Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2560
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
27 กรกฏาคม 2560
 
All Blogs
 

123รหัส หลุมอุกกาบาตบนดาวพุธ





หลุมอุกกาบาตบนดาวพุธ
ดาวพุธมีหลุมอุกกาบาตจำนวนมากจนดูคล้ายดวงจันทร์ภูมิลักษณ์ที่เด่นที่สุดบนดาวพุธ (เท่าที่สามารถถ่ายภาพได้)
 คือ แอ่งแคลอริส หลุมอุกกาบาตที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,350 กิโลเมตรผิวดาวพุธมีผาชันอยู่ทั่วไป ซึ่งก่อตัวขึ้นเมื่อหลายพันล้านปีที่แล้ว 

ขณะที่ใจกลางดาวพุธเย็นลงพร้อมกับหดตัว จนทำให้เปลือกดาวพุธย่นยับพื้นที่ส่วนใหญ่ของดาวพุธปกคลุมด้วยที่ราบ2 แบบที่มีอายุต่างกัน

 ที่ราบที่มีอายุน้อยจะมีหลุมอุกกาบาตหนาแน่นน้อยกว่า เป็นเพราะมีลาวาไหลมากลบหลุมอุกกาบาตที่เกิดก่อนหน้า
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น

ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้

ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ ? เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน







ลักษณะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว: น้อยมาก
องค์ประกอบ: 31.7% โพแทสเซียม
24.9% โซเดียม
9.5% อะตอมออกซิเจน
7.0% อาร์กอน
5.9% ฮีเลียม
5.6% โมเลกุลออกซิเจน
5.2% ไนโตรเจน
3.6% คาร์บอนไดออกไซด์
3.4% น้ำ
3.2% ไฮโดรเจน


บรรยากาศ
ดาวพุธมีชั้นบรรยากาศเบาบางและมีสเถียรภาพต่ำอันเกิดจากการที่ดาวพุธมีขนาดเล็กจนไม่มีแรงดึงดูดเพียงพอในการกักเก็บอะตอมของก๊าซเอาไว้ ชั้นบรรยากาศของดาวพุธประกอบไปด้วยไฮโดรเจน, ฮีเลียม, ออกซิเจน, โซเดียม, แคลเซียม, โพแทสเซียม และ น้ำ มีความดันบรรยากาศประมาณ 10-14 บาร์

บรรยากาศของดาวพุธมีการสูญเสียและถูกทดแทนอยู่ตลอดเวลาโดยมีแหล่งที่มาหลายแหล่ง ไฮโดรเจนและฮีเลียมอาจจะมาจากลมสุริยะ พวกมันแพร่เข้ามาผ่านสนามแม่เหล็กของดาวพุธก่อนจะหลุดออกจากบรรยากาศในที่สุด การสลายตัวของสารกัมมันตรังสี จากแกนของดาวก็อาจจะเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ช่วยเติมฮีเลียม โซเดียม และโพแทสเซียมให้กับบรรยากาศดาวพุธ

ไม่เคยถูกแสงอาทิตย์โดยตรงเลย การสำรวจได้เผยให้เห็นถึงแถบสะท้อนเรดาร์ขนาดใหญ่อยู่บริเวณขั้วของดาว ซึ่งน้ำแข็งเป็นหนึ่งในสารไม่กี่ชนิดที่สามารถสะท้อนเรดาร์ได้ดีเช่นนี้

บริเวณที่มีน้ำแข็งนั้นเชื่อกันว่าอยุ่ลึกลงไปใต้พื้นผิวเพียงไม่กี่เมตร และมีน้ำแข็งประมาณ 1014 - 1015 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับน้ำแข็งที่แอนตาร์กติกาของโลกเราที่มีน้ำแข็งอยู่ 4 x 10 18 กิโลกรัม ที่มาของน้ำแข็งบนดาวพุธยังไม่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าอาจจะมีที่มาจากดาวหางที่พุ่งชนดาวพุธเมื่อหลายล้านปีก่อน หรืออาจจะมาจากภายในของดาวพุธเอง


ดาวพุธเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 87.969 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากคาบของการหมุนรอบตัวเอง และการคาบการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริยะ 



ยานอวกาศที่เข้าไปเฉียดใกล้ๆ ดาวพุธและนำภาพมาต่อกันจนได้ภาพพื้นผิวดาวพุธเป็นครั้งแรกคือ ยานอวกาศมาริเนอร์ 10 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2517 นับว่าเป็นยานลำแรกและลำเดียวที่ส่งไปสำรวจดาวพุธ ยานมารีเนอร์ 10 เข้าใกล้ดาวพุธ 3 ครั้งด้วยกัน คือ เมื่อเดือนมีนาคม และ กันยายน พ.ศ. 2517 และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 ยานเข้าใกล้ดาวพุธที่สุดครั้ง แรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 และได้ส่งภาพกลับมา 647 ภาพ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2517 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2518 ขณะนั้นเครื่องมือภายในยานได้เสื่อมสภาพลง ในที่สุดก็ติดต่อกับโลกไม่ได้ตั้งแต่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2518 ยานมารีเนอร์ 10 จึงกลายเป็นขยะอวกาศที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ โดยเข้ามาใกล้ดาวพุธครั้งคราวตามจังหวะเดิมต่อไป 
__________________________________
ขอบคุณภาพและข้อมูล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมวด วิยาศาสตร์ Science Blog ขอบคุณครับ 




 

Create Date : 27 กรกฎาคม 2560
13 comments
Last Update : 27 กรกฎาคม 2560 18:26:19 น.
Counter : 2780 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณTurtle Came to See Me, คุณmambymam, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณtuk-tuk@korat, คุณmcayenne94, คุณmariabamboo, คุณALDI, คุณhaiku, คุณClose To Heaven

 

หลุมอุกาบาทบนดาวพุธเยอะเลยนะคะ
วันนี้ได้ความรู้เพิ่มอีกเช่นเคยค่ะ



 

โดย: mambymam 27 กรกฎาคม 2560 19:29:57 น.  

 

ตัวเลขเยอะแยะเลย แต่อ่านสนุกค่ะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เริงฤดีนะ Diarist ดู Blog
mambymam Home & Garden Blog ดู Blog
สองแผ่นดิน Photo Blog ดู Blog
Close To Heaven Review Food Blog ดู Blog
ข้ามขอบฟ้า Klaibann Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 27 กรกฎาคม 2560 20:34:32 น.  

 

ไว้กลับมาถอดรหัสนะคะ
ตอนนี้ง่วงแล้ว

 

โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) 27 กรกฎาคม 2560 22:15:02 น.  

 

ทำบล็อกนี้อยู่ครึ่งวันครับ..ที่ช้าเพราะว่าเนทที่บ้านมันเป็นอะไรไม่ทราบ
ต้องลบประวัติเข้าชมเวบต่างๆออกจากโครม แต่ก็ไม่ดีขึ้น เลยตัดสินใจ...นอน...กะจะอัพตอนเช้ากลายเป็นปล่อยบล็อกตอนค่ำแทนครับ

 

โดย: ขุนเพชรขุนราม 27 กรกฎาคม 2560 22:25:33 น.  

 

เรื่องรอบของการหมุนเข้าใจยากน่าดูค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 28 กรกฎาคม 2560 11:02:26 น.  

 

มาโหวตไว้ก่อนค่ะ เรื่องดวงดาว และอวกาศ เคยเรียนเมื่อนานมาก ทั่นขุนลงบ่อยๆพยายามกู้ความจำกลับคืน ได้ว่า ดาวพุธเล็กสุดและอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดใน 8 ดวง ก็เก่งแล้วค่ะ

ทั่นขุนจองตั๋วนาซ่า one wayไปดาวอังคาร รึยังคะ

 

โดย: mcayenne94 28 กรกฎาคม 2560 11:38:02 น.  

 

อ่านสนุกมากค่ะ ท่านขุนฯอย่าออก
ข้อสอบนะคะ

ขอบคุณโหวตด้วยค่ะ
ตกลงดอกราตรีเคยหรือไม่เคยเห็น
มาก่อนคะ น้ำเสียงก้ำกึ่งอยู่น้าาาา

 

โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) 28 กรกฎาคม 2560 21:42:17 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น



แวะมาก่อนค่ะ แล้วจะเรียกโมเสสมาดูค่ะ โมเสสชอบดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์มากค่ะ

 

โดย: mariabamboo 29 กรกฎาคม 2560 5:51:24 น.  

 

สวัสดีค่ะท่านขุน


 

โดย: mambymam 29 กรกฎาคม 2560 6:56:11 น.  

 

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ

 

โดย: Gorjai Writer 29 กรกฎาคม 2560 8:59:24 น.  

 

สวัสดีค่ะท่านขุน

ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

 

โดย: ALDI 29 กรกฎาคม 2560 12:59:49 น.  

 

ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

เดี๋ยวบุ๊งจะให้เด็ก ๆ สองคนอ่านค่า
ลูกชายชอบแน่นอน อิอิ

 

โดย: Close To Heaven 29 กรกฎาคม 2560 23:52:37 น.  

 

Y !!!

 

โดย: result IP: 188.165.201.164 15 เมษายน 2561 11:21:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.