กจะไม่สามารถใช้สมองหรือคิดอะไรไม่ออก เวลาถามอะไรก็ไม่ตอบหรือตอบไม่ได้ แต่ระหว่างที่เด็ก “สงบ” เด็กจะกระตือรือร้นหากมีการนำงานมาให้เด็กทำหรือคิด เด็กจะตอบได้ไวและถูกต้อง ดังนั้นพ่อแม่จึงควรสังเกตและแยกให้ได้ว่าจริงๆแล้วเด็กรับประทานยาแล้ว “ซึม” หรือ “สงบ” กันแน่ ก่อนที่จะเหมาเอาว่าเด็กรับประทานยาแล้ว “ซึม”


 


ยาจะมีผลในระยะยาวต่อร่างกายและสมองของเด็กหรือไม่?



       พ่อแม่หลายท่านมักจะกังวล เกรงว่าจะมีผลเสียกับเด็กหากเด็กรับประทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เช่น เกรงว่าเด็กจะไม่โต ตัวเล็ก สมองเสื่อม ไม่ฉลาด เป็นต้น ยาที่แพทย์ใช้รักษาสมาธิสั้นมากที่สุดคือ ยาในกลุ่ม psychostimulants ซึ่งเป็นยาที่มีใช้กันมานานกว่า 60 ปีแล้ว มีการวิจัยมากมายที่ยืนยันความปลอดภัยของยาในกลุ่มนี้ โดยพบว่า เด็กสมาธิสั้นที่รับประทานยาในกลุ่มนี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ มี การเจริญเติบโตเท่ากับเด็กปกติ และมีพัฒนาการทางสมองเป็นปกติ


 


เด็กไม่ยอมกินยาอ้างว่าลืมบ่อยๆจะทำอย่างไร?



       อันดับแรกพ่อแม่ควรพูดคุยกับเด็ก ว่าเขารู้สึกอย่างไรกับการรับประทานยา เช่น รู้สึกไม่พอใจ ไม่คิดว่าตัวเองมีอะไรผิดปกติที่ทำให้จำเป็นต้องรับประทานยา หรือรู้สึกอายเพื่อน ฯลฯ พ่อแม่ควรพูดคุยกับเด็กว่าเขาจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการรับประทานยา หากเป็นเด็กเล็ก พ่อแม่อาจขอความร่วมมือจากคุณครูประจำชั้นให้ช่วยดูแลเรื่องการรับประทานยามื้อเที่ยงของเด็ก หากเป็นเด็กโตอาจให้รับประทานยาชนิดที่รับประทานเพียงครั้งเดียวตอนเช้าแต่ฤทธิ์ของยาอยู่ได้ถึงช่วงเย็นเช่น ยา long-acting methylphenidate (Concerta®) เป็นต้น


 


จะพูดกับเด็กอย่างไรว่าทำไมเขาจึงต้องรับประทานยา? 



       พ่อแม่ไม่ควรโกหกเด็กเวลาให้เด็กรับประทานยารักษาสมาธิสั้น บางท่านหลอกเด็กว่าเป็นวิตะมิน บางท่านใช้ยามาขู่เด็กว่าหากทำตัวไม่ดีต้อง “กินยาแก้ดื้อ” ทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการรับประทานยา วิธีที่เหมาะสมควรพูดกับเด็กตรงๆว่าพ่อแม่ต้องการให้เด็กรับประทานยาเพื่ออะไร โดยเน้นประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการรับประทานยา ตัวอย่างคำพูด ได้แก่ “หนูจำเป็นต้องรับประทายานี้ เพราะยานี้จะช่วยให้หนูคุมตัวเองได้ดีขึ้น น่ารักมากขึ้น มีสมาธิยาวนานขึ้น” พูดถึงยาในแง่บวก เช่น เป็นยา “เด็กเรียบร้อย เพราะเวลาที่หนูกินยานี้แล้ว หนูเรียบร้อยขึ้นเยอะเลย” เป็นยา “เด็กดี เพราะเวลาที่หนูกินยานี้แล้ว หนูเป็นเด็กดี..น่ารัก..ว่านอนสอนง่ายขึ้นเยอะเลย ” เป็นยา “เด็กเรียนเก่ง เพราะเวลาที่หนูกินยานี้แล้ว แม่สังเกตว่าหนูเรียนดีขึ้น รับผิดชอบทำการบ้านดีกว่าแต่ก่อนเยอะเลย”


 


นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว มีวิธีอื่นอีกหรือไม่ที่จะช่วยเด็กสมาธิสั้นได้?



       พ่อแม่ไม่ควรพึ่งการรักษาด้วยยาอย่างเดียว เนื่องจากการรักษาด้วยยาเป็นการรักษาตามอาการเท่านั้น แต่ไม่ใช่เป็นการช่วยให้เด็ก “หาย” จากการเป็นโรคสมาธิสั้น ดังนั้นเด็กควรได้รับการฝึกและช่วยเหลือด้านอื่นๆร่วมกับการรับประทานยาเสมอ เด็กสมาธิสั้นควรมีโอกาสได้คุยกับแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดที่ตัวเด็กมี และช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อให้เด็กได้ใช้ความสามารถด้านอื่นทดแทนในส่วนที่บกพร่อง ในบางรายครอบครัวบำบัดก็มีความจำเป็นสำหรับครอบครัวที่มีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว เพื่อลดความวิตกกังวลและความเครียดของเด็ก
การปรับพฤติกรรมเด็กโดยการปรับวิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่ และการช่วยเหลือในห้องเรียนโดยคุณครูเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยาเสมอ


 


 Photobucket








Create Date : 24 สิงหาคม 2551
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 14:31:29 น. 3 comments
Counter : 516 Pageviews.

 
ตามอ่านต่อค่ะ


โดย: iamlek IP: 124.120.25.132 วันที่: 24 สิงหาคม 2551 เวลา:18:50:37 น.  

 
โหพี่ ไม่อยากจะคิด ถ้าลูกหนูเป็นนะ กินยา นน น้อย ไม่อยากอาหาร เวงๆๆๆๆๆ เลยอ่ะ แค่นี้ก็ขุนไม่ค่อยขึ้นอยู่แล้นนนน

สาธุ ไม่เป็นกันง่ายๆหรอกเนอะพี่เนอะ


โดย: muffinwafer IP: 203.156.86.100 วันที่: 24 สิงหาคม 2551 เวลา:20:08:30 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่า


โดย: ซูเนกะ วันที่: 26 สิงหาคม 2551 เวลา:7:32:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

guitarcaptaincartoon
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




บันทึกเรื่องราวของ 3 หนุ่ม 3 มุม 3 พี่น้อง และ 3 กต. ......
พี่กีต้าร์ : หัวหน้าขบวนการซน
กัปตัน : ผู้เสียสละและให้อภัยผู้อื่นเสมอ
น้องการ์ตูน : จอมป่วนประจำบ้าน
โดยแม่ไก่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นมาในชีวิตของทั้ง 3 พี่น้อง ซึ่งบางเรื่องก็ผ่านมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในความทรงจำ พร้อมกับรูปประกอบเรื่องฝีมือแม่ไก่เอง เก็บเอาไว้ให้พวกหนูอ่านตอนโตไงครับ
Friends' blogs
[Add guitarcaptaincartoon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.