Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
13 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
ประโยชน์ของวิตามิน

ประโยชน์ของวิตามินชนิดต่างๆ


วิตามินเอ

               ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness)

               ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง

               สร้างความต้านทานให้ระบบหายใจ

               ช่วยสร้างภูมิชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้หายป่วยเร็วขึ้น

               ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ลดการอักเสบของสิว และช่วยลบจุดด่างดำ

               ช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์

วิตามินซี

               เป็นตัวสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นเส้นใยทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆไว้ด้วยกัน ทั้งยังเป็นตัวสร้างกระดูก ฟัน เหงือก และเส้นเลือด

               ช่วยให้แผลสดและแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น

               ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างเม็ดเลือดทางอ้อม

               ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (Mutation)

               ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนอนหลับตายในกรณีของเด็กอ่อน (SIDS : Sudden Infant Death Syndrome)

               ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน

               ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด

               ช่วยคลายเครียด

 

วิตามินอี

               เป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ คือทำให้เกิดการเผาผลาญโดยมีออกซิเจน เป็นตัวการสำคัญทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดี

               เป็นตัวช่วยไขกระดูกในการสร้างเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ต้านการแข็งตัวของเลือด ลดความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มเลือด และลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ

               บำรุงตับ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับเลือดมาก

               ช่วยในระบบสืบพันธุ์ เซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ตามปกติ

               ช่วยให้ผิวพรรณสดใส และช่วยสมานแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ให้หายเร็วขึ้น

               ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้นและไม่อ่อนเพลียง่าย

 

วิตามินบี2

               เป็นโคเอนไซม์ของปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารอาหารในร่างกาย เช่น โคเอนไซม์ที่ควบคุมการใช้กรดไขมัน กรดอะมิโน กรดไพรูวิก เป็นต้น จึงช่วยให้การจ่ายอาหารเป็นไปตามปกติ

               ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต รักษาสุขภาพของผิวหนังและระบบประสาท บำรุงสายตา ช่วยให้เม็ดเลือดแดงคงสภาพ ช่วยในขบวนการใช้ออกซิเจน ทำให้การหายใจระดับเซลล์ดีขึ้น

วิตามินบี6

               เป็นตัวสำคัญที่จะทำให้การดูดซึมของวิตามิน บี12 เข้าสู่ร่างกายได้เต็มที่ และสมบูรณ์

               Decarboxylation ของกรดอะมิโนหรือเมตาบอลิซึมของไขมันและ กรดนิวคลิอิค (Nucleic acid)

               ช่วยวิตามิน เอฟ (Linoleic acid หรือ Unsaturated fatty acid) ปฎิบัติหน้าที่ดีขึ้น

               วิตามิน บีหก นี้เป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์ที่สำคัญตัวหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เผาผลาญ และใช้คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

               การสร้างเซโรโทนิน (serotonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมน ช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และมีผลต่อการควบคุมการทำงานของสมองและเนื้อเยื่อ

               การสร้างสารภูมิคุ้มกันโรค และสังเคราะห์สารแรกเริ่มของวงแหวนเฟอร์ไฟริน (porphyrinring) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเฮโมโกลบิน

               การสร้างกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น อะลานีน กรดกลูทามิก กรดแอสพาร์ทิก ในตับโดยอาศัยปฎิกิริยาเคลื่อนย้ายหมู่อะมิโน (Transamination)

               ช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม็ดโลหิตแดง

               ช่วยในการปล่อยน้ำตาล (Glycogen) จากตับและกล้ามเนื้อออกมาเป็นพลังงาน

               ช่วนในการเปลี่ยนทริพโตฟาน (Tryptophan) เป็นไนอะซินหรือวิตามิน บีสาม

               วิตามิน บีหก เป็นตัวสำคัญในการสังเคราะห์ และควบคุมการปฎิบัติหน้าที่ของ DNA และ RNA ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบ่งบอกพันธุกรรม

               ช่วยในการควบคุมความสมดุลของน้ำในร่างกาย และส่งเสริมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก

               ป้องกันการคลื่นไส้ระหว่างตั้งครรภ์

               มีผลในการรักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพของอวัยวะต่าง ๆ โรคหัวใจ และเบาหวาน

               มีผลในการลดระดับคอเลสเตอรอล

               ป้องกันอาการตื่น และไม่สงบของประสาท นอนไม่หลับ

               มีคุณสมบัติเป็นยาขับปัสสาวะธรรมชาติ

               ช่วยลดอาการบวมในระยะก่อนมีประจำเดือน

 

ไนอะซิน หรือ วิตามินบี3

               เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์นิโคตินาไมด์อะดินินไดนิวคลีโอไทด์ ( nicotinamide adenine dinucleotidw , NAD ) และนิโคตินาไมด์ อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ฟอสเฟต ( Nicotinamide adenine dinucleotide phosphate , NADP )

               ซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาหลายอย่างในร่ากาย เช่น NAD เป็นโคเอนไซม์ในปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในกระบวนการไกลโคลิซีส (glycolysis ) และกระบวนการขนถ่ายอิเล็กตรอนในลูกโว่ของการหายใจของเซลล์ และ NADP

               เป็นโคเอไซม์ในปฏิกิริยาการสังเคราะห์กรดไขมัน และคอเลสเทอรอล และเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนเฟนิลอะลานีนไปเป็นไทโรซีน

               ช่วยบำรุงสมองและประสาท

               ช่วยรักษาสุขภาพของผิวหนัง ลิ้น และเนื้อเยื่อของระบบย่อยอาหาร

               จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ

               ช่วยลดระดับ คอเลสเทอรอลในเลือด

 

กรดโฟลิก หรือ วิตามินบี9

               กระตุ้นถุงน้ำดีให้บีบตัวแรงขึ้น เพิ่มพลังผลิตน้ำดีทำให้การย่อยไขมัน และการดูดซึมไขมันดีขึ้น โดยเฉพาะกรดไขมันที่จำเป็นเช่น แคโรทีน และวิตามินเอ ดี อี และวิตามินเค

               การใช้น้ำตาล และกรดอะมิโน ร่างกายจำเป็นต้องมีกรดโฟลิคช่วยในกระบวนการนี้

               กรดโฟลิคช่วยร่างกายในการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยที่จะไปช่วยไขกระดูก ( BONE MARROW ) ให้ผลิตเม็ดเลือดแดง

               ทำหน้าที่คล้ายน้ำย่อยทำงานร่วมกับวิตามินบี12 และวิตามินซี เผาผลาญโปรตีน และใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

               เป็นตัวสำคัญในการสร้าง NUCLEIC ACID ซึ่งจำเป็นสำหรับขั้นตอนในการเจริญเติบโตของร่างกาย และสร้างเซลล์ทั้งหลายให้กับร่างกายอย่างถูกต้องและเหมาะสม

               ควบคุมการทำงานของสมอง และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดีของสมอง และอารมณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปกติสมบูรณ์

               ทำให้รู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น

               กระตุ้นการผลิตกรดไฮโดรคลอริค ( HYDROCHLORIC ACID ) ซึ่งช่วยในการป้องกันตัวกาฝากในลำไส้และป้องกันอาหารเป็นพิษ นอกจากนี้ยังช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ของตับให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

               ช่วยในการเผาผลาญ RNA ( RIBONUCLEIC ACID ) และ DNA ( DEOXYRIBONUCLEIC ACID ) ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนการสร้างโลหิต สร้างเซลล์ และการถ่ายทอดปัจจัยทางพันธุกรรม

               และการทำหน้าที่ร่วมกับวิตามิน บี12 รวมทั้งการสร้างภูมิต้านทานโรคในต่อมไธมาส ( THMAS ) ให้แก่เด็กเล็ก และเด็กเกิดใหม่

 

แหล่งอ้างอิง

www.pirun.ku.ac.th/~b4910204/five.html

 





Free TextEditor


Create Date : 13 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2552 11:12:04 น. 3 comments
Counter : 370 Pageviews.

 
ดีคะ


โดย: ดาริสา IP: 117.47.237.190 วันที่: 23 มกราคม 2553 เวลา:20:11:58 น.  

 
กินบ่อย ของเขาดีจิง


โดย: พิยดา IP: 117.47.237.190 วันที่: 23 มกราคม 2553 เวลา:20:13:42 น.  

 
ชอบบบบบบบบบบ ม๊าก


โดย: กุลนัส IP: 117.47.237.190 วันที่: 23 มกราคม 2553 เวลา:20:15:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonettoy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพิ่งเข้ามาลองเล่นเป็นครั้งแรกจ้ะ ว่างๆๆก็แวะเข้ามาเยี่ยมกันได้นะ