หัวหน้าเผ่า กุ๊ก กุ๊ก กู๋
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2548
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
29 พฤษภาคม 2548
 
All Blogs
 
.....Function based ของ .....

สวัสดีครับ พบกับคอลัมน์ อุดมการณ์ในลิ้นชัก อีกครั้งนะครับ



สำหรับวันนี้ ขอนำเสนอ เรื่องราวที่เกี่ยวกับ Function Base โดยคุณ เด็กน้อย ครับ ชื่งเรื่องนี้ เป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่องมาจาก Where do we go from here ที่ได้นำเสนอไปแล้วนะครับ ซึ่งเรื่องดังกล่าว จะมีความเกี่ยวข้องกันมากน้อยเพียงใด ขอเชิญลองไปติดตามได้เลยครับ



.....Function based ของ .....


โดย เด็กน้อย




ขอเสนอความเห็นเรื่องการปรับโครงสร้าง เฉพาะในส่วน Function based


คำถามคือ ภารกิจ หรือบทบาท ของ ... ในส่วนที่เป็น Function Based นั้น จะนิยามอย่างไร ?


คำตอบคงไม่ใช่หมายถึง ภารกิจ หรือบทบาท ที่กำหนดไว้ใน พรบ.



ไม่ใช่ นั่นไม่ใช่วิธีตอบที่ถูกต้อง การกำหนด ภารกิจและบทบาทขององค์กรเช่น ... ต้องไม่ใช่จากการอ้างอิงกฎหมาย แต่หมายถึงภารกิจ และบทบาทในฐานะที่เป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ซึ่งต้องมีภารกิจและบทบาทที่สอดคล้องกับบริบท ทั้งบริบทที่เป็นอยู่และที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงไป



ในที่นี้ ขอเสนอภารกิจและบทบาทสำคัญซึ่ง ก็มีที่มาจากรากฐานเดิมของ ...


บทบาทนั้น คือ การเป็นหน่วยงานที่คอยดูแลประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในการพัฒนาประเทศ งานของเราคือ ดูแล ประสิทธิภาพการพัฒนา



ถึงตรงนี้ ต้องบอกไว้ก่อนว่า สิ่งที่เด็กน้อยเสนอไม่ใช่อะไรใหม่ๆทีเดียว แต่เป็นสิ่งที่มีคนอื่นเคยพูดเคยเสนอมาแล้ว เพียงแต่อาจไม่มีใครสนใจ หรือ อาจใช้คำพูดหรือความหมายที่ต่างไปบ้าง จึงเรียนมาเพื่อทราบ

แต่ถ้าใครจะร่วมแสดงความเห็นโดยถือว่าเป็นความคิดของเด็กน้อย(เพื่อความสะดวก) ก็ OK



เท่าที่รวบรวมได้ ภารกิจด้าน ประสิทธิภาพการพัฒนา อาจประกอบด้วย



1. การจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนา


(แผน 8-9 เป็นแผนที่ดีในแง่กระบวนการ แต่เป็นแผนที่แย่ในแง่ของเนื้อหาเพราะนอกจากจะอ่านไม่รู้เรื่องแล้ว ที่สำคัญคือการบูรณาการเสียจนลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์เบลอไป แทนที่จะเป็น Indicative Plan ก็กลายเป็น Justify plan ไป คือสามารถใช้แผนไป justify แผน/โครงการของราชการ/รัฐวิสาหกิจ ได้หมด)



ตราบใดที่ไม่มีลำดับความสำคัญที่ชัดเจน และเฉพาะเจาะจงแผนก็ใช้ชี้นำหรือ differnetiate ว่ากิจกรรมไหนสอดคล้อง/ขัดกับแผน




2. ความคุ้มค่าของกิจกรรมการพัฒนา ที่จะต้องดูทั้งในแง่ Benefit และ cost ของการพัฒนา จากจุดยืนภาพรวมของสังคม ซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม หรือวิถีชีวิต ตรงนี้ภารกิจที่ชัดเช่น การวิเคราะห์โครงการ งบลงทุน



3. การติดตาม/ประเมินผลการพัฒนา เพื่อดูว่า การลงทุนตามลำดับความสำคัญ และคิดว่าให้ประโยชน์แก่สังคมคุ้มค่า เกิดขึ้นจริงตามนั้น หรือไม่



เพิ่มเติมอีกนิด การวิเคราะห์ความคุ้มค่า นั้น ไม่ใช่ดูเฉพาะ โครงการ แต่ต้องดู Policy ด้วย


ดังนั้น เราต้องสามารถวิเคราะห์ Policy Content ซึ่งมีในหลายๆครั้ง จะมีขอบเขตมากกว่า โครงการ ในแง่นี้ 1 Policy ก็เท่ากับ 1 Unit of analysis


โดยหลัก/เทคนิคการวิเคราะห์ ยังเป็นเรื่อง B/C หรือ C/E หรืออื่นๆเหมือนเดิม (อันนี้ เอา feasibility analysis มาพูดแบบหยาบๆ นะ)



ความคิดเห็นเพิ่มเติม


เรือนต้น



งานวิเคราะห์โครงการ /งบลงทุนเป็นงานที่ผสมผสานระหว่าง functional base @ agenda base เพราะเกี่ยวข้องกันทั้งในแง่ภารกิจตาม พ.ร.บ.ฯและนโยบายรัฐบาล

ต่อไปนี้ ไม่ใช่มองเพียง B>C แต่จะทําอย่างไรให้ Counter Balance กับนโยบายรัฐฯ ได้อย่างเหมาะสมด้วย จากการติดตามประเมิน ได้สะท้อนความเป็นจริงของสถานการณ์ ในระยะข้างหน้าว่า

... จะต้องรู้วิชาและหลักวิชาอันเป็นกลาง นํามาประยุกต์ให้เข้ากับนโยบายรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งมีลักษณะพิเศษ ที่มีความเป็นสากลสูง หรือเป็นทาสทางปัญญา? ที่แฝงความต้องการของตนเองเป็นเงื่อนไขสําคัญ

แทนที่จะมาช่วยแก้ปัญหา แต่กลับตาลปัตร วิกฤติหายนะกําลังเพิ่มอุณหภูมิมากขึ้น ดังข้อเท็จจจริงในปัจจุบัน


จรวยพร



อยากให้ศึกษาประเทศที่ปกครองโดยระบบรัฐสภาของประเทศอื่นด้วย จะเห็นได้ว่านโยบายการบริหารประเทศเป็นนโยบายของฝ่ายการเมืองที่commit ไว้ตอนหาเสียง ช้าราชการประจำมีหน้าที่สนองตอบนโยบาย นี่คือหลักการ


การที่ฝ่ายประจำจะทำหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดเองนั้น เป็นการหลงตัวเองของฝ่ายประจำที่คิดว่าตัวเองเท่านั้นที่ถูกและดี หน้าที่ของฝ่ายประจำในระบบรัฐสภาคือการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพื่อให้ฝ่ายการเมืองตัดสินใจ ปรับกลยุทธ์หรือวางนโยบาย เหมาะสม


สำหรับ... เราว่าต้องเข้าใจกติกานี้ให้ถ่องแท้ อย่าไปมองว่าเป็นเรื่องของการแทรกแซง รัฐบาลที่ผ่านมา เป็นรัฐบาลที่เข้ามาเล่นการเมืองแต่ไม่ได้นำนโยบายมาบริหาร แต่ รัฐบาลในยุคต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นของพรรคไหน ก็จะต้องเอานโยบายของตัวเองเข้ามาบริหารแล้ว เพราะสุดท้ายฝ่ายการเมืองต้องรับผิดชอบ ด้วยผลการเลือกตั้ง


ที่ผ่านมา ฝ่ายประจำไม่เคยต้องรับผิดชอบ จากกรณีเสือคล้อย จะเห็นได้ว่า เราแก้ตัวอะไรไม่ขึ้นเลย การปกครองในระบบรัฐสภา เป็นสิ่งที่กำหนดมาโดยรัฐธรรมนูญ เราต้องทำความเข้าใจกับมันให้ได้ หาก...ยังหลงยุค มองตัวเองว่าเป็นเหมือนสมัยก่อน เป็นผู้ชี้นำอะไรต่อมิอะไรนั้นในที่สุด ก็จะต้องเผชิญกับความอึดอัดและหมดความสำคัญไปในที่สุด



วว


เด็กน้อย เรือนต้น จรวยพร ที่นาย 3 คนเขียนมา ถ้าเป็นคำตอบในข้อสอบแบบ ข้อ ก. ข้อ ข. ข้อ ค. ฉันเห็นว่าถูกทุกข้อ เลยขอตอบข้อ ง. ถูกทุกข้อ


ฉันว่านะ แนวทางที่ท่านเลขาให้ไว้ 3 พื้นฐาน knowledge, function, agenda นอกจากใช้จัดกลุ่มงานเป็นส่วน ๆ ได้แล้ว ฉันว่ายังให้ในแต่ละงานได้ เช่น การทำงานต้องใช้องค์ความรู้ ต้องดูให้สอดคล้องกับนโยบาย และทำตามอำนาจหน้าที่ด้วย



ในการทำงาน ถ้าก้มหน้าทำอย่างเดียวบางทีก็คึกคักอยู่คนเดียว ต้องเงยหน้าดูคนอื่นด้วย ชวนคนอื่นมาคึกคักด้วย



แต่ราชการนะ บางงานเกี่ยวพันมา บางงานก็ถูกทุ่มมา บางงานที่ทำท่าจะคึกคัก แต่ต้องทำหมด เลยไม่ไหว ยังงี้คงต้องใช้ attention management ช่วย ว่าไม๊




เรือนต้น


ในองค์กรที่เจ้าหน้าที่สับสน วุ่นวาย ขาดขวัญ และกําลังใจในการทํางาน สิ่งที่เขาต้องการมาก เป็นอันดับแรก ก็คือ " ระบบของการทําให้ความต้องการ หรือ ข้อเรียกร้อง ได้รับการตอบสนอง ให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักคุณธรรมและโปร่งใส "


ดังนั้น ไม่ว่าเรากําลังทําเรื่องอะไรอยู่ก็ตาม หากไม่สามารถผนึกกําลังและผลักดัน ให้ทุกคนยอมรับเดินหน้าในทิศทางเดียวกันได้ สิ่งที่ทําออกมา มันจะเป็นเพียง วิธีการที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ดูดี เท่านั้น แล้วในที่สุด ปัญหาแบบกรงล้อ ก็เกิดขึ้นอีก



เด็กน้อย


ตามระบบการเมืองที่เป็นอยู่ เห็นด้วยว่า นโยบายของฝ่ายการเมืองต้องเป็นตัวนำ แล้วนอกจากมีหน้าที่ต้องทำตามนโยบายแล้ว


เราต้องดูด้วยหรือไม่ว่า การนำนโยบายนั้นก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติจริงหรือไม่ หรือว่าทุกอย่างที่ฝ่ายการเมืองบอกว่าเป็นนโยบายเราก็ต้องตาม



จรวยพร


อย่างที่บอกเอาไว้ เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดความสับสน คำว่าทำตามนโยบายรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา กับการทำตามนักการเมืองสั่งเป็นคนละเรื่อง


นโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาเป็นcommitment ที่รัฐบาลจะต้องทำให้ได้ตามเป้าหมายที่ว่าเอาไว้ ฝ่ายประจำมีหน้าที่นำนโยบายมาแปลงไปสู่การปฏิบัติ


นโยบายอาจปรับเปลี่ยนได้ ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจหรือสถานะการณ์ทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องไปชี้แจงกับรัฐสภาถึงสาเหตุที่ยังไม่ได้ทำหรือทำไม่ได้ ทุกๆรอบปี รัฐสภาก็จะตรวจสอบความชอบธรรมของเหตุผลและให้ข้อสังเกตต่างๆ


หากฝ่ายประจำไม่ให้ความร่วมมือ ทั้งในด้านการแปลงแผนหรือการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รัฐบาลก็ไม่อาจจะนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลได้



สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือความเสียหายต่างๆ ถ้าเช่นนั้น นโยบายของพรรคการเมืองมีผิดพลาดได้ไหม นโยบายของพรรคการเมืองหรือของใครมีสิทธิผิดพลาดได้ทั้งสิ้น


ไม่ว่านโยบายของราชการ หรือนโยบายของนักวิชาการ เพราะไม่มีใครคาดการณ์อะไรล่วงหน้าได้ถูกต้องเสมอไป


เราอาจจะเคยชินคิดว่านโยบายที่เกิดจากราชการหรือนักวิชาการดังๆที่ชอบให้สัมภาษณ์เท่านั้นที่ถูกต้อง นั่นก็เพราะราชการหรือนักวิชาการเหล่านั้นไม่เคยถูกตรวจสอบ หรือติดตามประเมินผล


นี่พูดในภาพรวมๆ เพื่อให้เข้าใจแนวคิดถึงเกี่ยวกับบทบาทของฝ่ายการเมืองกับฝ่ายประจำ เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการรักชาติหรือไม่รัก แต่มันเป็นกติกาสากลของระบบการเมืองแบบรัฐสภาที่ต้องปฏิบัติ นี่คือประเด็นที่หนึ่ง


ประเด็นที่สอง เราควรทำอย่างไร ถ้าไม่เห็นด้วยกับนโยบายของฝ่ายการเมือง ในฐานะข้าราชการประจำ ก็คงต้องให้เหตุผลและ ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่ฝ่ายกำหนดนโยบาย ถ้าเขายังยืนยันความเห็นเดิม ข้าราชการก็ต้องปฏิบัติ เพราะฝ่ายการเมืองเป็นผู้รับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น






ถามว่าถ้าเขาทำตามเราแล้วเกิดความเสียหาย เราเคยต้องรับผิดชอบไหม ไม่เลย ราชการไม่เคยยอมรับผิดชอบเลย ยกกรณีลดค่าเงินบาทก็ได้ เรื่องนี่เกี่ยวพันไปหมด แทบทุกหน่วยงาน ไม่เว้นแต่... แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้น มีแต่คนประณามรัฐบาล ไม่มีใครพูดถึง



ฝ่ายราชการที่รู้เรื่องดีกว่าใคร ระบบการเมืองแบบรัฐสภาเขาถึงมีระบบรายงาน ระบบตรวจสอบต่างๆ รวมถึงการไม่ไว้วางใจ สรุปว่า เป็นการแบ่งบทบาทซึ่งกันและกัน ลองศีกษาตัวอย่างจากประเทศอื่นดูบ้าง จะได้เข้าใจกันมากขึ้น



แผนฯ9สามารถนำไปแปลงเป็นแผนปฏิบัติได้อย่างไรบ้างนั้น คงต้องให้ผู้มีหน้าที่ช่วยตอบให้ ถ้าจะให้ตอบแบบคิดเองนึกเอง ก็คง ต้องตอบว่า หน่วยปฏิบัติก็คงต้องทำแผนปฏิบัติการ


ซึ่งถ้าจะให้ดี ...ก็ควรจะเข้าไปให้คำแนะนำการแปลความหมายของสิ่งที่เขียนให้ชัดเจน รวมไปถึงการทำความเข้าใจกับสำนักงบประมาณให้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการเหล่านี้


ส่วนขณะนี้ดำเนินการไปถึงไหนนั้น ไม่รู้เหมือนกัน เพราะ...กำหนดบทบาทตัวเองไว้ที่การจัดทำแผน กระบวนการแปลงแผนให้ความสำคัญน้อย การนำแผนไปปฏิบัติมีมากน้อยแค่ไหน ก็ยังดูยากเพราะเพิ่งเป็นปีเริ่มต้น


เรื่องที่เขียนไว้ในแผนฯ9 ก็เป็นกรอบกว้างๆไม่ได้ระบุถึงขนาดว่าปีแรกต้องทำอะไร ปีที่สองต้องทำอะไร ทำได้แค่ไหนนั้น คงต้องรอให้มีการประเมินครึ่งแผน ถึงจะพอรู้ว่าทำอะไรกันไปแล้วบ้าง ก็เป็นการตอบแบบคนไม่รู้จริง ให้ผู้รู้ช่วยมาตอบจะดีกว่า



ไดโนเสาร์ เต่าล้านปี



คงเป็นที่สมหวังของหลายๆคน ที่มีการใช้ห้องสนทนาในแบบนี้


การนำเสนอข้างต้น เป็นการมองสภาวะจากเล็กไปหาใหญ่ และจากใหญ่ไปหาเล็ก ความเข้าใจในสาระหลักน่าจะตรงกัน ดังนี้


ในฐานะเป็นผู้ทำงาน ปัจจุบันจะใช้ 3 หลัก คือ

Knowlage, Fuction,Agenda


Knowlage, Fuction,Agenda ต้องได้มาจากสังคม ซึ่งผ่านการสรุปเป็นกฎเกณฑ์พอสมควร หรือมีความเป็นศาสตร์ได้แก่หลักการวิเคราะห์ทั้งหลาย ภายใต้ความสัมพันธของการเมืองและระบอบการปกครองที่ใช้



กฎหมาย คือสิ่งที่สรุปว่าจะทำกันอย่างไร เพื่อใช้เป็นแกนที่จะทำและให้ส่วนต่างเข้ามาประสานได้ ดังนั้นหน้าที่ ขอบเขต ที่มาจากกฎหมายเป็นสิ่งที่ทุกส่วนรับทราบและดำเนินการมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าเกิดความไม่เหมาะสมก็เปลี่ยนแปลงได้


แต่การคิดขึ้นมาแล้วใช้เองไม่มีผลดีอะไรเพราะขนาดขององค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งราชการและเอกชนใหญ่เกินกว่าจะส่งข่าวสารให้รับรู้โดยทั่วกัน ดังนั้นจะเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันในการรับข้อมูลแล้วไปใช้ประโยชน์ ขนาดประกาศเป็นกฎหมาย ที่ทุกคนควรทราบ ก็ยังมีบางส่วนที่ไม่ทราบ


จรวยพร



เรื่อง Knowledge Base /Function Base /Agende Base นี่ ถ้าทำความเข้าใจเสียว่าเป็นคอนเซ็ปต์ของการกำหนดภารกิจ หรือ บทบาทขององค์กร ก็อาจจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น



ภารกิจหรือบทบาทด้านKnowledge Base ก็คือภารกิจที่ต้องสร้างองค์ความรู้ ทำการศึกษา วิเคราะห์วิจัย ทั้งเชิงลึก เชิงกว้าง คือเป็นภารกิจที่จะต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เช่น ถ้าเป็นของ... ก็คงหมายถึงการกำกับการศึกษาต่างๆ การสำรวจ วิจัย หรือจัดทำข้อมูลต่างๆในเชิงลึก การติดตามวิเคราะห์สถานการณ์ การสร้างเครือข่ายองค์ความรู้กับหน่วยงานอื่น เป็นต้น



ภารกิจด้าน Function Base ก็จะเป็นภารกิจที่เป็นงานประจำ งานรูทีน หรือจะเรียกว่าเป็นงานตาม พรบ.ก็คงได้ ส่วนใหญ่ก็เป็นงานที่พวกเราต้องทำๆกันอยู่ เช่น ทำแผน วิเคราะห์โครงการ



ภารกิจด้าน Agenda Base ก็หมายถึงภารกิจพิเศษต่างๆที่รัฐบาลมอบหมาย หรือ...คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ เช่น ปัญหายาเสพย์ติด ความยากจน หรือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ฯลฯ


ทั้งสามเรื่องนี่ เป็นแนวคิดที่อยากจะกรุ๊ปงานของ...ให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน และมากำหนดลำดับความสำคัญในแต่ละเรื่องต่อไป แน่นอน บางงานเราไม่สามารถแบ่งได้เด็ดขาดว่าเป็นภารกิจใน Baseไหน เช่นงานด้านข้อมูล ก็มีงานที่เป็นทั้งงานประจำและงานเชิงKnowledge Base


แต่ทั้งหลายทั้งปวง เป็นเพียงเพื่อให้เห็นภาพของภารกิจเท่านั้นให้ชัดเจนเท่านั้น


เราคิดว่าน่าจะเป็นอย่างนี้นะ ใครเข้าใจเป็นอย่างอื่นข่วยชี้แจงเพิ่มเติมด้วย


แฟนลิเวอร์พูล



ผมก็ไม่ค่อยมีความรู้ในด้านการติดตามประเมินผลเท่าไรเนื่องจากไม่ได้ทำงานทางด้านนี้โดยตรงและถ้ามีส่วนไหนที่ไม่ถูกต้องท่านกรุณาช่วยชี้แนะด้วย ขอขอบคุณมากครับ


คือ งานการติดตามประเมินผลเป็นงานที่ทำหน้าที่ในการดำเนินการติดตามผลการดำเนินการ การจัดให้อยู่ในภารกิจปกติ Function base การดำเนินการจะมีความชัดเจนขึ้นเนื่องจากจะเป็นไปตามลักษณะของการติดตามผลการดำเนินการของแผนพัฒนาซึ่งเป็นภารกิจหลักของ ...ที่ได้จัดทำ


ถ้าจัดให้อยู่ในภารกิจที่รัฐบาลมอบหมายการจัดการติดตามประเมินผลของแผนจะได้รับการสนับสนุนในทางที่กว้างขึ้นทั้งทางด้านงบประมาณ และการทำงานของหน่วยงานในแต่ละท้องที่ แต่จะมีการติดตามไม่ได้เต็มที่เนื่องจากในแต่ละพื้นที่ก็มีแผนเป็นของตนเองทำให้เกิดมีความหลากหลายของแผน การวางนโยบายเฉพาะเจาะจงทำให้เกิดความล่าช้าในทางการปฏิบัติเนื่องจากในแต่ละท้องที่มีความแตกต่างกัน


ผมคิดว่าการจัดให้อยู่ใน Function base น่าจะทำให้การติดตามผลมีความชัดเจนมากกว่าเนื่องจากอยู่ในภารกิจปกติหลัก


ผมคิดว่าในโครงสร้างในปัจจุบันได้มีสำนักติดตามประเมินผลรับผิดชอบอยู่แล้วแต่เนื่องจากการจัดทำแผนต้องใช้หลายส่วนในการช่วยกันจัดทำการจัดทำแผนควรจะมีหน่วยงานกลางในการรวบรวมข้อมูลมาไว้ในที่เดียวกันเพราะจะทำให้มีกรอบการดำเนินการที่ชัดเจนในการจัดทำไม่กระจัดกระจายการตรวจสอบความถูกต้องก็สามารถทำได้ง่าย


ผมคิดว่าการแบ่งส่วนงานออกเป็นส่วน ๆ ทำให้การทำงานเกิดความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้นเนื่องจากมีการรับผิดชอบงานที่ไม่มากและมีเวลาในการค้นคว้าหาความรู้เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานมากขึ้นทำให้การทำงานเกิดความรู้ความชำนาญ เข้าลักษณะมีการแบ่งงานกันทำ



จรวยพร


อย่างที่เคยเขียนไว้ ทั้งหลายทั้งปวงเป็นการแบ่งเพื่อให้เห็นภาพของภารกิจเท่านั้น การประเมินผล มีทั้งส่วนที่เป็นKB/FB/AB


ถ้าเป็นการประเมินเชิงลึกเพื่อการสร้างองค์ความรู้ ก็เป็นภารกิจด้านKB เช่น การประเมินผลระบบข้อมูลชี้วัดต่างๆ แต่ถ้าเป็นการประเมินผลแผนหรือโครงการที่มีการดำเนินการตามปรกติก็เป็นFB


แต่ถ้าเป็นการประเมินผลใน issue ที่เป็น agenda เช่น การประเมินผลGood Governance หรือ competitiveness อย่างนี้ก็เป็นภารกิจด้าน AB เพราะฉะนั้นถ้าถามเป็นรวมๆ ว่าประเมินผลอยู่ไหน ก็ต้องตอบแบบนี้


ความคิดเห็นเสริม


งานติดตาม ประเมินผล น่าจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ


คือ(1)งาน ติดตามผลการดําเนินงาน ตาม F/B ของแต่ละสายงาน แล้วแถลงผลการดําเนินงานตาม แผนปฏิบัติการของสายงาน และ

(2)ประเมินผลการพัฒนา ในภารกิจแผนพัฒนาด้านต่างๆ ภายใต้F/B ของแต่ละสายงาน ซึ่งข้อเท็จจริงในปัจจุบัน การทํางานดังกล่าว ยังมีปัญหา อุปสรรคที่ต้องการ การแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติ


สำหรับการอภิปรายในเรื่องดังกล่าว ก็คงจะได้ข้อสรุปมาในระดับหนึ่ง ซึ่งหลังจากนั้น ก็ไม่ได้มีความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวมากนัก ก็เลยเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าเสียดาย


หวังว่า ท่านผู้อ่านคงจะได้รับทราบ ความเป็นมา และลักษณะของการดำเนินงานกันบ้าง ตามสมควรนะครับ


สำหรับวันนี้ ขอบคุณและสวัสดีครับ


Create Date : 29 พฤษภาคม 2548
Last Update : 29 พฤษภาคม 2548 12:14:12 น. 1 comments
Counter : 15548 Pageviews.

 
สรุปแล้วการเมืองเป็นตัวกำหนดนโยบาย และฝ่ายเจ้าหน้าที่นำไปแปลงสู่การปฏิบัติใช่หรือเปล่าจ๊ะ


โดย: ข้าวตัง IP: 117.47.113.117 วันที่: 19 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:03:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณเบ๊สะพานขาว
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add คุณเบ๊สะพานขาว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.