Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
26 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 

ทางรอดสำหรับภิกษุไข้




ระพุทธเจ้าตรัสว่าภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภิกษุไข้ผู้มีกำลังน้อยรูปใด ไม่ละจาก
ธรรม ๕ อย่าง,
เธอพึงหวังผลอันนี้ได้ คือเธอจักทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน
เข้าถึงแล้วแลอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย.
ธรรม ๕ อย่างอะไรบ้างเล่า ? ๕ อย่างคือ :-

(๑) เป็นผู้พิจารณาเห็น ความไม่งามในกายอยู่
เป็นประจำ;

(๒) เป็นผู้ที่มีการกำหนดหมาย ความเป็นปฏิกูล
ในอาหาร อยู่เป็นประจำ;

(๓) เป็นผู้ที่มีการกำหนดหมาย ความไม่น่ายินดี
ในโลกทั้งปวงอยู่เป็นประจำ;

(๔) เป็นผู้ที่มีการกำหนดหมาย ความไม่เที่ยงใน
สังขารทั้งปวงอยู่เป็นประจำ;

(๕) มีสติอันตนเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในกาย แล้วเห็น
การเกิดดับ ในภายใน.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ภิกษุไข้ผู้มีกำลังน้อยรูปใด ไม่ละจาก
ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้, เธอพึงหวังผลอันนี้ได้ คือเธอจัก
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย



ทางรอดสำหรับภิกษุไข้



นนิกายเถรวาทมี 10 อย่าง จึงเรียกว่า ทศบารมี หรือ บารมี ๑๐ คือ กำลังใจที่ต้องทำให้เต็ม ไม่พร่อง 10 นี้ได้แก่

1.ทาน การให้
2.ศีล การรักษาศีลให้เป็นปกติ
3.เนกขัมมะ การออกจากกาม
4.ปัญญา ความรู้
5.วิริยะ ความเพียร
6.ขันติ ความอดทนอดกลั้น
7.สัจจะ ความตั้งใจจริง เอาจริง จริงใจ
8.อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ไม่เปลี่ยนแปลง
9.เมตตา ความรักด้วยความปรานี
10.อุเบกขา ความวางเฉย

......

โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ
1.สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
2.ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
3.วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
4.ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
5.ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
6.สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
7.อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์ 8)

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ



ประเภท

1.อามิสทาน คือการให้วัตถุสิ่งของ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ข้าว(อาหาร)และน้ำเป็นทรัพย์โดยปรมัตถ์ สิ่งอื่นเป็นทรัพย์โดยบัญญัติเพราะเกิดจากการสมมุติของของคนที่ทำให้เกิดความจำเป็น เช่น เสื้อผ้าถ้าใส่กันอาย เงินทองเพชรที่กินไม่ได้และไม่มีประโยชน์
2.อภัยทาน คือการยกโทษด้วยการไม่พยาบาทจองเวร บัณฑิตกล่าวเป็นทานที่ให้ได้ยากที่สุด โดยเฉพาะการให้อภัยศัตรูหรือผู้ที่ทำร้ายตนอย่างสาหัส
3.วิทยาทาน คือการให้ความรู้ทางโลก
4.ธรรมทาน คือการให้ความรู้ทางธรรม คือการให้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ทางพุทธศาสนา ชื่อว่าให้ทุกอย่าง

ใน 4 อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ ทานอื่นๆช่วยค้ำจุนชีวิตทำให้เขามีที่พึ่งอาศัยในชาตินี้ แต่ธรรมทานช่วยให้เขารู้จักพึ่งตนเองได้ต่อไปทั้งชาตินี้และชาติหน้า

..............

ขอบคุณพิเศษ ฟ.บ




 

Create Date : 26 มีนาคม 2556
0 comments
Last Update : 26 มีนาคม 2556 8:45:16 น.
Counter : 1922 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.