<<
ธันวาคม 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
26 ธันวาคม 2559
 

แหล่งสักการะบูชาพระธาตุกับ วัดพระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน






จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า ในปี พ.ศ. ๑๘๙๖ สมัยพญาการเมือง เจ้าเมืองวรนคร ได้ส่งช่างไปร่วมสร้างวัดหลวงที่สุโขทัย พระยาลือไทยจึงมอบถวายพระธาตุ ๗ พระองค์ และพระพิมพ์คำ พระพิมพ์เงินอย่างละ ๒๐ องค์ ให้แก่พญาการเมืองเป็นการตอบแทน พญาการเมืองรู้สึกปิติยินดียิ่ง ได้อัญเชิญพระบรมสารีริธาตุไปบรรจุไว้ ณ ดอยภูเพียงแช่แห้ง ก่อเป็นพระเจดีย์ “พระธาตุแช่แห้ง” ที่อยู่คู่เมืองน่านมาจนทุกวันนี้

และตามตำนานเมื่อครั้งสมัยพุทธกาลกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ทางทิศตะวันออก ที่บ้านห้วยไคร้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง แห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง



พระบรมธาตุแช่แห้งนี้ ยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษกน้ำบ่อแก้ว จังหวัดน่าน ใช้ทำน้ำอภิเษก โดยเมื่อปีพ.ศ. ๒๓๗๓ เจ้าเมืองน่าน ได้ขุดบริเวณลอมเชียงของ พบว่า มีพลอยมีสีน้ำผึ้ง ขุดลึก 4 เมตร มีน้ำพุขึ้นในบ่อ น้ำก็ขึ้นมาเต็มปากบ่อ ประชาชนเชื่อถือว่าน้ำในบ่อนี้เป็นน้ำวิเศษ เรียกว่า น้ำบ่อแก้ว



ซึ่งคำว่า “แช่แห้ง” นี้ ถือว่าเป็นปริศนาธรรมอย่างหนึ่ง อาจาร์ย สมเจตน์ วิมลเกษม ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

แช่แห้ง เป็นคำที่เป็นมงคลยิ่งและเป็นปรัชญาทางพระพุทธศาสนาขั้นสูงที่นักปราชญ์โบราณได้ใช้คำที่มีความหมายที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงเป็นปฏิปักษ์และตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงมาผสมกัน
แช่ หมายถึงการนำวัตถุสิ่งของต่างๆ ทำให้จมลงในน้ำ จึงทำให้วัตถุสิ่งของนั้นเกิดการเปียกขึ้น เปรียบเสมือนคนเราที่จมอยู่ในห้วงกิเลสตัณหาทั้งปวงนั่นเอง
แห้ง หมายถึง การนำวัตถุสิ่งของที่ทำให้เปียกนั้นมาทำให้แห้ง เปรียบเสมือนคนเราที่ได้นำเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาปฏิบัติจนหลุดพ้นจากห้วงกิเลสตัณหาทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง

ดังนั้นคำว่า “แช่แห้ง” จึงได้ความหมายทางพุทธปรัชญาว่า บุรุษหรือสตรีที่จมอยู่ในภาวะความเปียกของโลภะ โทสะ โมหะ กิเลสตัณหา อวิชชาต่างๆ ยอดมหาบุรุษหรือยอดสตรีเท่านั้นที่จะทำตัวให้แห้งให้พ้นจากภาวะความเปียกของกิเลสตัณหาทั้งหลายเหล่านี้ได้ เพราะคำว่าแช่เปรียบก็คือต้นเหตุแห่งทุกข์ คำว่าแห้งก็ย่อมหมายถึงทางแห่งการดับทุกข์ซึ่งตรงกับอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค รวมความทั้งหมดแล้วคือ หนทางแห่งนิพพานนั่นเอง

อีกทั้งยังแฝงไว้ด้วยปริศนาธรรมแห่งคำว่า “แช่แห้ง” จึงยุติอยู่ที่ “อริยสัจ ๔ ประการ” เพราะ คำว่า แช่ หมายถึง การเปียกปอน การดิ่งจมลงในทะเลแห่ง วัฎสงสาร หมายถึงต้นเหตุแห่งทุกข์ มี ๒ ประการคือ ทุกข์ และสมุหทัย คำว่า แห้ง หมายถึงการหยุดนิ่งและสิ้นสุดแห่งอาสวกิเลศทั้งปวง มี ๒ ประการคือ นิโรธหรือนิพพาน และ อริยมรรค อันมีองค์ ๘ ประการ คือเส้นทางที่พระตถาคต ชี้นำให้พุทธศาสนิกชนทั้งปวง เดินตามรอยแห่งพุทธองค์ จึงสรุปได้ในที่สุดว่า คำว่า “แช่แห้ง” จึงหมายถึง “การดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง”

ที่มา: www.phrathatchaehaeng.org




 

Create Date : 26 ธันวาคม 2559
0 comments
Last Update : 21 เมษายน 2560 23:39:30 น.
Counter : 1579 Pageviews.

 

GicKz97
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add GicKz97's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com