Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2557
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
14 พฤษภาคม 2557
 
All Blogs
 

ยกย่อง "นกเงือก" เทพเจ้าแห่งรัก ชี้ฆ่า1ต้องตายตายอย่างน้อย2ตัว


นกกก หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง (ชื่อภาษาอังกฤษ: Great hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Buceros bicornis)

นายณรงค์ จิระวัฒน์กวี นักวิจัยนกเงือก โครงการศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยานกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งศึกษานกเงือกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ให้สัมภาษณ์ว่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่ป่าแหล่งสำคัญที่มีนกเงือกอาศัยอยู่ จากการนับและเฝ้าศึกษาในพฤติกรรมของนกเงือกในพื้นที่นี้พบว่า มีมากกว่า 1,000 ตัว ถือว่าค่อนข้างจะสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย โดยพบนกเงือกถึง 4 ชนิดที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ คือ นกกก นกเงือกกรามช้าง นกแก้ก และนกเงือกสีน้ำตาล พบว่า นกเงือกเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงดุลยภาพต่างๆ ในสังคมป่าเขตร้อนให้คงอยู่ ไม่เปลี่ยนแปลง นกเงือกอาจมีอายุยืนยาวได้ถึง 30 ปี แต่ละตัวสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้มากกว่า 100 ต้นต่อสัปดาห์ หากไม้เหล่านี้สามารถเจริญเป็นไม้ใหญ่ได้เพียง 5% หนึ่งชีวิตของนกเงือกจะสามารถปลูกไม้สำคัญของป่าได้ถึง 500,000 ต้น


นกเงือกหัวแรดในสวนสัตว์สิงคโปร์


"ในแง่เกี่ยวกับสังคมวิทยา เราถือว่านกเงือกนั้นเป็นเหมือนเทพเจ้าแห่งความรัก คือ ตัวผู้มีความรับผิดชอบสูง ในขณะที่ตัวเมียมีความเสียสละที่ยิ่งใหญ่ กล่าวคือ เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์และนกทั้งคู่ตกลงที่จะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว มันจะอยู่เป็นคู่ผัวเดียวเมียเดียวไปจนกว่าจะตายกันไปข้างหนึ่ง ขณะที่นกตัวเมียกกลูกนั้นมันจะอาศัยอยู่ในโพรง โดยจะสลัดขนออกจากตัวเกือบหมดเพื่อให้ขนเป็นรังนอนของลูก ระหว่างนี้มันก็จะอยู่แต่ในรัง ออกหากินไม่ได้ รอแต่อาหาร คือเมล็ดไม้ที่นกตัวผู้จะทำหน้าที่ไปหามาป้อน หากนกตัวผู้ไม่มีความรับผิดชอบ หรือออกไปหาเมล็ดไม้แล้วถูกยิงตาย จะหมายถึง เมียและลูกน้อยในรังที่รออาหารอยู่จะอดตายยกรังแน่นอน ครอบครัวนกเงือกถือเป็นครอบครัวสัตว์ป่าที่แปลก น่าศึกษา และน่ายกย่องอย่างยิ่ง" นายณรงค์กล่าว


นกเงือกหัวหงอก (ชื่อภาษาอังกฤษ: White-crowned hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Berenicornis comatus)

นายณรงค์กล่าวว่า ถึงแม้ข่าวคราวของนกเงือกจะเป็นที่รู้จักของคนมากขึ้น แต่เวลานี้ก็ยังพบการล่านกเงือกเพื่อไปทำอาหาร และเอาหัวไปทำเครื่องประดับอยู่ หลายพื้นที่ไม่เคยเจอนกเงือกมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้ การล่านกเงือกเพียง 1 ตัว อาจจะหมายถึงทำให้นกเงือกอีกมากกว่า 2 ตัว ต้องตายตามไปด้วย โดยเฉพาะหากนกเงือกที่ถูกล่าเป็นนกเงือกตัวผู้ที่มีครอบครัวแล้ว

000000000000000000000000000000000

นกเงือก (อังกฤษ: Hornbill) เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวมนกเงือกดินเข้าไปด้วย) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว

นกเงือก เป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกดไข่ในโพรงโดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้อื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา

และจากจะงอยปากและส่วนหัวที่ใหญ่เหมือนโหนกหรือหงอนนั้น ทำให้นกเงือกถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาแต่โบราณ โดยใช้ทำเป็นเครื่องประดับของชนเผ่าต่าง ๆ

พบทั่วโลกมี 55 ชนิด ใน 14 สกุล มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปแอฟริกา และเอเชีย

นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวเองอยู่ภายในเพื่อออกไข่และเลี้ยงลูก

===========
ประเทศไทยมีนกเงือก 13 ชนิด โดยในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งอยู่ใน จังหวัดนครราชสีมา มี 4 ชนิด ได้แก่ นกกก หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู่กี๋ และ นกแก๊ก หรือนกแกง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา พบ 9 ใน 12 ชนิดของนกเงือกที่พบในไทย ได้แก่ นกเงืกปากย่น นกเงือกชนหิน นกแก๊ก นกกก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกหัวแรด นกเงือกดำ นกเงือกกรามช้าง
รายชื่อนกเงือกที่พบในประเทศไทย

  •     นกกก หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง (ชื่อภาษาอังกฤษ: Great hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Buceros bicornis)
  •     นกเงือกหัวแรด (ชื่อภาษาอังกฤษ: Rhinoceros hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Buceros rhinoceros)
  •     นกเงือกหัวหงอก (ชื่อภาษาอังกฤษ: White-crowned hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Berenicornis comatus)
  •     นกชนหิน (ชื่อภาษาอังกฤษ: Helmeted hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhinoplax vigil)
  •     นกแก๊ก หรือ นกแกง (ชื่อภาษาอังกฤษ: Oriental pied hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anthracoceros albirostris)
  •     นกเงือกดำ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Black hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anthracoceros malayanus)
  •     นกเงือกคอแดง (ชื่อภาษาอังกฤษ: Rufous-necked hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aceros nipalensis)
  •     นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว (ชื่อภาษาอังกฤษ: Austen's brown hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anorrhinus austeni)
  •     นกเงือกสีน้ำตาล (ชื่อภาษาอังกฤษ: Tickell's brown hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anorrhinus tickelli)
  •     นกเงือกปากดำ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Bushy-crested hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anorrhinus galeritus)
  •     นกเงือกปากย่น (ชื่อภาษาอังกฤษ: Wrinkled hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aceros corrugatus)
  •     นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู่กี๋ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Wreathed hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyticeros undulatus)
  •     นกเงือกกรามช้างปากเรียบ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Plain-pouched hornbill; ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhyticeros subruficollis)

โดยนกเงือกทุกชนิดในประเทศ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และมีการศึกษา วิจัย และอนุรักษ์นกเงือกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 มีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิ โดยทางมหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับนกเงือกโดยเฉพาะ จนได้รับฉายาว่า "มารดาแห่งนกเงือก" คือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์

นกเงือก เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ประการหนึ่ง เนื่องจากจะอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งธรรมชาติในการหากินต้องอาศัยพื้นที่ป่าที่กว้าง และยังเป็นตัวแพร่กระจายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ในป่าได้อย่างดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ถึง 300 ชนิด และทิ้งเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ

ยกย่อง "นกเงือก" เทพเจ้าแห่งรัก ชี้ฆ่า1ต้องตายตายอย่างน้อย2ตัว

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขอบคุณ นสพ มติชน




 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2557
1 comments
Last Update : 14 พฤษภาคม 2557 6:19:30 น.
Counter : 2954 Pageviews.

 

สวัสดีค่า ท่านขุน ^^

อ่านแล้วน่าชื่นชมนกเงือกค่ะ
อยู่คู่กันจนตายเลย
อ่านแล้วก็สลดถ้าเกิดตัวผู้โดนยิงตาย
ตัวเมียและลูกก็แย่เลยนะคะ
สงสารจัง

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ เพิ่งรู้เลยค่ะ

 

โดย: lovereason 14 พฤษภาคม 2557 23:38:01 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.